ยุคอาซูจิ–โมโมยามะ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ยุคอาซูจิ–โมโมยามะ (ญี่ปุ่น: 安土桃山時代; โรมาจิ: Azuchi-Momoyama jidai) เป็นยุคของประเทศญี่ปุ่น ที่เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1573 จนถึง ค.ศ. 1603 ระหว่างสงคราม โอดะ โนบูนางะ และ โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ ยกทัพเข้าสู่ที่พำนักของ โชกุนอาชิกางะ คือปราสาทอาซูจิ (ในจังหวัดชิงะ) และ ฮิเดโยชิยกทัพเข้าสู่ปราสาทโมโมยามะ (ในกรุงเกียวโต นครหลวงเก่าของญี่ปุ่น)
ยุคอาซูจิ–โมโมยามะ 安土桃山時代 Azuchi–Momoyama jidai 日本国 Nippon-koku | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1568–ค.ศ. 1600 | |||||||||||||
เมืองหลวง | 1568-1582 นครหลวงเฮอัง a / อาซูจิ b 1582–1600 นครหลวงเฮอัง | ||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ปลายญี่ปุ่นยุคกลาง | ||||||||||||
การปกครอง | ศักดินา | ||||||||||||
จักรพรรดิ | |||||||||||||
• 1557—1586 | จักรพรรดิโองิมาจิ | ||||||||||||
• 1587—1611 | จักรพรรดิโกะ-โยเซ | ||||||||||||
โชกุน | |||||||||||||
• 1568–1573 | อาชิกางะ โยชิอากิ | ||||||||||||
ผู้นำรัฐบาล | |||||||||||||
• 1568—1582 | โอดะ โนบูนางะ | ||||||||||||
• 1582—1598 | โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ | ||||||||||||
• 1598—1600 | สภาผู้อาวุโสทั้งห้า | ||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||
• ก่อตั้ง | ค.ศ. 1568 | ||||||||||||
• สิ้นสุด | ค.ศ. 1600 | ||||||||||||
สกุลเงิน | มง | ||||||||||||
| |||||||||||||
|
เหตุการณ์ที่สำคัญ
แก้- ค.ศ. 1573 โนบูนางะ มิได้รับตำแหน่งโชกุน แต่เป็นเพียงผู้บัญชาการทหารและได้นำกองทัพพร้อมทั้งขุนศึกคู่ใจอย่าง โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ และ โทกูงาวะ อิเอยาซุ เข้าปราบพวกไดเมียวที่แข็งข้อตามแคว้นต่าง ๆ เพื่อทำการรวมประเทศ
- ค.ศ. 1575 ศึกที่นางาชิโนะ โนบูนางะ ร่วมกับอิเอยาซุทำลายกองทัพม้าอันเกรียงไกรของทาเกดะ คัตสึโยริ แห่งตระกูลทาเกดะ โดยฝ่ายทาเกดะได้รับความสูญเสียอย่างหนักจนเป็นเหตุให้ต้องล่มสลายไปในการศึกที่แคว้นคาอิในเวลาต่อมาแต่กองทัพผสมโอดะ–โทกูงาวะนั้นไม่มีรายงานการเสียชีวิตของทหารฝ่ายตนเลยแม้แต่น้อย
- ค.ศ. 1582 อาเคจิ มิตสึฮิเดะ ขุนพลคนหนึ่งของโนบูนางะได้นำกำลังของตนเข้าโจมตีวัดฮนโนซึ่งเป็นที่พำนักของโนบูนางะและสังหารโนบูนางะได้ อีกทั้งยังยกกำลังเข้าตีปราสาทนิโจสังหารบุตรชายคนโตของโนบูนางะอีกด้วยแต่หลังจากนั้นอีกหนึ่งสัปดาห์ มิตสึฮิเดะก็ถูกกองกำลังของฮิเดโยะชิที่กลับมาจากการทำศึกกับตระกูลโมริเข้าโจมตีด้วยกำลังที่มากกว่า และมีกำลังพลมากกว่าชัยชนะจึงเป็นของฮิเดโยะชิด้วยเหตุนี้ฮิเดโยชิจึงประกาศตัวเองเป็นผู้พิทักษ์ของตระกูลโอดะแต่ไม่ได้รับการยอมรับจากขุนพลคนอื่น ๆ ของตระกูลโอดะและโทกูงาวะ อิเอยาซุ เพราะพวกเขาต่างก็มองเจตนาของฮิเดโยชิออก
- ค.ศ. 1583 ศึกโคมากิ–นางากูเตะ อิเอยาซุและไดเมียวคนอื่น ๆ ที่ยังแข็งข้อต่อฮิเดโยชิได้ยอมสงบศึกกับฮิเดโยชิแต่มีข้อแม้คือพวกเขาต้องส่งบุตรหลานหรือคนสำคัญในตระกูลไปพำนักที่ปราสาทโอซากะในฐานะตัวประกัน
- ค.ศ. 1590 ฮิเดะยะชิ รวมประเทศได้สำเร็จ และต่อมาได้ตั้งสภาผู้อาวุโสทั้งห้า ประกอบด้วยไดเมียว 5 คน (หนึ่งในนั้นคือ อิเอยาซุ ด้วย) เพื่อหวังให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนทายาทของฮิเดโยชิ ด้วยความจงรักภักดีต่อไป
- ค.ศ. 1600 เมื่อฮิเดโยชิถึงแก่กรรม ก็เกิดการแย่งอำนาจกันระหว่างไดเมียวทั้งห้า โดยแบ่งเป็นสองขั้วอำนาจระหว่างอิชิดะ มิตสึนาริ (ฝ่ายตะวันตก) กับโทกูงาวะ อิเอยาซุ (ฝ่ายตะวันออก) ทั้งสองฝ่ายมีการกระทบกระทั่งกันจนเป็นสงครามย่อย ๆ อยู่หลายครั้งแต่ในที่สุดเมื่อทั้งสองฝ่ายได้ทำการรบขั้นเด็ดขาดกันในยุทธการที่เซกิงาฮาระ ผลคือกองทัพฝ่ายตะวันออกเป็นฝ่ายได้ชัยชนะ ส่วนมิตสึนาริที่พ่ายแพ้ก็ถูกประหารโดยคำสั่งของตระกูลโทกูงาวะ
- ค.ศ. 1615 กองทัพโทกูงาวะเข้าโจมตีปราสาทโอซากะอันเป็นที่พำนักของตระกูลโทโยโตมิโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า แม้โทโยโตมิ ฮิเดโยริ (บุตรชายของฮิเดโยชิ)จะต่อต้านอย่างดุเดือดแต่ก็พ่ายแพ้และจบชีวิตตัวเองลงด้วยการคว้านท้องพร้อมกับมารดา