อักษรญี่ปุ่น
อักษรญี่ปุ่น | |
---|---|
![]() วรรณกรรมภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ 漢字仮名交じり文 (ข้อความที่ประกอบทั้งคันจิและคะนะ) อักขรวิธีสามัญสำหรับภาษาญี่ปุ่นสมัยใหม่ อักษรกำกับใช้กับคำในคันจิ ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2451 | |
ชนิด | อักษรคำ (คันจิ), อักษรพยางค์ (ฮิระงะนะ, คะตะคะนะ), อักษรสระ-พยัญชนะ (โรมะจิ)ผสม: |
ภาษาพูด | ภาษาญี่ปุ่น ภาษาไอนุ |
ช่วงยุค | คริสต์ศตวรรษที่ 4–ปัจจุบัน |
ระบบแม่ | |
ช่วงยูนิโคด | U+4E00–U+9FBF คันจิ U+3040–U+309F ฮิระงะนะ U+30A0–U+30FF คะตะคะนะ |
ISO 15924 | Jpan |
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด |
จุดกำเนิดของอักษรในญี่ปุ่นแก้ไข
ก่อนพ.ศ. 900 ภาษาญี่ปุ่นไม่มีระบบการเขียนเป็นของตนเอง หลังจากนั้น เริ่มปรับปรุงอักษรจีนมาใช้ คาดว่าผ่านมาทางเกาหลี ครั้งแรกภาษาญี่ปุ่นเขียนด้วยอักษรจีนโบราณ หรือรูปแบบผสมระหว่างจีนกับญี่ปุ่น ตัวอย่างของรูปแบบผสมเช่นโกจิกิ (kojiki:บันทึกประวัติศาสตร์) เขียนเมื่อ พ.ศ. 1255 พวกเขาเริ่มใช้รูปแบบอักษรจีนเขียนภาษาญี่ปุ่น ในรูปอักษรพยางค์ใบไม้หมื่นใบ (man'yōgana)
เมื่อเวลาผ่านไป ระบบการเขียนเป็นแบบใช้อักษรจีนเขียนคำยืมจากภาษาจีน หรือคำให้ภาษาญี่ปุ่นที่มีความหมายใกล้เคียงกัน รูปแบบอักษรจีนยังใช้แทนการออกเสียงในการเขียนไวยากรณ์ และต่อมากลายเป็นอักษรแทนพยางค์ 2 ชนิดคือ ฮิระงะนะ และคะตะคะนะ วรรณคดีญี่ปุ่นปรากฏขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1600 เช่น เรื่องเล่าแห่งเคนจิ โดย มูราซากิ ชิกิบุ
ภาษาญี่ปุ่นสมัยใหม่เขียนด้วยรูปแบบผสมของฮิระงะนะ คะตะคะนะร่วมกับคันจิ หนังสือสมัยใหม่จะรวมโรมาจิ (อักษรโรมัน) ซึ่งเป็นรูปแบบมาตรฐานสำหรับการเขียนภาษาญี่ปุ่นด้วยอักษรโรมัน คำที่ไม่ใช่ภาษาญี่ปุ่นเขียนด้วยอักษรของภาษานั้นหรือหรือสัญลักษณ์ที่เรียกคิโกะ (kigō)
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- (อังกฤษ) จุดกำเนิดอักษรญี่ปุ่น
- เว็บไซด์สอนภาษาญี่ปุ่นฟรี จาก balldayo