ประเทศไทยใน พ.ศ. 2560
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2560 (ค.ศ. 2017) ในประเทศไทย
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
ผู้นำ
แก้- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พระราชอิสริยยศในขณะนั้น)
- นายกรัฐมนตรี: ประยุทธ์ จันทร์โอชา (รัฐประหาร)
- คณะผู้ยึดอำนาจปกครอง: คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประยุทธ์ จันทร์โอชา
- รัฐสภา: สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ: พรเพชร วิชิตชลชัย (แต่งตั้ง)
- ประธานศาลฎีกา:
- วีระพล ตั้งสุวรรณ (จนถึง 30 กันยายน)
- ชีพ จุลมนต์ (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม)
เหตุการณ์
แก้มกราคม
แก้- 2 มกราคม - เกิดเหตุรถตู้โดยสารชนกับรถกระบะมีผู้เสียชีวิต 25 ราย ที่อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี[1]นับเป็นอุบัติเหตุทางถนนที่ร้ายแรงที่สุดในแง่จำนวนผู้เสียชีวิต
- ไม่ทราบวัน – เหตุอุทกภัยในภาคใต้ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 85 คน คิดเป็นความเสียหายกว่า 120,000 ล้านบาท นับเป็นอุทกภัยใหญ่สุดในรอบกว่า 30 ปี[2]
กุมภาพันธ์
แก้- 12 กุมภาพันธ์ – พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาปนา สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม[3]
มีนาคม
แก้- 5 มีนาคม – สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะพร้อมด้วยสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะแห่งญี่ปุ่น เสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรไทยเป็นการส่วนพระองค์เพื่อสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เมษายน
แก้- 6 เมษายน – พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยและพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
- 14 เมษายน – มีการเปลี่ยนหมุดคณะราษฎร โดยข้อความใหม่มีว่า "ความนับถือรักใคร่ในพระรัตนตรัยก็ดี ในรัฐของตนก็ดี ในวงศ์ตระกูลของตนก็ดี มีจิตซื่อตรงในพระราชาของตนก็ดี ย่อมเป็นเครื่องทำให้รัฐของตนเจริญยิ่ง ขอประเทศสยามจงเจริญยั่งยืนตลอดไป ประชาชนสุขสันต์ หน้าใส เพื่อเป็นพลังของแผ่นดิน"[4]
สิงหาคม
แก้- 11 สิงหาคม – เปิดให้บริหารส่วนต่อขยายรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงสถานีเตาปูน-บางซื่อ
ตุลาคม
แก้- 25 - 29 ตุลาคม – พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง
ผู้เสียชีวิต
แก้มกราคม
แก้- 3 มกราคม – ถาวร ตรีรัตน์ณรงค์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2482)
- 7 มกราคม – อาณันย์ วัชโรทัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2501)[5][6]
- 14 มกราคม – พระครูวิจิตรนวการโกศล (สมจิต จิตฺตคุตฺโต) เจ้าคณะตำบลห้วยอ้อ (เกิด พ.ศ. 2484)
- 18 มกราคม – ชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกาคนที่ 36 (เกิด พ.ศ. 2489)[7]
- 20 มกราคม – กระมล ทองธรรมชาติ ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนที่ 4 (เกิด พ.ศ. 2478)
- 21 มกราคม
- เมธา เอื้ออภิญญกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2470)
- นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2489)[8]
- 28 มกราคม – ขวัญแก้ว วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวัง (เกิด พ.ศ. 2471)[9]
กุมภาพันธ์
แก้- 7 กุมภาพันธ์ – นิลวรรณ ปิ่นทอง บรรณาธิการ (เกิด พ.ศ. 2458)[10]
- 10 กุมภาพันธ์ – สุชาติ พรหมรุ่งโรจน์ (หมู นินจา) นักเขียนการ์ตูน (เกิด พ.ศ. 2502)[11]
- 15 กุมภาพันธ์ – วัลลภ สุปริยศิลป์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2483)
- 17 กุมภาพันธ์ – อิสระพงศ์ หนุนภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยคนที่ 32 (เกิด พ.ศ. 2476)[12]
มีนาคม
แก้- 17 มีนาคม
- ระวี ภาวิไล ราชบัณฑิต (เกิด พ.ศ. 2468)
- ชัยภูมิ ป่าแส นักเคลื่อนไหว (เกิด พ.ศ. 2543)
เมษายน
แก้- 2 เมษายน – หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช อดีตองคมนตรี (เกิด พ.ศ. 2477)
- 17 เมษายน
- เกษรี ณรงค์เดช ศาสตราจารย์ (เกิด พ.ศ. 2478)
- ประกอบ สังข์โต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมคนที่ 9 (เกิด พ.ศ. 2485)
- 26 เมษายน – หม่อมราชวงศ์ประสารสุวรรณ สุวรรณรัฐ ราชนิกูล (เกิด พ.ศ. 2467)
พฤษภาคม
แก้- 6 พฤษภาคม – ประสงค์ สุขุม อดีตรัฐมนตรี (เกิด พ.ศ. 2473)
- 18 พฤษภาคม – ชิน ฝ้ายเทศ (ชินกร ไกรลาศ) ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2489)
- 23 พฤษภาคม – สมบัติ รอดโพธิ์ทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมคนที่ 41 (เกิด พ.ศ. 2479)
มิถุนายน
แก้- 3 มิถุนายน – สมนึก สูตะบุตร (บุษยมาส) นักเขียน (เกิด พ.ศ. 2474)
- 10 มิถุนายน
- ประภาศน์ อวยชัย ประธานรัฐสภาคนที่ 13 (เกิด พ.ศ. 2468)
- พิชัย จิตรีขันธ์ (ลือชัย นฤนาท) นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2475)
- พจน์ บุณยะจินดา อธิบดีกรมตำรวจคนที่ 29 (เกิด พ.ศ. 2479)
- 20 มิถุนายน – สุดใจ เที่ยงตรงกิจ (หนิงหน่อง เพชรพิณทอง) ศิลปินมรดกอีสาน (เกิด พ.ศ. 2492)
กรกฎาคม
แก้- 2 กรกฎาคม – พระครูพิศิษฐชโลปการ (เกลี้ยง มนุญฺโญ) เจ้าคณะตำบลหนองข้างคอก (เกิด พ.ศ. 2461)
- 5 กรกฎาคม
- สินีนาฏ โพธิเวส นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2472)
- พิมพ์พรรณ ยุวะพุกกะ (พิมพ์พรรณ บูรณะพิมพ์) นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2488)
- 6 กรกฎาคม – รังษีนภดล ยุคล (หม่อมเจ้ารังษีนภดล ยุคล) อดีตหม่อมเจ้า (ประสูติ พ.ศ. 2480)
- 7 กรกฎาคม – ฐิติมา สุตสุนทร นักร้อง (เกิด พ.ศ. 2504)
- 9 กรกฎาคม – ชุมพร เทพพิทักษ์ นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2482)
- 14 กรกฎาคม – อำนาจ ลูกจันทร์ นักดนตรีเพื่อชีวิต (เกิด พ.ศ. 2492)
- 19 กรกฎาคม – พระมงคลสิทธาจารย์ (รวย ปาสาทิโก) พระราชาคณะ (เกิด พ.ศ. 2464)
- 20 กรกฎาคม - ดนัย นพสุวรรณวงศ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2477)
- 30 กรกฎาคม – พระธรรมมงคลเจดีย์ (เฉลียว ฐิตปุญฺโญ) พระราชาคณะ (เกิด พ.ศ. 2468)
สิงหาคม
แก้- 14 สิงหาคม – สุรชาติ ชำนาญศิลป์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2483)
- 16 สิงหาคม – บุญเสริม สาตราภัย ช่างภาพ (เกิด พ.ศ. 2471)
- 27 สิงหาคม – พระครูประยุตนวการ (แย้ม ฐานยฺตโต) เจ้าอาวาสวัดอรัญญิการาม (เกิด พ.ศ. 2458)
กันยายน
แก้- 4 กันยายน – ประพร เอกอุรุ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2510)
- 6 กันยายน – เฉลียว อยู่สีมารักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการคนที่ 24 (เกิด พ.ศ. 2494)
- 14 กันยายน
- อนิรุทธ จันทะวงษ์ ตำรวจ (เกิด พ.ศ. 2512) (ดูเพิ่ม)
- ธเนตร พุทโท ทหารบก (เกิด พ.ศ. 2531) (ดูเพิ่ม)
- 15 กันยายน – ปรารถนา รัตนะสิทธิ์ นักเขียน (เกิด พ.ศ. 2513)
- 25 กันยายน – อุดร ทองน้อย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2492)
- 27 กันยายน – สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ นักวิชาการ (เกิด พ.ศ. 2499)[13]
ตุลาคม
แก้- 1 ตุลาคม – สำราญ เกิดผล ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2470)
- 3 ตุลาคม – สมคิด ศรีสังคม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2460)[14]
- 27 ตุลาคม – พจน์ สะเพียรชัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนที่ 51 (เกิด พ.ศ. 2475)
พฤศจิกายน
แก้- 11 พฤศจิกายน – ธนัท ฉิมท้วม นักร้อง (เกิด พ.ศ. 2516)
- 16 พฤศจิกายน – พระครูวิมลสมณวัตร (เพี้ยน อคฺคธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดเกริ่นกฐิน (เกิด พ.ศ. 2470)
- 24 พฤศจิกายน – อิทธิวัฒน์ เพียรเลิศ นักจัดรายการวิทยุ (เกิด พ.ศ. 2490)
- 29 พฤศจิกายน – นพพร บุณยฤทธิ์ นักหนังสือพิมพ์ (เกิด พ.ศ. 2469)
- 30 พฤศจิกายน – สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คนที่ 12 (เกิด พ.ศ. 2492)
ธันวาคม
แก้- 2 ธันวาคม – รอซีดี ดาราฉาย (เพชร ดาราฉาย) นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2481)
- 17 ธันวาคม
- พระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก) พระราชาคณะ (เกิด พ.ศ. 2471)
- เอนก สิทธิประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยคนที่ 73 (เกิด พ.ศ. 2472)
- 18 ธันวาคม – ยอด พิมพิสาร (ยอร์ช ยอด พิมพิสาร) มุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกอุดรธานีรูปที่ 2 (เกิด พ.ศ. 2476)
- 20 ธันวาคม – วรนุช อารีย์ นักร้อง (เกิด พ.ศ. 2471)
อ้างอิง
แก้- ↑ เจออีก 1 ศพสาวเหยื่อเรือล่ม ลอยโผล่เกาะไม้ท่อน เร่งหาอีก 5 รายที่สูญหาย
- ↑ Flood toll: 85 killed, 4 missing
- ↑ "โปรดเกล้าฯ 'สมเด็จพระมหามุนีวงศ์' เป็นสังฆราช องค์ที่ 20". มติชนออนไลน์. 7 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2560.
- ↑ แชร์ว่อน! หมุดคณะราษฎรถูกเปลี่ยน ผอ.เขตดุสิตปัดเกี่ยว กรมศิลป์แจงไม่อยู่ในความรับผิดชอบ
- ↑ "อาณันย์ วัชโรทัย"สปท. เสียชีวิตหลังผ่าตัดเปลี่ยนตับ
- ↑ 'อาณันย์ วัชโรทัย' สมาชิก สปท. เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลว
- ↑ "ชาญชัย ลิขิตจิตถะ" ถึงแก่อสัญกรรม ด้วยวัย 71 ปี
- ↑ สิ้นแล้ว ‘นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน’ ศิลปินแห่งชาติ แวดวงศิลปะอาลัยล้น
- ↑ 'ขวัญแก้ว วัชโรทัย' รองเลขาธิการพระราชวัง ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว
- ↑ เศร้า! สิ้น’คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง’ บก.สตรีสาร ตั้งสวดพระอภิธรรมวัดเทพศิรินทร์
- ↑ "นักเขียนการ์ตูนชื่อดัง 'หมู นินจา' เสียชีวิตแล้ว!". ข่าวสด. 10 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2560.
- ↑ พิชิตศักดิ์ แก่นนาคำ. "'พล.อ.อิสระพงศ์ หนุนภักดี' อดีตผบ.ทบ.ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว เก็บถาวร 2017-02-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". Voice TV. 17 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2560.
- ↑ พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ. " 'สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ' นักวิชาการประวัติศาสตร์ชื่อดังเสียชีวิตอย่างสงบ เก็บถาวร 2017-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Voice TV. 27 กันยายน 2560. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2560.
- ↑ " 'พ.อ.สมคิด' อดีต ส.ส.-สว.อุดรฯถึงแก่กรรมอายุ100ปี2เดือน." คมชัดลึก. 3 กันยายน 2560. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2560.