กาลิเซีย (กาลิเซียและสเปน: Galicia) เป็นภูมิภาคหนึ่งของประเทศสเปนที่มีฐานะเป็นแคว้นปกครองตนเองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรไอบีเรีย มีพรมแดนร่วมกับประเทศโปรตุเกสทางทิศใต้ และมีพรมแดนร่วมกับแคว้นกัสติยาและเลออนและแคว้นอัสตูเรียสทางทิศตะวันออก

กาลิเซีย

Galicia (กาลิเซีย) (สเปน)
ธงของกาลิเซีย
ธง
Coat-of-arms of Galicia
ตราอาร์ม
เพลง: โอสปิโนส
แผนที่ประเทศสเปนแสดงที่ตั้งแคว้นกาลิเซีย
แผนที่ประเทศสเปนแสดงที่ตั้งแคว้นกาลิเซีย
พิกัด: 42°45′N 7°53′W / 42.750°N 7.883°W / 42.750; -7.883
ประเทศ สเปน
ธรรมนูญการปกครองตนเอง2479
2524
เมืองหลักซานเตียโกเดกอมโปสเตลา
เมืองใหญ่สุดบีโก
จังหวัดโปนเตแบดรา, ลูโก, อาโกรุญญา, โอว์แรนเซ
การปกครอง
 • ประเภทรัฐบาลที่ได้รับมอบอำนาจปกครองตนเองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
 • องค์กรสภาบริหารกาลิเซีย
 • ประธานอัลเบร์โต นุญเญซ เฟย์โฆ (พรรคประชาชนกาลิเซีย)
พื้นที่
 • ทั้งหมด29,575 ตร.กม. (11,419 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 7
ประชากร
 (2559)
 • ทั้งหมด2,718,525 คน
 • ความหนาแน่น92 คน/ตร.กม. (240 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับประชากรที่ 5
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง)
รหัส ISO 3166ES-GA
ภาษาราชการภาษากาลิเซียและภาษาสเปน
นักบุญองค์อุปถัมภ์นักบุญยากอบ
สภานิติบัญญัติสภานิติบัญญัติกาลิเซีย
ที่นั่ง ส.ส.25 คน (จากทั้งหมด 350 คน)
ที่นั่ง ส.ว.19 คน (จากทั้งหมด 264 คน)
เว็บไซต์สภาบริหารกาลิเซีย

ที่มาของชื่อแคว้น

แก้
 
ภาพถ่ายดาวเทียม

คำว่า กาลิเซีย ในภาษาไทยนั้น มาภาษาคำว่า Galicia ซึ่งมีรากศัพท์จากคำว่า Callaecia ในภาษาละติน ซึ่งภายหลังเปลี่ยนเป็น Gallaecia เป็นชื่อที่มีความเกี่ยวข้องกับชนเผ่าเชื้อชาติเคลต์โบราณ ที่เคยอาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำโดรู ซึ่งมีชื่อว่า Gallaeci (กัลไลกี) ในภาษาละติน หรือ Καλλαϊκoί (Kallaïkoí) ในภาษากรีกโบราณ[1] ชาวกัลไลกีเป็นกลุ่มผู้คนกลุ่มแรก ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตแม่น้ำโดรู ที่ช่วยเหลือชาวลูซิตาเนียสู้รบกับชาวโรมันที่กำลังบุกรุกบริเวณแม่น้ำโดรู ชาวโรมันจึงใช้คำว่า กัลไลกี เป็นชื่อเรียกชนเผ่าต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำโดรู ซึ่งพูดภาษากัลไลกี และมีวัฒนธรรมและประเพณีที่คล้ายคลึงกัน[2][3]

ในศตวรรษที่ 7 นักวิชาการหลายคน ได้แก่ นักวิชาการอิซิโดโรแห่งเซบิยา ได้บันทึกไว้ว่า ชื่อชาวกาลิเซียนั้น มีชื่อที่มีรากศัพท์เดียวกับชาวกอล ซึ่งเป็นชื่อที่แปลว่า น้ำนม ในภาษากรีก เนื่องจากเหตุที่ว่าชาวกาลิเซียมีผิวที่ขาวเหมือนชาวกอล แต่อย่างใดก็ตาม นักวิชาการปัจจุบันเสนอว่าคำว่ากาลิเซียนั้น เป็นชื่อโบราณของชาวกัลไลกี ซึ่งอาจเพี้ยนมาจากคำว่า *kal-n-eH ซึ่งแปลว่า เนินเขา ในภาษาอินโดยุโรเปียนโบราณ หรือ *kallī- ซึ่งแปลว่า ป่าไม้ หรือ ชาวป่าไม้ ในภาษาเคลต์โบราณ [1][4]

ในช่วงยุคกลาง คำว่า กาลิเซีย นั้นได้เพี้ยนมาจากคำว่า Gallaecia หรือบางครั้งเขียน Galletia หรือ Gallicia ในศตวรรษที่ 13 การสะกดที่ใช้บ่อยที่สุดคือ Galiza จนมาถึงศตวรรษที่ 15 และ 16 ซึ่งเปลี่ยนมานิยมเขียนว่า Galicia ซึ่งตรงกับภาษากัสเตยาโน (ภาษาสเปน) ปัจจุบัน ในศตวรรษที่ 19 ตอนปลายและศตวรรษที่ 20 ตอนต้น การสะกด Galiza ก็กลับมาเป็นการสะกดนิยมอีกครั้งสำหรับผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณแคว้นกาลิเซียปัจจุบัน แต่ปัจจุบันนี้ ราชบัณฑิตยสถานกาลิเซีย (Real Academia Galega) ซึ่งเป็นสถาบันที่กำหนดมาตรฐานในการเขียนภาษากาลิเซีย ได้กำหนดว่าชื่ออย่างเป็นทางการของแคว้นกาลิเซีย ต้องเขียนว่า Galicia[5]

ประเพณี

แก้

วันหยุดสาธารณะ

แก้
  • Día de San Xosé (วันนักบุญโยเซฟ) วันที่ 19 มีนาคม (วันหยุดทางศาสนา)
  • Día do Traballo (วันทำงาน) วันที่ 1 พฤษภาคม
  • Día das Letras Galegas (วันวรรณคดีกาลิเซีย) วันที่ 17 พฤษภาคม
  • Día da Patria Galega (วันชาติแห่งกาลิเซีย) วันที่ 25 กรกฎาคม
  • Día da Nosa Señora (วันพระแม่) วันที่ 15 สิงหาคม (วันหยุดทางศาสนา)

สื่อ

แก้

โทรทัศน์

แก้

เตเลบิซิออนเดกาลิเซีย เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะของแคว้นกาลิเซีย ซึ่งเริ่มเปิดบริการเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1985 เป็นสถานีโทรทัศน์เครือข่ายเดียวกับบริษัทวิทยุโทรทัศน์กาลิเซีย (CRTVG) นอกจากนี้ ช่องเตเลบิซิออนเดกาลิเซียยังมีอีกสองช่องที่ฉายนอกประเทศสเปน คือ Galicia Televisión Europa ซึ่งฉายในประเทศที่อยู่ในสหภาพยุโรป และ Galicia Televisión América ซึ่งฉายในทวีปอเมริกา

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Moralejo, Juan J. (2008). Callaica nomina : estudios de onomástica gallega (PDF). A Coruña: Fundación Pedro Barrié de la Maza. pp. 113–148. ISBN 978-84-95892-68-3.
  2. Luján, Eugenio R. (2000): "Ptolemy's 'Callaecia' and the language(s) of the 'Callaeci', in Ptolemy: towards a linguistic atlas of the earliest Celtic place-names of Europe : papers from a workshop sponsored by the British Academy, Dept. of Welsh, University of Wales, Aberystwyth, 11–12 April 1999, pp. 55-72. Parsons and Patrick Sims-Williams editors.
  3. Paredes, Xoán (2000): "Curiosities across the Atlantic: a brief summary of some of the Irish-Galician classical folkloric similarities nowadays. Galician singularities for the Irish", in Chimera, Dept. of Geography, University College Cork, Ireland
  4. Curchin, Leonard A. (2008) Estudios GallegosThe toponyms of the Roman Galicia: New Study. CUADERNOS DE ESTUDIOS GALLEGOS LV (121): 111.
  5. Fraga, Xesús (8 June 2008). "La Academia contesta a la Xunta que el único topónimo oficial es Galicia" [The Academy responds to the Xunta saying that the only official toponym is Galicia]. La Voz de Galicia.