เชสเตอร์ เบนนิงตัน

เชสเตอร์ ชาลส์ เบนนิงตัน (อังกฤษ: Chester Charles Bennington; 20 มีนาคม ค.ศ. 197620 กรกฎาคม ค.ศ. 2017) เป็นนักดนตรี นักร้อง-นักแต่งเพลง และนักแสดงชาวอเมริกัน เป็นที่รู้จักดีในฐานะนักร้องนำวงร็อกที่ชื่อ ลิงคินพาร์ก และ เดดบายซันไรส์ เดิมเขาได้เป็นนักร้องนำในวงฌอนดาวเดลล์แอนด์ฮิสเฟรนส์ และเกรย์เดซ และเขายังเป็นนักร้องนำให้กับวงสโตนเทมเพิลไพล็อตส์ และวงดนตรีร็อกคัฟเวอร์ บักเกตออฟวีนีส์ อีกด้วย

เชสเตอร์ เบนนิงตัน
เบนนิงตัน ในปี 2014
เบนนิงตัน ในปี 2014
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดเชสเตอร์ ชาลส์ เบนนิงตัน
เกิด20 มีนาคม ค.ศ. 1976(1976-03-20)
สหรัฐ ฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิต20 กรกฎาคม ค.ศ. 2017(2017-07-20) (41 ปี)
สหรัฐ แพลัสเวอร์ดีสอิสเตตส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
แนวเพลงนูเมทัล, อัลเทอร์เนทีฟร็อก, อัลเทอร์เนทีฟเมทัล, แร็ปร็อก, โพสต์-กรันจ์
อาชีพนักร้อง-นักแต่งเพลง นักแสดง นักดนตรี
เครื่องดนตรีเสียงร้อง, กีตาร์, เปียโน, คีย์บอร์ด, กลอง
ช่วงปีค.ศ. 1992–2017
ค่ายเพลงวอร์เนอร์บราเธอร์ส
คู่สมรส
  • Samantha Olit
    (สมรส 1996; หย่า 2005)
  • Talinda Bentley
    (สมรส 2006; 2017)
เว็บไซต์www.cbennington.com

เชสเตอร์เริ่มมีชื่อเสียงจากการออกผลงานกับลิงคินพาร์กที่ชื่อชุด ไฮบริดทีโอรี ในปี ค.ศ. 2000 ซึ่งประสบความสำเร็จด้านยอดขายอย่างมาก อัลบั้มได้รับรางวัลแผ่นเสียงเพชรจากอาร์ไอเอเอ ในปี ค.ศ. 2005 ถือเป็นอัลบั้มเปิดตัวที่ขายได้มากที่สุดในทศวรรษ[1] สตูดิโออัลบั้มชุดต่อมาของลินคินพาร์คือ เมทีโอรา และ มินิตส์ทูมิดไนต์ ออกจำหน่ายในปี ค.ศ. 2003 และ ค.ศ. 2007 ตามลำดับ หลังจากประสบความสำเร็จกับวง เชสเตอร์ได้ก่อตั้งวงที่ชื่อ เดดบายซันไรส์ เป็นโครงการข้างเคียงของเขาในปี ค.ศ. 2005 โดยมีอัลบั้มเปิดตัวที่ชื่อ เอาต์ออฟแอชิส ออกจำหน่ายในเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2009 ในปี ค.ศ. 2007 เชสเตอร์ติดอันดับ 46 ของนิตยสารฮิตพาเรดเดอร์ ในรายชื่อ "100 สุดยอดนักร้องนำของเฮฟวีเมทัลที่สุดตลอดกาล"[2]

ชีวิตช่วงแรก

แก้

เบนนิงตันเกิดในฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา มารดาของเขาเป็นพยาบาล บิดาของเขาเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจทำงานเกี่ยวกับคดีลวนลามเด็กทางเพศ[3] และทำงานสองกะ[4] เบนนิงตันสนใจดนตรีตั้งแต่อายุน้อย เขากล่าวว่ามีวงดีเพชโมด และสโตนเทมเพิลไพล็อตส์เป็นแรงบันดาลในขณะนั้น[5] และใฝ่ฝันอยากเป็นสมาชิกวงสโตนเทมเพิลไพล็อตส์[6]

บิดามารดาของเบนนิงตันหย่าร้างเมื่อเขาอายุ 11 ปี และบิดาได้สิทธิ์ดูแลเขา[4] หลังหย่าร้าง เบนนิงตันเริ่มเสพกัญชา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฝิ่น โคเคน เมแทมเฟตามีน[5][7] และแอลเอสดี[4] เขาเลิกเสพยาได้ในที่สุด และต่อมาเขาให้สัมภาษณ์ประนามการใช้ยาเสพติด[8] ระหว่างทัวร์กับลิงคินพาร์ก เขาเริ่มดื่มหนัก[3] แต่เขากล่าวว่าเลิกดื่มในปี ค.ศ. 2011 โดยพูดว่า "ผมแค่ไม่อยากเป็นคนคนนั้นอีกต่อไป"[9]

ในบทสัมภาษณ์บทหนึ่ง เบนนิงตันเคยเผยว่าเขาเคยถูกเพื่อนชายอายุมากกว่าลวนลามทางเพศเมื่อเขาอายุ 7 ปี[9] เขาไม่กล้าขอความช่วยเหลือเพราะเขาไม่ต้องการให้ผู้คนคิดว่าเขาเป็นเกย์หรือเขาโกหก เขาถูกลวนลามจนเขาอายุ 13 ปี[4] สถานการณ์การลวนลามที่บ้านทำให้เขาเกิดอารมณ์อยากฆ่าและหนีไป[4] เขาวาดภาพ แต่งกลอน และแต่งเพลงเพื่อสงบสติอารมณ์[4] ต่อมา เขาเล่าตัวตนขอผู้ลวนลามให้บิดาทราบ แต่เลือกที่จะไม่ดำเนินคดีหลังจากเขาตระหนักว่า คนที่ลวนลามเขากลายเป็นเหยื่อเสียเอง[7]

เมื่อเขาอายุ 17 ปี เบนนิงตันย้ายไปอยู่กับมารดาและถูกห้ามไม่ให้ออกจากบ้าน หลังจากมารดาพบว่าเขาเสพยา[4] เขาเคยทำงานที่เบอร์เกอร์คิงและนำเงินไปซื้อโคเคนและเมท[10] ก่อนเริ่มเป็นนักดนตรีมืออาชีพ[5] เขาเคยถูกกลั่นแกล้งตอนอยู่ไฮสกูล ในบทสัมภาษณ์บทหนึ่ง เขากล่าวว่า "ผมถูกทุบตีอย่างกับตุ๊กตาที่โรงเรียน เพราะผมผอมและดูไม่เหมือนใคร"[11][12][13]

อาชีพนักดนตรี

แก้

ช่วงแรกและวงเกรย์เดซ

แก้

การเป็นนักร้องของเชสเตอร์เริ่มต้นกับวงดนตรีที่ชื่อว่า ฌอนดาวเดลล์แอนด์ฮิสเฟรนส์? และได้ออกจำหน่ายเทป 3 แทร็กในปี ค.ศ. 1993 ต่อมา ฌอน ดาวเดลล์ และเชสเตอร์ ได้ย้ายไปก่อตั้งวงดนตรีใหม่แนวโพสต์กรันจ์ที่ชื่อ เกรย์เดซ ที่เมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา ได้ทำผลงานอัลบั้ม 3 ชุด ได้แก่ เดโม ในปี ค.ศ. 1993, เวกมี ในปี ค.ศ. 1994, และ ...โนซันทูเดย์ ในปี ค.ศ. 1997 หลังจากนั้นเชสเตอร์ได้ออกจากวงในปี ค.ศ. 1998 และพยายามมองหาวงดนตรีอื่นต่อไป[14]

ลิงคินพาร์ก

แก้

เชสเตอร์รู้สึกผิดหวัง จนเกือบที่จะบอกเลิกการเป็นอาชีพนักดนตรีของเขาโดยสิ้นเชิง จนกระทั่ง เจฟฟ์ บลู รองประธานผู้ประสานงานฝ่ายคัดสรรและพัฒนาศิลปินแห่งซอมบามิวสิก ในลอสแอนเจลิส ได้เสนอให้เขาให้เป็นสมาชิกของวงซีโร (ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ลิงคินพาร์ก)[14][4] เชสเตอร์สนใจที่จะร่วมงานกับซีโรมาก จนถึงกับพลาดงานเลี้ยงฉลองวันเกิดครบรอบ 23 ปีของเขา เพื่อรีบไปบันทึกเสียงร้องของตนลงเทปตัวอย่างกลางดึก หลังจากนั้น เจฟฟ์ได้ย้ายไปทำงานเป็นรองประธานผู้ประสานงานฝ่ายคัดสรรและพัฒนาศิลปินที่วอร์เนอร์บราเธอร์ส เพื่อช่วยเหลือในการเซ็นสัญญาของวงกับค่ายเพลงวอร์เนอร์บราเธอร์สเรเคิดส์[14]

ในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2000 ลิงคินพาร์กออกจำหน่ายอัลบั้มชุดแรก ไฮบริดทีโอรี โดยค่ายเพลงวอร์เนอร์บราเธอร์สเรเคิดส์ เชสเตอร์และนักร้องนำอีกคนของลิงคินพาร์ก ไมค์ ชิโนะดะ เป็นผู้ประพันธ์คำร้องในอัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี และได้มาจากส่วนหนึ่งของเพลงในเทปตัวอย่างในช่วงแรกของวง[3] ไมค์ได้แสดงลักษณะของเนื้อเพลงว่าเป็นการอธิบายความรู้สึกอันหลากหลาย รวมทั้งอารมณ์ และประสบการณ์ และเป็น “อารมณ์ในทุก ๆ วันที่คุณได้กล่าวถึงและได้นึกคิด”[15][16]

เชสเตอร์ทำหน้าที่หลักเป็นนักร้องนำของลิงคินพาร์ก แต่บางครั้งก็แบ่งหน้าที่ให้กับไมค์ ชิโนะดะ ออลมิวสิกไกด์ ได้อธิบายถึงเสียงร้องของเชสเตอร์ว่าเป็น "เสียงแหลมสูง" และ "เร้าอารมณ์" ซึ่งตรงกันข้ามกับแนวฮิปฮอปของไมค์[5] นอกจากนี้ ทั้งสองคนยังได้มีส่วนร่วมในการประพันธ์คำร้องในหลาย ๆ เพลงของวงจนถึงปัจจุบัน[17]

เสียชีวิต

แก้

เบนนิงตันเสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ร่างของเขาถูกพบเมื่อเวลาประมาณ 9 นาฬิกา[18] (ตามเวลาในท้องถิ่น)[19] ที่บ้านพักส่วนตัวของตนเองใกล้กับลอสแอนเจลิส ซึ่งเบื้องต้นสันนิษฐานว่าเป็นการฆ่าตัวตายด้วยการแขวนคอ[19][20] สาเหตุในการแขวนคอของเบนนิงตันคาดว่าน่าจะมาจากโรคซึมเศร้า ที่เบนนิงตันต่อสู้กับโรคนี้มาอย่างยาวนาน โดยต่อมา ไมค์ ชิโนะดะ สมาชิกร่วมวงได้ออกมาโพสต์ทวิตเตอร์ส่วนตัว โดยยืนยันว่าเรื่องดังกล่าวเป็นความจริง[19] โดยการเสียชีวิตของเบนนิงตันตรงกับวันคล้ายวันเกิดครบ 53 ปี ของคริส คอร์เนลล์ เพื่อนสนิท[21] ซึ่งเสียชีวิตด้วยลักษณะเดียวกันเมื่อสองเดือนก่อนหน้านั้น[21] และเบนนิงตันยังเป็นพ่อทูนหัวของคริสโตเฟอร์ ลูกชายของคอร์แนลอีกด้วย[21] ไมค์ ชิโนะดะได้บันทึกว่าเบนนิงตันนั้นจะโศกเศร้าอย่างมากเมื่อวงแสดงเพลง "วันมอร์ไลต์" จากอัลบั้มในชื่อเดียวกัน ซึ่งเขาไม่สามารถร้องเพลงจนจบได้ไม่ว่าจะเป็นการซ้อมหรือแสดงสด[22][23]

ผลงานอื่น

แก้

ผลงานภาพยนตร์

แก้

เชสเตอร์ได้เป็นนักแสดงของภาพยนตร์เรื่อง Crank เป็น คนขายยา, Crank: High Voltage เป็น คนฮอลลีวูด และใน Saw: The Final Chapter เป็นคนเหยียดสีผิว หนึ่งในกลุ่ม สกินเฮด ที่โดนทดสอบโดยมาร์ก ฮอฟแมน

ปี ชื่อภาพยนตร์ บทบาท หมายเหตุ อ้างอิง
2006 Crank Pharmacy Stoner [24]
2009 Crank: High Voltage Hollywood Park Guy [25]
2010 Saw 3D Evan [26]
2012 Artifact ตัวของเขาเอง

อ้างอิง

แก้
  1. "Linkin Park – Hybrid Theory Review". sputnikmusic. 2 September 2006. สืบค้นเมื่อ 19 August 2010.
  2. RoadRunnerRecords.com, Rob Halford, Robert Plant, Bon Scott, Ozzy Are Among 'Heavy Metal's All-Time Top 100 Vocalists' - December 1, 2006, Retrieved on December 5, 2007.
  3. 3.0 3.1 3.2 Fricke, David. “Rap Metal Rulers”, Rolling Stone No. 891, March 14, 2002
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 Bryant, Tom (January 23, 2008). "Linkin Park, Kerrang!". Kerrang!. สืบค้นเมื่อ November 28, 2012.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Apar, Corey, Chester Bennington Biography เก็บถาวร 2012-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, mtv.com, Retrieved on June 27, 2007.
  6. "Celebrará Chester Bennington cumpleaños 35 con nuevo sencillo" (ภาษาสเปน). El Porvenir. March 19, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2013. สืบค้นเมื่อ November 28, 2012.
  7. 7.0 7.1 Simpson, Dave (July 7, 2011). "Linkin Park: 'We're famous, but we're not celebrities'". guardian.co.uk. สืบค้นเมื่อ November 28, 2012.
  8. Bradenton Herald, Bradenton: Mo' Money Mo' Problems เก็บถาวร 23 พฤษภาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (August 13, 2004), Linkin Park Association; retrieved on June 27, 2007.
  9. 9.0 9.1 "Linkin Park's Chester Bennington: 'I was a raging alcoholic'". nme.com. July 14, 2011. สืบค้นเมื่อ November 28, 2012.
  10. Cross, Alan (2012). Linkin Park: the secret history. HarperCollins. p. 8. ISBN 1927002273. สืบค้นเมื่อ November 28, 2012.
  11. Dreiblatt, Mike (1 October 2008). "Celebrities Who Admit Bullying Help Prevent Bullying". Stand Up To Bullying. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2016. สืบค้นเมื่อ 27 October 2016.
  12. Bullied for being skinny – Chester Bennington เก็บถาวร 2017-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Bullyville.com (October 28, 2011). Retrieved on 2013-08-25.
  13. Fun Bugs: Famous Celebrity bullied. Funbugs.blogspot.com (August 15, 2011). Retrieved on 2013-08-25.
  14. 14.0 14.1 14.2 Rolling Stone Magazine, Linkin Park – Biography (March 14, 2002), The Linkin Park Times; retrieved on June 24, 2007.
  15. BBC Radio 1, Evening Session Interview with Steve Lamacq, June 13, 2001
  16. "BBC Session Interview". LP Times. สืบค้นเมื่อ 19 September 2007.
  17. Soghomonian, Talia (May 2003). "interview with Mike Shinoda of Linkin Park". NY Rock. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2008. สืบค้นเมื่อ 30 September 2008.
  18. ช็อกวงการเพลง! เชสเตอร์ เบนนิงตัน นักร้องนำลิงคินพาร์ก ผูกคอฆ่าตัวตาย เผยซึมเศร้า
  19. 19.0 19.1 19.2 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-23. สืบค้นเมื่อ 2017-07-20.
  20. https://www.dailynews.co.th/foreign/586638
  21. 21.0 21.1 21.2 "Linkin Park singer dies on his good friend Chris Cornell's birthday". CNN. 20 July 2017. สืบค้นเมื่อ 20 July 2017.
  22. Radio.com (20 July 2017), Chester Bennington’s Bandmate: Linkin Park Singer Was Hit Hard by Chris Cornell’s Suicide, สืบค้นเมื่อ 21 July 2017
  23. thepdproject (20 July 2017), RIP Chester! Linkin Park - One More Light (**Emotional**), สืบค้นเมื่อ 21 July 2017
  24. Cohen, Johnathon (29 August 2006). "Linkin Park Hits iTunes, New Album Not Quite Ready". Billboard. billboard.com. สืบค้นเมื่อ 20 June 2008.
  25. Greenberg, Alexandra (3 April 2009). "MAYNARD JAMES KEENAN & CHESTER BENNINGTON MAKE CAMEO IN 'CRANK: HIGH VOLTAGE'". Mitch Schneider Organization. สืบค้นเมื่อ 6 August 2009.
  26. JEN (July 22, 2010). "Saw 3D". cbennington Blog. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2010. สืบค้นเมื่อ July 22, 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้