ถาวร ตรีรัตน์ณรงค์

ถาวร ตรีรัตน์ณรงค์ (30 มกราคม พ.ศ. 2482 – 3 มกราคม พ.ศ. 2560) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อและแบบสัดส่วน รวม 7 สมัย

ถาวร ตรีรัตน์ณรงค์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 มกราคม พ.ศ. 2482
เสียชีวิต3 มกราคม พ.ศ. 2560 (77 ปี)
พรรคการเมืองพลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–2560)

ประวัติ

แก้

ถาวร เกิดเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2482 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ ระดับปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป และปริญญาโทบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป จากสถาบันราชภัฏสวนดุสิต[1]

การทำงาน

แก้

ถาวร เข้าทำงานการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 สังกัดพรรคกิจสังคม และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก ต่อมาย้ายมาลงสมัครในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคชาติไทย

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 ได้รับเลือกตั้งในสังกัดพรรคความหวังใหม่ กระทั่งในปี พ.ศ. 2544 จึงย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ[2] การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ได้รับการเลื่อนเป็ ส.ส.แทน ยงยุทธ ติยะไพรัช[3] และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ได้รับการเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ[4] ในปี พ.ศ. 2557 ได้ลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ[5] แต่การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโฆษะ หลังจากนั้นเขาจึงวางมือทางการเมือง

ถาวร เคยดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง อาทิ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที[6] ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[7] ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข[8] เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม[9]

ถึงแก่อนิจกรรม

แก้

ถาวร ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2560 รวมอายุ 77 ปี[1] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2560 ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 อดีตนักการเมืองชื่อดัง ถาวร ตรีรัตน์ณรงค์ ลาลับล่วงด้วยชรา
  2. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
  3. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง
  4. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (จำนวน 109 คน)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2020-07-23.
  5. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (เพิ่มเติม)
  6. "คำสั่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ ๑๖/๒๕๔๕ เรื่อง แต่งตั้งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-23. สืบค้นเมื่อ 2020-07-23.
  7. "คำสั่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ ๑๒๒/๒๕๔๖ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-23. สืบค้นเมื่อ 2020-07-23.
  8. คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ ๒๕๕/๒๕๔๗ เรื่อง แต่งตั้งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  9. คำสั่งกระทรวงยุติธรรม ที่ ๔๘/๒๕๕๑ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔