บันดาร์เซอรีเบอกาวัน

เมืองหลวงของประเทศบรูไน

บันดาร์เซอรีเบอกาวัน[1] หรือ บันดาร์เสรีเบกาวัน[1] (มลายู: Bandar Seri Begawan, بندر سري بڬاوان) เป็นเมืองหลวงและเมืองท่าที่สำคัญของประเทศบรูไนดารุสซาลาม อยู่ในเขตการปกครองบรูไน-มัวรา มีประชากรประมาณ 60,000 คน เดิมชื่อว่า เมืองบรูไน ภายหลังเมื่อบรูไนพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นในลักษณะแบบคุ้มครองของอังกฤษแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นบันดาร์เซอรีเบอกาวัน

บันดาร์เซอรีเบอกาวัน

بندر سري بڬاوان (ยาวี)
เมืองหลวง
ด้านซ้าย: มัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟุดดิน, สวนเซอร์มูดาโอมาร์ อาลี ไซฟุดดิน, ลาเปา เดอร์ราจา, เมอร์ซู เดอร์กาห์ฮายู และ ดาวน์ทาวน์บันดาร์เซอรีเบอกาวัน
ด้านซ้าย: มัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟุดดิน, สวนเซอร์มูดาโอมาร์ อาลี ไซฟุดดิน, ลาเปา เดอร์ราจา, เมอร์ซู เดอร์กาห์ฮายู และ ดาวน์ทาวน์บันดาร์เซอรีเบอกาวัน
สมญา: 
บันดาร์
บันดาร์เซอรีเบอกาวันตั้งอยู่ในประเทศบรูไน
บันดาร์เซอรีเบอกาวัน
บันดาร์เซอรีเบอกาวัน
พิกัด: 4°53′25″N 114°56′32″E / 4.89028°N 114.94222°E / 4.89028; 114.94222
ประเทศ บรูไน
เขตบรูไน-มัวรา
พื้นที่
 • เมืองหลวง100.36 ตร.กม. (38.75 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2010)
 • เมืองหลวง140,000 คน
 • ความหนาแน่น1,395 คน/ตร.กม. (3,610 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง276,608 คน
 • ชื่อเรียกประชาชนBegawanese (ชาวเบอกาวัน)
เขตเวลาUTC+8
รหัสพื้นที่+673 02
เว็บไซต์www.municipal-bsb.gov.bn
Mean solar time   UTC+07:39:00

ปัจจุบันกรุงบันดาร์เซอรีเบอกาวันเป็นศูนย์กลางการเงิน ธุรกิจ การค้า และการอุตสาหกรรมของประเทศ ทั้งยังเป็นสถานที่ผลิตน้ำมันปิโตรเลียมและแก๊สธรรมชาติด้วย เมืองหลวงของบรูไนเป็นที่ตั้งสถานที่สำคัญของประเทศ เช่น พระราชวังหลวง ศูนย์ประวัติศาสตร์บรูไนพิพิธภัณฑ์บรูไน สุเหร่าที่ใหญ่ที่สุดในซีกโลกตะวันออกคือ มัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟัดดิน และกัมปงอาเยร์ หมู่บ้านดั้งเดิมของชาวบรูไนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำบรูไน

กรุงบันดาร์เซอรีเบอกาวันเป็นเมืองเดียวของบรูไนที่เรียกว่าเมืองได้อย่างแท้จริง บันดาร์เซอรีเบอกาวันเป็นเมืองสวยสะอาด ถนนในเมืองกว้างขวางและมีตึกรามบ้านเรือนทันสมัย มีสุเหร่าขนาดใหญ่อยู่กลางเมือง คือมัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟัดดิน ในบริเวณสุเหร่ามีสระขุดขนาดใหญ่ประดับสถานที่ให้ดูเด่นสง่างาม ภายในสุเหร่าปูพื้นด้วยหินอ่อนจากอิตาลี และปูพรมสั่งทอพิเศษผืนใหญ่มหึมา นับว่าเป็นศูนย์รวมชาวมุสลิมในบรูไนและเป็นสถานที่ที่สำคัญที่สุดของศาสนาอิสลามในบรูไน

นอกจากมัสยิดโอมาร์ อาลี ไชฟัดดินแล้ว กรุงบันดาร์เซอรีเบอกาวันยังเป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจหลายแห่งของบรูไน อาทิ พิพิธภัณฑ์บรูไน กับพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีมลายู ซึ่งแสดงสถาปัตยกรรมการก่อสร้างบ้านในแม่น้ำอย่างที่กัมปงเอเยอร์ นอกจากนี้ยังมีพระราชวังหลวงที่ใหญ่โตโอ่อ่าและสวยงามมากคือ พระราชวังหลวง อิสตานา นูรัล อีมาน ซึ่งจะเปิดให้เข้าชมหลังจากเดือนเราะมะฎอนหรือหลังพิธีถือศีลอด

ส่วนแรกของชื่อ Bandar มาจากภาษาเปอร์เซีย بندر แปลว่า "ท่าเรือ" หรือ "ที่หลบภัย" ส่วนที่สองของชื่อคือ Seri Begawan มาจากคำว่า "ศฺรีภควาน" (भगवान् bhagavān) ในภาษาสันสกฤตหมายถึง พระสิริแห่งพระเป็นเจ้า จึงมีความหมายรวมกันว่า เมืองท่าอันเป็นศรีแห่งพระเจ้า

ภูมิอากาศ

แก้
ข้อมูลภูมิอากาศของบันดาร์เซอรีเบอกาวัน
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 30.4
(86.7)
30.7
(87.3)
31.9
(89.4)
32.5
(90.5)
32.6
(90.7)
32.5
(90.5)
32.3
(90.1)
32.4
(90.3)
32.0
(89.6)
31.6
(88.9)
31.4
(88.5)
31.0
(87.8)
31.8
(89.2)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 23.3
(73.9)
23.3
(73.9)
23.5
(74.3)
23.7
(74.7)
23.7
(74.7)
23.4
(74.1)
23.0
(73.4)
23.1
(73.6)
23.1
(73.6)
23.2
(73.8)
23.2
(73.8)
23.2
(73.8)
23.3
(73.9)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 292.6
(11.52)
158.9
(6.256)
118.7
(4.673)
189.4
(7.457)
234.9
(9.248)
210.1
(8.272)
225.9
(8.894)
226.6
(8.921)
264.4
(10.409)
312.3
(12.295)
339.9
(13.382)
339.6
(13.37)
2,913.3
(114.697)
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 16 12 11 16 18 16 16 16 19 21 23 21 205
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 195.3 192.1 226.3 240.0 235.6 210.0 223.2 217.0 198.0 204.6 204.0 210.8 2,556.9
แหล่งที่มา 1: World Meteorological Organization[2]
แหล่งที่มา 2: Hong Kong Observatory[3]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  2. "World Weather Information Service - Bandar Seri Begawan". World Meteorological Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 14 May 2010.
  3. "Climatological Information for Bandar Seri Begawan, Brunei". Hong Kong Observatory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 5 May 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้