รัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น

รัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本国憲法 นิฮงโกะกุเค็งโป) เป็นกฎหมายพื้นฐานของประเทศญี่ปุ่น ตราเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประเทศญี่ปุ่นยุคหลังสงคราม

รัฐธรรมนูญกำหนดระบอบการปกครองแบบรัฐสภาและรับประกันสิทธิพื้นฐาน ภายใต้ข้อความของรัฐธรรมนูญ จักรพรรดิญี่ปุ่นทรงเป็น "สัญลักษณ์แห่งรัฐและเอกภาพของประชาชน" และทรงมีบทบาทเฉพาะในพิธีการโดยไม่มีอำนาจอธิปไตย

รัฐธรรมนูญนี้ ซึ่งมีชื่ออื่นว่า "รัฐธรรมนูญหลังสงคราม" หรือ "รัฐธรรมนูญสันติภาพ" มีเอกลักษณ์และขึ้นชื่อจากการสละสิทธิก่อสงครามที่ระบุในมาตรา 9 และบทบัญญัติสำหรับอำนาจอธิปไตยของปวงชนโดยนิตินัยร่วมกับพระมหากษัตริย์

รัฐธรรมนูญนี้ร่างขึ้นภายใต้การยึดครองของฝ่ายสัมพันธมิตรให้หลังสงครามโลกครั้งที่สอง และตั้งใจแทนที่ระบบแสนยนิยมและสมบูรณาญาสิทธิราชย์เดิมของประเทศญี่ปุ่นด้วยประชาธิปไตยเสรีนิยมรูปแบบหนึ่ง ปัจจุบัน เป็นรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากและต่อมาไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใด ๆ นับแต่มีมติเห็นชอบ[1]

บทบัญญัติ

แก้
  • I. จักรพรรดิ (มาตรา 1–8)
  • II. การสละสงคราม (มาตรา 9)
  • III. สิทธิและหน้าที่ของประชาชน (มาตรา 10–40)
  • IV. รัฐสภา (มาตรา 41–64)
  • V. คณะรัฐมนตรี (มาตรา 65–75)
  • VI. ตุลาการ (มาตรา 76–82)
  • VII. การเงิน (มาตรา 83–91)
  • VIII. การปกครองท้องถิ่น (มาตรา 92–95)
  • IX. การแก้ไขเพิ่มเติม (มาตรา 96)
  • X. ศาลฎีกา (มาตรา 97–99)
  • XI. บทบัญญัติเสริม (มาตรา 100–103)

อ้างอิง

แก้