เสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ไม่ก้อง

เสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ไม่ก้อง (อังกฤษ: voiceless velar fricative) เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา เช่น ภาษาเยอรมัน, ภาษาสเปน, ภาษาโปแลนด์, ภาษาเซิร์บ-โครแอต, ภาษารัสเซีย, ภาษาอาหรับ, ภาษาจีนกลาง, ภาษากฺ๋อง, ภาษาเวียดนาม ฯลฯ แต่ไม่มีเสียงนี้ในภาษาไทยในปัจจุบัน จะมีเสียงภาษาไทยสมัยโบราณคือ ตัว ฃ หากใช้เขียนในการทับศัพท์จะใช้ตัว ค แทน เพราะเสียงจะคล้ายกับตัว ค ในภาษาไทย (เว้นภาษาจีนกลางจะใช้ตัว ฮ หรือ ห แทนในภาษาไทย) สัญลักษณ์ในชุดสัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ ⟨x⟩ และสัญลักษณ์เอกซ์-แซมปาที่ตรงกันคือ x เสียงนี้เป็นเสียงหนึ่งในบรรดาเสียงพยัญชนะในภาษาอังกฤษเก่า และยังคงปรากฏในบางภาษาถิ่นของภาษาอังกฤษปัจจุบัน

เสียงเสียดแทรก
เพดานอ่อน ไม่ก้อง
x
หมายเลขไอพีเอ140
การเข้ารหัส
เอนทิตี (ฐาน 10)x
ยูนิโคด (ฐาน 16)U+0078
เอกซ์-แซมปาx
เคอร์เชินบอมx
ตัวอย่างเสียง

 

ลักษณะ

แก้

ลักษณะต่าง ๆ ของเสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ไม่ก้อง ได้แก่

  • ลักษณะการออกเสียง เป็นเสียงเสียดแทรก กล่าวคือ เสียงนี้เกิดจากการบีบกลุ่มลม (ที่มาจากปอด) ให้ผ่านช่องแคบ ๆ บริเวณตำแหน่งการเกิดเสียง
  • ตำแหน่งเกิดเสียง เป็นเสียงจากเพดานอ่อนหรือกัณฐชะ กล่าวคือ เสียงนี้เกิดจากการยกลิ้นส่วนหลัง (โคนลิ้น) ขึ้นไปใกล้เพดานอ่อน (ส่วนหลังของเพดานปาก) แต่ไม่แตะสนิท เหลือช่องแคบ ๆ ให้ลมพอจะผ่านออกไปได้ตลอดในลักษณะเสียดแทรก
  • ลักษณะเสียงพูด เป็นเสียงไม่ก้องหรืออโฆษะ กล่าวคือ เส้นเสียงจะไม่สั่นขณะที่ออกเสียงนี้
  • เสียงนี้เป็นเสียงพยัญชนะช่องปาก กล่าวคือ ลมจะถูกปล่อยให้ออกมาทางปาก (ไม่ใช่ทางจมูก)
  • เสียงนี้เป็นเสียงพยัญชนะกลางลิ้น กล่าวคือ เสียงนี้เกิดขึ้นจากการที่กระแสลมถูกปล่อยให้ผ่านออกมาเหนือบริเวณกลางแผ่นลิ้น มากกว่าจะออกไปทางข้างลิ้น
  • กลไกกระแสลม เป็นกระแสลมออกจากปอด กล่าวคือ เสียงนี้เกิดขึ้นจากการดันกระแสลมออกจากปอดและผ่านทางช่องเสียง มากกว่าที่จะเกิดจากช่องเส้นเสียงหรือจากปากโดยตรง

การปรากฏ

แก้
ภาษา ตัวอย่างคำ สัทอักษรสากล ความหมาย หมายเหตุ
แอฟริกานส์ goed [xuˑt] ดี'
แอลีอุต สำเนียงแอตกัน alax [ɑlɑx] 'สอง'
อังกอร์ hombo [xombo] 'เดิน'
อาหรับ خضراء [xadˤraːʔ] 'สีเขียว (เพศหญิง)'
อัสสัม অসমীয়া [ɔxɔmija] 'ชาวอัสสัม'
อาวาร์ чeхь [tʃex] 'ท้อง'
อาเซอร์ไบจาน x [xoʃ] 'น่ายินดี'
บัลแกเรีย тихо [tixɔ] 'อย่างเงียบ ๆ'
จีน จีนกลาง /hé [xɤ˧˥] 'แม่น้ำ'
โครเอเชีย Hrvatski [xř̩ʋaːtskiː] 'ชาวโครเอเชีย'
เช็ก chlap [xlap] 'ผู้ชาย'
ดัตช์ ดัตช์เบลเยียม[1] acht [ɑxt] 'แปด'
อังกฤษ สกอต loch [lɔx] 'ทะเลสาบ'
เอสเปรันโต monaĥo [monaxo] 'พระ'
จอร์เจีย[2] ჯო [ˈdʒɔxi] 'แท่ง'
เยอรมัน Kuchen [kuːxən] 'ขนมเค้ก'
กรีก χαρά [xaˈra] 'ความสนุก'
ไอริช deoch [dʲɔ̝̈x] 'ดื่ม'
ลิทัวเนีย choras [xoras] 'คอรัส'
เปอร์เซีย خواهر [xa:hær] 'พี่สาว'
โปแลนด์[3] chleb [xlɛp] 'bread' สำเนียงส่วนใหญ่แทนด้วยตัว <h>
โปรตุเกส บราซิล rabo [ˈxabʊ] 'หาง'
รัสเซีย[4] хвост [xvost] 'หาง'
สกอตแกลิก loch [lɔx] 'ทะเลสาบ'
เซอร์เบีย храст/hrast [xrast] 'ต้นโอ๊ก'
สโลวัก chlap [xlap] 'ผู้ชาย'
โซมาลี khad [xad] 'หมึก'
สเปน[5] ojo [ˈo̞xo̞] 'นัยน์ตา'
โคซา rhoxisa [xɔkǁiːsa] 'ยกเลิก'
เวียดนาม khê [xe] 'ถูกเผา'
เวลส์ carchar [kaɾxaɾ] 'คุก'
ยากัน xan [xan] 'ที่นี่'

อ้างอิง

แก้
  1. Verhoeven (2005: 243)
  2. Shosted & Chikovani (2006: 255)
  3. Jassem (2003: 103)
  4. Padgett (2003: 42)
  5. Martínez-Celdrán et al (2003: 255)

บรรณานุกรม

แก้
  • Jassem, Wiktor (2003), "Polish", Journal of the International Phonetic Association 33 (1): 103-107.
  • Martínez-Celdrán, Eugenio; Ana Ma. Fernández-Planas & Josefina Carrera-Sabaté (2003), "Castilian Spanish", Journal of the International Phonetic Association 33 (2): 255-259.
  • Padgett, Jaye (2003), "Contrast and Post-Velar Fronting in Russian", Natural Language & Linguistic Theory 21 (1): 39-87.
  • Shosted, Ryan K. & Chikovani Vakhtang (2006), "Standard Georgian", Journal of the International Phonetic Association 36 (2): 255-264.
  • Verhoeven, Jo (2005), "Belgian Standard Dutch", Journal of the International Phonetic Association 25 (2): 243-247.