ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียว
ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียว หรือ ท่าอากาศยานหงเฉียว (IATA: SHA, ICAO: ZSSS) เป็นหนึ่งในสองท่าอากาศยานนานาชาติของเซี่ยงไฮ้ และเป็นศูนย์กลางการบินที่สำคัญของจีน ท่าอากาศยานหงเฉียวให้บริการส่วนใหญ่เป็นเที่ยวบินภายในประเทศ สนามบินนี้ตั้งอยู่ใกล้กับย่านหงเฉียวในเขตฉางหนิง และเขตหมิ่นหัง อยู่ห่าง 13 กิโลเมตร (8.1 ไมล์) ทางทิศตะวันตกของตัวเมือง และเป็นท่าอากาศยานที่อยู่ใกล้กับใจกลางเมืองมากกว่าท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง
ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียว | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 上海虹桥国际机场 | ||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 上海虹橋國際機場 | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||||||
การใช้งาน | สาธารณะ | ||||||||||||||
เจ้าของ-ผู้ดำเนินงาน | Shanghai Airport Authority | ||||||||||||||
พื้นที่บริการ | เซี่ยงไฮ้ | ||||||||||||||
ที่ตั้ง | Changning–Minhang, เซี่ยงไฮ้ | ||||||||||||||
เปิดใช้งาน | พฤษภาคม ค.ศ. 1923 (เดิม)
เมษายน ค.ศ. 1964 เปิดใหม่เป็นท่าอากาศยานนานาชาติ) | ||||||||||||||
ฐานการบิน | |||||||||||||||
เหนือระดับน้ำทะเล | 3 เมตร / 10 ฟุต | ||||||||||||||
พิกัด | 31°11′53″N 121°20′11″E / 31.19806°N 121.33639°E | ||||||||||||||
เว็บไซต์ | Hongqiao Airport | ||||||||||||||
แผนภาพท่าอากาศยาน | |||||||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||||||
| |||||||||||||||
สถิติ (2021) | |||||||||||||||
| |||||||||||||||
ท่าอากาศยานหงเฉียวเป็นศูนย์กลางการบินของ สายการบินไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์, เซี่ยงไฮ้แอร์ไลน์, จูนเยาแอร์ไลน์ และ สปริงแอร์ไลน์ ในปี 2559 สนามบินหงเฉียวให้บริการผู้โดยสาร 40,460,135 คน นับเป็นสนามบินที่พลุกพล่านอันดับ 7 ในประเทศจีน และเป็นอันดับที่ 45 ของโลก[2] ในปลายปี 2554 ท่าอากาศยานหงเฉียวให้บริการ 22 สายการบินที่ให้บริการผู้โดยสาร 82 เส้นทางการบิน[3] ในปี 2562 ท่าอากาศยานหงเฉียวได้รับการรับรองด้วยคะแนนสนามบินระดับ 5 ดาวของสกายแทรกซ์ (Skytrax) ในด้านการให้การอำนวยความสะดวก ความสะดวกสบายของอาคารผู้โดยสาร ความสะอาด การช็อปปิ้ง การให้บริการอาหารเครื่องดื่ม และการบริการพนักงาน[4]
ประวัติ
แก้การก่อสร้างท่าอากาศยานซ่างไห่หงเฉียวเริ่มสร้างขึ้นในเดือนมีนาคมปี 2464 เมื่อสำนักงานกิจการการบินของรัฐบาลเป่ย์หยาง ร่างโครงการสายการบินปักกิ่ง – เซี่ยงไฮ้ ซึ่งวางแผนเส้นทางบินไปยังเซี่ยงไฮ้เป็นครั้งแรก ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2466 ท่าอากาศยานเปิดใช้งานแบบผสมทางทหารและพลเรือน ท่าอากาศยานแห่งนี้เป็นจุดเกิดเหตุของ 'อุบัติการณ์โอยาม่า' ในปี 2480 ที่ร้อยโทญี่ปุ่นถูกสังหารโดยทหารรักษาสันติภาพของจีน และเป็นเหตุหนึ่งในการนำไปสู่การยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ ในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองท่าอากาศยานถูกครอบครองโดยทหารญี่ปุ่นและใช้เป็นฐานทัพอากาศ และยังใช้เป็นฐานทัพอากาศอย่างต่อเนื่องแม้ในเวลาต่อมาหลังจากถูกส่งมอบให้กับรัฐบาลสาธารณรัฐจีน และรัฐบาลต่อมาคือสาธารณรัฐประชาชนจีน ในเดือนพฤศจิกายนปี 2506 สภาแห่งรัฐได้อนุมัติการขยายสนามบินหงเฉียวไปเป็นท่าอากาศยานเพื่อการพาณิชย์ระหว่างประเทศ โครงการขยายแล้วเสร็จในปี 2507 และเปิดใหม่ในเดือนเมษายน 2507 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2515 กองทัพอากาศถอนตัวออกจากสนามบินหงเฉียวอย่างเป็นทางการ
ในเดือนมีนาคม 2527 โครงการอาคารท่าอากาศยานซ่างไห่หงเฉียวได้ขยายอีกครั้งและโครงการขยายเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 30 กันยายนของปีเดียวกัน หลังจากการขยายตัวของอาคารผู้โดยสารพื้นที่ใช้งานนั้นเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับในอดีต ในปี 2531 การบินพลเรือนเซี่ยงไฮ้ดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างองค์กรการบริหารที่สำคัญโดยแยกสนามบินออกจากสายการบิน ท่าอากาศยานซ่างไห่ได้ดำเนินการแยกต่างหากและกลายเป็นองค์กรอิสระทางเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 25 มิถุนายนของปีเดียวกัน ในเดือนธันวาคม 2531 การขยายตัวครั้งที่สามของอาคารท่าอากาศยานซ่างไห่หงเฉียวเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2534
ท่าอากาศยานยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียวทำหน้าที่เป็นท่าอากาศยานหลักของเซี่ยงไฮ้จนกระทั่งสนามบินนานาชาติผู่ตงเสร็จสมบูรณ์ในปี 2542 เมื่อเที่ยวบินระหว่างประเทศเกือบทั้งหมดถูกย้ายไปที่ท่าอากาศยานผู่ตง ในปัจจุบันท่าอากาศยานหงเฉียวให้บริการส่วนใหญ่เป็นเที่ยวบินในประเทศ และห้าเส้นทางระหว่างประเทศ สู่ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว กรุงโตเกียว, ท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ กรุงโซล, ท่าอากาศยานไถเป่ย์ซงซาน, ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง และ ท่าอากาศยานนานาชาติมาเก๊า
ในฐานะส่วนหนึ่งของการเตรียมการสำหรับเอ็กซ์โป 2010 จึงมีแผนพัฒนาเพื่อเป็นศูนย์คมนาคมครบวงจรหงเฉียว ท่าอากาศยานหงเฉียวได้ดำเนินโครงการปรับขยายในปี 2549 โดยวางแผนที่จะเพิ่มรันเวย์และอาคารผู้โดยสาร[5] โครงการเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2553 ก่อน เอ็กซ์โป 2010 (Shanghai World Expo 2010) จากแผนที่กำหนดไว้[6] โดยได้เสร็จสิ้นโครงการปรับขยายที่มีมูลค่า 1.53 หมื่นล้านหยวนตามแผน 5 ปี ทั้งนี้รวมถึงรันเวย์ที่สอง ขนาด 3,300 เมตร และอาคารผู้โดยสารใหม่ 2 อาคาร ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถของท่าอากาศยานหงเฉียวให้รองรับผู้ใช้งาน 40 ล้านคน/เที่ยวต่อปี อาคารผู้โดยสารที่ 2 นี้มีขนาดใหญ่กว่าอาคารผู้โดยสารที่ 1 ถึงสี่เท่า และอาคารผู้โดยสารที่ 2 ยังใช้สำหรับรองรับสายการบินร้อยละ 90 จากทั้งหมดของท่าอากาศยานหงเฉียว (อาคารผู้โดยสาร 1 ใช้สำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศเท่านั้น และรวมถึงสปริงแอร์ไลน์ และ เซียะเหมินแอร์ ) ด้วยทางวิ่ง (รันเวย์) ใหม่ทำให้เซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองแรกในประเทศจีนที่มี 5 รันเวย์เพื่อการพาณิชย์ (ท่าอากาศยานผู่ตงและท่าอากาศยานหงเฉียวรวมกัน) และ ในปัจจุบันมีแผนการขยายจำนวนรันเวย์ให้เป็นเจ็ด
รันเวย์ที่สองและอาคารผู้โดยสารแห่งที่สองแล้วเสร็จและเปิดในวันที่ 11 มีนาคมและ 16 มีนาคม 2010 ตามลำดับ[7] อย่างไรก็ตามควรสังเกตว่าไม่มีการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างอาคารผู้โดยสารสองแห่ง ผู้โดยสารต้องใช้รถบัสรับส่งระยะสั้นในขณะนั้น และรถไฟใต้ดินสาย 10 หรือรถไฟสายอื่น ๆ เพื่อเดินทางระหว่างอาคารผู้โดยสารสองแห่งเชื่อมต่อระหว่างอาคารผู้โดยสารสองแห่งในเวลาถัดมา
ตั้งแต่ปลายปี 2557 อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานหงเฉียวแห่งที่ 1 ได้รับการปรับปรุงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2464 โครงการทั้งหมดมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2560[8] เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2560 อาคาร A ของอาคารผู้โดยสารที่ 1 ได้รับการปรับปรุงใหม่อย่างสมบูรณ์และเปิดให้ประชาชนเข้าใช้งานอีกครั้ง[9] ต่อมาอาคาร B ถูกปิดเพื่อปรับปรุงใหม่ โครงการปรับปรุงอาคารผู้โดยสารที่ 1 ทั้งสองส่วนแล้วเสร็จในวันที่ 15 ตุลาคมปี 2018[9]
-
ท่าอากาศยานซ่างไห่หงเฉียวในเดือนตุลาคม 2475 ประชาชนรวมตัวกันเพื่อดูเครื่องบินขึ้นและลงจอด
-
ท่าอากาศยานซ่างไห่หงเฉียวในเดือนมกราคม 2509
-
อาคารผู้โดยสารที่ 1
-
ภายในอาคารผู้โดยสารที่ 1 ปี 2552
สายการบินและจุดหมายปลายทาง
แก้สายการบินพาณิชย์
แก้อาคารรับส่งผู้โดยสาร
แก้อาคารรับส่งผู้โดยสารที่ 1
แก้-
ถนนทางเข้าอาคารผู้โดยสารที่ 1 ขาเข้า ระดับพื้นดิน
-
ทางเข้า 3 อาคารผู้โดยสารที่ 1
-
ส่วนพื้นที่ขาออกระหว่างประเทศของอาคารผู้โดยสาร 1 ส่วน A
-
เครื่องเช็คอินด้วยตนเองในอาคารผู้โดยสารที่ 1 ส่วน B
-
พื้นที่รอรับผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ
อาคารรับส่งผู้โดยสารที่ 2
แก้-
พื้นที่เช็คอิน
-
(มุมมองจากชั้น M2) ภาพประตูทางออกชั้น 3
-
ประตูทางออกขึ้นเครื่องที่ 46-50 ใกล้กับพื้นที่การตรวจสอบความปลอดภัย
-
ชั้นผู้โดยสารขาเข้า
-
ประตูทางออกขึ้นเครื่องที่ 41-45 สำหรับเส้นทางบินระยะไกล
สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ
แก้สนามบินมีสำนักงานใหญ่ของไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ ซึ่งตั้งอยู่ในอาคาร China Eastern Airlines, [13] [14] และเป็นสำนักงานใหญ่ของ สายการบิน China Airlines [15]
อุบัติเหตุและอุบัติการณ์
แก้- เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2542 Korean Air Lines Flight 6316 เครื่องบิน MD-11F ขึ้นทะเบียนเส้นทางการบิน HL7373 ได้รับความเสียหายหลังจากบินขึ้นจากท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียวไปยัง กรุงโซล หลังจากขึ้นเครื่องบินเจ้าหน้าที่หอบังคับการบินได้ติดต่อไปที่ Shanghai Departure ซึ่งได้ทำการเคลียร์เที่ยวบินให้ไต่ระดับที่ 1,500 เมตร (4,900 ฟุต) เมื่อเครื่องบินไต่ระดับลงไปถึง 4,500 ฟุต (1,400 เมตร) กัปตันหลังจากได้รับคำตอบที่ผิดสองครั้งจากเจ้าหน้าที่ว่าความสูงที่ต้องการควรเป็น 1,500 ft (460 m) จึงคิดว่าเครื่องบินที่ระดับ 3,000 ft (910 m) สูงเกินไป กัปตันจึงผลักคันบังคับควบคุมไปข้างหน้าอย่างฉับพลันและทำให้เครื่องบินเข้าสู่การลดระดับลงมาอย่างรวดเร็ว กัปตันและลูกเรือทั้งคู่พยายามที่จะกู้คืนจากการดำดิ่งแต่ก็ไม่สามารถทำได้ ทำให้ผู้โดยสารทั้งสามคนบนเครื่องและห้าคนบนพื้นดินเสียชีวิต [16]
- เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2554 กาตาร์แอร์เวย์ส เที่ยวบินที่ 888 โบอิ้ง 777-300ER เดินทางจาก สนามบินนานาชาติโดฮา ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติอื่นแทนท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง เนื่องจากการแจ้งสถานการณ์ฉุกเฉินเชื้อเพลิงต่ำและเลือกที่จะเปลี่ยนเส้นทางไปท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียว หอควบคุมการจราจรทางอากาศที่หงเฉียวสั่งให้ Juneyao Airlines เที่ยวบินที่ 112 เดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติเป่าอันเซินเจิ้นไปยังหงเฉียวเพื่อยกเลิกการลงจอด และอนุญาตให้ Qatar Airways Boeing 777-300ER ลงจอดแทน นักบินของสายการบิน Juneyao Airlines 1112 ไม่สนใจคำสั่งเพื่อยกเลิกการลงจอดและไม่ให้ความสำคัญกับเที่ยวบิน 888 ในที่สุดบังคับให้เที่ยวบินของสายการบินกาตาร์แอร์เวย์ต้องทำการบินวน เครื่องบินทั้งสองลงจอดอย่างปลอดภัยโดยไม่มีการบาดเจ็บหรือความเสียหายต่อเครื่องบิน เหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่บทลงโทษสำหรับ Juneyao Airlines และลูกเรือของเครื่องบิน Juneyao โดยการบินพลเรือนของจีน รวมถึงการเพิกถอนใบอนุญาตนักบินอย่างถาวรในประเทศจีน [17]
- เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2013 ไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 2947 เอ็มบราเยอร์ EMB-145LI บินจาก สนามบิน Huai'an Lianshui ไปยัง ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียว เลี้ยวออกจากรันเวย์ 18L ในระหว่างการลงจอด เครื่องบินหยุดจอดบนทางรถแท็กซี่ที่อยู่ติดกันโดยล้อหน้าของเครื่องบินยุบ ไม่มีผู้โดยสารหรือลูกเรือได้รับบาดเจ็บ แต่เครื่องบินได้รับความเสียหายอย่างมาก [18]
- เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559 ไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์ เที่ยวบิน MU5643 แอร์บัส A320 (ลงทะเบียน B-2337) เกือบชนกับเที่ยวบิน MU5106 ของสายการบินเดียวกันซึ่งเป็น แอร์บัส A330 เมื่อเครื่องแรกต้องการขึ้นบินบนรันเวย์ 36L ในขณะที่เครื่องหลังต้องการตัดข้ามรันเวย์เดียวกันภายใต้คำแนะนำที่ผิดพลาด เครื่องลำแรกจึงทำTOGA เพื่อขึ้นบินก่อนอย่างรวดเร็วและสามารถหลีกเลี่ยงการปะทะกัน
การขนส่งติดต่อทางบก
แก้อาคารผู้โดยสารแห่งที่ 2 ของท่าอากาศยานหงเฉียว ( 31°11′46″N 121°19′18″E / 31.19611°N 121.32167°E ) เป็นอาคารที่เชื่อมต่อกับ สถานีรถไฟ Shanghai Hongqiao ( 31°11′46″N 121°18′58″E / 31.19611°N 121.31611°E ) ซึ่งเป็นศูนย์กลางรถไฟที่สำคัญ ให้บริการ เส้นทางรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ ที่ เส้นทางรถไฟความเร็วสูงเซี่ยงไฮ้-หางโจว และ เส้นทางรถใฟความเร็วสูงเซี่ยงไฮ้-หนานจิง อาคารผู้โดยสารแห่งที่ 1 ( 31°11′50″N 121°20′32″E / 31.19722°N 121.34222°E ) อยู่ฝั่งตรงข้ามอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 2 โดยมีรันเวย์คั้นกลาง
สถานีรถไฟใต้ดิน ภายในท่าอากาศยานและสถานีรถไฟหงเฉียว 3 สถานี คือ
- สถานีรถไฟหงเฉียว : สาย 2, สาย 10, สาย 17
- สถานีท่าอากาศยานหงเฉียวอาคาร 2 : สาย 2, สาย 10
- สถานีท่าอากาศยานหงเฉียวอาคาร 1 : สาย 10
ข้อเสนอในการขยายรถไฟแม็กเลฟเซี่ยงไฮ้ จากสถานีถนนหลงหยาง ผ่านสถานีรถไฟเซี่ยงไฮ้สายใต้ ไปยังท่าอากาศยานหงเฉียว ที่จะเชื่อมต่อสนามบินทั้งสองด้วยความเร็วสูงสุดจะใช้เวลาเพียง 15 นาทีในการเดินทาง 55 กม. แผนเดิมกำหนดให้แล้วเสร็จการขยายเชื่อมต่อในปี 2553 (ปี 2010) ให้ทันสำหรับงานเอ็กซ์โป 2010 อย่างไรก็ตามข้อเสนอการขยายนี้ ถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนดเนื่องจากการประท้วง
-
ภายในศูนย์คมนาคมครบวงจรหงเฉียวซึ่งเป็นศูนย์การขนส่งภาคตะวันออกของประเทศจีน
-
สถานีท่าอากาศยานหงเฉียวอาคาร 2 (Hongqiao Terminal 2 station) เชื่อมต่อโดยตรงกับศูนย์คมนาคมครบวงจรหงเฉียว
-
รถบัสรับส่งสนามบิน
อ้างอิง
แก้- ↑ 2016年民航机场生产统计公报. CAAC. 24 Feb 2017.
- ↑ "ACI releases World Airport Traffic Report 2010" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2020-07-27.
- ↑ http://news.carnoc.com/list/219/219143.html
- ↑ https://skytraxratings.com/airports/shanghai-hongqiao-airport-rating
- ↑ http://news.sina.com.cn/c/2007-02-27/033912377301.shtml
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-03-02. สืบค้นเมื่อ 2020-07-27.
- ↑ xwcb.eastday.com/c/20091225/u1a673605.html
- ↑ www.shanghaidaily.com/metro/public-services/Airport-renovation-biggest-since-it-opened-in-1921/shdaily.shtml
- ↑ 9.0 9.1 www.shanghaidaily.com/metro/public-services/Hongqiao-airport-gets-its-biggest-facelift-since-its-opening-in-1921/shdaily.shtml
- ↑ 嘿!2018年冬春新航季,来聊点航线新动态!. WeChat (ภาษาChinese (China)). China Eastern Shanghai sales. 2018-10-12. สืบค้นเมื่อ 2020-01-15.
- ↑ https://www.shine.cn/news/metro/2004126173/
- ↑ "Juneyao Airlines adds Beijing Daxing service from late-Oct 2019". routesonline. สืบค้นเมื่อ 24 September 2019.
- ↑ "Exhibit B." p. 2. "2550 Hongqiao Road Hongqiao International Airport China Eastern Airlines Building" (Archive)
- ↑ "China Eastern Airlines Corp. Ltd. (CEA)." Yahoo! Finance. Retrieved on 3 October 2009. "China Eastern Airlines Corp. Ltd. 2550 Hong Qiao Road Shanghai, 200335 China – Map"
- ↑ "Directory:World airlines." Flight International. 25–31 March 2003. 45. "Hongqiao International Airport, Shanghai, 200335, China"
- ↑ Accident summary, Korean Air HL7373 เก็บถาวร 2012-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. aviation-safety.net
- ↑ Incident: Incident: Qatar B773 and Juneyao A320 near Shanghai on Aug 13th 2011, fuel emergency or not. The Aviation Herald. 24 August 2011.
- ↑ Accident: China Eastern E145 at Shanghai on Jun 7th 2013, runway excursion, nose gear collapse. The Aviation Herald. 7 June 2013.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Shanghai Hongqiao International Airport