ประชากรโลก

บทความประชากรโลก

ประชากรโลก เป็นจำนวนมนุษย์ทั้งหมดที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลก ซึ่งปัจจุบันองค์การสหประชาชาติ (UN) ประมาณการว่าประชากรโลกมีจำนวนราว ๆ 7,300 ล้านคน ณ เดือนมกราคม ค.ศ. 2020 [2] และประมาณว่าเกิน 8 พันล้านคนไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2022[3]

ประมาณประชากรโลกตั้งแต่ปี 1800 ถึง 2100 ตามผลการคาดคะเนของสหประชาชาติเมื่อปี 2010 (แดง ส้ม เขียว) และการประมาณในอดีตของสำนักสำมะโนสหรัฐ (ดำ) ตัวเลขประชากรที่บันทึกจริงเป็นสีน้ำเงิน ตามการประมาณสูงสุด ประชากรโลกอาจสูงถึง 16,000 ล้านคนในปี 2100 ตามการประมาณต่ำสุด ประชากรโลกอาจลดลงเหลือ 6 พันล้านคน
ประชากรโลก (ล้านคน)[1]
# สิบประเทศที่มีประชากรมากที่สุด 2017 2020 2050*
1 จีน 1,386 1,415 1,486
2 อินเดีย 1,339 1.402 1,916
3 สหรัฐอเมริกา 325 336 405
4 อินโดนีเซีย 262 274 361
5 บราซิล 210 220 267
6 ปากีสถาน 195 210 344
7 ไนจีเรีย 193 208 440
8 บังกลาเทศ 164 172 229
9 รัสเซีย 143 144 126
10 เม็กซิโก 130 136 183
รวมทั้งโลก 5,265 6,688 8,004
สิบอันดับประเทศที่มีประชากรมากที่สุด (%) 60.0 % 58.9 % 57.5 %
1 เอเชีย 1,613 2,183 2,693
+ จีน 1,141 1,333 1,458
+ OECD แปซิฟิก* 187 202 210
2 แอฟริกา 634 984 1,365
3 ยุโรป* 564 603 659
+ รัสเซีย 148 142 137
+ อดีตสหภาพโซเวียต* 133 136 146
4 ละตินอเมริกา 355 462 550
5 อเมริกาเหนือ 359 444 514
6 ตะวันออกกลาง 132 199 272
ออสเตเรลีย 17 22 28
สหภาพยุโรป (27 รัฐ) 473 499 539
สหรัฐอเมริกา-แคนาดา 278 338 392
อดีตสหภาพโซเวียต 289 285 289
คำจำกัดความทางภูมิศาสตร์ตาม IEA Key Stats 2010 หน้า 66
หมายเหตุ:
  • ยุโรป = OECD ยุโรป + ยุโรปที่มิใช่ OECD
    ไม่รวมรัสเซีย รวมรัฐบอลติก
  • อดีตสหภาพโซเวียต = สหภาพโซเวียต ไม่รวมรัสเซีย และรัฐบอลติก
  • OECD แปซิฟิก = ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลี นิวซีแลนด์
  • 2025 = คำนวณจากอัตราประจำปี 2007/2008 คงที่จนถึงปี 2025

ประชากรโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับแต่ทุพภิกขภัยใหญ่และแบล็กเดทราวปี ค.ศ. 1350 ซึ่งขณะนั้นประชากรโลกมีราว 370 ล้านคน[4] โดยในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1950 และอีกระยะหนึ่งช่วงระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรเพิ่มสูงขึ้นไปอยู่ที่กว่า 1.8% ต่อปี โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงสุดในประวัติศาสตร์ในปี ค.ศ. 1963 ที่ 2.2% ต่อปี ทั้งนี้ ในปี ค.ศ. 2012 อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกลดลงมาอยู่ที่ 1.1% ต่อปี[5] หากมองที่จำนวนเกิดนั้น ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1980 ถือว่ามีจำนวนเกิดมากที่สุดที่ราว 139 ล้านคนต่อปี [6] และในปัจจุบัน คาดการณ์ว่าจำนวนเกิดจะคงที่ต่อเนื่องไปนับแต่ปี ค.ศ. 2011 หรือที่ราว 135 ล้านคนต่อปี[7] ในขณะเดียวกันจำนวนตายจะเพิ่มขึ้นจากราว 56 ล้านคนต่อปีในปัจจุบันเป็นราว 80 ล้านคนในปี ค.ศ. 2040[8]

ประชากรโลกมีจำนวนถึง 7,000 ล้านคนเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2011 จากคาดการของกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ[9][10][11] และวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 2012 ตามประมาณการของสำนักสำมะโนสหรัฐอเมริกา (USCB)[12]

นักวิเคราะห์บางคนตั้งคำถามว่า ประชากรโลกจะเติบโตได้ต่อไปหรือไม่ โดยอ้างแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม ปริมาณอาหารโลก และทรัพยากรพลังงาน[13][14][15]

นักวิชาการบางส่วนประมาณการประชากรที่เคยมีชีวิตอยู่บนโลกที่ราว 100,000 ถึง 115,000 ล้านคน[16][17]

ประชากรแบ่งตามภูมิภาค

แก้

มนุษย์อาศัยอยู่อย่างถาวรในหกในเจ็ดทวีปของโลกเป็นจำนวนมาก ทวีปเอเชียเป็นทวีปที่มีประชากรมากที่สุด โดยผู้อยู่อาศัย 4,200 ล้านคน คิดเป็นกว่า 60% ของประชากรโลก เพียงสองประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก คือ จีนและอินเดีย รวมกันก็มีประชากรราว 37% ของประชากรโลกแล้ว ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสอง โดยมีประชากรราว 1 พันล้านคน หรือ 15% ของประชากรโลก ทวีปยุโรปมีประชากร 733 ล้านคน คิดเป็น 11% ของประชากรโลก ขณะที่ภูมิภาคละตินอเมริกาและแคริบเบียนเป็นที่อยู่ของประชากรโลกราว 600 ล้านคน (9%) อเมริกาเหนือ (Northern America) ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยสหรัฐอเมริกาและแคนาดา มีประชากรราว 352 ล้านคน (5%) และโอเชียเนีย ภูมิภาคที่มีประชากรน้อยที่สุด มีผู้อยู่อาศัยราว 35 ล้านคน (0.5%)[18] ส่วนทวีปแอนตาร์กติกา แม้จะไม่มีประชากรอยู่อาศัยแน่นอนเป็นการถาวร แต่ก็มีประชากรนานาประเทศจำนวนหนึ่งที่เปลี่ยนแปลง ส่วนใหญ่ในสถานีวิทยาศาสตร์ขั้วโลก ประชากรนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในฤดูร้อนและลดลงอย่างมีนัยสำคัญในฤดูหนาว เพราะนักวิจัยผู้มาเยือนกลับประเทศแม่[19]

ประชากรโลกในปัจจุบันตามการประมาณการของสหประชาชาติ ข้อมูลแสดงเป็นหลักล้านคน และร้อยละของประชากรโลกในปีนั้น[20]
ภูมิภาค 2022 (ร้อยละ) 2030 (ร้อยละ) 2050 (ร้อยละ)
แอฟริกาใต้สะฮารา 1,152 (14.51%) 1,401 (16.46%) 2,094 (21.62%)
แอฟริกาเหนือและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ 549 (6.91%) 617 (7.25%) 771 (7.96%)
เอเชียกลางและเอเชียใต้ 2,075 (26.13%) 2,248 (26.41%) 2,575 (26.58%)
เอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2,342 (29.49%) 2,372 (27.87%) 2,317 (23.92%)
ยุโรปและ อเมริกาเหนือ 1,120 (14.10%) 1,129 (13.26%) 1,125 (11.61%)
ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 658 (8.29%) 695 (8.17%) 749 (7.73%)
ประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ 31 (0.39%) 34 (0.40%) 38 (0.39%)
โอเชียเนีย 14 (0.18%) 15 (0.18%) 20 (0.21%)
โลก 7,942 8,512 9,687
ประชากรในแต่ละภูมิภาค (การประมาณการ ปี 2020)
ภูมิภาค ความหนาแน่น
(ผู้อยู่อาศัย/กม.2)
ประชากร
(ล้าน)
ประเทศที่มีประชากรมากที่สุด นครที่มีประชากรมากที่สุด (รวมเขตปริมณฑล )
เอเชีย 104.1 4,641 1,418,459,382 –   อินเดีย 13,515,000 –   โตเกียว
(37,400,000 –   เขตอภิมหานครโตเกียว)
แอฟริกา 44.4 1,340 0,211,401,000 –   ไนจีเรีย 09,500,000 –   ไคโร
(20,076,000 –   เกรตเตอร์ไคโร)
ยุโรป 73.4 747 0,146,171,000 –   รัสเซีย ประมาณ 110 ล้านในยุโรป 13,200,000 –   มอสโก
(20,004,000 –   เขตปริมณฑลมอสโก)
ลาตินอเมริกา 24.1 653 0,214,103,000 –   บราซิล 12,252,000 –   เซาเปาลู
(21,650,000 –   เกรตเตอร์เซาเปาลู)
อเมริกาเหนือ[note 1] 14.9 368 0,332,909,000 –   สหรัฐ 08,804,000 –   นครนิวยอร์ก
(23,582,649 –   เขตปริมณฑลนิวยอร์ก[21])
โอเชียเนีย 5 42 0,025,917,000 –   ออสเตรเลีย 05,367,000 –   ซิดนีย์
แอนตาร์กติกา ~0 0.004[22] N/A[note 2] 00,001,258 –   สถานีแมคเมอร์โด

ประชากรมากที่สุดแบ่งตามประเทศ

แก้
10 ประเทศที่มีประชากรทั้งหมดที่ใหญ่ที่สุด:
อันดับ ประเทศ / อาณาเขต ประชากร วันที่ % ของประชากร
โลก
แหล่งที่มา
1   จีน 1,353,480,000 4 ตุลาคม 2012 19.2% [23]
2   อินเดีย 1,210,193,422 มีนาคม 2011 17% [24]
3   สหรัฐ 314,512,000 4 ตุลาคม 2012 4.47% [25]
4   อินโดนีเซีย 238,400,000 พฤษภาคม 2010 2.87% [26]
5   บราซิล 218,328,000 5 ธันวาคม 2024 2.68% [27]
6   ปากีสถาน 180,846,000 4 ตุลาคม 2012 2.57% [28]
7   ไนจีเรีย 170,123,740 กรกฎาคม 2012 2.08% [29]
8   บังกลาเทศ 161,083,804 กรกฎาคม 2012 1.97% [30]
9   รัสเซีย 141,927,297 1 มกราคม 2010 1.739% [31]
10   ญี่ปุ่น 127,610,000 พฤษภาคม 2012 1.56% [32]

ในเดือนพฤศจิกายน 2012 ประชากรราว 4,060 ล้านคนอาศัยอยู่ในสิบประเทศข้างต้น คิดเป็นราว 58% ของประชากรโลก

 
ประชากรโลก ณ ปัจจุบัน

ประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุด

แก้

ตารางด้านล่างแสดงรายชื่อประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของโลก ทั้งในแง่ความหนาแน่นสัมบูรณ์และความหนาแน่นสัมพัทธ์กับประชากรทั้งหมด

 
แผนความหนาแน่นของประชากรโลก (คน*กม.2) ในปี 1994 พื้นที่สีแดงและชมพูแสดงภูมิภาคที่มีประชากรหนาแน่นที่สุด
10 ประเทศที่มีประชากรหนาแน่นสูงสุด (เฉพาะประเทศที่มีประชากรเกิน 1 ล้านคน)
อันดับ ประเทศ/ภูมิภาค ประชากร พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) ความหนาแน่น
(Pop. per km2)
1   สิงคโปร์ 5,183,700 710 7301
2   บาห์เรน 1,234,596 750 1646
3   บังกลาเทศ 152,518,015 147,570 1034
4   ไต้หวัน 23,268,372 36,190 643
5 มอริเชียส 1,288,000 2,040 631
6   เกาหลีใต้ 50,004,441 99,538 502
7   เลบานอน 4,292,000 10,452 411
8   รวันดา 10,718,379 26,338 407
9   เนเธอร์แลนด์ 16,751,323 41,526 403
10   อิสราเอล 7,913,900 20,770 381

Countries ranking highly in terms of both total population (more than 15 million people) and population density (more than 250 people per square kilometer):

ประเทศที่จัดอันดับสูงในแง่ทั้งประชากรทั้งหมด (กว่า 15 ล้านคน) และความหนาแน่นของประชากร (กว่า 250 คน/ตร.กม.)
อันดับ ประเทศ/ภูมิภาค ประชากร พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) ความหนาแน่น
(Pop. per km2)
หมายเหตุ
1   อินเดีย 1,219,280,000 3,287,240 371 ประชากรเพิ่มขึ้น
2   บังกลาเทศ 142,325,250 147,570 964 ประชากรเพิ่มขึ้น
3   ญี่ปุ่น 127,170,110 377,873 337 ประชากรลดลง
4   ฟิลิปปินส์ 94,013,200 300,076 313 ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
5   เวียดนาม 85,789,573 331,689 259 ประชากรเพิ่มขึ้น
6   บริเตนใหญ่ 62,041,708 243,610 255 ประชากรเพิ่มขึ้น[33]
7   เกาหลีใต้ 49,354,980 99,538 493 ประชากรคงที่[34]
8   ไต้หวัน 22,955,395 35,980 640 ประชากรลดลง[35][36]
9   ศรีลังกา 20,238,000 65,610 309 ประชากรเพิ่มขึ้น
10   เนเธอร์แลนด์ 16,810,000 41,526 405 ประชากรคงที่

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. CO2 Emissions from Fuel Combustion เก็บถาวร 2011-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Population 1971–2008 (pdf เก็บถาวร 2012-01-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, pp. 83–85) IEA (OECD/ World Bank) (original population ref OECD/ World Bank, e.g., in IEA Key World Energy Statistics 2010 page 57)
  2. "UN projects world population to reach 8.5 billion by 2030, driven by growth in developing countries". United Nations Department of Economic and Social Affairs. July 30, 2015. สืบค้นเมื่อ July 30, 2015.
  3. Kight, Stef W.; Lysik, Tory (2022-11-14). "The human race at 8 billion". Axios (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-11-15.
  4. Jean-Noël Biraben (1980), "An Essay Concerning Mankind's Evolution". Population, Selected Papers. Vol. 4. pp. 1–13. Original paper in French: (b) Jean-Noël Biraben (1979)."Essai sur l'évolution du nombre des hommes". Population. Vol. 34 (no. 1). pp. 13–25.
  5. "Exponential Population Growth". Kivu. May 10, 2012. สืบค้นเมื่อ July 22, 2013.
  6. "World Population Prospects, 2012 revision (697 million births from 1985–1990)". United Nations. 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-27. สืบค้นเมื่อ May 11, 2015.
  7. "Annual number of births – World". United Nations Population Division. 2011. สืบค้นเมื่อ March 27, 2015.
  8. "World Population estimates by the US Census Bureau". USCB. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-27. สืบค้นเมื่อ May 22, 2012.
  9. "Population seven billion: UN sets out challenges". BBC News. October 26, 2011. สืบค้นเมื่อ October 27, 2011.
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Guardian7
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ UPI7bn
  12. "World Population Clock – Worldometers". Worldometers.info. สืบค้นเมื่อ April 12, 2012.
  13. Peter P. Rogers; Kazi F. Jalal & John A. Boyd (2008). An Introduction To Sustainable Development. Earthscan via Google Books. p. 53.
  14. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ TIMEenvir
  15. Zehner, Ozzie (2012). Green Illusions. Lincoln and London: University of Nebraska Press. pp. 187–331. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-04. สืบค้นเมื่อ 2013-05-24.
  16. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Curtin2007
  17. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Haub1995
  18. "World Population Prospects: The 2010 Revision Population Database". United Nations. April 15, 2011. สืบค้นเมื่อ 2012-04-21.
  19. "Life on an Antarctic Station". Antarctic Connection. Retrieved 2011-10-28.
  20. United Nations. Department of Economic and Social Affairs. World Population Prospects 2022. Summary of Results (PDF). New York.
  21. "USA: Combined Metropolitan Areas". CityPopulation.de. August 2021. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  22. "Antarctica". The World Factbook. 19 June 2014. สืบค้นเมื่อ 18 March 2015.
  23. Chinese Official Population Clock (in Chinese) เก็บถาวร 2012-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. CPDRC.org.cn. Updated daily. Retrieved 2012-05-22.
  24. 2011 Census. Census of India, 2011. Retrieved 2012-05-22.
  25. United States Official Population Clock. USCB. Updated daily. Retrieved 2012-05-22.
  26. SuluhNusantara Indonesia Census report. เก็บถาวร 2012-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  27. Brazilian Official Population Clock. IBGE.gov.br. Retrieved 2012-05-22.
  28. Official Pakistani Population Clock. เก็บถาวร 2010-01-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  29. Nigeria เก็บถาวร 2020-08-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. CIA World Factbook estimate, 10 May 2012. Retrieved 2012-05-22.
  30. Bangladesh เก็บถาวร 2017-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. CIA World Factbook estimate, 7 May 2012. Retrieved 2012-05-22.
  31. Federal State Statistics Service of Russia (Excel document, in Russian) เก็บถาวร 2022-03-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. GKS.ru, 2010. Retrieved 2012-05-22.
  32. Official Japan Statistics Bureau. May 2012 estimate. Retrieved 2012-05-22.
  33. UK population 'to increase to 70 million by 2027'. BBC, October 26, 2011. Retrieved 2012-04-10.
  34. "Demographic shifts accelerate". The Korea Times, August 26, 2012. Retrieved 2012-08-28.
  35. "Why Has Taiwan's Birthrate Dropped So Low?" เก็บถาวร 2012-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน TIME, December 7, 2009. Retrieved 2011-12-17.
  36. "Taiwan Birth Rate Falls to World’s Lowest". VoA, August 17, 2011. Retrieved 2011-12-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
อ่านเพิ่มเติม
หน่วยงาน
สถิติและแผนที่
สัญญาณนาฬิกาจำนวนประชากร


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "note" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="note"/> ที่สอดคล้องกัน