องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา

(เปลี่ยนทางจาก OECD)

องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ โออีซีดี (อังกฤษ: Organisation for Economic Co-operation and Development, OECD; ฝรั่งเศส: Organisation de Coopération et de Développement Économiques, OCDE) เป็นองค์กรระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และยอมรับระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจการค้าเสรีในการร่วมกันและพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคยุโรปและโลก แต่เดิมองค์กรนี้ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในนาม องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป หรือ โออีอีซี (Organization for European Economic Co-operation: OEEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 1948 (พ.ศ. 2491) ในช่วงสมัยสงครามเย็น วัตถุประสงค์คือเพื่อร่วมมือกันฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจของประเทศยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้กลับคืนมาและคงไว้อย่างมั่นคงตามแนวทางเศรษฐกิจทุนนิยมโดยแผนการมาร์แชลล์ สัญญาในการก่อตั้งองค์การนี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.1948 โดยมีสมาชิกประเทศยุโรปตะวันตกจำนวน 19 ประเทศ เป็นผู้ลงนาม ได้แก่ ออสเตรีย, เบลเยียม, เดนมาร์ก, ฝรั่งเศส, กรีซ, ไอซ์แลนด์, ไอร์แลนด์, อิตาลี, ลักเซมเบิร์ก, นอร์เวย์, เนเธอร์แลนด์, โปรตุเกส, อังกฤษ, สวีเดน, สวิตเซอร์แลนด์, ตุรกี, สหรัฐอเมริกา, เยอรมนีตะวันตก และแคว้นอิสระของตรีเยสเต

องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา
Organisation de Coopération et de Développement Économiques
  ชาติร่วมก่อตั้ง (1961)
  ชาติสมาชิกหนึ่ง
ชื่อย่อ
  • OECD
  • OCDE
ก่อตั้ง
  • 16 เมษายน ค.ศ. 1948 (1948-04-16) (OEEC)
  • กันยายน ค.ศ. 1961 (1961-09) (OECD)
ประเภทองค์การระหว่างรัฐบาล
สํานักงานใหญ่Château de la Muette
ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
สมาชิก
ภาษาทางการ
  • อังกฤษ
  • ฝรั่งเศส
เลขาธิการ
มาเธียส คอร์แมนน์
รองเลขาธิการ
งบประมาณ
386 ล้านยูโร (2019)[3]
เว็บไซต์www.oecd.org
โปสเตอร์สำหรับแผนมาร์แชลล์แสดงธงชาติของประเทศในยุโรปตะวันตก รวมไปถึงแคว้นอิสระตรีเยสเตที่มีพื้นหลังสีฟ้าอย่างเป็นทางการของสหประชาชาติ

นอกจากจะเป็นการฟื้นฟูยุโรปแล้วยังเป็นการต่อต้านหยุดยั้งไม่ให้อิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียต มาเผยแพร่ที่ยุโรปตะวันตกและยังเป็นการโน้มน้าวให้ยุโรปตะวันออกที่เป็นประเทศบริวารให้เห็นด้วยและเข้าร่วม แต่ในขณะเดียวกัน สหภาพโซเวียตภายใต้การนำของโจเซฟ สตาลินได้หวาดระแวงแผนการมาร์แชลล์ โดยมองว่า เป็นแผนการร้ายของสหรัฐฯที่จะขยายอิทธิพลและเผยแพร่ลัทธิระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจทุนนิยมเข้าสู่ยุโรปตะวันออกจึงทำการบีบบังคับประเทศบริวารในยุโรปตะวันออกให้ปฏิเสธแผนการดังกล่าวและได้เสนอแผนการโมโลตอฟ ในการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ขึ้นมาแทนเพื่อเป็นการโต้ตอบแผนการมาร์แชล พร้อมก่อตั้งสภาเพื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจหรือคอมิคอน เพื่อเป็นการคานอำนาจจากองค์กรโออีอีซีเช่นเดียวกับสนธิสัญญาวอร์ซอต่อต้านองค์กรนาโต (แต่จนกระทั่งถึงปี ค.ศ.1991 คอมิคอนก็ได้ถูกยกเลิกไปพร้อมกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต)

ต่อมาในช่วงหลังสงครามเย็นก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่จากองค์กรโออีอีซีมาเป็นโออีซีดี และมีการลงนามกันใหม่อีกครั้ง ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศล เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 โดยมีอดีตประเทศสมาชิกโออีอีซีจำนวน 18 ประเทศ(แคว้นอิสระของตรีเยสเตได้ล่มสลายไปเมื่อปีค.ศ.1975และรวมผนวกกับอิตาลี)และมีเพิ่มขึ้นมาอีก 2 ประเทศ เป็นผู้ลงนาม ได้แก่ แคนาดาและสเปนรวมเป็น 20 ประเทศ สัญญาดังกล่าวได้มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1961 ปัจจุบันองค์การโออีซีดีก็ได้มีสมาชิกเพิ่มมาอีก 17 ประเทศได้แก่ โคลอมเบีย คอสตาริกา ชิลี, เช็ก, อิสราเอล, เม็กซิโก, ฮังการี, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, เกาหลีใต้, โปแลนด์, เอสโตเนีย, ลัตเวีย, สโลวาเกีย, สโลวีเนีย และญี่ปุ่น รวมทั้งหมดเป็น 34 ประเทศ และมีประเทศที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมองค์การคือประเทศรัสเซีย ตามพันธกรณีระหว่างประเทศ มีองค์การสำคัญในองค์การโออีซีดีคือคณะมนตรี ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมดโดยมีคณะกรรมการบริหารรวมทั้งเลขาธิการ สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

รายชื่อเลขาธิการขององค์กร แก้

เลขาธิการ OEEC
ลำดับ เลขาธิการ ดำรงตำแหน่ง ประเทศ
1 Robert Marjolin 1948 – 1955  ฝรั่งเศส
2 René Sergent 1955 – 1960  ฝรั่งเศส
3 Thorkil Kristensen 1960 – 30 กันยายน 1961  เดนมาร์ก
เลขาธิการ OECD[4]
ลำดับ เลขาธิการ ดำรงตำแหน่ง ประเทศ อ้างอิง
1 Thorkil Kristensen 30 กันยายน 1961 – 30 กันยายน 1969  เดนมาร์ก
2 Emiel van Lennep 1 ตุลาคม 1969 – 30 กันยายน 1984  เนเธอร์แลนด์
3 Jean-Claude Paye 1 ตุลาคม 1984 – 30 กันยายน 1994  ฝรั่งเศส
Staffan Sohlman (ชั่วคราว) 1 ตุลาคม 1994 – พฤศจิกายน 1994  สวีเดน [5][6]
3 Jean-Claude Paye พฤศจิกายน 1994 – 31 พฤษภาคม 1996  ฝรั่งเศส [7]
4 Donald Johnston 1 มิถุนายน 1996 – 31 พฤษภาคม 2006  แคนาดา
5 José Ángel Gurría 1 มิถุนายน 2006 – 31 พฤษภาคม 2021  เม็กซิโก [8]
6 Mathias Cormann 1 มิถุนายน 2021 – ปัจจุบัน  ออสเตรเลีย [9]

อ้างอิง แก้

  1. "List of OECD Member countries – Ratification of the Convention on the OECD". OECD. สืบค้นเมื่อ 9 June 2018.
  2. "OECD welcomes Costa Rica as its 38th Member" (Press release). OECD. 2021-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-05-25.
  3. "Member Countries' Budget Contributions for 2017". OECD. สืบค้นเมื่อ 5 July 2018.
  4. "List of OECD Secretaries-General and Deputies since 1961". oecd.org. สืบค้นเมื่อ 17 August 2020.
  5. "After A Battle, Oecd Settles On Swede To Be Interim Leader". Joc.com. 22 February 2018. สืบค้นเมื่อ 27 August 2018.
  6. Friedman, Alan (29 ตุลาคม 1994). "U.S. Rejects Extending Paye's Term : Rift Over OECD Leader". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 27 August 2018.
  7. ; Richard Woodward, The Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) (2009, Routledge)
  8. "Members renew Angel Gurría's mandate at the helm of the OECD". OECD. oecd members.
  9. "Mathias Cormann elected next secretary-general of OECD". News.com.au. 13 March 2021.