พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 2 แห่งอารากอน

พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 2 (สเปน: Alfonso II; กาตาลา: Alfons II; อารากอน: Alifonso II; ค.ศ. 1152[1][2][3]–1196) มีพระสมัญญานามว่า ผู้ไม่นอกใจ[4] (สเปน: el Casto; กาตาลา: el Cast; อารากอน: o Casto) และ นักขับลำตรูบาดู (สเปน: el Trovador; กาตาลา: el Trobador; อารากอน: o Trobador) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งอารากอนตั้งแต่ ค.ศ. 1164[1] โดยดำรงตำแหน่งเคานต์แห่งบาร์เซโลนาในฐานะ เคานต์อัลโฟนส์ที่ 1 (กาตาลา: Alfons I) ตั้งแต่ ค.ศ. 1162

พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 2
ภาพวาดจากเอกสารลิแบร์เฟวดอรูงมายอร์ในคริสตศตวรรษที่ 12
กษัตริย์แห่งอารากอน
ครองราชย์18 กรกฎาคม ค.ศ. 1164 – 25 เมษายน ค.ศ. 1196
รัชกาลก่อนหน้าเปโตรนิยาแห่งอารากอน
รัชกาลถัดไปพระเจ้าเปโดรที่ 2 แห่งอารากอน
ประสูติ1–25 มีนาคม ค.ศ. 1157
อูเอสกา ราชอาณาจักรอารากอน
สิ้นพระชนม์25 เมษายน ค.ศ. 1196 (39 พรรษา)
ฝังพระศพอารามปุบแบล็ต
พระมเหสีซันชาแห่งกัสติยา พระราชินีแห่งอารากอน
พระบุตรกุนส์ตันซาแห่งอารากอน
พระเจ้าเปโดรที่ 2 แห่งอารากอน
อัลโฟนส์ที่ 2 เคานต์แห่งพรอว็องส์
ราชวงศ์บาร์เซโลนา
พระบิดาราโมน บารังเกที่ 4 เคานต์แห่งบาร์เซโลนา
พระมารดาเปโตรนิยาแห่งอารากอน

อัลโฟนส์เป็นบุตรชายของราโมน บารังเกที่ 4 พระองค์สืบทอดตำแหน่งเคานต์แห่งบาร์เซโลนาต่อจากบิดาและสืบทอดตำแหน่งผู้ปกครองแห่งอารากอนต่อจากพระมารดา ทำให้ทั้งสองดินแดนรวมกันเป็นหนึ่งเดียวภายใต้ราชวงศ์บาร์เซโลนา ชาวอารากอนมีความเกี่ยวข้องกับฝรั่งเศสมากขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ อย่างไรก็ดีการพิชิตเตรูเอลในปี ค.ศ. 1171 นำไปสู่การพิชิตบาเลนเซีย และนำไปสู่การทำสนธิสัญญากาโซลากับพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 8 แห่งกัสติยา พันธมิตรของพระองค์ ในปี ค.ศ. 1179 ซึ่งกำหนดพื้นที่ที่สามารถทำเรกองกิสตาได้ของทั้งสองอาณาจักร ตามพินัยกรรมของพระองค์ พระเจ้าอัลฟอนโซได้ทำตามธรรมเนียมแบบสเปนในการแบ่งราชอาณาจักร ทำให้พรอว็องส์ถูกแยกออกมาจากราชบัลลังก์อารากอน

การครองราชย์

แก้

พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 2 เสด็จพระราชสมภพในอูเอสกา[1][2][3] ไม่ชัดเจนว่าเมื่อครั้งสมภพมีพระนามว่าอัลโฟนส์หรือราโมน[5] ทรงขึ้นครองราชบัลลังก์ที่รวมอารากอนเข้ากับบาร์เซโลนาในพระนามพระเจ้าอัลฟอนโซ (ในภาษากาตาลายังคงเรียกว่า "อัลโฟนส์") เพื่อแสดงความเคารพต่อชาวอารากอน และเพื่อเป็นเกียรติแก่พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 1 ผู้ประจัญบาน[6]

ตลอดช่วงเวลาส่วนใหญ่ในรัชสมัยของพระองค์ ทรงเป็นพันธมิตรกับพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 8 แห่งกัสติยา ทั้งในการต่อกรกับนาวาร์และในการต่อกรกับไตฟาทางตอนใต้ของชาวมัวร์ พระเจ้าอัลฟอนโซทำเรกองกิสตาไปได้ใกลถึงเตรูเอล ทรงพิชิตที่มั่นสำคัญในเส้นทางสู่บาเลนเซียในปี ค.ศ. 1171 ในปีเดียวกันทรงยึดกัสเป

วันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1174 ในซาราโกซา พระเจ้าอัลฟอนโซอภิเษกสมรสกับซันชา พระขนิษฐาของกษัตริย์กัสติยา[7] กษัตริย์ทั้งสองยังสานความเป็นพันธมิตรในสนธิสัญญากาโซลาในปี ค.ศ. 1179 ขีดเส้นแบ่งพิ้นที่ดินแดนในการพิชิตในตอนใต้ตามแนวลุ่มน้ำฆูการ์และเซกูรา พื้นที่ทางใต้ของบาเลนเซียซึ่งรวมถึงเดนิอาจึงอยู่ในสิทธิ์ของอารากอน พระเจ้าอัลฟอนโซยังบรรลุข้อตกลงในสนธิสัญญาซังเกวซาในปี ค.ศ. 1168 กับพระเจ้าซันโชที่ 6 แห่งนาวาร์ ในการแบ่งดินแดนไตฟามูร์เซีย

ในช่วงรัชสมัยของพระองค์ อิทธิพลของอารากอนทางตอนเหนือของเทือกเขาพิรินีขึ้นถึงจุดสูงสุด ราชอาณาจักรของพระองค์ไม่ได้มีแค่พรอว็องส์ แต่ยังมีเคาน์ตีซาร์ดัญญา (ค.ศ. 1168) และเคาน์ตีรูซียง (ได้มาใน ค.ศ. 1172)[8] เบอาร์นและบีกอร์ถวายการสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ในปี ค.ศ. 1187

พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 2 สิ้นพระชนม์ในแปร์ปีญ็องใน ค.ศ. 1196

การอภิเษกสมรสและทายาท

แก้
 
พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 2 กับพระมเหสี ซันชา รายล้อมโดยสตรีในราชสำนัก จาก ลิแบร์เฟวดอรูงมายอร์

พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 2 มีพระโอรสธิดากับซันชาแห่งกัสติยา พระมเหสีซึ่งเป็นพระธิดาของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 7 แห่งกัสติยา ดังนี้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Benito Vicente de Cuéllar (1995), «Los "condes-reyes" de Barcelona y la "adquisición" del reino de Aragón por la dinastía bellónida», p. 630-631; in Hidalguía. XLIII (252) pp. 619–632.
  2. 2.0 2.1 "Alfonso II el Casto, hijo de Petronila y Ramón Berenguer IV, nació en Huesca en 1157;". Cfr. Josefina Mateu Ibars, María Dolores Mateu Ibars (1980). Colectánea paleográfica de la Corona de Aragon: Siglo IX-XVIII. Universitat Barcelona, p. 546. ISBN 84-7528-694-1, ISBN 978-84-7528-694-5.
  3. 3.0 3.1 Antonio Ubieto Arteta (1987). Historia de Aragón. Creación y desarrollo de la Corona de Aragón. Zaragoza: Anúbar, pp. 177–184 § "El nacimiento y nombre de Alfonso II de Aragón". ISBN 84-7013-227-X.
  4. ในที่นี้หมายความว่า ไม่ทรงมีเพศสัมพันธ์นอกการสมรส
  5. Ubieto (1987:184–186)
  6. Luis Suárez Fernández (1976). Historia de España Antigua y Media. Madrid: Rialp, p. 599. ISBN 978-84-321-1882-1.
  7. Ubieto (1987:202) Archived 2012-03-16 at the Wayback Machine
  8. Gerardo II of Rosellon (1164–1174) willed in his testament that "the entire Rosellon I give to my lord the king of Aragón" for the loyalty that he had in his sovereign, Alphonso II, who was immediately recognized as king in Perpignan. See José Ángel Sesma Muñoz (2000). La Corona de Aragón. Zaragoza: CAI (Colección Mariano de Pano y Ruata, 18), pp. 59–60.