สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน (อังกฤษ: War of the Spanish Succession) (ค.ศ. 1702–ค.ศ. 1714) ซึ่งรวมทั้งสงครามพระนางแอนน์ (Queen Anne's War) ใน ทวีปอเมริกาเหนือเป็นสงครามครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของทวีปยุโรปเกี่ยวกับปัญหาการสืบสันติวงศ์ของบัลลังก์สเปน ซึ่งเป็นผลให้มีการเปลี่ยนความสมดุลทางอำนาจในยุโรป ผู้เป็นผู้นำทางทหารที่สำคัญ ๆ ในสงครามครั้งนี้ก็ได้แก่โคลด ลุยส์ เฮคเตอร์ แห่งวิลลาร์ส, เจมส์ ฟิทซเจมส์ ดยุกแห่งเบอร์วิก, จอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ และเจ้าชายเออแฌนแห่งซาวอย
สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ในศึกอ่าววิโก, อังกฤษและเนเธอร์แลนด์ทำลายกองทัพเรือขนสมบัติของสเปน ยึดเครื่องเงินที่สเปนได้มาจากโบลิเวียเป็นจำนวนประมาณหนึ่งล้านปอนด์สเตอร์ลิง | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
มหาสัมพันธมิตร
บริเตนใหญ่ |
ฝรั่งเศส สเปน บาวาเรีย | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
เออแฌนแห่งซาวอย |
ดยุคแห่งวิลลาร์ส | ||||||
กำลัง | |||||||
232,000 คน[1] | ฝรั่งเศส 373,000 คน[2] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ประมาณ 400,000 คน (เสียชีวิต) | ประมาณมากกว่า400,000นาย(เสียชีวิต) |
ในปี ค.ศ. 1700 พระเจ้าการ์โลสที่ 2 แห่งสเปนสวรรคตและทรงทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างให้ดยุกแห่งอองชู พระนัดดาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส และผู้กลายมาเป็นพระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปน สงครามจึงค่อย ๆ ประทุขึ้นโดยจักรพรรดิเลโอโปลด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ทรงต่อสู้เพื่อรักษาบัลลังก์สเปนไว้กับฮับส์บูร์ก เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เริ่มขยายดินแดนอย่างรวดเร็ว ประเทศอื่น ๆ ในยุโรปโดยเฉพาะราชอาณาจักรอังกฤษ โปรตุเกส และเนเธอร์แลนด์จึงเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เพื่อต่อต้านฝรั่งเศส[3] รัฐอื่น ๆ เข้าร่วมในสงครามต่อต้านฝรั่งเศสและสเปนเพื่อจะหวังที่ได้ดินแดนเพิ่ม หรือเพื่อป้องกันการเสียดินแดนที่ครองอยู่ สงครามไม่จำกัดอยู่แต่ในยุโรปเท่านั้นแต่ในทวีปอเมริกาเหนือซึ่งรู้จักระหว่างชาวอาณานิคมอังกฤษในนามว่า “สงครามพระราชินีนาถแอนน์” และจากทหารคอร์แซรส์และโจรสลัดหลวง (privateers) ตามแนวสเปน (Spanish Main) — แนวฝั่งทะเลของสเปนในทวีปอเมริกาเหนือตั้งแต่บริเวณริมฝั่งรัฐฟลอริดาปัจจุบันเรื่อยลงไปทางเม็กซิโกลงไปจนถึงทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มีการประมาณการว่ายอดผู้เสียชีวิตในสงครามครั้งนี้อาจสูงถึง 400,000 คน[4]
สนธิสัญญา
แก้สงครามสงบลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญาอูเทร็คท์เมื่อวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1713 และ การประชุมราสชตัทครั้งที่ 1 ค.ศ. 1714 (First Congress of Rastatt 1714) ผลจากสงครามคือพระเจ้าเฟลีเปที่ 5 ยังคงเป็นพระเจ้าแผ่นดินสเปนแต่ถูกยกเลิกสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ฝรั่งเศสซึ่งเป็นการป้องการการรวมตัวระหว่างราชอาณาจักรสเปนและฝรั่งเศส ออสเตรียไดัรับดินแดนที่เคยเป็นของสเปนในอิตาลีและเนเธอร์แลนด์ทั้งหมด ความมีอิทธิพลเหนือกว่า (Hegemony) ประเทศใด ๆ ในยุโรปของฝรั่งเศสต่อยุโรปก็สิ้นสุดลงและปรัชญาการสร้างความสมดุลทางอำนาจ (balance of power) กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งกล่าวถึงในสนธิสัญญาอูเทรชท์[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ Lynn, The Wars of Louis XIV: 1667–1714, p.271. จำนวนพันธมิตรในปี ค.ศ. 1702: จักรวรรดิ (90,000), ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (60,000 + 42,000), และอังกฤษ (40,000). จำนวนนี้ไม่รวมจากกองกำลังจากนครรัฐรองต่าง ๆ ของเยอรมนีและกองกำลังทางเรือ
- ↑ Lynn, The Wars of Louis XIV: 1667–1714, p.271. กองกำลังของฝรั่งเศสตามเอกสาร; จำนวนจริงประมาณ 255,000. จำนวนนี้เพิ่มด้วยกำลังจากสเปนและเมื่อเริ่มสงครามจากบาวาเรียและซาวอยด้วย
- ↑ Also in the English case, to safeguard its own Protestant succession, opposing France as throughout the Second Hundred Years' War Tombs, That Sweet Enemy, p.24.
- ↑ Clodfelter 2017, p. 73.
- ↑ Wolf, The Emergence of the Great Powers: 1685–1715. p.92