ภาษาฮาจิโจ (ญี่ปุ่น: 八丈語โรมาจิHachijō-go) หรือ สำเนียงฮาจิโจ (ญี่ปุ่น: 八丈方言โรมาจิHachijōhōgen) เป็นสำเนียงที่มีผู้ใช้จำนวนน้อย ผู้ใช้อาศัยอยู่บนเกาะฮาจิโจและเกาะอาโองาชิมะของหมู่เกาะอิซุทางตอนใต้ของโตเกียว และพบบนหมู่เกาะไดโตของจังหวัดโอกินาวะที่มีชาวเกาะฮาจิโจเข้าไปตั้งรกรากมาตั้งแต่ยุคเมจิ

ภาษาฮาจิโจ
ประเทศที่มีการพูดประเทศญี่ปุ่น
ภูมิภาคตอนใต้ของหมู่เกาะอิซุ และหมู่เกาะไดโต
จำนวนผู้พูดน้อยกว่า 1,000 คน  (2011)[1][2]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
รหัสภาษา
ISO 639-3
ISO 639-6hhjm
ตำแหน่งของหมู่เกาะอิซุ

โดยทั่วไปจัดว่าเป็นสำเนียงถิ่นหนึ่งของภาษาญี่ปุ่น แต่เนื่องจากมีความแตกต่างจากภาษาญี่ปุ่นบนเกาะหลักอย่างชัดเจนจึงถูกมองว่าเป็นภาษาหนึ่งต่างหากโดยนักภาษาศาสตร์

ประวัติ แก้

ภาษาฮาจิโจมีอัตลักษณ์ของภาษาญี่ปุ่นตะวันออกแบบโบราณดังปรากฏในบันทึกมันโยชูช่วงศตวรรษที่ 8 นอกจากนี้ภาษาฮาจิโจยังมีความคล้ายคลึงกับสำเนียงแถบคีวชูและกลุ่มภาษารีวกีว แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะอธิบายว่าชาวหมู่เกาะอิซุนั้นอพยพมาจากดินแดนดังกล่าว และก็ไม่ทราบที่มาที่ไปของภาษานี้ บ้างก็ว่าผู้ใช้ภาษานี้อาจเป็นภาษาที่ชาวเรือในหมู่เกาะตอนใต้ยืมคำมา และบ้างก็ว่าเป็นภาษาดั้งเดิมจากภาษาญี่ปุ่นโบราณ[3]

สำเนียงของภาษาฮาจิโจในแต่ละหมู่บ้านมีความแตกต่างกันด้านการออกเสียง แต่ที่สำเนียงเกาะอาโองาชิมะนั้นแตกต่างมากที่สุด นอกจากนี้ยังเคยมีผู้ใช้ภาษานี้บนเกาะฮาจิโจน้อย (ญี่ปุ่น: 八丈小島โรมาจิHachijō-kojima) แต่อพยพออกไปจากเกาะทั้งหมดในปี ค.ศ. 1969

ในปี ค.ศ. 2009 ยูเนสโกได้จัดให้เป็นภาษาใกล้สูญแน่นอน[4][5]

ไวยากรณ์ แก้

ภาษาฮาจิโจจะใช้กริยาช่วย "อารุ" กับทุกอย่างทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต และยังแยกแยะระหว่างกริยาและคุณศัพท์ที่เปลี่ยนรูปกับที่ใช้ระบุประธานต่าง ๆ ทั้งนี้การแยกไวยากรณ์ให้เป็นคนละหัวข้อเช่นนี้ปรากฏในภาษาญี่ปุ่นยุคกลางตอนต้น และสาบสูญไปแล้วในภาษาญี่ปุ่นถิ่นอื่นในปัจจุบัน

ศัพท์ แก้

ภาษาฮาจิโจยังคงรักษาสำนวน (phrase) ที่ไม่มีแล้วในภาษาญี่ปุ่นถิ่นอื่น ๆ เช่น มางูเรรุ (ญี่ปุ่น: まぐれるโรมาจิmagureru) แต่ในภาษาญี่ปุ่นมาตรฐานจะใช้ว่า คิเซ็ตสึซูรุ (ญี่ปุ่น: 気絶するโรมาจิkizetsu suru) แปลว่า "เป็นลม" นอกจากนี้ยังคำที่เหมือนกันภาษาญี่ปุ่นมาตรฐาน แต่มีความหมายที่ต่างกัน ได้แก่[6]

คำฮาจิโจ คำญี่ปุ่น ความหมาย คำญี่ปุ่นที่ใกล้เคียง
ยามะ ฮาตาเกะ ทุ่ง "ยามะ" แปลว่า 'ภูเขา'
อูเรชิ นารุ เบียวกิ งะ นาอตเตะ คุรุ ฟื้นไข้ "อูเรชิกุ นารุ" แปลว่า 'มีความสุข'
โคไว สึกาเรรุ เหนื่อย "โคไว" แปลว่า 'ยาก, ดื้อรั้น'
โกมิ ทากิงิ ฟืน "โกมิ" แปลว่า 'ขยะ'

อ้างอิง แก้

  1. Kaneda (2001), pp. 3–14.
  2. Iannucci (2019), pp. 13–14.
  3. Masayoshi Shibatani, 1990. The Languages of Japan
  4. "消滅の危機にある方言・言語,文化庁". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-26. สืบค้นเมื่อ 2016-12-21.
  5. "八丈語? 世界2500言語、消滅危機 日本は8語対象、方言も独立言語 ユネスコ". 朝日新聞. 2009-02-20. สืบค้นเมื่อ 2014-03-29.
  6. "島言葉(八丈方言)を見直そう (Summary of the Hachijo dialect)". Hachijo-jima Official Site. 八丈町教育課生涯学習係. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-19. สืบค้นเมื่อ 2013-08-23.