เจ้าชายเออแฌนแห่งซาวอย

เจ้าชายฟร็องซัว-เออแฌนแห่งซาวอย ฝรั่งเศส: François-Eugène de Savoie) หรือ เจ้าชายออยเกินแห่งซาวอย (เยอรมัน: Eugen von Savoyen)[1]) เจ้าชายเออแฌนแห่งซาวอยเป็นแม่ทัพผู้มีชื่อเสียงและมีสมรรถภาพที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตรยุโรป เจ้าชายเออแฌนแห่งซาวอยประสูติที่กรุงปารีส จากพระบิดามารดาที่เป็นเจ้าซาวอย เจ้าชายเออแฌนเจริญพระชันษาขึ้นมาในราชสำนักฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เดิมพระองค์มีพระประสงค์จะดำเนินอาชีพเป็นนักบวชแต่เมื่อมีพระชนม์ได้ 19 ก็หันไปสนใจกับอาชีพการเป็นทหาร เมื่อถูกปฏิเสธโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จากการเข้ารับราชการในกองทัพฝรั่งเศส เจ้าชายเออแฌนก็ทรงย้ายไปออสเตรียและหันไปสวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค

ฟร็องซัว-เออแฌนแห่งซาวอย
François-Eugène de Savoie
ประสูติ18 ตุลาคม ค.ศ. 1663
กรุงปารีส ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
สวรรคต21 เมษายน ค.ศ. 1736
กรุงเวียนนา จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
พระราชบิดาเจ้าชายเออแฌน-โมริซแห่งซาวัว-คารินยอง
พระราชมารดาโอลิมเปีย มันชินี
ลายพระอภิไธย

เจ้าชายเออแฌนแห่งซาวอยรับราชการอยู่หกสิบปีภายใต้จักรพรรดิฮาพส์บวร์คสามพระองค์ – จักรพรรดิเลโอโพลด์ที่ 1, จักรพรรดิโยเซฟที่ 1 และ จักรพรรดิคาร์ลที่ 6

สงครามครั้งแรกที่เจ้าชายเออแฌนทรงมีส่วนร่วมคือการสงครามต่อต้านการล้อมกรุงเวียนนาของออตโตมันเติร์กในยุทธการเวียนนาใน ค.ศ. 1683 และต่อมาสงครามสันนิบาตศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาสงครามตุรกี ก่อนที่จะเข้าร่วมในสงครามเก้าปีพร้อมกับลูกพี่ลูกน้องวิคเตอร์ อมาเดอุสที่ 2 ดยุกแห่งซาวอย แต่ชื่อเสียงของเจ้าชายเออแฌนมามั่นคงเมื่อได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดต่อออตโตมันในยุทธการเซนทาในปี ค.ศ. 1697 จากนั้นก็มีชื่อเสียงเพิ่มขึ้นระหว่างสงครามสืบราชบัลลังก์สเปนเมื่อไปทำการเป็นพันธมิตรกับจอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ ที่ได้รับชัยชนะต่อฝรั่งเศสในยุทธการเบล็นไฮม์, ยุทธการอูเดอนาร์ด และ ยุทธการมาลพลาเคต์ จากนั้นก็ไปได้รับความสำเร็จในฐานะแม่ทัพของกองทัพของพระจักรพรรดิทางตอนเหนือของอิตาลี โดยเฉพาะในยุทธการตูรินในปี ค.ศ. 1706 เมื่อความขัดแย้งกับจักรวรรดิออตโตมันเริ่มขึ้นอีกครั้งในสงครามออสเตรีย-ตุรกี ค.ศ. 1716-1718 เจ้าชายเออแฌนก็ทรงสามารถปราบปรามข้าศึกศัตรูได้ในยุทธการเปโตรวาราดิน และ ยุทธการเบลเกรด

ตลอดคริสต์ทศวรรษ 1720 อิทธิพลและความสามารถทางการทูตของของเจ้าชายเออแฌนก็สามารถสร้างความมั่นคงให้แก่จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปัญญาขัดแย้งต่างๆ ที่เกี่ยวกับการสืบราชบัลลังก์ แต่ในบั้นปลายของชีวิตความเหนื่อยร้าและสุขภาพทางจิตที่เปราะบางทำให้พระองค์ไม่ทรงประสบความสำเร็จในฐานะผู้บังคับบัญชาทหารสูงสุดในการพยายามยุติสงครามสืบราชบัลลังก์โปแลนด์ได้ แต่กระนั้นในออสเตรีย ชื่อเสียงของเจ้าชายเออแฌนก็ไม่มีผู้ใดเทียมได้ ความเห็นเกี่ยวกับบุคลิกของเจ้าชายเออแฌนอาจจะแตกต่างกันไป แต่ก็ไม่มีผู้ใดที่จะค้านความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ที่พระองค์ทรงป้องกันจักรวรรดิฮาพส์บวร์คจากถูกกลืนไปเป็นของฝรั่งเศส และทรงหยุดยั้งการรุกรานมาทางตะวันตกของจักรวรรดิออตโตมัน และปลดปล่อยยุโรปกลางจากการยึดครองของออตโตมันที่ดำเนินมาเป็นเวลาร้อยห้าสิบปี นอกจากนั้นเจ้าชายเออแฌนก็ยังทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะคนสำคัญ เจ้าชายเออแฌนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 1736 เมื่อมีพระชนมายุได้ 72 พรรษา

ชีวิตเบื้องต้น (ค.ศ. 1663–ค.ศ. 1699)

แก้

โอเตลซัวซองส์

แก้
 
โอเตลซัวซองส์ที่ประสูติของเจ้าชายเออแฌน

เจ้าชายเออแฌนประสูติที่โอเตลซัวซองส์ในกรุงปารีสเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1663 แม้ว่าจะทรงเป็นข้าราชสำนักในพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แต่บิดามารดาของเจ้าชายเออแฌนมาจากตระกูลอิตาลี พระมารดาโอลิมเปีย มันชินีเป็นหลานคนหนึ่งของคาร์ดินัลมาซารินที่มาซารินนำตัวจากโรมมายังปารีสด้วย เพื่อมาแสวงหาความก้าวหน้าในปี ค.ศ. 1647 ลูกหลานตระกูลมันชินีถูกเลี้ยงดูเติบโตขึ้นมาในปาแล-รัวยาล (Palais-Royal) พร้อมกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เมื่อยังทรงพระเยาว์ ที่โอลิมเปียมีความสัมพันธ์เป็นการส่วนตัว แต่ความทะเยอทะยานที่จะเป็นพระราชินีก็เลื่อนลอยไป ในปี ค.ศ. 1657 โอลิมเปียสมรสกับเจ้าชายเออแฌน-โมริซแห่งซาวัว-คารินยอง ผู้ต่อมาเป็นเคานท์แห่งซัวซองส์ และมีบุตรธิดาด้วยกันแปดคน ชายห้าหญิงสามโดยมีเออแฌนเป็นคนสุดท้อง พระบิดาของเออแฌนเป็นนายทหารผู้กล้าหาญในกองทัพฝรั่งเศสแต่ไม่มีตำแหน่งที่มีหน้ามีตาแต่อย่างใด และใช้เวลาส่วนใหญ่เดินทางไปทำการรณรงค์ทางการทหาร ขณะที่ความไฝ่สูงและการชอบเข้ายุ่งเกี่ยวกับกิจการในราชสำนักทำให้บรรดาบุตรธิดาต้องอยู่กันตามลำพังกับพี่เลี้ยง[2]

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ยังทรงมีความใกล้ชิดกับโอลิมเปียอย่างเหนียวแน่นจนเป็นที่เชื่อกันทั้งสองคนอาจจะเป็นคนรัก[3] แต่ความทะเยอทะยานของโอลิมเปียเป็นสิ่งที่ทำลายตนเองในที่สุด หลังจากที่ไม่เป็นที่โปรดปรานในราชสำนักแล้ว โอลิมเปียก็หันไปให้แคทเธอรีน มงวัวแซงช่วยใช้เวทมนตร์คาถาและโหราศาสตร์ช่วยซึ่งกลายเป็นความสัมพันธ์ที่นำมาสู่ความหายนะ โอลิมเปียเข้าไปมีส่วนเกี่ยวพันกับเรื่องอื้อฉาวใน “กรณีวางยาพิษ” (Affaire des poisons) ที่ทำให้เกิดความสงสัยถึงสาเหตุการสิ้นพระชนม์อันกะทันหันของสามีในปี ค.ศ. 1673 และนอกจากนั้นก็ถึงกับถูกกล่าวหาว่ามีส่วนในการพยายามปลงพระชนม์พระเจ้าหลุยส์เอง ไม่ว่าความเป็นจริงจะเป็นอย่างไรแทนที่จะอยู่สู้คดีโอลิมเปียก็หนีไปบรัสเซลส์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1680 ทิ้งเจ้าชายเออแฌนให้อยู่ในความดูแลของพระอัยกีมารีแห่งบูร์บอง เคานเทสแห่งซัวซองส์ และลูกสาว เจ้าหญิงหลุยส์ คริสตีนแห่งซาวัว-คารินยองพระมารดาของลุดวิก วิลเฮล์ม มาร์กราฟแห่งบาเดิน-บาเดิน[4]

ตั้งแต่มีพระชนม์ได้สิบพรรษาเจ้าชายเออแฌนก็ได้รับการเลี้ยงดูขึ้นมาให้มีอาชีพทางศาสนา ซึ่งเป็นวิถีชีวิตตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ผู้ทรงเห็นว่าเจ้าชายเออแฌนไม่มีพระสุขภาพพลานามัยอันเหมาะแก่งานสำบุกสำบัน เอลิซาเบ็ธ ชาร์ล็อตต์แห่งพาลาทิเนทบันทึกว่า “พระองค์ไม่เคยมีพระสิริโฉมอันน่าประทับใจ…และก็จริงที่ว่าพระเนตรไมได้ไม่งาม แต่พระนาสิกทำให้พระพักตร์เสียรูป พระองค์มีพระทนต์สองซี่ใหญ่ที่เห็นอยู่เสมอ”[5] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1683 เจ้าชายเออแฌนก็ทรงตำความตกใจให้แก่ครอบครัวโดยทรงประกาศว่ามีพระประสงค์ที่จะเข้ารับราชการเป็นทหาร เจ้าชายเออแฌนผู้ขณะนั้นมีพระชนม์สิบเก้าพรรษาทูลขอพระเจ้าหลุยส์โดยตรงให้มีหน้าที่บังคับบัญชากองทหารฝรั่งเศส แต่พระเจ้าหลุยส์ – ผู้ไม่มีความเห็นอกเห็นใจบุตรธิดาของโอลิมเปียตั้งแต่มาหมดความสำคัญลงไป – ทรงปฏิเสธ พระเจ้าหลุยส์มีพระราชดำริว่า “คำขอเป็นการอ่อนน้อมแต่เจ้าตัวผู้ขอไม่ และไม่มีผู้ใดที่จะกล้าจ้องฉันอย่างอวดดีเช่นนั้น”[6]

เมื่อไม่ได้อาชีพทางทหารในฝรั่งเศสตามที่ต้องการ เจ้าชายเออแฌนก็ตัดสินพระทัยไปแสวงหาโอกาสในต่างประเทศ พระเชษฐาองค์หนึ่ง หลุยส์ จูเลียสเข้ารับราชการในกองทัพของพระจักรพรรดิปีก่อนหน้านั้น แต่ไปถูกสังหารทันทีในการต่อสู้กับออตโตมันเติร์กในปี ค.ศ. 1683 เมื่อข่าวการเสียชีวิตมาถึงปารีสเจ้าชายเออแฌนก็ตัดสินพระทัยหนีไปออสเตรียโดยหวังที่จะไปทำหน้าที่แทนพระเชษฐา ซึ่งก็เป็นการตัดสินใจที่มีเหตุผล เพราะหลุยส์แห่งบาเดินลูกพี่ลูกน้องของเจ้าชายเออแฌนก็รับราชการเป็นนายพลในกองทัพของพระจักรพรรดิอยู่แล้ว และพระญาติห่างๆ มักซีมีเลียนที่ 2 เอมานูเอล ผู้คัดเลือกแห่งบาวาเรีย ในคืนวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1683 เจ้าชายเออแฌนก็หนีออกจากปารีสและมุ่งไปทางตะวันออก[7]

มหาสงครามตุรกี

แก้
 
มักซีมีเลียนที่ 2 เอมานูเอล ผู้คัดเลือกแห่งบาวาเรีย (ค.ศ. 1662–ค.ศ. 1726) ผู้อุปถัมภ์ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1680 ผู้กลายมาเป็นศัตรูระหว่างสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน

เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1683 อันตรายจากการรุกรานเวียนนาของจักรพรรดิเลโอโพลด์ที่ 1 โดยออตโตมันก็ใกล้ความเป็นจริงขึ้นทุกขณะ ก่อนหน้านั้นมหาเสนาบดีปาชาคารา มุสตาฟา (Kara Mustafa Pasha) – ผู้ฉวยโอกาสขณะที่เกิดการก่อความไม่สงบโดยผู้ก่อการมาจยาImre Thököly – นำทัพจำนวน 100,000–200,000 คน[8] เข้ามารุกราน ภายในสองเดือนกองทัพของมุสตาฟาก็มาถึงกำแพงเมืองเวียนนา จักรพรรดิเลโอโพลด์ที่ 1 จึงเสด็จหนีไปยังพาสเซาบนฝั่งแม่น้ำดานูป ซึ่งไกลออกไปจากเมืองหลวงและปลอดภัยกว่า[9] ค่ายที่ประทับของจักรพรรดิเลโอโพลด์ที่ 1 ที่พาสเซาเป็นที่ที่เจ้าชายเออแฌนได้เข้าเฝ้าในกลางเดือนสิงหาคม

แม้เจ้าชายเออแฌนจะไม่ใช่ชาวออสเตรียแต่พระองค์ทรงมีเชื้อสายฮาพส์บวร์ค พระอัยกาทอมัส ฟรานซิส เจ้าชายแห่งคารินยองผู้ก่อตั้งสายตระกูลซาวอย-คารินยองของราชวงศ์ซาวอยเป็นโอรสของแคทเธอรีน มิเชลล์แห่งสเปน – พระราชธิดาในพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน – และเหลนของจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แต่ความเกี่ยวพันสำหรับจักรพรรดิเลโอโพลด์ในขณะนั้นคือเจ้าชายเออแฌนทรงเป็นญาติห่างๆ ของวิคเตอร์ อมาเดอุส ดยุกแห่งซาวอย ซึ่งเป็นความเกี่ยวพันที่พระจักรพรรดิทรงเห็นว่าอาจจะมีประโยชน์ในภายภาคหน้าเมื่อต้องเผชิญหน้ากับฝรั่งเศส[10] ความเกี่ยวดองเหล่านี้ และบุคลิกภาพที่เหมาะกับบรรยากาศของราชสำนักของจักรพรรดิเลโอโพลด์[11] มีส่วนทำให้เจ้าชายเออแฌนผู้หนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นที่พาสเซา และได้รับตำแหน่งราชการในกองทัพของพระจักรพรรดิ[10]

เจ้าชายเออแฌนทรงทราบว่าควรจะสวามิภักดิ์ต่อผู้ใด – “ข้าพระองค์จะอุทิศกำลังกายทั้งหมด, ความกล้าหาญทั้งหมด, และถ้าจำเป็นโลหิตหยาดสุดท้ายถวายแด่พระองค์”[12] ความจงรักภักดีนี้ได้รับการทดสอบทันที เมื่อมาถึงเดือนกันยายนกองทัพของพระมหาจักรพรรดิภายใต้การนำของชาร์ลส์ที่ 5 ดยุกแห่งลอร์แรน พร้อมด้วยกองทัพอันเข้มแข็งของพระมหากษัตริย์โปแลนด์พระเจ้าจอห์นที่ 3 โซบีสกีแห่งโปแลนด์ก็เตรียมพร้อมที่จะเข้าต่อสู้กับกองทัพของสุลต่านออตโตมันที่ล้อมกรุงเวียนนาอยู่ เมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1683 กองทัพฝ่ายคริสเตียนก็รวบรวมกำลังกันบนเนินทางตะวันออกเฉียงใต้ของป่าเวียนนามองลงไปยังค่ายทหารของฝ่ายศัตรูที่ตั้งอยู่กลาดเกลื่อน หลังจากทำการต่อสู้กันวันหนึ่งในยุทธการเวียนนา ฝ่ายคริสเตียนก็สามารถยุติการล้อมเมืองเวียนนาอยู่สองเดือนของฝ่ายออตโตมัน ฝ่ายออตโตมันได้รับความพ่ายแพ้จนต้องถอยทัพ การต่อสู้อย่างกล้าหาญภายใต้การนำของบาเดินทำให้เจ้าชายเออแฌนทรงได้รับคำสรรเสริญจากลอร์แรนและจากพระจักรพรรดิ และได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายพันของกองทหารม้าคุฟสไตน์[13]

อ้างอิง

แก้
  1. The Encyclopædia Britannica puts the death of Eugene on 24 April. This is incorrect.
  2. McKay: Prince Eugene of Savoy, 9–10
  3. Somerset: The Affair of the Poisons: Murder, Infanticide and Satanism at the Court of Louis XIV, 252
  4. McKay: Prince Eugene of Savoy, 9
  5. Henderson: Prince Eugen of Savoy, 9
  6. Heer: The Holy Roman Empire, 228. This was a clear infringement of taboo which Louis could not tolerate. Other reasons are also speculated. François-Michel le Tellier, Marquis de Louvois, Louis' secretary of State for War, detested Eugene's mother after she had rejected a proposed marriage between her daughter and his son.
  7. Heer states Eugene's departure date was 21 July.
  8. Childs: Warfare in the Seventeenth Century, 133. Childs puts the number at 100,000; John Wolf, as high as 200,000.
  9. Stoye: The Siege of Vienna, 114
  10. 10.0 10.1 Henderson: Prince Eugen of Savoy, 12
  11. Churchill: Marlborough: His Life and Times, Bk. 1, 467
  12. Henderson: Prince Eugen of Savoy, 13
  13. MacMunn: Prince Eugene: Twin Marshal with Marlborough, 32

ดูเพิ่ม

แก้