นะโอะเอะ คะเนะสึงุ

นะโอะเอะ คะเนะซึกุ (ญี่ปุ่น: 直江 兼続โรมาจิNaoe Kanetsugu) (พ.ศ. 2103-พ.ศ. 2163) เป็นซามูไรชาวญี่ปุ่น ในช่วงศตวรรษที่ 16-17 เป็นลูกชายคนโตของฮิงุจิ คาเนะโตะโยะ ตระกูลของคะเนะซึกุเป็นข้ารับ ใช้ของ ไดเมียวอุเอะสึงิ ถึงสองรุ่นด้วยกัน นอกจากนี้ยังได้ถูกใช้ตั้งเป็นชื่อของศาลเจ้า "โยมาชิโระ โน คามิ"(山城守) หรือตอนเด็กเขาใช้ชื่อ ฮิงุจิ คะเนะซึกุ คาเนะซึกุถวายการรับใช้ครั้งแรกเป็น โคโช(小姓) ให้กับท่าน Uesugi Kenshin หลังจากท่านเคนชินเสียชีวิต เขาได้เข้าเป็นข้ารับใช้ของบุตรบุญธรรมของท่านเคนชิน คาเกะคัทสุ Kagekatsu น้องชายของคาเนะซึกุ โอคุนิ ซาเนะฮิโระ เป็นทนายความชื่อดังของอุเอะสึงิ

นะโอะเอะ คะเนะซึกุ

ประวัติ

แก้

คะเนะซึงกุเกิดที่ฮิงุจิ โยโรคุ เขาเติบโตที่ปราสาทซากาโตะ จังหวัดเอจิโก พ่อของเขาฮิงุจิ โซเอมอน คาเนะโตะโยะเป็นผู้ติดตามของท่านนาโอเอะ มาซาคาเงะแห่งปราสาทซากาโตะเมื่อถึงวัย เขาสมรสกับโอเซนภรรยาม่ายของนายจ้างนาโอเอะ โนบุสึนะ และใช้ชื่อ นาโอเอะ คาเนะซึกุ เขาเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็วในฐานะผู้บัญชาการของกองทัพอิเอสุงิและเป็นที่ปรึกษา ของท่านไดเมียวคาเกะคัทสุKagekatsuและอุเอะสึงิได้ไปพัวพันกับการต่อสู้ครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นบนญี่ปุ่นร่วมกับกลุ่มของซัตสะ นาริทาสะ(sassa narimasa) และมาเอดะ โทชิอิเอะMaeda Toshiie คาเนะซึกุและ อุเอะสึงิต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนกับพันธมิตรในช่วงที่รบกับตระกูลโทคุงาวะTokugawaในศึกเซกิกาฮาระโดยฝ่ายอิเอะยาสุ โตะกุงะวะ ชนะสงครามเนื่องจากมีพันธมิตรได้แปรพักตร์ในระหว่างสงครามและทำให้ตระกูลโทคุงาวะได้เป็นผู้นำประเทศในฐานะผู้สำเร็จราชการ ,คาเนสุกุมีรายได้ก่อนที่เขาจะเกษียณอายุราชการถึง 600,000 โคคุKoku

ชีวิตหลังความตาย

แก้
 
ชุดเกราะของนาโอเอะ คาเนะซึกุ

หลังการตายของเขา ภรรยาของเขาท่านหญิงโอเซน (お船 ) ถือผนวช ตัดผมสั้น และกลายเป็นพระภิกษุณี จึงได้รับสมญานามว่า เทอิชิน (貞心尼 Teishin-ni) เทอิชินช่วยดูแลทายาทของอุเอะสึงิ หลังจากคาเกะคัทสุKagekatsuตายในอายุ 81 ปี ในพ.ศ. 2180

ชื่อเสียง

แก้

นาโอเอะ คาเนะซึกุผู้ที่ใช้คำว่า"รัก" บนศีรษะ ผู้ที่ถือหลักแห่งความยุติธรรมเพื่อปกป้องประเทศให้ พ้นจากภัยสงคราม ผู้ยึดถือหลักความรัก ความเมตตาเพื่อผ่านอุปสรรคนานานัปการเพื่อประโยชน์สุข แก่ส่วนรวมแม้ต้องเสียสละส่วนตน วีรกรรมต่างๆไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาบ้านเมือง การศึกษา การสงครามเพื่อให้บ้านเมืองและประชาชนอยู่รอด "แม้ชีพวายแต่ชื่อนั้นคงเป็นอมตะ"