พระธรรมมงคลเจดีย์ (เฉลียว ฐิตปุญฺโญ)
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
พระธรรมมงคลเจดีย์ นามเดิม เฉลียว ปัญจมะวัต ฉายา ฐิตปุญฺโญ อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
พระธรรมมงคลเจดีย์ (เฉลียว ฐิตปญฺโญ) | |
---|---|
เกิด | 1 เมษายน พ.ศ. 2468 |
มรณภาพ | 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 |
อายุ | 92 ปี 120 วัน |
อุปสมบท | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 |
พรรษา | 77 |
วัด | วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
สังกัด | มหานิกาย |
วุฒิ | นักธรรมชั้นเอก ปริญญาพุทธศาสนมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
ตำแหน่ง | เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม |
![]() |

ประวัติแก้ไข
ชาตภูมิแก้ไข
พระธรรมมงคลเจดีย์ นามเดิม เฉลียว ปัญจมะวัต เกิดเมื่อวันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2468 เป็นชาวปทุมธานี นามเดิม เฉลียว ฉายา ฐิตปุญฺโญ นามสกุล ปัญจมะวัต อายุ ๙๒ พรรษา ๗๒ วุฒิการศึกษา ป.๖, น.ธ.เอก, พธ.ด.(กิตติมศักดิ์) เกิดเมื่อวันพุธที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกับวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๕ ปีฉลู ณ ตำบลกระแชง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี บิดาชื่อ นายเหรียญ ปัญจมะวัต มารดาชื่อ นางลูกอิน ปัญจมะวัต
นามสกุล ปัญจมะวัต เป็นนามสกุลที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระราชทาน เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๖ เป็นนามสกุลลำดับที่ ๑๐๓๒ เขียนว่า ปัญจมวัต เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า Panchamavat;Panchamawat แต่ในประกาศราชกิจจานุเบกษาเขียนว่า ปัญจมะวัต โดยมีนายร้อยโท(ยศขณะนั้น) ชุ่ม หรือ หลวงวรญาณวิจิตร อัยการศาลทหารมณฑลนครไชยศรี เป็นผู้ขอพระราชทาน
[1]
อุปสมบทแก้ไข
พระธรรมมงคลเจดีย์ อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ณ วัดบางนา จังหวัดปทุมธานี โดยพระครูบวรธรรมกิจ วัดโบสถ์ ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดรื่น วัดโพธิ์เลื่อน ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระเส็ง จนฺทรํสี วัดบางนา อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ถึง พ.ศ. 2490 ได้ย้ายมาจำพรรษาที่คณะ 4 วัดอรุณราชวราราม ครั้งเมื่อพระเทพมุนี (วน ฐิติญาโณ) มาครองวัดอรุณราชวราราม จึงได้ย้ายมาอยู่คณะ 1
การศึกษาแก้ไข
- พ.ศ. 2494 การศึกษาพระปริยัติสอบได้นักธรรมชั้นเอก ณ สำนักเรียนวัดอรุณราชวราราม
- พ.ศ. 2542 ได้รับปริญญาพุทธศาสนมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
การปกครองแก้ไข
- พ.ศ. 2495 เป็นเจ้าคณะ 1 วัดอรุณราชวราราม และเป็นพระกรรมวาจาจารย์
- พ.ศ. 2511 เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
- พ.ศ. 2528 เป็นรองเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
- พ.ศ. 2539 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
- พ.ศ. 2551 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
- พ.ศ. 2552 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
สมณศักดิ์แก้ไข
- พ.ศ. 2492 เป็นพระฐานานุกรมที่ พระครูใบฎีกา
- พ.ศ. 2496 เป็นพระฐานานุกรมที่ พระครูธรรมธร
- พ.ศ. 2497 เป็นพระฐานานุกรมที่ พระครูปลัดสุตวัฒน์ ฐานานุกรมในพระธรรมไตรโลกาจารย์
- พ.ศ. 2504 เป็นพระฐานานุกรมที่ พระครูปลัดสุวัฒนศีลคุณ
- พ.ศ. 2506 เป็นพระฐานานุกรมที่ พระครูปลัดสัมพิพัฒนธุตาจารย์ ฐานานุกรมในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (วน ฐิติญาโณ)
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2507 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระโสภณวราภรณ์[2]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2543 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสุทธิโสภณ วิมลวรกิจจาทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพมงคลรังษี ปูชนียสถานประยุต วิสุทธิศาสนวราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมมงคลเจดีย์ ศรีไพศาลวิหารกิจ พิพิธธรรมาลังการ ศาสนภารธุราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2014-12-16. สืบค้นเมื่อ 2018-04-30.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 81, ตอนที่ 118 ง ฉบับพิเศษ, 17 ธันวาคม 2507, หน้า 4
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 117, ตอนที่ 28 ข, 28 ธันวาคม 2543, หน้า 25
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 127, ตอนที่ 3 ข, 25 กุมภาพันธ์ 2553, หน้า 2
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 131, ตอนที่ 25 ข, 2 ธันวาคม 2557, หน้า 1