ยุทธการที่เซกิงาฮาระ

ศึกชิงตำแหน่งโชกุนโทกูงาวะในญี่ปุ่น

ยุทธการที่เซกิงาฮาระ (関ヶ原の戦い, Sekigahara no Tatakai) เป็นศึกชี้ขาดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1600 ซึ่งกรุยทางสู่การจัดตั้งรัฐบาลโชกุนของโทกุงาวะ อิเอยาซุ แม้เขาจะต้องใช้เวลาหลังจากนี้อีกสามปีในการรวบรวมอำนาจในตำแหน่งของเขาเหนือตระกูลโทโยโตมิและเหล่าไดเมียว เซกิงาฮาระถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นจุดเริ่มต้นอย่างไม่เป็นทางการของรัฐบาลเอโดะ จากนั้น ญี่ปุ่นก็มีสันติภาพเป็นเวลานานหลังจากยุทธการนี้

ยุทธการที่เซกิงาฮาระ
ส่วนหนึ่งของ ยุคเซ็นโกคุ

ภาพวาดแสดงยุทธการเซกิงาฮาระ ศิลปะในยุคเอโดะ
วันที่15 กันยายน ค.ศ. 1600 (วันที่แบบญี่ปุ่นเดิม)
21 ตุลาคม ค.ศ. 1600 (วันที่แบบปัจจุบัน)
สถานที่
เซกิงาฮาระ, ปัจจุบันคือจังหวัดกิฟุ
ผล ชัยชนะของโทกุงาวะและพันธมิตร
เริ่มต้นยุคเอโดะ
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
ตระกูลโทกุงาวะได้อำนาจปกครองญี่ปุ่นทั้งหมด
คู่สงคราม
โทโยโตมิ
ตระกูลในญี่ปุ่นตะวันตก
โทกุงาวะ
ตระกูลในญี่ปุ่นตะวันออก
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
อิชิดะ มิสึนะริ โทษประหารชีวิต
โมริ เทรุโมโตะ
โอตานิ โยชิสึกุ 
ชิมะ ซากอน 
ชิมาสุ โยชิฮิโระ
ชิมาสุ โทโยฮิสะ 
อุคิตะ ฮิเดอิเอะ
โจโซคาเบะ โมริจิกะ
ฮิราสึกะ ทาเมะฮิโระ 
โทดะ คัตสึชิเงะ 
ยูอาสะ โกสุเกะ 
คิกคาวะ ฮิโรอิเอะ
โมริ ฮิเดะโมโตะ
โทกุงาวะ อิเอยาสุ
อิ นาโอะมาสะ (ได้รับบาดเจ็บในขณะปฎิบัติหน้าที่)
โทโดะ ทากาโทระ
โฮโซคาวะ ทาดะโอกิ
ฮอนดะ ทาดะคัตสึ
คุโรดะ นางามาสะ
ฟุกุชิมะ มาซาโนริ
คาโตะ โยชิอากิ
อิเคดะ เทรุมาสะ
ทานากะ โยชิมาสะ
อะซาโนะ ยูกินากะ
มัตสึไดระ ทาดาโยชิ (ได้รับบาดเจ็บในขณะปฎิบัติหน้าที่)
กำลัง
มากกว่า 80,000 นาย มากกว่า 74,000 นาย
ความสูญเสีย
ตายประมาณ 8,000-32,000 นาย (มีความคิดเห็นหลากหลาย)
ส่วนที่เหลือเข้าร่วมกับอิเอยาสุ
ตายประมาณ 4,000-10,000 นาย (มีความคิดเห็นหลากหลาย)

การรบ แก้

เมื่อฮิเดโยชิเสียชีวิตในปี ค.ศ.1598 ตัวอิเอยาสุก็วางแผนที่จะริบอำนาจของตระกูลโทโยโทมิ แต่อิชิดะ มิตสึนาริและบรรดาไดเมียวทางภาคตะวันตกไม่ยินยอม รวมทั้งตัวอุเอสึงิ คาเงะคัตสึกับนาโอเอะ คาเนะสึกุ ก็ไม่เห็นด้วยกับอิเอยาสุ ทางด้านอิชิดะจึงเปิดฉากโจมตีโดยร่วมมือกับชิมาสุเข้าโจมตีปราสาทฟุชิมิ เมื่อปราสาทฟุชิมิถูกตีแตก อิเอยาสุจึงต้องรับศึกสองด้าน คือทัพอิชิดะและทัพอุเอสึงิ ดังนั้นอิเอยาสุตัดสินใจรับศึกกับทัพอิชิดะที่ทุ่งเซกิงาฮาระ และแบ่งอีกทัพหนึ่งไปรับกับทัพอุเอสึงิ

21 ตุลาคม ค.ศ. 1600 ทัพอิชิดะและทัพโทกุงาวะก็เปิดฉากสู้รบกัน โดยในช่วงแรกฝ่ายอิชิดะและพันธมิตรได้เปรียบ แต่มีขุนพลคนหนึ่งชื่อโคบายาคาวะ ฮิเดะอากิ กลับลังเลไม่ยอมเคลื่อนทัพ ทางฝ่ายอิเอยาสุที่กำลังเสียเปรียบจึงเข้าเจรจาลับกับตัวฮิเดะอากิแต่ฮิเดะอากิก็ลังเล สุดท้ายอิเอยาสุจึงให้ทหารระดมยิงปืนไฟใส่ค่ายโคบายาคาวะ ทำให้โคบายาคาวะ ฮิเดะอากิ, คุสึกิ โมโตสึนะ, วากิซากะ ยาสุฮารุ, อะกาสะ นาโอะยาสุ และโองาวะ สุเกะทาดะ ทรยศอิชิดะ และเข้าโจมตีกองทัพโอตานิทันที จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้โอตานิ โยชิสึกุตัดสินใจทำเซ็ปปุกุ ส่วนชิมะ ซากอน ก็ได้สละชีวิตตนเอง เพื่อให้มิตสึนาริได้หลบหนี และบรรดากองทัพฝ่ายตะวันตกก็ต่างถอยทัพกลับดินแดนของตน

เหตุการณ์ในภายหลัง แก้

หลังการรบที่เซกิงาฮาระ อิเอยาสุก็สั่งให้โคบายาคาวะ เข้าโจมตีปราสาทซาวายามะในแคว้นโอมิ ผลลัพธ์คืออิชิดะ มาซาสึกุ อิชิดะ มาซาซุมิ และนางโคเงะสึอิน เสียชีวิตในการรบ

โคนิชิ ยูกินากะ ถูกจับได้ที่เขาอิบูกิโดยทหารของทาเกะนากะ ชิเงะคาโดะ ส่วนในเกียวโต ทหารของโทกุงาวะก็ไปจับกุมอันโกคุจิ เอ๊กเค ที่กำลังซ่อนตัวอยู่ ทางด้านมิตสึนาริ ก็ได้หลบหนีไปตามสถานที่ต่าง ๆ แต่แล้วเขาก็ถูกทหารของทานากะ โยชิมาสะ จับกุมตัวได้ที่ถ้ำแห่งหนึ่งใกล้กับหมู่บ้านทากาโทกิ สุดท้ายมิตสึนาริ, โคนิชิ และเอ๊กเค ก็ถูกประหารชีวิต

ส่วนทางอุคิตะ ฮิเดอิเอะ ก็ถูกเนรเทศไปยังเกาะฮาจิโจจิมะ และมีการสงบศึกระหว่างตระกูลโทกุงาวะกับตระกูลโทโยโตมิ ต่อมาอิเอยาสุก็ได้จัดตั้งรัฐบาลโชกุน และจัดตั้งเมืองหลวงใหม่ที่เอโดะ

อ้างอิง แก้

  • SengokuDaimyo.com The website of samurai author and historian Anthony J. Bryant. Bryant is the author of the above-mentioned Sekigahara 1600: The Final Struggle for Power.
  • Several strategy war games based on the battle: Sekigahara: Unification of Japan