จังหวัดชิงะ

จังหวัดของประเทศญี่ปุ่น

จังหวัดชิงะ (ญี่ปุ่น: 滋賀県โรมาจิShiga-ken) เป็นจังหวัดของประเทศญี่ปุ่นที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ในภูมิภาคคันไซบนเกาะฮนชู[2] มีจำนวนประชากรประมาณ 1,397,221 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2025) ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 4,017 ตารางกิโลเมตร (1,551 ตารางไมล์) จังหวัดชิงะมีอาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจังหวัดฟูกูอิ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับจังหวัดกิฟุ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับจังหวัดมิเอะ และทิศตะวันตกติดกับจังหวัดเกียวโต

จังหวัดชิงะ

滋賀県
การถอดเสียงภาษาญี่ปุ่น
 • อักษรญี่ปุ่น滋賀県
 • โรมาจิShiga-ken
ธงของจังหวัดชิงะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของจังหวัดชิงะ
ตรา
เพลง: ชิงะเค็มมินโนะอูตะ
แผนที่ประเทศญี่ปุ่นเน้นจังหวัดชิงะ
แผนที่ประเทศญี่ปุ่นเน้นจังหวัดชิงะ
แผนที่
พิกัด: 35°7′N 136°4′E / 35.117°N 136.067°E / 35.117; 136.067
ประเทศ ญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันไซ
เกาะฮนชู
เมืองหลวงนครโอตสึ
เขตการปกครองย่อยอำเภอ: 3, เทศบาล: 19
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการไทโซ มิกาซูกิ
พื้นที่
 • ทั้งหมด4,017.38 ตร.กม. (1,551.12 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 38
ประชากร
 (1 พฤษภาคม ค.ศ. 2025)
 • ทั้งหมด1,412,916 คน
 • อันดับที่ 28
 • ความหนาแน่น348 คน/ตร.กม. (900 คน/ตร.ไมล์)
จีดีพี[1]
 • ทั้งหมด6.923 ล้านล้านเยน
63.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค.ศ. 2019)
รหัส ISO 3166JP-25
เว็บไซต์www.pref.shiga.lg.jp
สัญลักษณ์
สัตว์ปีกนกเป็ดผีเล็ก (Tachybaptus ruficollis)
ดอกไม้กุหลาบพันปี (Rhododendron metternichii var. hondoense)
ต้นไม้เมเปิลญี่ปุ่น (Acer palmatum)

เมืองหลวงของจังหวัดชิงะคือ นครโอตสึ ซึ่งเป็นทั้งศูนย์กลางการปกครองและเมืองที่มีประชากรมากที่สุด ขณะที่เมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ นครคูซัตสึ นครนางาฮามะ และนครฮิงาชิโอมิ[3] จุดเด่นสำคัญของจังหวัดชิงะคือ ทะเลสาบบิวะ ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น รูปร่างของจังหวัดมีลักษณะโอบล้อมทะเลสาบนี้ไว้ และมีพื้นที่กว่าร้อยละ 37 ของทั้งจังหวัดที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานธรรมชาติ ซึ่งนับเป็นสัดส่วนสูงที่สุดในบรรดาจังหวัดทั้งหมดของญี่ปุ่น

พื้นที่ตอนใต้ของจังหวัดตั้งอยู่ติดกับนครเกียวโต อดีตเมืองหลวงของญี่ปุ่น และถือเป็นส่วนหนึ่งของเขตมหานครเกียวโต ซึ่งเป็นเขตมหานครขนาดใหญ่อันดับ 4 ของประเทศ นอกจากนี้ จังหวัดชิงะยังมีชื่อเสียงในด้านวัฒนธรรมและอาหารท้องถิ่น อาทิ เนื้อวัวโอมิ, ทัศนียภาพแปดประการแห่งโอมิ และปราสาทฮิโกเนะ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ปราสาทที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติประจำชาติของญี่ปุ่น[4]

ประวัติศาสตร์

แก้

ก่อนที่จะมีการจัดตั้งระบบจังหวัด พื้นที่บริเวณจังหวัดชิงะนี้ถูกเรียกว่า "แคว้นโอมิ" (ญี่ปุ่น: 近江国โรมาจิŌmi no kuni) หรือที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า "โกชู" (ญี่ปุ่น: 江州โรมาจิGōshū)[5] แคว้นโอมิตั้งอยู่ติดกับนาระและเกียวโต ซึ่งเป็นจุดบรรจบระหว่างญี่ปุ่นฝั่งตะวันตกกับตะวันออก จึงมีความสำคัญทางภูมิศาสตร์และการเมืองมาแต่โบราณ ในช่วง ค.ศ. 667–672 จักรพรรดิเท็นจิได้ทรงสร้างพระราชวังขึ้นที่เมืองโอตสึ ต่อมาใน ค.ศ. 742 จักรพรรดิโชมุได้ทรงสร้างพระราชวังขึ้นอีกแห่งในเมืองชิงารากิ ในช่วงต้นของยุคเฮอัง พระภิกษุไซโจ ซึ่งเกิดทางตอนเหนือของเมืองโอตสึ ได้ก่อตั้งวัดเอ็นเรียกูจิบนเขาฮิเอ ซึ่งต่อมากลายเป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธนิกายมหายานแบบเท็นได และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นหนึ่งในแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกพร้อมกับสถานที่ทางประวัติศาสตร์อีกหลายแห่งในเกียวโต ในชื่อ "อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เกียวโตโบราณ"

ในยุคเฮอัง แคว้นโอมิอยู่ภายใต้การปกครองของตระกูลซาซากิ และถูกสืบทอดโดยตระกูลรกกากุ ตระกูลเคียวโงกุ และตระกูลอาซาอิตามลำดับ ต่อมาในช่วงยุคอาซูจิ–โมโมยามะ โอดะ โนบูนางะได้รวบรวมแคว้นโอมิไว้ใต้การปกครอง และสร้างปราสาทอาซูจิบริเวณฝั่งตะวันออกของทะเลสาบบิวะเมื่อ ค.ศ. 1579 หลังจากนั้นแคว้นโอมิก็มีไดเมียวปกครองหลายคน และในสมัยนั้นยังมีนินจาอยู่ที่แถบนี้มากด้วย บุคคลสำคัญจากโอมิในยุคนี้ ได้แก่ โทโด ทากาโตระ, กาโม อูจิซาโตะ, โออิจิ, โยโดะ โดโนะ, โอฮัตสึ และโอเอโยะ

ใน ค.ศ. 1600 อิชิดะ มิตสึนาริ ขุนนางที่เกิดทางตะวันออกของเมืองนางาฮามะ และมีฐานพำนักอยู่ที่ปราสาทซาวายามะ ได้ยกทัพสู้รบกับโทกูงาวะ อิเอยาซุ ในศึกเซกิงาฮาระที่จังหวัดกิฟุ เมื่ออิเอยาซุได้รับชัยชนะ จึงตั้งให้อิอิ นาโอมาซะ เป็นเจ้าครองแคว้นคนใหม่ ณ ปราสาทซาวายามะ และก่อตั้งเป็นแคว้นศักดินาฮิโกเนะ ซึ่งภายหลังเป็นบ้านเกิดของบุคคลสำคัญอย่าง อิอิ นาโอซูเกะ ผู้ดำรงตำแหน่งไทโร (ตำแหน่งขุนนางระดับสูง) แห่งรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ และเป็นผู้ลงนามในสนธิสัญญาการค้ากับชาติตะวันตกและเปิดประเทศญี่ปุ่นสู่โลกภายนอกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 บริเวณแคว้นโอมิในอดีตนอกจากจะมีแคว้นศักดินาฮิโกะเนะแล้ว ยังมีแคว้นศักดินาอื่น ๆ เช่น แคว้นศักดินาเซเซะที่มีบทบาทในยุคนั้นด้วย

 
แผนที่จังหวัดชิงะ ค.ศ. 1880 ในสมัยที่รวมพื้นที่ทางใต้ของจังหวัดฟูกูอิเข้ามาด้วย

เมื่อมีการยกเลิกระบบศักดินา (ระบบฮัง) ในยุคเมจิ ดินแดนแคว้นโอมิได้ถูกแบ่งออกเป็น 8 จังหวัดย่อย ก่อนจะถูกรวมเป็นจังหวัดเดียวในเดือนกันยายน ค.ศ. 1872 ภายใต้ชื่อ "จังหวัดชิงะ" โดยตั้งชื่อตาม "อำเภอชิงะ" ซึ่งในขณะนั้นเมืองโอตสึยังอยู่ภายใต้การปกครองของอำเภอนี้มาจนถึง ค.ศ. 1898 ทั้งนี้ ในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1876 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1881 พื้นที่ทางใต้ของจังหวัดฟูกูอิยังเคยถูกรวมอยู่ในจังหวัดชิงะชั่วคราวอีกด้วย

ใน ค.ศ. 2015 ผู้ว่าราชการจังหวัดชิงะ ไทโซ มิกาซูกิ ได้จัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อจังหวัด โดยมีจุดประสงค์หนึ่งคือเพื่อเพิ่มแรงดึงดูดด้านการท่องเที่ยวภายในประเทศ[6]

ภูมิศาสตร์

แก้
 
ภาพถ่ายดาวเทียมของทะเลสาบบิวะในจังหวัดชิงะ

จังหวัดชิงะมีอาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจังหวัดฟูกูอิ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับจังหวัดกิฟุ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับจังหวัดมิเอะ และทิศตะวันตกติดกับจังหวัดเกียวโต

ที่ใจกลางของจังหวัดเป็นที่ตั้งของทะเลสาบบิวะ ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น กินพื้นที่ประมาณหนึ่งในหกของทั้งจังหวัด มีแม่น้ำเซตะไหลออกจากทะเลสาบบิวะผ่านจังหวัดเกียวโตลงสู่อ่าวโอซากะ ซึ่งเป็นแม่น้ำธรรมชาติสายเดียวที่ไหลออกจากทะเลสาบ ขณะที่แม่น้ำธรรมชาติอื่น ๆ ส่วนใหญ่จะไหลเข้าสู่ทะเลสาบ รอบทะเลสาบบิวะเคยมีทะเลสาบขนาดเล็ก (ลากูน) อยู่มากมาย แต่ส่วนใหญ่ถูกถมเพื่อใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 หนึ่งในลากูนที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ได้คือพื้นที่ชุ่มน้ำ (ญี่ปุ่น: 水郷โรมาจิsuigō) ในนครโอมิฮาจิมัง ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมสำคัญแห่งแรกของประเทศเมื่อ ค.ศ. 2006

ทะเลสาบบิวะแบ่งจังหวัดชิงะออกเป็น 4 ภูมิภาคย่อย ได้แก่

พื้นที่ราบของจังหวัดทอดตัวอยู่ทางฝั่งตะวันออกของทะเลสาบบิวะ และภูมิประเทศโดยรอบพื้นที่ราบส่วนใหญ่จะเป็นภูเขา ได้แก่

ทะเลสาบโยโงะ ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัด เป็นทะเลสาบขนาดเล็กที่มีชื่อเสียงจากตำนานเสื้อคลุมของนางฟ้า หรือเท็นเนียวโนะฮาโงโรโมะ (ญี่ปุ่น: 天女の羽衣โรมาจิtennyo no hagoromo) ซึ่งมีเนื้อหาใกล้เคียงกับนิทานพื้นบ้านตะวันตกเรื่อง "นางฟ้าหงส์ขาว" (Swan maiden)[7]

ภูมิอากาศของจังหวัดชิงะมีความแตกต่างระหว่างตอนเหนือกับตอนใต้อย่างชัดเจน โดยทางตอนใต้มีอากาศอบอุ่น ขณะที่ทางตอนเหนือมักจะหนาวจัดและมีหิมะตกหนัก เหมาะสำหรับการเล่นสกี ในหมู่บ้านนากาโนกาวาจิ ซึ่งอยู่ทางเหนือสุดของจังหวัด เคยมีบันทึกว่าหิมะทับถมสูงถึง 5.6 เมตร (18 ฟุต) ใน ค.ศ. 1936[8]

ณ วันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2014 พื้นที่ร้อยละ 37 ของจังหวัดได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานธรรมชาติ ซึ่งเป็นสัดส่วนสูงที่สุดในบรรดาจังหวัดทั้งหมดของญี่ปุ่น อุทยานเหล่านี้ได้แก่[9]

  • อุทยานกึ่งแห่งชาติ ได้แก่ บิวาโกะ และซูซูกะ
  • อุทยานธรรมชาติระดับจังหวัด ได้แก่ โคโต, คุตสึกิ-คัตสึรางาวะ, มิกามิ-ทานากามิ-ชิงารากิ

การเมืองการปกครอง

แก้

การเมืองระดับจังหวัด

แก้
 
ศาลากลางจังหวัดชิงะในนครโอตสึ

ไทโซ มิกาซูกิ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดชิงะ ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชิงะเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2014 เพื่อรับตำแหน่งต่อจากอดีตผู้ว่าราชการ ยูกิโกะ คาดะ มิกาซูกิได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มการเมืองกลาง-ซ้าย โดยเฉือนชนะอย่างสูสีกับคู่แข่งของเขาซึ่งคือ ทากาชิ โคยาริ อดีตข้าราชการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) ได้รับการสนับสนุนจากพรรคฝ่ายกลาง-ขวาซึ่งเป็นพรรครัฐบาลระดับชาติในขณะนั้น ต่อมาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2018 มิกาซูกิได้รับเลือกตั้งอีกสมัยอย่างท่วมท้น โดยมีคู่แข่งเพียงหนึ่งคนจากพรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่น[10][11][12]

สภาจังหวัดชิงะประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 44 คน มาจาก 16 เขตเลือกตั้ง และจัดการเลือกตั้งในรอบการเลือกตั้งท้องถิ่นทั่วประเทศ ณ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2019 องค์ประกอบของสภาแบ่งตามกลุ่มการเมืองได้ดังนี้[13]

การเมืองระดับชาติ

แก้

ในระดับรัฐสภาญี่ปุ่น จังหวัดชิงะมีผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง 4 คนในสภาผู้แทนราษฎร และอีก 2 คนในวุฒิสภา (1 คนต่อหนึ่งรอบการเลือกตั้ง) โดยในระบบสัดส่วนของสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชิงะจัดอยู่ในบล็อกผู้แทนสัดส่วนคิงกิ (Kinki Block) ร่วมกับจังหวัดอื่นในภูมิภาคคันไซ

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

จังหวัดชิงะแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 19 เทศบาล ประกอบด้วย 13 เทศบาลนคร และ 6 เทศบาลเมือง นอกจากนี้ จังหวัดชิงะยังแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ โดยครอบคลุมเฉพาะพื้นที่ที่เป็นเทศบาลเมือง ได้แก่ อำเภอกาโม อำเภออินูกามิ และอำเภอเอจิ

 
แผนที่เทศบาลในจังหวัดชิงะ
รายชื่อเทศบาลในจังหวัดชิงะ
ธง ทับศัพท์ไทย อักษรญี่ปุ่น โรมาจิ ประเภท อำเภอ พื้นที่
(ตร.กม.)
ประชากร
(คน)
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
รหัส
ท้องถิ่น
  โอตสึ 大津市 Ōtsu-shi นครศูนย์กลาง ไม่มี 464.51 341,187 734.51 25201-8
  ฮิโกเนะ 彦根市 Hikone-shi นคร ไม่มี 196.84 113,349 575.84 25202-6
  นางาฮามะ 長浜市 Nagahama-shi นคร ไม่มี 680.79 119,043 174.86 25203-4
  โอมิฮาจิมัง 近江八幡市 Ōmihachiman-shi นคร ไม่มี 177.45 82,116 462.76 25204-2
  คูซัตสึ 草津市 Kusatsu-shi นคร ไม่มี 67.82 141,945 2092.97 25206-9
  โมริยามะ 守山市 Moriyama-shi นคร ไม่มี 55.73 80,768 1449.27 25207-7
  ริตโต 栗東市 Rittō-shi นคร ไม่มี 52.75 67,149 1272.97 25208-5
  โคกะ 甲賀市 Kōka-shi นคร ไม่มี 481.62 89,202 185.21 25209-3
  ยาซุ 野洲市 Yasu-shi นคร ไม่มี 80.15 50,233 626.74 25210-7
  โคนัง 湖南市 Konan-shi นคร ไม่มี 70.4 54,240 770.46 25211-5
  ทากาชิมะ 高島市 Takashima-shi นคร ไม่มี 693 49,168 70.95 25212-3
  ฮิงาชิโอมิ 東近江市 Higashiōmi-shi นคร ไม่มี 388.58 113,460 291.99 25213-1
  ไมบาระ 米原市 Maibara-shi นคร ไม่มี 250.46 38,473 153.61 25214-0
  ฮิโนะ 日野町 Hino-chō เมือง กาโม 117.63 21,677 184.28 25383-9
  รีวโอ 竜王町 Ryūō-chō เมือง กาโม 44.52 12,130 272.46 25384-7
  ไอโช 愛荘町 Aishō-chō เมือง เอจิ 37.98 20,730 545.81 25425-8
  โทโยซาโตะ 豊郷町 Toyosato-chō เมือง อินูกามิ 7.78 7,588 975.32 25441-0
  โคระ 甲良町 Kōra-chō เมือง อินูกามิ 13.66 6,932 507.47 25442-8
  ทางะ 多賀町 Taga-chō เมือง อินูกามิ 135.93 7,382 54.31 25443-6

เศรษฐกิจ

แก้
 
ย่านอาคารการค้าเก่าในโอมิฮาจิมัง

จังหวัดชิงะมีพื้นที่ 1 ใน 6 เป็นพื้นที่เกษตรกรรม โดยมีการปลูกข้าวกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่การเกษตรและเป็นสินค้าหลัก นาข้าวมีขนาดค่อนข้างเล็กและสร้างรายได้ค่อนข้างน้อย ชาวนาส่วนใหญ่มักจะอาศัยรายได้จากแหล่งอื่น ทางตะวันออกของจังหวัดชิงะมีชื่อเสียงในเรื่องของปราสาทต่าง ๆ และทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดเป็นแหล่งปลูกชาเขียวที่มีชื่อเสียง ส่วนทะเลสาบบิวะนั้นก็เป็นแหล่งประมงที่สำคัญของจังหวัด

ในยุคกลาง โดยเฉพาะยุคเอโดะนั้น ประชาชนชาวจังหวัดชิงะมีอาชีพค้าขายเป็นหลัก และพ่อค้าโอมิ (ญี่ปุ่น: 近江商人โรมาจิŌmi shōnin) ก็มีชื่อเสียงอย่างมาก บริษัทใหญ่หลาย ๆ บริษัทอย่าง นิปปงไลฟ์ อิโตจุ มารูเบนิ ทากาชิมายะ วาโก้ และยันมาร์ก็ถูกก่อตั้งขึ้นโดยชาวชิงะ

เมื่อเข้าสู่ช่วงทศวรรษที่ 1960 จังหวัดชิงะเริ่มพัฒนาเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม มีโรงงานขนาดใหญ่ตั้งอยู่มากมาย เช่น ไอบีเอ็มเจแปน แคนนอน ยันมาร์ดีเซล มิตซูบิชิ และโทเรย์ จนเติบโตขึ้นมาเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้เป็นอันดับสองของชิงะที่ตัวเลข 44.8 เปอร์เซ็นต์[14] ส่วนอุตสาหกรรมดั้งเดิมอย่างสิ่งทอ เครื่องปั้น ยา และพัดก็ยังมีการผลิตจากจังหวัดนี้อยู่เช่นกัน

ประชากร

แก้

ประชากรของจังหวัดชิงะอาศัยอยู่กันหนาแน่นที่ริมฝั่งทะเลสาบบิวะทางตอนใต้ โดยมีนครโอตสึเป็นเมืองหลวง ส่วนเมืองทางตะวันออกอย่างคูซัตสึและโมริยามะก็ยังอยู่ในระยะที่เดินทางสัญจรไปกลับเกียวโตได้สะดวก ส่วนฝั่งตะวันตกและทิศเหนือของทะเลสาบนั้นเป็นพื้นที่ชนบท มีรีสอร์ทและหาดทรายสีขาวอยู่มากมาย

ในช่วงปีหลัง ๆ นี้ ชาวบราซิลได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและทำงานในโรงงานหลายแห่งในจังหวัดชิงะ นับเป็นประชากรที่มีอัตราส่วนสูงที่สุดในกลุ่มชาวต่างประเทศ คือ ร้อยละ 36 จากการสำรวจเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2010[15]

 
พีระมิดประชากรจังหวัดชิงะ ค.ศ. 2020
ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1920 651,050—    
1930 691,631+6.2%
1940 703,679+1.7%
1950 861,180+22.4%
1960 842,695−2.1%
1970 889,768+5.6%
ปีประชากร±%
1980 1,079,898+21.4%
1990 1,222,411+13.2%
2000 1,342,832+9.9%
2010 1,410,777+5.1%
2015 1,412,916+0.2%
ที่มา: [1]

วัฒนธรรม

แก้

ทางตอนเหนือของนครนางาฮามะ เป็นสถานที่ตั้งของโรงละครหุ่นบุนรากุที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่นเช่นเดียวกับที่โอซากะ แต่เดิมโรงละครแห่งนี้อยู่ในเขตเมืองบิวะ แต่ต่อมาได้ผนวกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของนครนางาฮามะในปี ค.ศ. 2006

จังหวัดชิงะมีพิพิธภัณฑ์หลายแห่ง เช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะซางาวะ (โมริยามะ) พิพิธภัณฑ์ทะเลสาบบิวะ (คูซัตสึ) และพิพิธภัณฑ์มิโฮะ (โคกะ) นอกจากนี้ในนครโคกะก็ยังมีบ้านนินจาที่ปัจจุบันรักษาเอาไว้ให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมอีกด้วย

วัฒนธรรมร่วมสมัย

แก้

อาคารเรียนหลังเก่าของโรงเรียนประถมโทโยซาโตะในเมืองโทโยซาโตะซึ่งสร้างในปี ค.ศ. 1937 และออกแบบโดยวิลเลียม เมอร์เรลล์ วอรีส์ สถาปนิกชาวอเมริกัน[16] ถูกใช้เป็นต้นแบบของโรงเรียนมัธยมปลายซากุระงาโอกะในซีรีส์อนิเมะ เค-อง! และได้เปิดให้นักท่องเที่ยวและแฟนการ์ตูนได้เข้าชม[17]

อาหาร

แก้

ชาวชิงะรับประทานปลาจากทะเลสาบบิวะมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว อาหารที่มีชื่อเสียงของจังหวัดชิงะคือซูชิปลาไนหมัก (ญี่ปุ่น: 鮒寿司โรมาจิfuna-zushi) เป็นซูชิแบบดั้งเดิมที่มีกลิ่นฉุน นอกจากนี้ ชิงะยังขึ้นชื่อในเรื่องของเนื้อโอมิ โดยย่านฮิโกเนะเคยมีเนื้อที่ถูกนำไปเป็นอาหารบำรุงสุขภาพของโชกุน

นอกจากนี้ ทางตอนเหนือของชิงะก็ชื่อเสียงในเรื่องสึเกโมโนะ (ผักดอง) จากรากพืช นครนางาฮามะก็ขึ้นชื่อเรื่องของบะหมี่โซเม็งใส่ปลาแมกเคอเรลย่าง และฮิโกเนะก็มีบะหมี่จัมปงที่มีชื่อเสียง

การศึกษา

แก้
 
มหาวิทยาลัยจังหวัดชิงะ

จังหวัดชิงะมีมหาวิทยาลัยชั้นนำอยู่หลายแห่งด้วยกัน ดังนี้

  • มหาวิทยาลัยชิงะ (ฮิโกเนะและโอตสึ)
  • มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ชิงะ (โอตสึ)
  • มหาวิทยาลัยจังหวัดชิงะ (ฮิโกเนะ)
  • มหาวิทยาลัยศิลปะและการออกแบบเซอัง (โอตสึ)
  • มหาวิทยาลัยเซเซ็ง (ฮิโกเนะ)
  • สถาบันชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพนางาฮามะ (นางาฮามะ)
  • มหาวิทยาลัยบิวาโกกากูอิง (ฮิงาชิโอมิ)
  • วิทยาลัยกีฬาบิวาโกเซเก
  • มหาวิทยาลัยริตสึเมกัง (เกียวโตและคูซัตสึ)
  • มหาวิทยาลัยรีวโกกุ (เกียวโตและโอตสึ)
  • วิทยาลัยชิงะ (โอตสึ)
  • วิทยาลัยชิงาบุงเกียว (นางาฮามะ)

การท่องเที่ยว

แก้
 
ปราสาทฮิโกเนะ

ชิงะมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย แต่ยังถือว่าเป็นรองเพื่อนบ้านอย่างเกียวโตอยู่พอสมควร จังหวัดชิงะมีนักท่องเที่ยวมาเยือนประมาณ 65,000 คนในปี ค.ศ. 2000 ขณะที่ทั้งประเทศมีนักท่องเที่ยวมาเยือน 4 ล้านคน[18]

สถานีรถไฟหลักของชิงะคือ สถานีไมบาระ ทางตอนเหนือของจังหวัด และสถานีโอตสึ ทางตอนใต้ของจังหวัด นักท่องเที่ยสามารถเดินทางไปยังสถานีโอตสึได้จากเกียวโตและโอซากะได้อย่างสะดวกสบายด้วยรถไฟความเร็วสูง

สถานที่ที่สำคัญที่สุดของจังหวัดชิงะคือทะเลสาบบิวะ โดยทางตอนเหนือเป็นจุดชมวิวของทะเลสาบที่สวยงาม มีจัดชมดอกซะกุระบานที่มีชื่อเสียงในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ส่วนทางตะวันตกของทะเลสาบมีหาดทรายสีขาว นักท่องเที่ยวนิยมมาท่องเที่ยวในช่วงฤดูร้อน ส่วนทางตอนใต้หรือเมืองรอบ ๆ โอตสึนั้นเป็นสถานที่สวยงามที่ฮิโรชิเงะ นักวาดภาพโบราณของญี่ปุ่นได้มาวาดภาพอูกิโยะที่มีชื่อเสียง ปัจจุบัน ทิวทัศน์ในภาพวาดได้เปลี่ยนไปแล้วจากความเจริญของเมือง หลงเหลือไว้เพียงแต่วัดมังเงสึ หรือวัดลอยน้ำทางตอนเหนือของโอตสึ

ทะเลสาบบิวะล้อมรอบด้วยภูเขาที่สวยงามมากมาย มีภูเขาฮิระที่เป็นสถานที่ปิกนิกที่ได้รับความนิยม ถนนโอกูบิวาโกะเป็นถนนที่มีชื่อเสียงของทะเลสาบตอนเหนือ ส่วนทางตอนใต้นั้น เต็มไปด้วยโรงแรมและสถานที่พักตากอากาศชมทิวทัศน์ทะเลสาบ ทั้งจากชายฝั่งและด้วยการล่องเรือ

นอกจากชิงะจะมีธรรมชาติที่สวยงามแล้ว ยังมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อีกมากมาย โดยในจังหวัดชิงะมีสมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติอยู่มากถึง 807 แห่ง สถานที่ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือปราสาทฮิโกเนะ ปราสาทสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ ปัจจุบันหอคอยของปราสาทยังได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี ส่วนเมืองใกล้ ๆ อย่างนางาฮามะก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ นอกจากนี้ ยังมีศาลเจ้าฮิโยชิและศาลเจ้าทางะที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน

ในบางช่วงของปีจะมีเทศกาลที่เป็นเอกลักษณ์ อย่างเทศกาลแห่เรือฮิกิยามะ ที่จะจัดขึ้น 10 แห่งในเมืองนางาฮามะ โอตสึ ไมบาระ ฮิโนะ และมินากูจิ โดยเทศกาลล่องเรือที่นางาฮามะในเดือนเมษายน จัดเป็นเทศกาลล่องเรือที่ใหญ่ที่สุดติดอันดับ 1 ใน 3 ของประเทศญี่ปุ่น ส่วนเมืองฮิงาชิโอมิก็ยังจัดเทศกาลว่าวเป็นประจำในเดือนพฤษภาคมของทุกปีริมฝั่งแม่น้ำ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

แก้

จังหวัดชิงะมีข้อตกลงความร่วมมือกับเขตการปกครองของประเทศอื่น ดังนี้[19]

อ้างอิง

แก้
  1. "2020年度国民経済計算(2015年基準・2008SNA) : 経済社会総合研究所 - 内閣府". 内閣府ホームページ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-05-18.
  2. Nussbaum, Louis-Frédéric. (2005). "Shiga-ken" in Japan Encyclopedia, p. 853, p. 853, ที่กูเกิล หนังสือ; "Kansai" at Japan Encyclopedia, p. 477, p. 477, ที่กูเกิล หนังสือ.
  3. Nussbaum, "Ōtsu" at Japan Encyclopedia, p. 765, p. 765, ที่กูเกิล หนังสือ.
  4. "Hikone Castle". jcastle.info. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-16. สืบค้นเมื่อ 2017-12-17.
  5. Nussbaum, "Provinces and prefectures" at Japan Encyclopedia, p. 780, p. 780, ที่กูเกิล หนังสือ.
  6. "Shiga Prefecture mulls name change to draw more visitors". The Japan Times.
  7. Shiga Prefecture. 余呉湖・天女の衣掛柳 [Lake Yogo - a willow hung a celestial robe] (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2011-05-13.
  8. Encyclopedia Shiga. p436.
  9. "General overview of area figures for Natural Parks by prefecture" (PDF). Ministry of the Environment. 1 April 2014. สืบค้นเมื่อ 3 July 2015.
  10. Shiga prefectural government: Governor's office (Japanese, English machine translation available by clicking "Foreign Language")
  11. The Japan Times, July 14, 2014: LDP candidate flounders in Shiga governor race, retrieved August 1, 2019.
  12. NHK Senkyo Web, June 24, 2018: 2018滋賀県知事選, retrieved August 1, 2019.
  13. Prefectural assembly: Members by caucus (ในภาษาญี่ปุ่น), retrieved August 1, 2019.
  14. Shiga Prefecture. "滋賀県の紹介(滋賀県なんでも一番)" [Introduction of Shiga prefecture; Best scores of Shiga] (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-13. สืบค้นเมื่อ 2011-05-08.
  15. Shiga Prefecture. "外国人登録者数国籍別人員調査結果 平成22年(2010年)12月31日末現在" [The investigation of the number of foreign registrations by nationality as of December 31, 2010] (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 2011-05-13.
  16. Toyosato Elementary School. "豊郷小学校メモリー|旧豊郷小学校の思い出と、そして、これから。" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-30. สืบค้นเมื่อ 2018-11-04.
  17. Biwako Visitors Bureau Public Interest Incorporated Association. "Toyosato Elementary School Old School Buildings". สืบค้นเมื่อ 2018-11-04.
  18. Shiga Prefecture. "湖国観光交流ビジョン 第2章 滋賀県観光の現状と課題" [The vision for tourism and exchange of the Lake Country. Chapter 2: present situation and problem about the Shiga tourism] (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 2011-05-13.
  19. Shiga Prefecture. 滋賀県の紹介(滋賀県の国際交流 姉妹・友好都市) [Introduction of Shiga prefecture; International exchanges of Shiga, friendship sister cities] (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2010-11-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้