รัฐอาเงาร์

เกาะและรัฐของประเทศปาเลา

อาเงาร์ (อักษรโรมัน: Angaur, Ngeaur) หรือ อังงาอูรุ (ญี่ปุ่น: アンガウルโรมาจิAngauru) เป็นเกาะและรัฐหนึ่งในประเทศปาเลา มีขนาดราว 8 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรเพียง 130 คน ใน ค.ศ. 2012[1] มีหมู่บ้านสองหมู่บ้านคือเงเรมัสช์ (อักษรโรมัน: Ngeremasch) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐ และอีกหมู่บ้านคือโรอิส (อักษรโรมัน: Rois) ทางตะวันออกของเงเรมัสช์

อาเงาร์

アンガウル州
รัฐ
Flag of Angaur
ธง
ที่ตั้งของรัฐอาเงาร์ในประเทศปาเลา
ที่ตั้งของรัฐอาเงาร์ในประเทศปาเลา
พิกัด: 6°54′33″N 134°08′20″E / 6.9092°N 134.1388°E / 6.9092; 134.1388
ประเทศ ปาเลา
เมืองหลวงเงเรมัสช์
พื้นที่
 • ทั้งหมด8 ตร.กม. (3 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2015)
 • ทั้งหมด119 คน
 • ความหนาแน่น15 คน/ตร.กม. (39 คน/ตร.ไมล์)
รหัส ISO 3166PW-010

รัฐธรรมนูญรัฐอาเงาร์ ค.ศ. 1982 ระบุให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในภาษาราชการของรัฐ[2][3]

ประวัติ แก้

เกาะอาเงาร์ถูกค้นพบครั้งแรกโดยรุย โลเปซ เด บียาโลบอส (สเปน: Ruy López de Villalobos) นักสำรวจชาวสเปนช่วงปลายเดือนมกราคม ค.ศ. 1543 เขาได้วาดภาพเกาะดังกล่าวพร้อม ๆ กับบาเบลดาออบ, คอรอร์ และเปเลลีอู แล้วตั้งชื่อเป็นภาษาสเปนว่า "โลสอาร์เรซิเฟส" (Los Arrecifes) แปลว่าหินโสโครก[4] ในเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ค.ศ. 1710 มีมิชชันนารีจากเรือซันตีซีมาตรีนีดัด (Santísima Trinidad) ของฟรันซิสโก ปาดียา (Francisco Padilla) เข้ามาเผยแผ่ศาสนา และอีกสองปีต่อมากองทัพเรือสเปนนำโดยเบร์นาโด เด เอโกย (Bernardo de Egoy) เข้ามาสำรวจเกาะอาเงาร์[5]

ตั้งแต่ ค.ศ. 1909 จนถึง ค.ศ. 1954 มีการทำเหมืองฟอสเฟตบนเกาะ แต่เดิมมีเยอรมนีเป็นผู้บุกเบิกการทำเหมือง ต่อมาได้ตกเป็นของญี่ปุ่น และสหรัฐตามลำดับ ถือเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีการสู้รบครั้งใหญ่เกิดขึ้นบนเกาะเรียกว่าสงครามอาเงาร์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธการหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาและปาเลา การสู้รบเกิดช่วงเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน ค.ศ. 1944 มีทหารสหรัฐและญี่ปุ่นล้มตายเป็นจำนวนมาก[6]

อาเงาร์เป็นเกาะเดียวในหมู่เกาะไมโครนีเซียที่มีลิงป่าอาศัยอยู่ พวกมันสืบเชื้อสายจากลิงแม็กแคกที่หนีจากผู้เลี้ยงชาวตะวันตกยุคที่ปาเลาตกเป็นอาณานิคมของเยอรมนี[7] เกาะนึ้จึงมีสมญาว่า "เกาะลิง"

ภาษา แก้

รัฐธรรมนูญรัฐอาเงาร์ ค.ศ. 1982 ระบุให้ภาษาอังกฤษ, ปาเลา และญี่ปุ่นเป็นภาษาราชการของรัฐ[8] ถือเป็นดินแดนแห่งเดียวในโลกที่ระบุให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาราชการ นั่นก็เพราะในประเทศญี่ปุ่นเองมิได้ประกาศให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาราชการ หากแต่เป็นภาษาประจำชาติโดยพฤตินัย

ทว่ารายงานสำมะโนครัวประชากรตั้งแต่อายุ 5 ปีขึ้นไปในเดือนเมษายน ค.ศ. 2005 ไม่พบผู้ใช้ภาษาญี่ปุ่นในครัวเรือนเลย[9] รวมทั้งไม่มีรายงานว่าบนเกาะอาเงาร์มีบุคคลที่มีเชื้อสายญี่ปุ่นอาศัยอยู่เลย[10] แต่มีรายงานว่ามีบุคคลหนึ่งเกิดในอาเงาร์ (แต่ปัจจุบันไปพำนักที่อื่น) พูดภาษาญี่ปุ่นและปาเลาบ่อย ๆ ในครัวเรือน[9]

ในรายงานสำมะโนครัวประชากรตั้งแต่อายุ 10 ปีขึ้นไปอย่างคร่าว ๆ ใน ค.ศ. 2012 พบว่ามีประชากร 7 คนจากจำนวนทั้งหมด 130 คน สามารถใช้ภาษาอื่นนอกเหนือจากภาษาอังกฤษและปาเลา แต่มิได้ระบุว่าภาษาอะไร[1]

ประชากร แก้

ประชากร:[1]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "2013 ROP Statistical Yearbook" (PDF). Bureau of Budget & Planning. สืบค้นเมื่อ 4 August 2014.
  2. "CIA – The World Factbook – Field Listing :: Languages". Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 February 2010. สืบค้นเมื่อ 17 February 2010.
  3. Paul M. Lewis (ed) (2009). "Languages of Palau". SIL International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 February 2010. สืบค้นเมื่อ 17 February 2010. {{cite web}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  4. Burney, James A chronological history of the discoveries in the South Sea or Pacific Ocean, London, 1813, v.I, p.233.
  5. Coello, Francisco "Conflicto hispano-alemán" Boletín de Sociedad Geográfica de Madrid, t.XIX. 2º semestre 1885, Madrid, p.296.
  6. Panoramio photos เก็บถาวร 2014-12-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน of Japanese command post on north end of Angaur Island, Palau.
  7. Micronesia Handbook by Neil M. Levy, pp. 174–176
  8. "Constitution of the State of Angaur". Pacific Digital Library. Article XII. สืบค้นเมื่อ 4 August 2014. The traditional Palauan language, particularly the dialect spoken by the people of Angaur State, shall be the language of the State of Angaur. Palauan, English and Japanese shall be the official languages.
  9. 9.0 9.1 "2005 Census of Population & Housing" (PDF). Bureau of Budget & Planning. สืบค้นเมื่อ 4 August 2014.
  10. "2005 Census Monograph Final Report" (PDF). Bureau of Budget & Planning. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 August 2014. สืบค้นเมื่อ 4 August 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อาเงาร์