กระทรวงการต่างประเทศ (ญี่ปุ่น)

กระทรวงที่รับผิดชอบด้านความสัมพันธ์ทางการทูตของญี่ปุ่นกับนานาประเทศ
(เปลี่ยนทางจาก Ministry of Foreign Affairs (Japan))

กระทรวงการต่างประเทศ (ญี่ปุ่น: 外務省โรมาจิGaimushōทับศัพท์: ไกมุโช) เป็นหน่วยงานภายใต้อำนาจบริหารของรัฐบาลญี่ปุ่น มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

กระทรวงการต่างประเทศ
外務省
ไกมุโช
ตราสัญลักษณ์กระทรวงการต่างประเทศ

อาคารกระทรวงการต่างประเทศ
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง15 สิงหาคม พ.ศ. 2412 (155 ปี)
เขตอำนาจธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
สำนักงานใหญ่2-2-1 คาซูมิงาเซกิ เขตชิโยดะ โตเกียว 100-8919 ประเทศญี่ปุ่น
บุคลากร6281 คน
ต้นสังกัดหน่วยงานรัฐบาลญี่ปุ่น
เว็บไซต์www.mofa.go.jp

ประวัติและภูมิหลัง

แก้

กระทรวงนี้ก่อตั้งขึ้นตามมาตรา 3 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรรัฐบาลแห่งชาติ[1] และพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงการต่างประเทศ โดยอ้างอิงจากพระราชบัญญัติดังกล่าว ภารกิจของกระทรวงการต่างประเทศคือ "การพัฒนาผลประโยชน์ของประเทศญี่ปุ่นและชาวญี่ปุ่น สนับสนุนการรักษาความสงบสุขและความปลอดภัยของสังคมระหว่างประเทศ สร้างสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศที่ดี และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดีอย่างต่อเนื่องและกระตือรือร้น"

ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น พ.ศ. 2490 คณะรัฐมนตรีได้ให้การต่างประเทศเป็นความรับผิดชอบหลักโดยมีรัฐสภาเป็นผู้ควบคุมดูแล นายกรัฐมนตรีจำเป็นที่จะต้องจัดทำรายงานการต่างประเทศเป็นช่วง ๆ ต่อรัฐสภาที่ทั้งสภาสูงและสภาล่างต่างมีคณะกรรมาธิการการต่างประเทศเป็นคนตนเอง อาจมีการตั้งคณะกรรมาธิการเฉพาะกิจเพื่อปรึกษาหารือเรื่องที่มีความพิเศษจำเพาะ สมาชิกรัฐสภามีสิทธิ์ที่จะตั้งกระทู้ถามเกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและนายกรัฐมนตรี ตลอดจนสนธิสัญญาต่าง ๆ กับต่างประเทศต้องเห็นชอบโดยรัฐสภา ในฐานะจักรพรรดิซึ่งเป็นประมุขแห่งรัฐที่จะปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพระราชพิธีการต้อนรับผู้แทนทางการทูต และเป็นผู้รับรองสนธิสัญญาต่างประเทศที่รัฐสภาเห็นชอบ

ในฐานะประธานแห่งอำนาจฝ่ายบริหารและบุคคลสำคัญในระบบการเมือง นายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการบัญชาคำสั่งนโยบายการต่างประเทศที่สำคัญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและสมาชิกคณะรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็นหัวหน้าที่ปรึกษาด้านการวางแผนและดำเนินการนโยบายการต่างประเทศ โดยรัฐมนตรีจะมีผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สองคน ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ คนที่หนึ่งจะดูแลการบริหารงานซึ่งอยู่บนสุดในโครงสร้างของกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะข้าราชการชั้นสูง และผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ คนที่สองจะดูแลการประสานงานทางการเมืองกับรัฐสภา ตำแหน่งอื่น ๆ ที่สำคัญในกระทรวงฯ เช่น เลขาธิการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งมีกองที่ดูแลเรื่องกงสุล การย้ายถิ่นออก การสื่อสาร และภารกิจการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และอธิบดีกรมต่าง ๆ ทั้งส่วนกระทรวงและส่วนภูมิภาค เป็นต้น

กระทรวงการต่างประเทศได้มีการสรรหาคณะทูตานุทูตพิเศษผ่านการสอบแข่งขัน และภายหลังจะได้รับการอบรมโดยสถาบันฝึกอบรมเจ้าหน้าที่การต่างประเทศ กรมสนธิสัญญามีหน้าที่ที่หลากหลาย ซึ่งมักจะดูแลและแก้ไขปัญหาทางนโยบายการต่างประเทศในเกือบทุกด้าน นอกจากนี้กรมวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัย และวางแผนจะควบคุมงานวางแผนและตรวจสอบนโยบายการต่างประเทศอย่างครอบคลุม

เจ้าหน้าที่การต่างประเทศตั้งแต่ยุคเมจิจนถึงสงครามโลกครั้งที่สองจะได้รับการคุ้มครองในฐานะชนชั้นสูง ซึ่งจะต้องผ่านคุณสมบัติเบื้องต้นก่อนสงครามในการรับราชการเป็นเจ้าหน้าที่การต่างประเทศ เช่น มีฐานะทางสังคมที่ดี ครอบครัวมีความสัมพันธ์กับชนชั้นสูง และต้องจบจากมหาวิทยาลัยแห่งจักรพรรดิโตเกียว (มหาวิทยาลัยโตเกียวในปัจจุบัน) โดยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง คุณสมบัติเหล่านี้ได้รับการปรับเปลี่ยนสืบเนื่องจากมาตรการปฏิรูปประชาธิปไตยในสมัยนั้น แต่เจ้าหน้าที่การต่างประเทศยังคงถือเป็นอาชีพที่ทรงเกียรติยศ ซึ่งเจ้าหน้าที่การต่างประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่สองจะต้องผ่านการสอบเจ้าหน้าที่การต่างประเทศชั้นสูงก่อนที่จะเข้ารับราชการได้ ผู้สมัครที่ผ่านการสอบได้ส่วนใหญ่มักจะจบมาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียวที่มีชื่อเสียง และในเกือบทุกการแต่งตั้งเอกอัคราชทูตตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2493 เป็นต้นมาจะกระทำผ่านนักการทูตผู้มีประสบการณ์สูง

การทูตในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองไม่ได้ถูกกระทรวงการต่างประเทศผูกขาดอำนาจเท่านั้น โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ทับซ้อนของปัจจัยทางเศรษฐกิจทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กระทรวงฯ ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงการคลังในกิจการที่เกี่ยวข้องกับภาษีและพิกัดอัตราศุลกากร การเงินระหว่างประเทศ และการให้ความช่วยเหลือการต่างประเทศ ทั้งนี้ยังได้รับความร่วมมือจากกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมในการควบคุมดูแลการส่งออกและนำเข้า และการให้คำปรึกษาด้านการนำเข้าผลผลิตทางการเกษตรและสิทธิในเขตพื้นที่การประมงจากกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง นอกจากนี้กระทรวงการต่างประเทศยังได้ปรึกษาหารือกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น กระทรวงป้องกันประเทศ คณะกรรมการการค้ายุติธรรม ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออก องค์กรการค้านอกประเทศ กองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเล และสำนักงานความร่วมมือทางเทคนิคโพ้นทะเล

ในปัญหาต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างประเทศของประเทศและความสัมพันธ์ทางการทูต กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม และกระทรวงการคลังจะทำงานร่วมกันให้การนำเข้าสินค้านั้นมีความเสรีมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงมักจะยืนหยัดในลัทธิคุ้มครองเสียมากกว่าเนื่องจากได้รับแรงกดดันมากมายจากกลุ่มผลประโยชน์พิเศษ

ความสัมพันธ์ในการต่างประเทศมีความสำคัญต่อในทุกด้านของชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวญี่ปุ่นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ความซับซ้อนของหน่วยงานที่เกี่ยวกับการต่างประเทศเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความสับสนและความไร้สมรรถภาพในการขับเคลื่อนนโยบายการต่างประเทศ อย่างไรก็ตามผู้นำและนักวางนโยบายในช่วงยุคหลังสงครามเริ่มที่จะเป็นบทบาทสำคัญในการตัดสินใจของรัฐบาล และเมื่อปัญหานโยบายการต่างประเทศในทัศนคติของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น ก็จะก่อให้เกิดสัญญาณว่าการดำเนินกิจการในการต่างประเทศจะสามารถทำได้ตามพื้นฐานของมติมหาชนที่มั่นคง

ส่วนราชการ

แก้

กระทรวงการต่างประเทศ (ญี่ปุ่น: 外務省โรมาจิGaimushō)

หนังสือทูตปกน้ำเงิน

แก้

หนังสือทูตปกน้ำเงิน (ญี่ปุ่น: 外交青書โรมาจิGaikō Seisho) เป็นรายงานประจำปีที่จัดทำโดยกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งจะสรุปนโยบายการต่างประเทศและประเมินแนวโน้มการเมืองต่างประเทศ[4] หนังสือปกน้ำเงินเผยแพร่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2500[5] รายงานดังกล่าวอาจสร้างความไม่พอใจจากต่างประเทศกับนโยบายการต่างประเทศญี่ปุ่น เช่น การละเลยวลี "ประเทศเกาหลีใต้เป็นเพื่อนบ้านคนสำคัญของเรา" และเพิ่มประโยคอย่าง "อาชีพในประเทศเกาหลีใต้บนเกาะเล็กเลียนคอร์ตผิดกฎหมาย" ในหนังสือปกน้ำเงินปี พ.ศ. 2561 ได้สร้างการโต้เถียงกับรัฐบาลเกาหลีใต้อย่างเห็นได้ชัด[6]

อ้างอิง

แก้
  1. National Government Organization Act (Act No. 120 of July 10, 1948) www.cas.go.jp. (ภาษาญี่ปุ่น).
  2. "Organization". Ministry of Foreign Affairs of Japan (ภาษาอังกฤษ).
  3. "組織案内・所在地". Ministry of Foreign Affairs of Japan (ภาษาญี่ปุ่น).
  4. Hurst, Daniel (2 May 2019). "Japan's Diplomatic Policy Outline Reveals Shifts on North Korea, Russia". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 27 June 2020.
  5. "外交青書". Ministry of Foreign Affairs of Japan (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 27 June 2020.
  6. Choe, Ki-weon; Kim, Ji-eun (16 May 2018). "Japan sharpens hardline language about Korea in foreign policy report". Hankoryeh. สืบค้นเมื่อ 27 June 2020.