สิทธิ คือ หลักเสรีภาพหรือการให้สิทธิ์ทางกฎหมาย สังคมหรือจริยศาสตร์ นั่นคือ สิทธิเป็นกฎเชิงบรรทัดฐานพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งที่ประชาชนมีหรือเป็นของประชาชนตามบางระบบกฎหมาย ขนบธรรมเนียมทางสังคม หรือทฤษฎีจริยศาสตร์ สิทธิมีความสำคัญยิ่งในสาขาวิชาดังกล่าว เช่น กฎหมายและจริยศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทฤษฎีความยุติธรรมและกรณียกรรม

มักถือว่าสิทธิเป็นพื้นฐานของอารยธรรม ถือว่าเป็นเสาหลักซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคมและวัฒนธรรม[1] และประวัติศาสตร์ความขัดแย้งทางสังคมพบได้ในประวัติศาสตร์ของสิทธิแต่ละอย่างและพัฒนาการของมัน ตามสารานุกรมปรัชญาสแตนฟอร์ด "สิทธิให้โครงสร้างแก่ระบอบการปกครอง เนื้อหากฎหมาย และลักษณะของศีลธรรมซึ่งรับรู้ในปัจจุบัน"[2]

อ้างอิง

แก้
  1. UN UDHR Preamble: "Whereas recognition of the inherent dignity and of the equal and inalienable rights of all members of the human family is the foundation of freedom, justice and peace in the world..."
  2. "Stanford Encyclopedia of Philosophy". Stanford University. July 9, 2007. สืบค้นเมื่อ 2009-12-21. Rights dominate most modern understandings of what actions are proper and which institutions are just. Rights structure the forms of our governments, the contents of our laws, and the shape of morality as we perceive it. To accept a set of rights is to approve a distribution of freedom and authority, and so to endorse a certain view of what may, must, and must not be done.