ราชบัลลังก์อารากอน
หน้านี้มีเนื้อหาเป็นภาษาต่างประเทศ คุณสามารถช่วยพัฒนาหน้านี้ได้ด้วยการแปล ยกเว้นหากเนื้อหาเกือบทั้งหมดไม่ใช่ภาษาไทย ให้แจ้งลบแทน |
ราชบัลลังก์อารากอน (อารากอน: Corona d'Aragón; กาตาลา: Corona d'Aragó; สเปน: Corona de Aragón)[nb 1] คือราชาธิปไตยองค์ประกอบ (composite monarchy)[1] ซึ่งปกครองโดยพระมหากษัตริย์พระองค์เดียว โดยมีที่มาจากการอภิเสกสมรสระหว่างสองราชวงศ์โดยราชอาณาจักรอารากอนและเคาน์ตีบาร์เซโลนา และสิ้นสุดลงอันเป็นผลจากสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน โดยในยุคสมัยที่มีอำนาจสูงสุดในราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 และ 15 ราชบัลลังก์อารากอนเป็นมหาอำนาจทางทะเลซึ่งมีอำนาจครอบคลุมดินแดนส่วนใหญ่ของสเปนในปัจจุบันเกือบทั้งหมด บางส่วนของฝรั่งเศสตอนใต้ และจักรวรรดิเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งรวมถึง หมู่เกาะแบลีแอริก ซิซิลี คอร์ซิกา ซาร์ดิเนีย มอลตา อิตาลีตอนใต้ (ตั้งแต่ ค.ศ. 1442) และบางส่วนของกรีซ (จนถึง ค.ศ. 1388)
ราชบัลลังก์อารากอน Corona d'Aragón (อารากอน) Corona d'Aragó (กาตาลา) Corona Aragonum (ละติน) Corona de Aragón (สเปน) | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1162–ค.ศ. 1716 | |||||||||||||||||||||
แผนที่แสดงดินแดนในปกครองของราชบัลลังก์อารากอน | |||||||||||||||||||||
สถานะ | ราชาธิปไตยองค์ประกอบ[1] | ||||||||||||||||||||
เมืองหลวง | ดูที่ เมืองหลวง ด้านล่าง | ||||||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาทางการ: กาตาลา, อารากอน, ละติน ภาษาอื่น ๆ : อุตซิตา, ซาร์ดิเนีย, คอร์ซิกา, นาโปลี, ซิซิลี, กัสติยา, บาสก์,[2] กรีก, มอลตา, อาหรับแบบอัลอันดะลุส, โมซาราบิก | ||||||||||||||||||||
ศาสนา | ศาสนาหลัก: โรมันคาทอลิก ศาสนาอื่น ๆ : อิสลามนิกายซุนนี, ยูดายแบบเซฟาร์ดี, กรีกออร์ทอดอกซ์ | ||||||||||||||||||||
การปกครอง | ระบบฟิวดัล (ขึ้นอยู่กับสนธิสัญญา) | ||||||||||||||||||||
กษัตริย์ | |||||||||||||||||||||
• ค.ศ. 1162–1164 (พระองค์แรก) | เปโตรนิยา | ||||||||||||||||||||
• ค.ศ. 1479–1516 | พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 | ||||||||||||||||||||
• ค.ศ. 1700–1716 (พระองค์สุดท้าย) | พระเจ้าเฟลิเปที่ 5 | ||||||||||||||||||||
สภานิติบัญญัติ | Cortz d'Aragón Corts Catalanes Corts Valencianes | ||||||||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สมัยกลาง / สมัยใหม่ตอนต้น | ||||||||||||||||||||
• รัฐร่วมประมุขระหว่างราชอาณาจักรอารากอนกับเคาน์ตีบาร์เซโลนา | ค.ศ. 1162 | ||||||||||||||||||||
ค.ศ. 1231 | |||||||||||||||||||||
• การพิชิตราชอาณาจักรบาเลนเซีย | ค.ศ. 1238–1245 | ||||||||||||||||||||
ค.ศ. 1324–1420 | |||||||||||||||||||||
19 ตุลาคม ค.ศ. 1469 | |||||||||||||||||||||
ค.ศ. 1501–1504 | |||||||||||||||||||||
ค.ศ. 1716 | |||||||||||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||||||||||
ค.ศ. 1300[3] | 120,000 ตารางกิโลเมตร (46,000 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||||||
ประชากร | |||||||||||||||||||||
• ค.ศ. 1300[3] | 1000000 | ||||||||||||||||||||
|
องค์ประกอบของอาณาจักรนั้นไม่ได้ควบรวมกันยกเว้นเพียงแต่เฉพาะระดับพระมหากษัตริย์เท่านั้น[4] ซึ่งปกครองแต่ละดินแดนตามกฎหมายของตนเองอย่างอิสระ รวมถึงระบบจัดเก็บภาษีอากร การปกครองโดยระบบสภาของแต่ละดินแดนซึ่งแยกจากกัน เช่น ราชอาณาจักรอารากอน ราชรัฐกาตาลุญญา ราชอาณาจักรมายอร์กา และราชอาณาจักรวาเลนเซีย อนึ่ง ราชบัลลังก์อารากอนมิใช่หน่วยเดียวกับราชอาณาจักรอารากอนซึ่งเป็นที่มาของชื่อราชวงศ์
ใน ค.ศ. 1469 การรวมราชวงศ์ครั้งใหม่ระหว่างราชบัลลังก์อารากอนกับราชบัลลังก์กัสติยาโดยพระมหากษัตริย์คาทอลิกแห่งสเปน โดยในปัจจุบันถือเป็นการรวมชาติโดยเรียกเป็น "ชาวสเปน" เป็นสมัยแรก[5] ตั้งแต่บัดนั้นสืบมาจนเป็นราชาธิปไตยจนถึงในภายหลังที่สเปนของราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค ซึ่งราชบัลลังก์นั้นยังคงสถานะอยู่จนถูกยุบลงตามผลของพระราชกฤษฎีกานูเอบาปลันตาโดยพระเจ้าเฟลิเปที่ 5 ใน ค.ศ. 1716 ซึ่งชนะสงครามสืบราชบัลลังก์สเปนจากอารค์ดยุกคาร์ล (ในอิสริยยศของชาร์ลที่ 3 แห่งอารากอน)
องค์ประกอบ
แก้ราชบัลลังก์อารากอนประกอบด้วยดินแดนต่าง ๆ ดังนี้ (ในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสเปน ฝรั่งเศส อิตาลี กรีซ มอลตา และอันดอร์รา)
ตารางดังต่อไปนี้สามารถจัดลำดับตามการควบรวมของดินแดนต่าง ๆ เข้ากับราชบัลลังก์อารากอนโดยยึดจากปีที่ควบรวมได้
ชื่อ | ประเภทดินแดน | หมายเหตุ | ผนวกเมื่อ |
---|---|---|---|
อันดอร์รา | ราชรัฐร่วม | ผนวกเข้ากับอารากอนใน ค.ศ. 1396 และอีกครั้งใน ค.ศ. 1512 | ค.ศ. 1396 |
อารากอน | ราชอาณาจักร | เข้าร่วมกับเคาน์ตีบาร์เซโลนาใน ค.ศ. 1162 เพื่อรวมเป็นราชบัลลังก์ฯ | ค.ศ. 1162 |
เอเธนส์ | ดัชชี | รับสืบทอดผ่านทางราชอาณาจักรซิซิลีใน ค.ศ. 1381 และต่อมาได้เสียดินแดนคืนใน ค.ศ. 1388 | ค.ศ. 1381 |
เคาน์ตีบาร์เซโลนา ซึ่งต่อมาได้รวมเป็นราชรัฐกาตาลุญญา | ราชรัฐ โดยแรกเป็นเคาน์ตี | ร่วมกับอารากอนใน ค.ศ. 1162 เพื่อก่อตั้งเป็นราชบัลลังก์ฯ ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 14 นั้น บาร์เซโลนาได้พัฒนาองค์กรต่าง ๆ รวมทั้งนิติบัญญัติร่วมกันกับเคาน์ตีต่าง ๆ ในกาตาลุญญา เช่น รัฐธรรมนูญ ศาล และฌานาราลิตัต ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของราชรัฐกาตาลุญญา | ค.ศ. 1162 |
เฌโวด็อง | เคาน์ตี | รับสืบทอดใน ค.ศ. 1166 โดยพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 2 และเสียดินแดนไปใน ค.ศ. 1307 | ค.ศ. 1166 |
มายอร์กา | ราชอาณาจักร | ก่อตั้งใน ค.ศ. 1231 โดยพระเจ้าไชเมที่ 1 ซึ่งรวมกับรูซียงและมงเปอลีเย โดยเป็นส่วนหนึ่งของราชบัลลังก์ฯ | ค.ศ. 1231 |
เนเปิลส์ | ราชอาณาจักร | พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 5 ได้ยึดมาจากการปกครองของราชวงศ์กาเปเซียงใน ค.ศ. 1442 แต่ต่อมาได้เอกราชไปในช่วงสั้น ๆ แล้วจึงตกเป็นของพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส และต่อมาถูกยึดคืนโดยสเปนในช่วงสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1499–1504); ต่อมาเสียดินแดนอีกใน ค.ศ. 1714 ภายหลังจากการสิ้นสุดสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน | ค.ศ. 1442 |
เนโอพาเทรีย | ดัชชี | รับสืบทอดผ่านทางราชอาณาจักรซิซิลีใน ค.ศ. 1381 และเสียดินแดนไปใน ค.ศ. 1390 | ค.ศ. 1381 |
พรอว็องส์ | เคาน์ตี | รับสืบทอดมาจากเคาน์ตีบาร์เซโลนาใน ค.ศ. 1162 | ค.ศ. 1162 |
ซาร์ดิเนีย | ราชอาณาจักร | ใน ค.ศ. 1297 พระสันตปาปาโบนิฟาสที่ 8 ได้ก่อตั้งราชอาณาจักรนี้[6] โดยได้รวมเป็นศักดินาต่อกษัตริย์แห่งอารากอน พระเจ้าเจมส์ที่ 3 โดยไม่ได้คำนึงถึงเหล่าดินแดนปกครองตนเองต่าง ๆ ที่มีมาก่อนแล้วในซาร์ดิเนีย[7] โดยการเข้ายึดครอบโดยราชบัลลังก์นั้นไม่ได้เริ่มขึ้นจนกระทั่ง ค.ศ. 1324 และครอบครองโดยสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1420 ต่อมาเสียดินแดนนี้ไปใน ค.ศ. 1714 | ค.ศ. 1324 |
ซิซิลี | ราชอาณาจักร | ปกครองเป็นราชาอาณาจักรโดยอิสระ[8] โดยเครือญาติหรือสมาชิกสายรองของราชวงศ์อารากอนตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1282 จนถึง ค.ศ. 1409 และต่อมาถูกผนวกรวมเข้ากับราชบัลลังก์โดยถาวร สุดท้ายเสียดินแดนอีกครั้งใน ค.ศ. 1713 | ค.ศ. 1282 |
บาเลนเซีย | ราชอาณาจักร | ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1238 ในฐานะส่วนหนึ่งของราชบัลลังก์ฯ โดยได้ดินแดนมาจากการเข้ายึดดินแดนไตฟาคืนจากชาวมัวร์ | ค.ศ. 1238 |
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Corona d'Aragón (เสียงอ่านภาษาอารากอน: [koˈɾona ðaɾaˈɣon])
Corona d'Aragó (ภาษากาตาลาตะวันออก: [kuˈɾonə ðəɾəˈɣo], เสียงอ่านภาษากาตาลา: [koˈɾona ðaɾaˈɣo], ภาษากาตาลาตะวันตก: [koˈɾona ðaɾaˈɣo])
Corona Aragonum (เสียงอ่านภาษาละติน: [kɔˈroːna araˈɡoːnũː])
Corona de Aragón (เสียงอ่านภาษาสเปน: [koˈɾona ðe aɾaˈɣon]).
- ↑ 1.0 1.1 Pablo Fernández Albaladejo (2001). Los Borbones: dinastía y memoria de nación en la España del siglo XVIII..., Marcial Pons Historia.
- ↑ Jimeno Aranguren, Roldan; Lopez-Mugartza Iriarte, J.C. (Ed.) (2004). Vascuence y Romance: Ebro-Garona, Un Espacio de Comunicación. Pamplona: Gobierno de Navarra / Nafarroako Gobernua. pp. 250–255. ISBN 84-235-2506-6.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 3.0 3.1 Reilly, Bernard F. (1993). The Medieval Spains (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. p. 139. ISBN 9780521397414. สืบค้นเมื่อ 11 October 2019.
The new kingdom of Castile had roughly tripled in size to some 335,000 square kilometers by 1300 but, at the same time, its population had increased by the same factor, from one to three millions [...] In the new Crown of Aragon of 120,000 square kilometers the population density would have been about the same for its numbers reached about 1,000,000 in the same period.
- ↑ Alan Ryder (2007). The Wreck of Catalonia. Civil War in the Fifteenth Century. Oxford University Press. p. v. ISBN 978-0-19-920736-7.
This group of states comprised the kingdoms of Aragon, Valencia, and Majorca, the principality of Catalonia, and the counties of Roussillon and Cerdagne; further afield it embraced the kingdoms of Sicily and Sardinia. These states had no common institutions or bonds save allegiance to a common sovereign
- ↑ Henry Kamen, Empire: how Spain became a world power, 1492-1762, 2002:20.
- ↑ Formally including Corsica, which was never conquered or controlled by the Aragonese or the Spanish.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อReferenceA
- ↑ รวมกับมอลตา ใน ค.ศ. 1530 จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ได้ยกเกาะต่าง ๆ ให้กับคณะอัศวินบริบาลซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของPhilippe de Villiers de L'Isle-Adam, Grand Master of the Order, in perpetual lease for which they had to pay the Tribute of the Maltese Falcon. These knights, a military religious order now known as the Knights of Malta, had been driven out of Rhodes by the Ottoman Empire in 1522.