ฟลอเรนซ์ (อังกฤษ: Florence) หรือ ฟีเรนเซ (อิตาลี: Firenze) เป็นเมืองในภาคกลางของประเทศอิตาลี เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของแคว้นตอสคานา ฟลอเรนซ์มีประชากร 383,084 คน หากรวมปริมณฑลจะมีประชากรถึง 1.5 ล้านคน[4]

ฟลอเรนซ์
เทศบาลฟลอเรนซ์ - Comune di Firenze
หอศิลป์อุฟฟีซี (บนซ้าย) ตามด้วยวังปิตตี, ทัศนียภาพยามเย็น และน้ำพุเนปจูน
หอศิลป์อุฟฟีซี (บนซ้าย) ตามด้วยวังปิตตี, ทัศนียภาพยามเย็น และน้ำพุเนปจูน
ธงของฟลอเรนซ์
ธง
ตราราชการของฟลอเรนซ์
ตราอาร์ม
แผนที่แสดงที่ตั้งของฟลอเรนซ์
แผนที่
ฟลอเรนซ์ตั้งอยู่ในประเทศอิตาลี
ฟลอเรนซ์
ฟลอเรนซ์
ที่ตั้งของฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี
พิกัด: 43°47′N 11°15′E / 43.783°N 11.250°E / 43.783; 11.250พิกัดภูมิศาสตร์: 43°47′N 11°15′E / 43.783°N 11.250°E / 43.783; 11.250
ประเทศอิตาลี
แคว้น ตอสคานา
นครฟลอเรนซ์ (FI)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด102.41 ตร.กม. (39.54 ตร.ไมล์)
ความสูง50 เมตร (160 ฟุต)
ประชากร
 (30 มิ.ย. 2016)[3]
 • ทั้งหมด383,083 คน
 • ความหนาแน่น3,700 คน/ตร.กม. (9,700 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมFiorentino
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
รหัสไปรษณีย์50121–50145
รหัสเขตโทรศัพท์055
รหัส ISTAT048017
นักบุญองค์อุปถัมภ์ยอห์นผู้ให้บัพติศมา
วันสมโภชนักบุญ24 มิถุนายน
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

ฟลอเรนซ์เป็นศูนย์กลางการค้าและการเงินของยุคกลางและถือเป็นหนึ่งในนครที่ร่ำรวยที่สุดในยุคนั้น นักวิชาการจำนวนมากถือว่าฟลอเรนซ์เป็นถิ่นกำเนิดของศิลปะเรอแนซ็องส์ จนมีการเรียกฟลอเรนซ์ว่าเป็น "กรุงเอเธนส์แห่งยุคกลาง" ประวัติศาสตร์ของฟลอเรนซ์ค่อนข้างยุ่งเหยิง ตั้งแต่ยุคที่ถูกปกครองโดยตระกูลเมดีชีและนักบวช ไปจนถึงยุคแห่งการปฏิวัติเป็นสาธารณรัฐ[5] ระหว่างปีค.ศ. 1865 ถึง 1871 ฟลอเรนซ์มีฐานะเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรอิตาลี (สถาปนาปี 1861) ภาษาถิ่นฟลอเรนซ์กลายเป็นรากฐานของภาษาอิตาลีมาตรฐาน ซึ่งกลายเป็นภาษาที่แพร่หลายทั่วทั้งอิตาลี[6] ทั้งหมดนี้ต้องยกความดีความชอบให้แก่บุคคลอย่างดันเต อาลีกีเอรี, เปตราก, โจวันนี บอกกัชโช และนิกโกเลาะ มาเกียเวลลี

ฟลอเรนซ์ดึงดูดนักท่องเที่ยวหลายล้านคนในแต่ละปี และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโกในปีค.ศ. 1982 นครฟลอเรนซ์มีวัฒนธรรม, อนุสาวรีย์, สถาปัตยกรรมเรอแนซ็องส์ และงานศิลป์ที่ลือเลื่อง[7] ภายในเมืองมีห้องจัดแสดงงานศิลปะและพิพิธภัณฑ์อยู่มากมาย อาทิ หอศิลป์อุฟฟีซีและวังปิตตี เป็นต้น ฟลอเรนซ์ยังเป็นเมืองสำคัญของอุตสาหกรรมแฟชั่นอิตาลี[8] มีศักดิ์เป็นเมืองหลวงแฟชั่นอันดับ 15 ของโลก นิตยสารฟอบส์ เคยจัดอันดับฟลอเรนซ์เป็นหนึ่งในเมืองที่งดงามที่สุดของโลก[9]

ภูมิอากาศ แก้

ฟลอเรนซ์มีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน[10] ฤดูร้อนมีอากาศร้อนจัด ฤดูฝนมีฝนน้อยถึงปานกลาง ฤดูหนาวมีอากาศเย็นชุ่มชื้น

ข้อมูลภูมิอากาศของนครฟลอเรนซ์
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 21.6
(70.9)
23.4
(74.1)
28.5
(83.3)
28.7
(83.7)
33.8
(92.8)
40.0
(104)
42.6
(108.7)
39.5
(103.1)
36.4
(97.5)
30.8
(87.4)
25.2
(77.4)
20.4
(68.7)
42.6
(108.7)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 10.9
(51.6)
12.5
(54.5)
15.7
(60.3)
18.5
(65.3)
23.7
(74.7)
27.7
(81.9)
31.4
(88.5)
31.5
(88.7)
26.7
(80.1)
20.9
(69.6)
14.7
(58.5)
11.1
(52)
20.44
(68.8)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 6.5
(43.7)
7.5
(45.5)
10.3
(50.5)
13.0
(55.4)
17.7
(63.9)
21.4
(70.5)
24.6
(76.3)
24.6
(76.3)
20.5
(68.9)
15.5
(59.9)
9.9
(49.8)
6.8
(44.2)
14.86
(58.75)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 2.0
(35.6)
2.5
(36.5)
4.9
(40.8)
7.5
(45.5)
11.6
(52.9)
15.0
(59)
17.7
(63.9)
17.7
(63.9)
14.4
(57.9)
10.1
(50.2)
5.1
(41.2)
2.6
(36.7)
9.26
(48.67)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -23.2
(-9.8)
-9.9
(14.2)
-8.0
(17.6)
-2.2
(28)
3.6
(38.5)
5.6
(42.1)
10.2
(50.4)
9.6
(49.3)
3.6
(38.5)
-1.4
(29.5)
-6.0
(21.2)
-8.6
(16.5)
−23.2
(−9.8)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 60.5
(2.382)
63.7
(2.508)
63.5
(2.5)
86.4
(3.402)
70.0
(2.756)
57.1
(2.248)
36.7
(1.445)
56.0
(2.205)
79.6
(3.134)
104.2
(4.102)
113.6
(4.472)
81.3
(3.201)
872.6
(34.354)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 8.3 7.1 7.5 9.7 8.4 6.3 3.5 5.4 6.2 8.5 9.0 8.3 88.2
แหล่งที่มา 1: Servizio Meteorologico [11]
แหล่งที่มา 2: World Meteorological Organization (United Nations) [12] Weather Atlas [13]

อ้างอิง แก้

  1. "Superficie di Comuni Province e Regioni italiane al 9 ottobre 2011". สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2019.
  2. "Popolazione Residente al 1° Gennaio 2018". สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2019.
  3. "Bilancio demografico anno 2015 e popolazione residente al 31 dicembre; Comune: Firenze". ISTAT. Select: Italia Centrale/Toscana/Firenze/Firenze. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-13. สืบค้นเมื่อ 2020-02-25.
  4. Bilancio demografico anno 2013, dati ISTAT
  5. Brucker, Gene A. (1969). Renaissance Florence. New York: Wiley. p. 23. ISBN 978-0520046955.
  6. "storia della lingua in 'Enciclopedia dell'Italiano'". Treccani.it. สืบค้นเมื่อ 28 October 2017.
  7. "Florence (Italy)". Britannica.com. สืบค้นเมื่อ 22 January 2010. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |encyclopedia= ถูกละเว้น (help)
  8. "FASHION: Italy's Renaissance". TIME. 4 February 1952. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-27. สืบค้นเมื่อ 9 October 2013.
  9. Tim Kiladze (22 January 2010). "World's Most Beautiful Cities". Forbes. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
  10. "World map of Köppen – Geiger Climate Classification". koeppen-geiger.vu-wien.ac.at. April 2006. สืบค้นเมื่อ 28 September 2010.
  11. "FIRENZE/PERETOLA" (PDF). Servizio Meteorologico. สืบค้นเมื่อ 13 October 2012.
  12. "World Weather Information Service - Florence". สืบค้นเมื่อ 2010-04-14.
  13. "Florence, Italy - Monthly weather forecast and Climate data". Weather Atlas. สืบค้นเมื่อ 26 January 2019.