ซาราโกซา
ซาราโกซา (สเปน: Zaragoza) เป็นเมืองหลักของจังหวัดซาราโกซาและแคว้นอารากอน ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสเปน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเอโบรและแควสาขาอูเอร์บาและกาเยโก ในหุบเขาตอนกลางของแคว้นซึ่งมีภูมิทัศน์ที่หลากหลาย ตั้งแต่ทะเลทราย ("โลสโมเนโกรส") ป่าหนาทึบ ทุ่งหญ้า ไปจนถึงทิวเขา
ซาราโกซา Zaragoza | |
---|---|
ทิวทัศน์ของซาราโกซาและแม่น้ำเอโบร | |
สมญา: | |
พิกัด: 41°39′N 0°53′W / 41.650°N 0.883°W | |
ประเทศ | สเปน |
แคว้นปกครองตนเอง | แคว้นอารากอน |
จังหวัด | ซาราโกซา |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | Jorge Azcón (พรรคประชาชน) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 973.78 ตร.กม. (375.98 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 243 เมตร (797 ฟุต) |
ประชากร (2018)[2] | |
• ทั้งหมด | 666,880 คน |
• ความหนาแน่น | 680 คน/ตร.กม. (1,800 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+01:00 (CET) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+02:00 (CEST) |
รหัสไปรษณีย์ | 50001 – 50022 |
เว็บไซต์ | www |
ข้อมูลในปี ค.ศ. 2007 จากสภาเมืองซาราโกซา เมืองนี้มีประชากร 667,034 คนมากที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของประเทศ และมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรทั้งแคว้น ซาราโกซาตั้งอยู่ที่ความสูง 199 เมตรจากระดับน้ำทะเล และเป็นจุดตัดระหว่างเส้นทางที่จะไปยังมาดริด บาร์เซโลนา บาเลนเซีย บิลบาโอ และตูลูซ (ประเทศฝรั่งเศส) โดยเมืองทั้งหมดนี้ตั้งอยู่ห่างจากซาราโกซาประมาณ 300 กิโลเมตร
บริเวณเมืองนี้เคยเป็นหมู่บ้านที่มีชื่อว่า ซัลดูบา (Salduba) เป็นชื่อในภาษาพิวนิกของกองทัพคาร์เธจซึ่งตั้งอยู่บนซากหมู่บ้านชาวเคลติเบเรียนเดิม จนกระทั่งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 เมื่อกองทัพโรมันได้เข้ารุกรานคาบสมุทรไอบีเรีย บริเวณนี้จึงตกอยู่ในการดูแลของกองรักษาด่านซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยจักรพรรดิเอากุสตุส และกลายเป็นเมืองที่มีชื่อว่า ไกซาเรากุสตา (Caesaraugusta) มีฐานะเป็นเมืองหลวงของจังหวัดฮิสปาเนียซีเตรีออร์
ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 ชาวอาหรับได้เข้ายึดเมืองนี้และตั้งชื่อใหม่ว่า ซารากุสตา (Saraqusta; سرقسطة) ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา (ราชวงศ์อุไมยัด) และเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นเมืองอาหรับที่ใหญ่ที่สุดทางภาคเหนือของคาบสมุทร จากนั้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ซาราโกซาเป็นหนึ่งในกลุ่มราชอาณาจักรไตฟา (รัฐมุสลิมหลายสิบรัฐที่แตกออกมาหลังการล่มสลายของอาณาจักรกอร์โดบา) และถูกชาวอาหรับอีกกลุ่มจากจักรวรรดิอัลโมราวิดเข้าครอบครอง ในที่สุดเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 ชาวอารากอน (นับถือศาสนาคริสต์) ก็สามารถยึดเมืองนี้ได้จากพวกอัลโมราวิดและได้ตั้งเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรอารากอน ซึ่งเป็นหนึ่งในดินแดนต่าง ๆ บนคาบสมุทรไอบีเรียที่จะพัฒนาเป็นราชอาณาจักรสเปนในเวลาต่อมา
ประวัติศาสตร์
แก้ยุคเริ่มแรกของซาราโกซา
แก้ซาราโกซา เป็นเมืองโบราณตั้งแต่สมัยโรมัน บันทึกกล่าวถึงเซดิทานี ผู้เป็นชาวไอบีเรียได้ทำการตั้งถิ่นฐานสร้างเมืองในดินแดนนี้นามว่าซัลดูบา (Saldoba) จนกระทั่งมาถึงสมัยของจักรพรรดิออกุสตุส ทรงมีความพยายามในการขยายอำนาจในคาบสมุทรและกำจัดชนเผ่าคนเถื่อน โดยมีการตั้งกองบัญชาการที่เมืองนี้ พร้อมกันนั้นจึงเปลี่ยนชื่อจากซัลดูบามาเป็น ‘ซีซารากุสตา’ (Caesaraugusta)
ภายหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ซีซากุสตา ก็กลายเป็นเมืองอิสระขนาดเล็ก จนกระทั่งการเข้ามาของพวกแขกมัวร์ที่ทำการยึดพื้นที่ของคาบสมุทรไอบีเรียเอาไว้ พวกแขกได้ทำการสถาปนาซีซารากุสตาเป็นเมืองหลักของแคว้นอัล-อัลไดรุส (al-Andalus) อันเป็นศูนย์กลางการปกครองของพวกอิสลามในภูมิภาคคาบสมุทรไอบีเรีย
ให้หลังจากช่วงศตวรรษที่ 11 เป็นต้นมา ความอ่อนแอของทางรัฐกาหลิบทำให้ดินแดนในคาบสมุทรไอบีเรียแตกตัวเป็นอาณาจักรเล็กอาณาจักรน้อย ซาราโกซาเองก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยเมืองแห่งนี้ได้ตั้งตัวขึ้นเป็นไทฟาแห่งซาราโกซา[3] then ruled by the Banu Hud from 1039.[3] รัฐอิสระที่ปกครองโดยแขกที่นับถือศาสนาอิสลาม ความอ่อนแอของพวกแขกมัวร์นี้ได้ทำให้ชาวยุโรปขยายอำนาจลงมาทางใต้ และในวันที่ 18 ธันวาคม 1118 พระเจ้าอัลฟองโซที่ 1 แห่งอารากอนก็ลงมาบัญชาการทัพขับไล่พวกแขกมัวร์ออกไปจากคาบสมุทรไอบีเรีย และย้ายศูนย์กลางอำนาจของอารากอน ลงมาสู่เมืองซีซารากุสตา ซึ่งเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น ‘ซาราโกซา’
ซาราโกซาในยุคกลาง
แก้ซาราโกซาเติบโตขึ้นในฐานะเมืองศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรอารากอน ตัวเมืองขยายตัวขึ้นอย่างมาก และทำให้มีประชากรอาศัยอยู่ในตัวเมืองเพิ่มขึ้นเท่าตัว จนกระทั่งศตวรรษที่ 15 เมื่อโรคฝีดาษได้ระบาดเข้ามาภายในเมือง ซึ่งคร่าชีวิตของผู้คนไปถึงหนึ่งในสามของจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง
ในช่วงสงครามสืบราชสมบัติสเปน ซาราโกซาเป็นอีกหนึ่งฉากทัศน์สำคัญ เมื่ออาร์คดยุคคาร์ลสถาปนาตนเองเป็น “กษัตริย์แห่งอารากอน” และเมื่อเขายาตราเข้าเมืองได้สำเร็จก็จัดการปราบปรามพื้นที่ต่างๆที่ภักดีต่อราชวงศ์บูรบง อันเป็นคู่ขัดแย้งสำคัญของอาร์คดยุคคาร์ลในฐานะผู้มีสิทธิ์ทับซ้อนในราชบัลลังก์สเปน จนกระทั่งในเดือนเมษายนปี 1707 ชัยชนะของพันธมิตรฝรั่งเศส-สเปนในยุทธการที่อัลมาซา เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญต่อแนวรบของอาร์คดยุคคาร์ลในอารากอน เพราะกองกำลังพันธมิตรที่นำโดยดยุคแห่งออร์ลีนสามารถตีเมืองซาราโกซากลับคืนมาได้ ภายหลังจากการยึดซาราโกซากลับคืนมามีการประกาศพระราชกฤษฎีกานูเอบาปลันตา ที่ยุบยกเลิกองค์กรส่วนท้องถิ่นในอารากอน นั่นทำให้ระบบสภาที่ปกครองของอารากอนต้องถูกยกเลิกไปตามกฎหมาย เป็นการรวมศูนย์อำนาจจากอาณาจักรเล็กน้อยของสเปนเข้าสู่ส่วนกลางของที่นำโดยราชวงศ์บูรบง
ซาราโกซาในยุคสมัยใหม่
แก้การขยายอำนาจของนโปเลียน มุ่งลงทิศใต้อย่างดินแดนบนคาบสมุทรไอบีเรีย ดินแดนซาราโกซาต้องตรากตรำรับศึกหนักถึงสองครั้งจากกองทัพฝรั่งเศส ครั้งแรกในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 1808 และครั้งที่สองในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ 1809
ต่อมามีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในเมือง โดยเฉพาะเส้นทางรถไฟ ในปี 1861 เส้นทางการเดินรถไฟบาร์เซโลนา-ซาราโกซาเปิดทำการอย่างเป็นทางการ ตามด้วยเปิดเส้นทางมาดริด-ซาราโกซาในอีกไม่กี่ปีต่อจากนั้น การพัฒนาเส้นทางรถไฟขยายภาคอุตสาหกรรมของสเปนให้เพิ่มขึ้น และทำให้ซาราโกซากลายเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่นิยมการใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเป็นหลัก
เมื่ออุตสาหกรรมและโรงงานเพิ่มมากขึ้น แรงงานภายในเมืองก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย และแรงงานพวกนี้ก็ช่วยกันต่อต้านความพยายามรัฐประหารในสเปนของกลุ่มฟาสซิสต์เมื่อปี 1936 อย่างไรก็ตามความพยายามต่อต้านนั้นล้มเหลวและพวกนิยมสาธารณรัฐต้องถอยร่นออกจากเมือง กลุ่มนิยมฟาสซิสต์จึงได้เมืองซาราโกซาไว้ในครอบครอง และด้วยความที่เมืองนี้เป็นแหล่งอุตสาหกรรมในการผลิต ในยามสงครามสิ่งที่ต้องการมากที่สุดคือ “อาวุธยุทโธปกรณ์” ซาราโกซาจึงเป็นแหล่งผลิตกระสุนปืนเพื่อขับเคลื่อนการทำสงครามของพวกฟาสซิสต์ตลอดช่วงเวลาสงครามกลางเมืองสเปนนั่นเอง
ต่อมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมืองซาราโกซาถูกมองว่าเป็นเสาหลักของการพัฒนาอุตสาหกรรมของสเปน[4] ซึ่งส่งผลให้แรงงานจำนวนมากเข้ามาทำงานจนพลเมืองในเมืองเพิ่มขึ้นสองเท่าอย่างรวดเร็ว และตั้งแต่ปี 1982 มา ซาราโกซาก็กลายเป็นที่ตั้งของโรงงานประกอบรถยนต์มากมายของประเทศ
เมืองพี่น้อง
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Martí Font, J.M. (2017). La España de las ciudades: El Estado frente a la sociedad urbana (ภาษาสเปน). ED Libros. ISBN 9788461799220.
- ↑ Municipal Register of Spain 2018. National Statistics Institute.
- ↑ 3.0 3.1 "Los reinos de Taifas en la Marca Superior (Zaragoza-Albarracín)". Atlas de historia de Aragón. Institución Fernando el Católico.
- ↑ Zazo, Ana (2010). "Procesos de urbanización de la huerta zaragozana. Incoherencias instrumentales". ใน Vázquez, Mariano; Verdaguer, Carlos (บ.ก.). El espacio agrícola entre el campo y la ciudad. Universidad Politécnica de Madrid.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- สภาเมืองซาราโกซา
- สถานที่สำคัญต่าง ๆ ในเมืองซาราโกซา เก็บถาวร 2007-04-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แหล่งท่องเที่ยวในเมืองซาราโกซา เก็บถาวร 2008-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ภาพถ่ายเมืองซาราโกซา[ลิงก์เสีย]