อนารยชน (อังกฤษ: barbarian) เป็นคำที่มีความหมายในทางเหยียดหยามสำหรับผู้ที่ถือกันว่าไม่มีวัฒนธรรมที่อาจจะเป็นการใช้โดยทั่วไปที่หมายถึงกลุ่มชนในชาติหรือกลุ่มชาติพันธุ์ (Ethnic group) โดยทั่วไปแล้วจะหมายถึงกลุ่มชนที่มีลักษณะเป็นเผ่าพันธ์ (tribal society) จากมุมมองของวัฒนธรรมเมืองที่เห็นว่าเป็นวัฒนธรรมที่ด้อยกว่าหรือชื่นชมว่าเป็นคนเถื่อนใจธรรม (noble savage) เมื่อใช้เป็นสำนวน “อนารยชน” ก็อาจจะหมายถึงผู้ที่เป็นคนทารุณ, โหดร้าย, นิยมสงคราม และไร้ความรู้สึกต่อผู้อื่น[1]

นักรบเจอร์มานิค” โดย ฟิลิปป์ คลือเวอร์ (Philipp Clüver) ใน “Germania Antiqua” (ค.ศ.1616)

การใช้คำว่า “อนารยชน” มาจากวัฒนธรรมกรีก-โรมันแต่คำทำนองเดียวกันก็พบในวัฒนธรรมอื่นๆ ด้วย

ลักษณะทั่วไป

แก้

ในสมัยโรมันมีการอธิบายพวกอนารยชนว่ามีรูปร่างสูงใหญ ผมสีทอง ตาสีฟ้า มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย มีความเจริญด้อยกว่าพวกโรมันมาก แต่มีความอดทนต่อความหนาวเย็นและความหิวเป็นอย่างดี ชอบดื่มสุรา หมกมุ่นเรื่องเพศสัมพันธ์[2]

การปกครอง

แก้

ลักษณะการปกครองจะแบ่งเป็นหมู่บ้าน หลายๆหมู่บ้านรวมกันเป็นภาคหรือมณฑล หลายๆมณฑบรวมกันเป็นเผ่า แต่ละเผ่าจะมีหัวหน้าเผ่าหรือกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง ซึ่งจะต้องมีเชื้อสายนักรบที่กล้าหาญ จะแวดล้อมไปด้วยบรรดานักรบหรือบริวารคนสำคัญที่เรียกว่า คอมแพเนียน (Campanlon) จะใกล้ชิดกับกษัตริย์ อยู่ด้วยกัน กินด้วยกัน ร่วมทำสงครามด้วยกัน กษัตริย์จะตอบแทนโดยพระราชทานอาหาร ที่อยู่อาศัย อาวุธ และสิ่งต่างๆ ให้แก่บริวาร ส่วนบริวารจะต้องถวายความจงรักภักดีและความซื่อสัตย์ ซึ่งเป็นประเพณีที่สำคัญของชนเผ่าเยอรมัน เรียกว่า คอมมิเตตัส (Comitatus) หรือ เกโฟลเก้ (Gefolge) เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของชนเผ่าเยอรมัน ต่อมาแนวคิดนี้ได้พัฒนาเป็นรากฐานสำคัญของระบบฟิวดัลในยุโรปสมัยกลาง

การเลือกกษัตริย์หรือหัวหน้าเผ่านั้น มักจะเลือกจากบุคคลที่มีความสามารถในการรบ เพราะความจำเป็นของสภาพแวดล้อมบังคับ ที่ต้องทำให้เดินทางเปลี่ยนที่อยู่เสมอ ผู้ที่ได้รับเลือส่วนใหญ่จะมาจากตระกูลที่ยอมรับกันว่าเป็นชนชั้นเจ้า หรืออ้างว่าตระกูลของตนได้รับอำนาจมาจากพระเจ้า มักจะเลือกในตระกูลเดียวกัน จนบางครั้งดูเหมือนการสืบสายเลือดหรือสืบสันตติวงศ์ เพื่อรักษาความสามัคคีในเผ่า

เศรษฐกิจ

แก้

พวกอนารยชนเป็นชนเผ่ากึ่งเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน และกึ่งเพาะปลูก มีอาชีพสำคัญคือ การประมง ล่าสัตว์ และเลี้ยงสัตว์ตามทุ่งหญ้าควบคู่ไปกับการเพาะปลูก ทำไร่นา ใช้ชีวิตเร่ร่อนไปตามแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่งดูได้จากจำนวนปศุสัตว์และพืชพันธ์ธัญญาหารที่เก็บเกี่ยวได้ ไม่รู้จักการใช้เงิน มีเศรษฐกิจแบบเลี้ยงตัวเองได้ (Self-Sufficiency)

อ้างอิง

แก้
  1. Webster's New Universal Unabridged Dictionary, 1972, pg. 149, Simon & Schuster Publishing
  2. An Introduction of Medieval Europe, 1937, pg. 68-69, New York: W.W.Norton and Company

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้