สิทธิสตรี (อังกฤษ: Women's rights) คือ สิทธิและการให้สิทธิแก่สตรีและเด็กหญิงในสังคมต่างๆ ทั่วโลก ในบางแห่ง กฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น และพฤติกรรมมีส่วนให้การสนับสนุนและสร้างสิทธิเหล่านี้ขึ้นมาเป็นอย่างขนบ ธรรมเนียมประเพณี ในขณะที่ในที่อื่นๆ ผู้คนเพิกเฉยสิทธิสตรีและยับยั้งสิทธิเหล่านี้ สิทธิสตรีแตกต่างจากแนวคิดในมุมมองที่กว้างขึ้นในเรื่องสิทธิมนุษย์ (human rights) โดย พิจารณาจากข้ออ้างต่างๆแสดงความลำเอียงทางประเพณีหรือทางประวัติศาสตร์ที่มี มา ข้ออ้างดังกล่าวต่อต้านการใช้สิทธิสตรีและเด็กหญิงและให้การยอมรับผู้ชายและ เด็กผู้ชายมากกว่า[1]

ประเด็นต่างๆที่มีเกี่ยวข้องกับแนวคิดเรื่องสิทธิ สตรี ซึ่งประเด็นเหล่านี้พบเห็นแพร่หลายไม่มีขอบเขตจำกัด ประเด็นเหล่านี้รวมไปถึง สิทธิความชอบธรรมในร่างกายของตน (Bodily integrity) และการตัดสินใจในเรื่องส่วนบุคคล (Autonomy) สิทธิในการออกเสียง ( สิทธิในการเลือกตั้ง หรือเรียกว่า suffrage ในภาษาอังกฤษ) สิทธิในการดำรงตำแหน่งสาธารณะ (public office) สิทธิในการทำงาน สิทธิในค่าจ้างที่ยุติธรรมหรือรายได้ที่เท่าเทียมกัน สิทธิในการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ สิทธิในการศึกษา สิทธิในการเข้ารับราชการทหารหรือถูกเกณฑ์ทหาร (conscripts) สิทธิในการเข้าทำสัญญาทางกฎหมาย ตลอดจนสิทธิคู่สมรส สิทธิปกครองของบิดามารดา (parental rights) และสิทธิทางศาสนา (religious right)[2]

ประวัติความเป็นมาเรื่องสิทธิสตรี

แก้

ประเทศจีน

แก้

สถานะของผู้หญิงในประเทศจีนอยู่ในสถานะที่ต่ำ โดยส่วนใหญ่แล้วมีสาเหตุมาจากขนบธรรมเนียมประเพณีเท้าดอกบัว (foot binding) ผู้หญิงชาวจีนคิดเป็นร้อยละ 45 มีเท้าดอกบัวในช่วงศตวรรษที่ 19 ในระดับชนชั้นที่สูงขึ้นพบว่ามีเท้าดอกบัวเกือบ 100% ในปี ค.ศ. 1912 รัฐบาลจีนสั่งให้มีการสิ้นสุดการมีเท้าดอกบัว เท้าดอกบัวมีส่วนสัมพันธ์กับโครงสร้างกระดูกเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เท้ามีความยาวเพียงแค่ประมาณ 4 นิ้ว เท้าดอกบัวก่อให้เกิดความยากลำบากในการเคลื่อนไหวดังนั้นจึงทำให้การทำกิจกรรมต่างๆของสตรีมีจำกัด มีขนบธรรมเนียมประเพณีทางสังคม คือ ผู้ชายและผู้หญิงไม่ควรอยู่ใกล้กัน ดังนั้นหญิงชาวจีนจึงมีความลังเลในการเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ชายที่มีการรักษาตามแบบการแพทย์แผนตะวันตก สิ่งนี้ส่งผลให้เกิดความต้องการแพทย์หญิงอย่างมากในการให้การรักษาตามแบบการแพทย์แผนตะวันตกในประเทศจีน ดังนั้นมิชชันนารีชาวอเมริกันจากคณะอเมริกันบอร์ดจากโบสถ์เพรสบีเทอเรียน (Presbyterian Church) จึงได้ส่งตัวแพทย์หญิงมิชชันนารี ด็อกเตอร์ Mary H. Fulton (ในปี ค.ศ. 1854-1927) [3] เพื่อไปก่อตั้งวิทยาลัยแพทยศาสตร์แห่งแรกสำหรับสตรีในประเทศจีน วิทยาลัยนี้เป็นที่รู้จักกันในนาม Hackett Medical College for Women [4][5] วิทยาลัยนี้ตั้งอยู่ในนครกว่างโจว (Guangzhou) ประเทศจีนและได้รับเงินบริจาคจำนวนมากจากคุณ Edward A.K. Hackett (ในปี ค.ศ. 1851-1916) จากรัฐอินดีแอนา (Indiana) ประเทศสหรัฐอเมริกา วิทยาลัยนี้มุ่งหวังในการเผยแพร่ศาสนาคริสต์และการแพทย์แผนปัจจุบันและการยกระดับสถานะทางสังคมของหญิงชาวจีน[6][7]

ประเทศกรีซ (Greece)

แก้

สถานภาพของสตรีในกรีกโบราณมีความแตกต่างกันจากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่ง มีการบันทึกเกี่ยวกับสตรีในเมืองโบราณต่างๆในประเทศกรีก เช่น เดลฟี (Delphi) กอร์ไทน์ (Gortyn) เทสซาลี (Thessaly) เมการา (Megara) และสปาร์ตา (Sparta) ในการที่สตรีเป็นเจ้าของที่ เป็นสิ่งที่มีเกียรติมากที่สุดของการมีทรัพย์สมบัติส่วนตัวในช่วงเวลานั้น [8]

ในนครรัฐเอเธนส์ (Athens) สมัยโบราณ สตรีไม่มีความเป็นมนุษย์ตามกฎหมายและถือว่าเป็นอย่างส่วนหนึ่งของ oikos (ภาษากรีก ซึ่งแปลว่า “บ้าน” หรือ “ที่อยู่ศัย”) ผู้ชายเป็นอย่างผู้นำ เป็นอย่าง kyrios (ภาษากรีก ซึ่งแปลว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้า”) ผู้หญิงจะอยู่ภายใต้การปกครองของบิดาตนหรือญาติคนอื่นซึ่งเป็นเพศชายจนกว่าจะมีการแต่งงาน และเมื่อมีการแต่งงานไปสามีจะกลายมาเป็นพระเจ้าของตน ผู้หญิงถูกห้ามจากการมีส่วนในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมาย (legal proceedings) แต่ผู้ชายที่มีฐานะเป็นอย่างพระเจ้าสามารถทำสิ่งดังกล่าวได้ในนามของตน[9]

ผู้หญิงแห่งนครเอเธนส์มีสิทธิจำกัดในทรัพย์สิน ดังนั้นจึงไม่ถือว่ามีความพลเมืองอย่างเต็มที่ เนื่องจากว่าคำว่า ความเป็นพลเมือง (citizenship) และการมีสิทธิ์ (entitlement) ในเรื่องพลเมืองและการเมืองมีความหมายสัมพันธ์กับทรัพย์สินและวิถีต่างๆในชีวิต[10] แต่อย่างไรก็ตามผู้หญิงสามารถได้รับสิทธิในทรัพย์สินจากของขวัญ สินสมรส (dowry) และมรดก (inheritance) แม้ว่าผู้ชายซึ่งเป็นพระเจ้าของตนมีสิทธิในการนำทรัพย์สินของผู้หญิงออกไป[11] ผู้หญิงแห่งนครเอเธนส์สามารถมีส่วนในการทำสัญญาซึ่งมีค่าน้อยกว่า “หน่วยวัดปริมาตร medimnos ของข้าวบาร์เล่ย์ ” (medimnos เป็นภาษากรีก ซึ่งเป็นหน่วยวัดปริมาณของข้าว) การมีสิทธิในการทำสัญญานี้ช่วยให้ผู้หญิงมีส่วนในการค้าย่อย (petty trading) [9] ผู้หญิงซึ่งเป็นอย่างทาสไม่มีคุณสมบัติในการเป็นพลเมืองที่เต็มที่ในนครเอเธนส์สมัยโบราณแม้ว่าในบางสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนานๆครั้งที่ผู้หญิงสามารถกลายมาเป็นพลเมืองได้ถ้าได้รับอิสรภาพ ดังนั้น เครื่องกีดกันที่ถาวรเพียงแค่อย่างเดียวเท่านั้นในความเป็นพลเมือง การมีสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมืองได้อย่างเต็มที่ คือ เรื่องเพศ ในนครเอเธนส์สมัยโบราณไม่มีผู้หญิงคนใดเคยได้รับความเป็นพลเมือง ดังนั้นในเชิงหลักการและเชิงปฏิบัติ ผู้หญิงไม่ได้รับการพิจารณารวมอยู่ในการปกครองแบบประชาธิปไตยแห่งนครเอเธนส์ในสมัยโบราณ[12]

ในทางตรงกันข้าม ผู้หญิงแห่งเมืองสปาร์ตามีความสุขกับสถานะ อำนาจ และการไม่เป็นที่รู้จักในโลกคลาสสิก แม้ว่าผู้หญิงแห่งเมืองสปาร์ตาไม่ได้รับเลือกให้เข้ารับราชการทหารและถูกคัดออกจากการมีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ผู้หญิงเหล่านี้ก็มีความสุขในฐานะที่เป็นมารดาของนักรบชาวเมืองสปาร์ตา ขณะที่ผู้ชายมีส่วนร่วมในราชการทหาร ผู้หญิงจะทำหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการเรื่องทรัพย์สินที่ดิน ในช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราชผู้หญิงชาวเมืองนี้จะติดตามสวัสดิการยืดเยื้อ เป็นเจ้าของที่ดินเมืองสปาร์ตาและทรัพย์สินทั้งหมด คิดเป็นประมาณ 35% ถึง 40%[13][14] ภายในสมัยเฮเลนนิสติค (Hellenistic period) ชาวเมืองสปาร์ตาที่มีความมั่งคั่งที่สุดจำนวนหนึ่งเป็นผู้หญิง[15] ผู้หญิงควบคุมทรัพย์สินของตนทั้งหมดรวมไปถึงทรัพย์สินของญาติซึ่งเป็นเพศชายซึ่งออกไปกองทัพ[13] การที่ผู้หญิงชาวเมืองสปาร์ตาแต่งงานก่อนอายุ 20 ปีนั้นหาได้ยาก ผู้หญิงชาวเมืองสปาร์ตาแตกต่างจากผู้หญิงชาวเมืองเอเธนส์ ผู้หญิงชาวเมืองเอเธนส์สวมใส่เสื้อผ้าที่หนักและปกปิดร่างกายและไม่ค่อยพบผู้หญิงเหล่านี้นอกบ้าน ส่วนผู้หญิงชาวเมืองสปาร์ตาสวมชุดกระโปรงสั้นและไปในสถานที่ที่ตนอยากไป[16] เด็กผู้หญิงได้รับการศึกษาเช่นเดียวกับเด็กผู้ชายและหญิงสาวมีส่วนร่วมใน Gymnopaedia ("เทศกาลเปลือยกายของหนุ่ม Nude Youths") เช่นเดียวกับชายหนุ่มที่มีส่วนร่วม[13][17]

เพลโต (Plato) ทราบว่าการให้สิทธิการเมืองและพลเมืองแก่ผู้หญิงจะเปลี่ยนแปลงลักษณะของทั่วไปของครอบครัวและรัฐไปอย่างมาก[18] อริสโตเติลซึ่งได้รับคำสอนจากเพลโต อริสโตเติลได้ปฏิเสธเรื่องที่ว่าผู้หญิงคือทาสหรือขึ้นอยู่กับทรัพย์สิน อริสโตเติลแย้งว่า “ธรรมชาติได้แยกความแตกต่างระหว่างผู้หญิงและทาส” แต่อริสโตเติลคิดว่าภรรยาเป็นอย่าง “สิ่งที่ซื้อมา” อริสโตเติลแย้งว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจหลักของผู้หญิง คือ การทำหน้าที่ดูแลทรัพย์สินภายในบ้านที่ผู้ชายได้หามา จากการติดตามแนวคิดของอริสโตเติล แรงงานผู้หญิงไม่มีค่าเนื่องจาก “ศิลปะในการจัดการบ้านเรือน” ไม่มีความคล้ายคลึงกับศิลปะในการสร้างความร่ำรวยมั่งคั่ง เนื่องจากว่าเป็นบุคคลที่ใช้สิ่งซึ่งอีกฝ่ายสร้างขึ้น”[19]

นักปรัชญาลัทธิสโตอิกมีแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับแนวคิดดังกล่าว ได้แย้งเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ ความไม่เท่าเทียมทางเพศ เป็นแนวคิดที่ขัดแย้งกับกฎธรรมชาติ[20] ในข้อโต้แย้งดังกล่าวนั้นนักปรัชญาเหล่านี้ได้ติดตามแนวคิดของลัทธิซีนิกส์ (Cynics) ซึ่งแย้งว่าผู้ชายและผู้หญิงควรจะสวมเสื้อผ้าที่เหมือนกันและได้รับการศึกษาแบบเดียวกัน[20] และนักปรัชญาเหล่านี้ก็มองว่าการแต่งงานเป็นอย่างการเป็นเพื่อนทางศีลธรรม (moral companionship) ระหว่าง 2 ฝ่ายที่เท่าเทียมกันนอกจากความจำเป็นทางสังคมหรือทางชีวภาพ นักปรัชญาก็นำแนวคิดเหล่านี้ไปใช้ในชีวิตตนและไปใช้ในการสอน[20] ลัทธิสโตอิกนำแนวคิดของลัทธิซีนิกส์มาใช้และนำไปเพิ่มในทฤษฎีเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ ดังนั้นนักปรัชญาจึงเพิ่มเรื่องความเสมอภาคทางเพศรวมอยู่ในพื้นฐานทางปรัชญาเป็นพื้นฐานที่หนักแน่น[20]

กรุงโรมสมัยโบราณ

แก้
 

Fulvia (ฟูลเวีย) ภรรยาของ Mark Antony (มาร์ค แอนโทนี่) บังคับบัญชากองทัพระหว่างช่วงสงครามกลางเมืองของชาวโรมัน (Civil wars) และเป็นสตรีคนแรกซึ่งภาพเหมือนของตนปรากฏอยู่บนเหรียญโรมัน[21]

ผู้หญิงที่เกิดมาอย่างอิสระในกรุงโรมสมัยโบราณเป็นพลเมืองซึ่งมีความพึงพอใจกับสิทธิพิเศษทางกฎหมายและการได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย ซึ่งสิทธิพิเศษและการคุ้มครองนี้ไม่ได้ขยายขอบเขตไปถึงผู้ที่ไม่ใช่พลเมืองหรือทาส แต่อย่างไรก็ตามสังคมโรมันเป็นสังคมอำนาจฝ่ายบิดา (patriarchal) และผู้หญิงไม่สามารถออกเสียงเลือกตั้ง หรือดำรงตำแหน่งสาธารณะหรือเข้ารับราชการทหาร[22] ผู้หญิงในชนชั้นที่สูงขึ้นใช้อิทธิพลทางการเมืองผ่านทางการสมรสและความเป็นมารดา ระหว่างช่วงสมัยสาธารณรัฐโรมัน (Roman Republic) มารดาของพี่น้องกรักคุส (Gracchus) และของจูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) เป็นอย่างสตรีที่น่าเอาอย่างซึ่งเป็นผู้ทำให้อาชีพของลูกชายมีความก้าวหน้า ในระหว่างช่วงโรมันสมัยจักรวรรดิ (Imperial Period) สตรีของครอบครัวจักรพรรดิสามารถได้รับอำนาจทางการเมืองได้เป็นอย่างมากและจะมีการบรรยายถึงสตรีเหล่านั้นอยู่เป็นประจำในงานศิลปะที่ดูเป็นทางการและในระบบเงินเหรียญ Plotina (โปลตินา) ใช้อิทธิพลต่อสามีของหล่อน จักรพรรดิทราจัน (Trajan) และทายาทฮาเดรียน (Hadrian ) ข้อมูลทางจดหมายและคำร้องเรียนของโปลตินาในเรื่องต่างๆที่เป็นทางการแพร่พรายสู่สาธารชน ข้อมูลเหล่านั้น คือ เครื่องหมายแสดงให้เห็นว่าแนวคิดของหล่อยถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างแนวคิดที่เป็นที่นิยม[23]

สถานะพลเมืองของบุตรกำหนดโดยใช้สถานะของมารดา ทั้งลูกสาวและลูกชายอยู่ภายใต้ patria potestas (อาญาสิทธิ์พ่อบ้าน) ซึ่งเป็นอำนาจปกครองโดยบิดาของตน บิดาเป็นอย่างหัวหน้าครอบครัว (paterfamilias=บิดาเป็นหัวหน้าครอบครัว) ในช่วงจักรพัตราธิราช (อยู่ระหว่างศตวรรษที่ 1-2) สิทธิทางกฎหมาย (legal standing) ของลูกสาวมีความแตกต่างเล็กน้อยจากสิทธิทางกฎหมายของลูกชาย[24] เด็กหญิงมีสิทธิทางมรดกที่เท่าเทียมกันกับเด็กชายถ้าบิดาของตนเสียชีวิตโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้[25]

 

คู่หนึ่งกำลังจับมือกันอย่างแน่นในพิธีสมรส ภาพนี้เป็นแนวคิดของชาวโรมัน เป็นอย่างองค์ประกอบพื้นฐานของสังคมและเป็นอย่างสิ่งแสดงถึงเพื่อนคู่เคียงซึ่งมีส่วนในการให้กำเนิดบุตรและเลี้ยงดูบุตร จัดการหน้าที่ต่างๆในชีวิตประจำกัน นำพาชีวิตในแบบที่น่าเอาอย่าง และมีความรักที่มีสุข [26]

ในช่วงสมัยสาธารณรัฐโรมัน (Roman Republic) ตอนแรกเริ่ม เจ้าสาวเมื่อแต่งงานแล้วจะอยู่ภายใต้การปกครอง หรืออยู่ภายใต้ manus (ซึ่งแปลว่า มือ) ของสามี ซึ่งก่อนแต่งงานจะอยู่ในการปกครองของบิดาตน เจ้าสาวจะอยู่ภายใต้การปกครองของหัวหน้าครอบครัว (เรียกว่า potestas) หรือสามีตน แต่ระดับการปกครองอยู่ในระดับที่น้อยกว่าบุตรของตน[27] รูปแบบการแต่งงานแบบ manus (ซึ่งหมายถึงภายใต้มือหรือการปกครองของสามี) นี้เป็นรูปแบบที่มีการละทิ้งกันแพร่หลายในสมัยจูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ในช่วงนั้นผู้หญิงยังคงอยู่ภายใต้อำนาจของบิดาตนตามกฎหมายแม้ว่าตนจะย้ายไปอยู่บ้านสามี เหตุการณ์นี้เป็นอย่างปัจจัยหนึ่งที่แสดงถึงความเป็นอิสระที่หญิงชาวโรมันมีความสุข เป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมโบราณจนถึงวัฒนธรรมในสมัยปัจจุบัน[28] แม้ว่าลูกสาวต้องตอบคำถามบิดาของตนในเรื่องกฎหมายแต่ในชีวิตประจำวันลูกสาวก็เป็นอิสระจากการที่บิดาของตนพิจารณาไตร่ตรองโดยตรงในเรื่องต่างๆเกี่ยวกับกฎหมาย[29] และสามีตนไม่มีอำนาจทางกฎหมายควบคุมหญิงสาว[30] เมื่อบิดาของตนเสียชีวิต หญิงสาวก็จะกลายมาเป็นอิสระตามกฎหมาย (sui iuris).[31] ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วมีความเป็นเจ้าของทรัพย์สินใดๆที่ตนนำมาในช่วงพิธีสมรม[32] แม้ว่าจะมีประเด็นเรื่องความภาคภูมิใจในการเป็น “ผู้หญิงที่รักเดียวใจเดียว” (univira) ซึ่งแต่งงานเพียงแค่ครั้งเดียว แต่อย่างไรก็ตามก็เกิดปัญหาขึ้นที่นำไปสู่การหย่าร้าง มีการแต่งงานใหม่ แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังการสูญเสียสามีเนื่องจากการตายหรือการหย่าร้าง[33]

หญิงชาวโรมันยังคงเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวที่ให้กำเนิดตนตามกฎหมาย ดังนั้นหญิงชาวโรมันจึงสามารถคงนามสกุลของครอบครัวตนไว้ได้ในชีวิต เด็กส่วนใหญ่มักจะใช้นามสกุลของบิดาตนแต่อย่างไรก็ตามในช่วงจักรพรรดิ บางครั้งก็ใช้นามสกุลของมารดา มารดาของชาวโรมันมีสิทธิในการครอบครองทรัพย์สินและสิทธิในการนำทรัพย์สินไปเมื่อตนเห็นว่าเหมาะสม นอกจากนี้มีสิทธิในการกำหนดเงื่อนไขต่างๆในพินัยกรรมของตน ทำให้มารดาชาวโรมันมีอิทธิพลเหนือบุตรชายของตนเมื่อบุตรเติบโตเป็นผู้ใหญ่[35] เนื่องจากว่าผู้หญิงมีสถานะทางกฎหมายเป็นอย่างพลเมืองคนหนึ่งและสามารถมีอิสรภาพได้ ดังนั้นผู้หญิงจึงสามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สิน สิทธิในการทำสัญญา และการมีส่วนร่วมในธุรกิจ[36] ผู้หญิงบางคนได้รับทรัพย์สมบัติมากมายและสามารถนำทรัพย์สมบัติออกไปได้ ได้มีบันทึกเรื่องราวเหล่านี้เป็นข้อความจารึกว่าผู้หญิงเป็นอย่างผู้ได้รับผลประโยชน์ในการจัดหาทุนในการทำงานสาธารณะที่สำคัญ[37]

ผู้หญิงชาวโรมันสามารถปรากฏตัวในศาลและโต้แย้งคดีต่างๆได้ แม้ว่าโดยธรรมเนียมประเพณีแล้วฝ่ายชายต้องเป็นตัวแทนในการดำเนินคดี[38] ในขณะเดียวกันในเชิงปฏิบัติการด้านกฎหมายนั้นผู้หญิงได้รับการดูหมิ่นว่าขาดความรู้มากเกินไปและมีจิตใจที่อ่อนแอ ตื่นตัวมากเกินไปในเรื่องกฎหมาย สิ่งนี้ส่งให้เกิดตัวบทกฎหมายที่จำกัดผู้หญิงในการดำเนินการคดีในนามตนเองแทนที่ผู้อื่น[39] แม้แต่หลังข้อจำกัดนี้ได้นำมาใช้ ก็มีตัวอย่างมากมายที่ผู้หญิงดำเนินการต่างๆในด้านกฎหมาย รวมไปถึงการออกคำสั่งแก่ทนายความเพศชาย[40]

อย่างเช่นในกรณีผู้เยาว์ ผู้หญิงที่ได้รับอิสระจะมีผู้พิทักษ์ซึ่งเป็นเพศชายได้รับการแต่งตั้ง (tutor คือ ผู้พิทักษ์ ผู้ปกครอง) ให้แก่ตน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงยังคงมีอำนาจในการบริหาร เว้นแต่จะมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวคือการให้ความยินยอมที่เป็นทางการในเรื่องการกระทำต่างๆ[41] ผู้พิทักษ์ไม่มีสิทธิในการพูดเรื่องชีวิตส่วนตัวของหญิงสาว และหญิงสาวซึ่งบรรลุนิติภาวะ (sui iuris) สามารถแต่งงานตามที่ตนพึงพอใจ[42] และนอกจากนี้ผู้หญิงก็มีวิธีการต่างๆในการขอความช่วยเหลือถ้าตนปรารถนาหาผู้มาทำหน้าที่แทนผู้พิทักษ์ที่กีดขวาง[43] ในเชิงปฏิบัติความเป็นผู้พิทักษ์ค่อยๆจางหายไป และภายในศตวรรษที่ 2 Gaius นักกฎหมายอิสระ (jurist) ไม่คิดว่าการเป็นผู้พิทักษ์เป็นสิ่งที่มีเหตุผล[44]

 

รูปหล่อเล็กๆสีบรอนซ์ เป็นรูปหญิงสาวกำลังอ่านหนังสือ ( ศตวรรษที่ 1 ในช่วงต่อมา)

จักรพรรดิออกุสตุส (Augustus) คนแรกของชาวโรมันกำหนดให้การเลื่อนขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นของตนไปมีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวเป็นอย่างการกลับไปสู่ความมีศีลธรรมตามประเพณี และได้พยายามออกกฎความประพฤติของผู้หญิงโดยใช้กฎระเบียบทางศีลธรรม ในเรื่องการคบชู้ (adultery) ซึ่งเป็นเรื่องครอบครัวถือว่าเป็นความผิด การคบชู้เป็นการกระทำทางเพศที่ผิดซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ระหว่างพลเมืองชายและหญิงที่แต่งงานแล้ว หรือเกิดขึ้นระหว่างหญิงที่แต่งงานแล้วและชายอื่นที่ไม่ใช่สามีตน มีสองมาตรฐานเกิดขึ้น หญิงที่แต่งงานแล้วสามารถมีสัมพันธ์ทางเพศได้เพียงแค่กับสามารถตน แต่สามีไม่ได้มีการคบชู้เมื่อตนมีเพศสัมพันธ์กับโสเภณี ทาส หรือบุคคลที่มีสถานะด้อย (infamis) [46] การคลอดบุตรได้รับการสนับสนุนจากรัฐ เช่น ius trium liberorum ("สิทธิทางกฎหมายของเด็ก 3 คน") ช่วยให้ผู้หญิงที่มีบุตร 3 คนมีเกียรติเป็นสิ่งที่แสดงถึงสัญลักษณ์และมีสิทธิพิเศษทางกฎหมาย และยังได้รับอิสระจากการมีผู้พิทักษ์เพศชาย[47]

ปรัชญาลัทธิสโตอิกมีอิทธิพลต่อการพัฒนากฎหมายของชาวโรมัน นักปรัชญาลัทธิสโตอิกในสมัยจักรพรรดิเช่น เซเนกา (Seneca) และMusonius Rufus ซึ่งได้พัฒนาทฤษฎีความสัมพันธ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย (just relationships) นักปรัชญาเหล่านี้ไม่ได้ส่งเสริมความเท่าเทียมกันในสังคมหรือภายใต้กฎหมาย นักปรัชญาถือว่าธรรมชาติให้ความสามารถเท่าเทียมกันแก่ชายและหญิงในเรื่องคุณงามความดีและหน้าที่เท่าเทียมกัน การกระทำในทางที่ดีงาม ดังนั้นชายและหญิงมีความต้องการเท่าเทียมกันในการได้รับการศึกษาทางปรัชญา[20] แนวโน้มทางปรัชญาเหล่านี้ในกลุ่มคนร่ำรวยถือว่าได้ช่วยพัฒนาสถานะของผู้หญิงภายใต้สมัยจักรพรรดิ[48]

กรุงโรมไม่มีระบบการศึกษาที่ได้รับการส่งเสริมจากรัฐ และการศึกษาจะมีอยู่ได้เพียงแค่ผู้ที่สามารถจ่ายค่าเรียนได้ บุตรสาวของสมาชิกวุฒิสภา (senators) และอัศวิน (knights) ได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา (ในช่วงอายุ 7-12 ปี) [49] ถ้าเราไม่พิจารณาเรื่องเพศ กล่าวได้ว่าผู้คนจำนวนน้อยได้รับการศึกษาในระดับดังกล่าว เด็กหญิจากครอบครัวที่มีฐานะปานกลางอาจจะต้องเรียนหนังสือเพื่อช่วยเหลือธุรกิจครอบครัวของตนหรือได้ทักษะความสามารถในการอ่านเขียนที่จะช่วยให้ตนทำงานเป็นเสมียนและเลขานุการ[50] สตรีที่ได้รับความโดดเด่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกโบราณในเรื่องการเรียนรู้ คือ ไฮพาเทีย แห่งอเล็กซานเดรีย ซึ่งสอนบทเรียนขั้นสูงให้แก่ชายหนุ่มและให้คำแนะนำเรื่องความสมบูรณ์แบบของอียิปต์ในเรื่องการเมือง อิทธิพลของไฮพาเทียก่อให้เกิดความขัดแย้งกับหัวหน้าบาทหลวงแห่งอเล็กซานเดรียผู้ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการเสียชีวิตของไฮพาเทียในปี 415 เสียชีวิตโดยกลุ่มมาเฟียที่เป็นชาวคริสเตียน[51]


สิทธิการจ้างงานที่เท่าเทียมกันสำหรับสตรีและบุรุษ

แก้

ตั้งแต่ต้นยุค 1970 รัฐบาลในฮ่องกงของชาวอังกฤษปฏิเสธสิทธิของผู้หญิงในการที่จะได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์เท่าเทียมกับผู้ชายอย่างเปิดเผย Leslie Wah-Leung Chung (鍾華亮, 1917-2009) ซึ่งเป็นประธานาธิบดีแห่ง Hong Kong Chinese Civil Servants’ Association 香港政府華員會[85] (1965-68) ซึ่งเป็นสมาคมของข้าราชการพลเรือนชาวจีนในฮ่องกง ได้ให้การส่งเสริมในการเริ่มต้นค่าแรงที่เท่าเทียมกันสำหรับชายและหญิง รวมไปถึงสิทธิสำหรับหญิงที่แต่งงานแล้วในการเป็นลูกจ้างถาวร ก่อนหน้านี้ สถานะการทำงานของผู้หญิงเปลี่ยนจากลูกจ้างถาวรไปเป็นชั่วคราวเมื่อหญิงแต่งงานแล้ว ตนจะสูญเสียผลประโยชน์เรื่องบำนาญ หญิงบางคนสูญเสียงาน พยาบาลโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้หญิง ดังนั้นการเป็นพนักงานถาวรจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากแก่อาชีพพยาบาล[86][87][88][89][90][91][6][7]

สิทธิในการเลือกตั้ง (suffrage หรือ the right to vote)

แก้

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อนี้ ดูได้ที่ Women’s suffrage (สิทธิในการเลือกตั้งของสตรี) ระหว่างศตวรรษที่ 19 ผู้หญิงจำนวนหนึ่งเริ่มตื่นตัวในการมีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งและมีส่วนร่วมในการปกครองและการออกกฎหมาย[92] ผู้หญิงคนอื่นเช่น Helen Kendrick Johnson ต่อต้านสิทธิในการเลือกตั้ง ผลงานของ Helen Kendrick Johnson เรื่องผู้หญิงและสาธารณรัฐอาจจะมีเรื่องข้อโต้แย้งที่ดีที่สุดในการมีสิทธิเลือกตั้งของผู้หญิงในสมัยนั้น[93] แนวคิดเรื่องสิทธิในการเลือกตั้งของสตรีพัฒนาไปตามแนวคิดเรื่องสิทธิในการเลือกตั้งสากล และทุกวันนี้สิทธิในการเลือกตั้งของสตรีถือว่าเป็นสิทธิหนึ่ง (ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ) ระหว่างศตวรรษที่ 19 สิทธิในการเลือกตั้งขยายขอบเขตไปเรื่อยๆในประเทศต่างๆและผู้หญิงเริ่มรณรงค์เพื่อสิทธิในการเลือกตั้งของตน ในปี ค.ศ. 1893 ประเทศนิวซีแลนด์กลายมาเป็นประเทศแรกที่ให้สิทธิในการออกเสียงแก่ผู้หญิงในระดับชาติ ประเทศออสเตรเลียให้สิทธิแก่ผู้หญิงในปี ค.ศ. 1902[82] ประเทศในแถบสแกนดิเนเวียจำนวนหนึ่งให้สิทธิในการเลือกตั้งแก่ผู้หญิงในตอนต้นศตวรรษที่ 20 เช่น ฟินแลนด์ (ปี ค.ศ. 1906) นอรเวย์ (ปี ค.ศ. 1913) เดนมาร์คและไอซแลนด์ (ปี ค.ศ. 1915) ในตอนช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 หลายๆประเทศก็ให้สิทธิการเลือกตั้งแก่ผู้หญิงตามมา เช่น เนเธอร์แลนด์ (1917) ออสเตรีย อาเซอร์ไบจาน[94] แคนาดา เชโกสโลวาเกีย จอร์เจีย โปแลนด์ และสวีเดน (1918) เยอรมนีและ ลักเซมเบิร์ก (1919) และสหรัฐอเมริกา (1920) ประเทศสเปนให้สิทธิเลือกตั้งแก่ผู้หญิงในปี 1931 ฝรั่งเศส (1944) เบลเยี่ยม อิตาลี โรมาเนีย และยูโกสลาเวียในปี 1946 สวิตเซอร์แลนด์ (1971) ลิกเตนสไตน์ในปี 1984[82] ในละตินอเมริกา บางประเทศให้สิทธิการเลือกตั้งแก่ผู้หญิงในช่วงครึ่งศตวรรษที่ 20 เอกวาดอร์ (1929) บราซิล (1932) เอล ซัลวาดอร์ (1939) สาธารณรัฐโดมินิกัน (1942) กัวเตมาลา (1956) และอาเจนตินา (1946) ในประเทศอินเดีย ภายใต้กฎอาณานิคม สิทธิในการเลือกตั้งสากลได้รับการสนับสนุนในปี ค.ศ. 1935 ประเทศอื่นๆในเอเชียให้สิทธิการเลือกตั้งแก่ผู้หญิงในตอนกลางศตวรรษที่ 20 เช่น ญี่ปุ่น (1945) จีน (1947) และอินโดนีเซีย (1955) ในแอฟริกาโดยทั่วไปแล้วผู้หญิงได้รับสิทธิในการเลือกตั้งผ่านทางสิทธิการเลือกตั้งสากล เช่น ลิเบเรีย (1947) ยูกันดา (1958) และไนจีเรีย (1960) ในประเทศต่างๆในตะวันออกกลาง สิทธิในการเลือกตั้งสากลมีขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้ว่าในประเทศอื่นๆ เช่น คูเวต สิทธิในการเลือกตั้งมีจำกัด[82] ในวันที่ 16 พฤษภาคม ปี ค.ศ. 2005 รัฐสภาของคูเวตได้ขยายขอบเขตสิทธิการเลือกตั้งให้แก่ผู้หญิง

สิทธิในทรัพย์สิน (Property Right)

แก้

ระหว่างศตวรรษที่ 19 ผู้หญิงจำนวนหนึ่งในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้เริ่มท้าทายกฎหมายซึ่งไม่ปฏิเสธสตรีในการมีสิทธิในทรัพย์สินเมื่อสตรีได้แต่งงานไป ภายใต้หลักกฎหมายจารีตประเพณีในเรื่องการที่สามีอำนาจและอิทธิพลในการคุ้มครองและควบคุมภรรยา (Coverture) ในหลักกฎหมายนี้สามีได้รับอำนาจในการควบคุมจัดการอสังหาริมทรัพย์และเงินค่าจ้างของภรรยา ในช่วงตอนต้นยุค 1840 (1840-1849) สภานิติบัญญัติแหงรัฐ (State Legislature) ในสหรัฐอเมริกาและรัฐสภาชาวอังกฤษ[93] เริ่มออกบัญญัติเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินของสตรีจากการควบคุมของสามีและเจ้าหนี้ของสามีตน กฎหมายเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ Married Women's Property Acts (พระราชบัญญัติทรัพย์สินของสตรีสมรส) [94] ศาลในสหรัฐอเมริกาในช่วงศตวรรษที่ 19 ก็ต้องการให้มี privy examinations ในเรื่องที่หญิงสมรสจะขายทรัพย์สินของตน คำว่า “Privy examination” คือ การดำเนินการทางกฎหมายในการที่หญิงสมรสซึ่งปรารถนาในการขายทรัพย์สินของตน จำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบทางกฎหมายโดยผู้พิพากษาหรือผู้พิพากษาศาลแขวง (justice of the peace) โดยไม่ให้สามีมาปรากฏตัวที่ศาลเพื่อสอบถามว่าสามีตนได้กดดันให้ลงนามในเอกสารหรือไม่[95]

การเคลื่อนไหวในปัจจุบัน

แก้

ในทศวรรษต่อมา สิทธิสตรีได้กลายมาเป็นประเด็นสำคัญในสังคมที่พูดภาษาอังกฤษ ในช่วงยุค 1960 (1960-69) มีการเคลื่อนไหวซึ่งเรียกว่า “สตรีนิยม (Feminism) ” หรือ “ขบวนการปลดแอกสตรี (Women's Liberation) ” นักปฏิรูปต้องการรายได้ที่เท่าเทียมกับบุรุษ สิทธิที่เท่าเทียมกันทางกฎหมาย และอิสระในการวางแผนครอบครัว หรือสิทธิในการไม่มีบุตร

ในสหราชอาณาจักร มีความเคลื่อนไหวเรื่องความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ในเรื่องความเท่าเทียมกันทางกฎหมาย ซึ่งการเคลื่อนไหวโดยบางส่วนนี้มาจากการจ้างงานสตรีอย่างกว้างขวาง ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาโดยธรรมเนียมประเพณีผู้ชายมีบทบาทในช่วงสงครามโลก ภายในช่วงยุค 1960 (1960-69) กระบวนการนิติบัญญัติ (legislative process) ติดตามรายงานคณะกรรมาธิการ (select committee) ของ วิลลี่ แฮมิลตัน ผู้เป็นสมาชิกสภา ร่างกฎหมายของ Willie ว่าด้วยค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกันสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่ากัน (equal pay for equal work) การจัดตั้งคณะกรรมการการกีดกันทางเพศ ร่างพระราชบัญญัติของ Lady Sear ว่าด้วยการต่อต้านการกีดกันทางเพศ สมุดปกเขียวของรัฐบาล ปี ค.ศ. 1973 จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1975 พระราชบัญญัติของชาวอังกฤษว่าด้วยการกีดกันทางเพศ พระราชบัญญัติค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน และคณะกรรมาธิการาร้างโอกาสที่เท่าเทียม (Equal Opportunity Commission) ได้มีผลตามกฎหมาย

และในประเทศอื่นๆ แห่งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอังกฤษจึงมีความเห็นด้วยในการยกเลิกกฎหมายกีดกันทางเพศ ในสหรัฐอเมริกา องค์กรสตรีแห่งชาติ (เอ็นโอดับเบิลยู) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1966 มีวัตถุประสงค์ในการให้ความเท่าเทียมแก่สตรีทุกคน องค์กรสตรีแห่งชาติเป็นกลุ่มหนึ่งที่สำคัญซึ่งต่อสู้เพื่อบทแก้ไขที่ว่าด้วยสิทธิเท่าเทียมกัน (อีอาร์เอ) บทแก้ไขนี้กล่าวไว้ว่า “ความเท่าเทียมในสิทธิภายใต้กฎหมายจะไม่มีการปฏิเสธหรือลดทอนสิทธิ์โดยประเทศสหรัฐอเมริกาหรือรัฐใดๆเนื่องจากเรื่องเพศ แต่อย่างไรก็ตามมีความไม่เห็นด้วยในเรื่องความเข้าใจบทแก้ไขที่เสนอ ผู้สนับสนุนบทแก้ไขเชื่อว่าบทแก้ไขนี้จะเป็นสิ่งที่รับประกันว่าผู้หญิงได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม แต่ผู้วิจารณ์เกรงว่าผู้หญิงอาจจะไม่มีสิทธิในการได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากสามีตน บทแก้ไขนี้ได้สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1982 เนื่องไม่มีจำนวนรัฐมากพอที่ให้การสนับสนุนบทแก้ไขนี้ ERA นำมารวมอยู่ในการประชุมใหญ่ต่อมา แต่ยังมีความล้มเหลวในการอนุมัติ

ในประเทศยูเครน กลุ่มรณรงค์สิทธิสตรีฟีเมน (FEMEN) มีขึ้นในปี ค.ศ. 2008 องค์กรนี้เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติเนื่องจากการประท้วงโดยการเปลือยอกของสตรีในการต่อต้านนักท่องเที่ยวที่เน้นการมีเพศสัมพันธ์กับโสเภณี การแต่งงานระหว่างชาติ การแบ่งแยกเพศ และการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับสังคมระหว่างประเทศ การเจ็บป่วยในประเทศ การเจ็บป่วยทางสังคม กลุ่มฟีเมนมีกลุ่มผู้ให้ความสนับสนุนเห็นใจหลายกลุ่มในประเทศแถบยุโรปโดยผ่านทางสื่อสังคม


Birth control and reproductive rights สิทธิการควบคุมกำเนิดและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ (reproductive rights) '

ในยุค 1870 (1870-79) ผู้สนับสนุนสิทธิสตรีพัฒนาแนวคิดเรื่องความเป็นมารดาโดยความสมัครใจ ให้เป็นอย่างการวิจารณ์ทางการเมืองในเรื่องความเป็นมารดาโดยไม่สมัครใจ และการแสดงความต้องการในการปลดปลอยผูหญิง (women's emancipation) ผู้สนับสนุนความเป็นมารดาโดยสมัครใจไม่เห็นด้วยกับการคุมกำเนิด แย้งว่าผู้หญิงควรจะมีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องเพศสัมพันธ์เมื่อมีความต้องการเป็นผู้ให้กำเนิดและได้ส่งเสริมการบังคับใจตนเองแบบถาวรหรือตามช่วงเวลา

ในตอนต้นศตวรรษที่ 20 การคุมกำเนิดมีความก้าวหน้าเป็นอย่างทางเลือกหนึ่ง ในการจำกัดครอบครัวและการเป็นมารดาโดยสมัครใจ คำว่า “การคุมกำเนิด” เข้ามารวมอยู่ในภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1914 มาร์กาเรต แซนเกอร์ (Margaret Sanger) ได้ทำให้คำเฉพาะนี้เป็นที่แพร่หลาย มาร์กาเรตเป็นผู้ที่มีความตื่นตัวในสหรัฐอเมริกา มาร์กาเรตมีชื่อเสียงนานาชาติภายในยุค 1930 (1930-39) Marie Stopes ซึ่งเป็นนักรณรงค์ในการคุมกำเนิดในประเทศอังกฤษ Marie ได้ทำให้การคุมกำเนิดเป็นที่ยอมรับในประเทศอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1920 โดยนำคำเฉพาะนี้มาใช้ในทางวิทยาศาสตร์ Stopes มีส่วนช่วยเหลือในความเคลื่อนไหวในการคุมกำเนิดในประเทศอาณานิคมของชาวอังกฤษ การเคลื่อนไหวในการควบคุมกำเนิดสนับสนุนการควบคุมกำเนิดและการอนุญาตให้มีความสัมพันธ์ทางเพศตามที่ต้องการโดยไม่เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ ในการเน้นเรื่องการควบคุมกำเนิด การเคลื่อนไหวในเรื่องการคุมกำเนิดได้มีข้อโต้แย้งว่าผู้หญิงควรจะมีการควบคุมการเจริญพันธุ์และการเคลื่อนไหวนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการเคลื่อนไหวของผู้สนับสนุนสิทธิสตรี สโลแกนเช่น “ควบคุมร่างกายของเรา” วิจารณ์เรื่องการครอบงำโดยผู้ชายและต้องการให้มีการปลดแอกสตรี ในยุค 1960 และยุค 1970 การเคลื่อนไหวในการคุมกำเนิดสนับสนุนการออกกฎหมายการทำแท้งและมีการรณรงค์การศึกษาการคุมกำเนิดโดยรัฐบาล ในยุค 1980 องค์กรเกี่ยวข้องกับการควบคุมประชากรและการคุมกำเนิดได้มีส่วนร่วมในความต้องการให้มีสิทธิในการคุมกำเนิดและการทำแท้ง

การคุมกำเนิดกลายมาเป็นแนวคิดหลักในการเมืองสตรีนิยมซึ่งกล่าวว่าการเจริญพันธุ์เป็นอย่างความไร้อำนาจของสตรีในการใช้สิทธิ การได้รับการยอมรับทางสังคมในเรื่องการคุมกำเนิดจำเป็นต้องมีการแบ่งแยกเรื่องเพศออกจากการให้กำเนิด ทำให้การคุมกำเนิดเป็นประเด็นโต้แย้งในช่วงศตวรรษที่ 20 เมื่อกล่าวถึงการคุมกำเนิดในบริบทที่กว้างขึ้น การคุมกำเนิดได้กลายมาเป็นสาเหตุของความขัดแย้งระหว่างค่านิยมแบบอนุรักษนิยมและค่านิยมแบบเสรีนิยม ทำให้เกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับครอบครัว อิสระส่วนตัว การเข้ามาแทรกแซงของรัฐ ศาสนาในการเมือง การถือพรหมจรรย์ และสวัสดิการสังคม สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ (reproductive rights) เป็นสิทธิที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (sexual reproduction) และอนามัยการเจริญพันธุ์ (Reproductive Health) สิทธิอนามัยเจริญพันธ์เป็นอย่างหัวข้อย่อยของสิทธิมนุษยชนที่นำมาอภิปรายครั้งแรกในที่ประชุมนานาชาติของสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1968 ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ยังไม่เป็นที่ยอมรับในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และเป็นศัพท์ครอบจักรวาลที่อาจจะนำมารวมในสิทธิบางอย่างหรือสิทธิทั้งหมด เช่น สิทธิในการทำแท้งตามกฎหมายหรือการทำแท้งที่ปลอดภัย สิทธิในการควบคุมการทำงานของระบบสืบพันธุ์ สิทธิในการได้รับการดูแลอนามัยการเจริญพันธุ์ที่มีคุณภาพ และสิทธิในการได้รับการศึกษาและการเข้าถึงข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินทางเลือกการเจริญพันธุ์ มีความอิสระจากการบีบบังคับ การแบ่งแยก และความรุนแรง

เพื่อความเข้าใจในเรื่องสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์จำเป็นต้องรวมเรื่องการศึกษาเกี่ยวกับการคุมกำเนิดและโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เรื่องความเป็นอิสระจากการทำหมันและการคุมกำเนิดเนื่องจากการบีบบังคับ การป้องกันจากการปฏิบัติต่างๆที่เน้นเพศภาวะเป็นพื้นฐาน เช่น การขลิบอวัยวะเพศสตรี (Female Genital Mutilation) และการขลิบอวัยวะเพศชาย (Male genital mutilation) สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์เป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นสิทธิสำหรับชายและหญิงแต่มักจะเป็นสิทธิสำหรับสตรีมากที่สุด

ในประเทศส่วนใหญ่ในโลก กฎหมายได้จำกัดการมีสิทธิในการทำแท้งของสตรีตามกฎหมาย เมื่อต้องได้รับอนุญาตในการทำแท้งตามกฎหมาย ผู้หญิงก็จะมีการได้รับการบริการในการทำแท้งด้วยความปลอดภัยที่จำกัด ในประเทศจำนวนน้อยได้ห้ามการทำแท้งในทุกกรณี ในประเทศส่วนใหญ่และการตัดสินคดีส่วนใหญ่ การทำแท้งได้รับอนุญาตเพื่อช่วยชีวิตของสตรีมีครรภ์หรือเมื่อมีการตั้งครรภ์เนื่องมาจากการถูกข่มขืน

จากการติดตามองค์กรเฝ้าระวังสิทธิมนุษยชน “การทำแท้งเป็นเพียงแค่เรื่องอารมณ์และเป็นสิ่งหนึ่งที่กระตุ้นความคิดเห็นต่างๆอย่างลึกซึ้ง” แต่อย่างไรก็ตาม การได้รับการบริการในการทำแท้งด้วยความปลอดภัยเป็นอันดับแรกที่สำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชน ในสถานที่ที่มี การทำแท้งที่ปลอดภัยและถูกต้องตามกฎหมาย ไม่มีใครถูกบังคับให้ทำแท้ง ในสถานที่ที่การทำแท้งผิดกฎหมายและไม่ปลอดภัย ผู้หญิงถูกบังคับให้มีการตั้งครรภ์ที่ไม่ปรารถนาทำให้ทนทุกข์ทรมานจากสุขภาพที่ไม่ดีและนำไปสู่การเสียชีวิต มีการเสียชีวิตของมารดาคิดเป็นประมาณ 13% เนื่องมาจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย มีการเสียชีวิตประมาณ 68,000 และ 78,000 รายในแต่ละปี จากการติดตามรายงานขององค์กรเฝ้าระวังสิทธิมนุษยชน “การไม่ยอมรับสิทธิของสตรีในการตัดสินใจอย่างอิสระในเรื่องการทำแท้งเป็นการละเมิดหรือก่อให้เกิดภัยคุกคามสิทธิมนุษยชนในขอบเขตที่กว้าง” แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มอื่นๆ อย่างเช่น โบสถ์คาทอลิก สิทธิของคริสตชน และชาวยิวนิกายนิกายออร์ธอดอกซ์พิจารณาว่าการทำแท้งไม่ใช่สิทธิแต่เป็น “ความชั่วร้ายทางศีลธรรม”

กฎธรรมชาติและสิทธิสตรี

แก้

ในศตวรรษที่ 17 มีนักปรัชญาศึกษากฎธรรมชาติในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา นักปรัชญาเหล่านั้นได้แก่ โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) และจอห์น ล็อก (John Locke) ได้พัฒนาทฤษฎีสิทธิตามธรรมชาติ อ้างอิงที่นักปรัชญาสมัยโบราณได้แก่ อาริสโตเติล และนักเทววิทยาคริสต์ เช่น อไควนัส (Aquinas) นักปรัชญาในศตวรรษที่ 17 นี้ได้พยายามแก้ต่างเรื่องความทาสและสถานะสตรีที่ด้อยกว่า นักปรัชญาได้แย้งว่าสิทธิทางธรรมชาติไม่ได้รับมาจากพระเจ้าแต่เป็น “สิ่งที่สากล, ชัดแจ้งในตัว, และโดยการหยั่งรู้” เชื่อว่าสิทธิธรรมชาติเป็นสิ่งที่เด่นชัดอยู่ในตัวอยู่แล้วที่มีให้แก่ “ผู้มีวัฒนธรรม” ซึ่งอยู่ในสังคมชั้นสูงสุด สิทธิทางธรรมชาติได้มาโดยธรรมชาติของมนุษย์ แนวคิดเรื่องธรรมชาติของมนุษย์สร้างขึ้นมาครั้งแรกโดยนักปรัชญากรีก เซโน แห่ง ซิติอุม เซโนเป็นผู้สร้างปรัชญาสโตอิคและแนวคิดเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ แนวคิดเรื่องธรรมชาติของมนุษย์เป็นแนวคิดที่นักปรัชญาชาวกรีก นักปรัชญาด้านกฎธรรมชาติ และนักมนุษยนิยมซึ่งเป็นชาวตะวันตก นำมาใช้ อาริสโตเติลได้สร้างแนวคิดเรื่องความมีเหตุผล เป็นแนวคิดที่นำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย กล่าวว่า มนุษย์เป็น “สัตว์ที่มีเหตุผล” นักปรัชญากฎธรรมชาติเชื่อว่าผู้หญิงไม่ควรได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันเนื่องด้วย “ธรรมชาติที่อยู่ภายในตัว” แนวคิดของนักปรัชญากฎธรรมชาติได้รับการต่อต้านในศตวรรษที่ 18 และ 19 จากนักปรัชญาที่ศึกษาเทววิทยาธรรมชาติ อย่างเช่น วิลเลียม วิลเบอร์ฟอร์ช และชาร์ลส สเปอร์เจียน ซึ่งได้มีการโต้แย้งเพื่อการยกเลิกความเป็นทาสและได้ให้การสนับสนุนเพื่อให้ผู้หญิงมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชาย นักทฤษฎีกฎธรรมชาติในสมัยปัจจุบันและผู้ให้การสนับสนุนสิทธิทางธรรมชาติ กล่าวว่าทุกคนมีลักษณะธรรมชาติของมนุษย์ โดยไม่ต้องพิจารณาเรื่องเพศ ความเป็นชาติพันธ์ หรือคุณสมบัติอื่นๆ ดังนั้นทุกคนจึงมีสิทธิตามธรรมชาติ[130]

สิทธิมนุษยชนและสิทธิสตรี

แก้

อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of all Forms of Discrimination against Women หรือย่อว่า CEDAW) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) นำมาใช้ในปี ค.ศ. 1948 ให้ความคุ้มครอง “สิทธิที่เท่าเทียมกันของชายและหญิง” และกล่าวถึงประเด็น ความเท่าเทียม และยุติธรรม ในปี ค.ศ. 1979 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) นำอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of all Forms of Discrimination against Women) มาใช้เพื่อนำปฏิญญาว่าด้วยการขจัดการการเลือกปฏิบัติต่อสตรีมาปฏิบัติใช้ตามกฎหมาย ปฏิญญานี้ถือว่าเป็นอย่างบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิสำหรับสตรี มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายในวันที่ 3 กันยายน ปี ค.ศ. 1981

   ประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่ยังไม่ได้ให้การยืนยันอนุสัญญานี้ ได้แก่ อิหร่าน นาอูรู   ปาเลา  โซมาเลีย  ซูดาน  ตองงา และสหรัฐอเมริกา 
   อนุสัญญาให้คำจำกัดความหมายของคำว่า “การเลือกปฏิบัติ” ต่อสตรี ดังต่อไปนี้ คือ

การแบ่งแยก การกีดกัน หรือการจำกัดใดๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากประเด็นเรื่องเพศ ประเด็นเรื่องเพศจะมีผลกระทบหรือมีวัตถุประสงค์ในการทำลายหรือทำให้เสื่อมเสียการได้รับความยอมรับ การใช้สิทธิของสตรี โดยไม่คำนึงถึงสถานภาพด้านการสมรส บนพื้นฐานของความเสมอภาคของบุรุษและสตรี บนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม พลเมือง หรือด้านอื่นๆ

การข่มขืนกระทำชำเราและความรุนแรงทางเพศ

แก้

ปฏิญญาแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรี ปฏิญญาแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรีได้รับมาจากสหประชาชาติใน ค.ศ. 1993 (พ.ศ. 2536) ให้คำจำกัดความคำว่า “ความรุนแรงต่อสตรี” ไว้ว่า “การกระทำใดก็ตามเกี่ยวข้องกับความรุนแรงทางเพศที่ส่งผลให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย จิตใจ หรือทางเพศหรือความทุกข์ทรมานแก่สตรี ตลอดจนการข่มขู่ในการกระทำดังกล่าว การใช้อำนาจบังคับหรือการถูกริดรอนเสรีภาพไม่ว่าจะเกิดขึ้นในที่สาธารณะหรือชีวิตส่วนตัว” [157] ปฏิญญากำหนดไว้ว่าสตรีมีสิทธิเป็นอิสระจากความรุนแรง ผลที่ตามของแนวทางนี้ คือ ในปี พ.ศ. 2542 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศให้วันที่ 25 พฤศจิกายนเป็นวันสากลในการขจัดความรุนแรงต่อสตรี

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Hosken, Fran P., 'Towards a Definition of Women's Rights' in Human Rights Quarterly, Vol. 3, No. 2. (May, 1981), pp. 1–10.
  2. Lockwood, Bert B. (ed.), Women's Rights: A "Human Rights Quarterly" Reader (Johns Hopkins University Press, 2006), ISBN 978-0-8018-8374-3
  3. http://www.amazon.com/Inasmuch-Mary-H-Fulton/dp/1140341804
  4. http://www.hkbu.edu.hk/~libimage/theses/abstracts/b15564174a.pdf[ลิงก์เสีย]
  5. http://www.cqvip.com/qk/83891A/200203/6479902.html
  6. Rebecca Chan Chung, Deborah Chung and Cecilia Ng Wong, "Piloted to Serve", 2012
  7. https://www.facebook.com/PilotedToServe
  8. Gerhard, Ute (2001). Debating women’s equality: toward a feminist theory of law from a European perspective. Rutgers University Press. p. 33. ISBN 978-0-8135-2905-9.
  9. 9.0 9.1 Blundell, Sue (1995). Women in ancient Greece, Volume 1995, Part 2. Harvard University Press. p. 114. ISBN 978-0-674-95473-1.
  10. Gerhard, Ute (2001). Debating women’s equality: toward a feminist theory of law from a European perspective. Rutgers University Press. p. 35. ISBN 978-0-8135-2905-9.
  11. Blundell, Sue (1995). Women in ancient Greece, Volume 1995, Part 2. Harvard University Press. p. 115. ISBN 978-0-674-95473-1.
  12. Robinson, Eric W. (2004). Ancient Greek democracy: readings and sources. Wiley-Blackwell. p. 302. ISBN 978-0-631-23394-7.
  13. 13.0 13.1 13.2 Pomeroy, Sarah B. Goddess, Whores, Wives, and Slaves: Women in Classical Antiquity. New York: Schocken Books, 1975. p. 60-62
  14. Tierney, Helen (1999). Women’s studies encyclopaedia, Volume 2. Greenwood Publishing Group. pp. 609–610. ISBN 978-0-313-31072-0.
  15. Pomeroy, Sarah B. Spartan Women. Oxford University Press, 2002. p. 137 [1]
  16. Pomeroy, Sarah B. Spartan Women. Oxford University Press, 2002. p. 134 [2]
  17. Pomeroy 2002, p. 34
  18. Robinson, Eric W. (2004). Ancient Greek democracy: readings and sources. Wiley-Blackwell. p. 300. ISBN 978-0-631-23394-7.
  19. Gerhard, Ute (2001). Debating women’s equality: toward a feminist theory of law from a European perspective. Rutgers University Press. pp. 32–35. ISBN 978-0-8135-2905-9.
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 Colish, Marcia L. (1990). The Stoic Tradition from Antiquity to the Early Middle Ages: Stoicism in classical Latin literature. BRILL. pp. 37–38. ISBN 978-90-04-09327-0.