อาณันย์ วัชโรทัย

พันตรี อาณันย์ วัชโรทัย (ชื่อเดิม วัชรทิพย์ วัชโรทัย) อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย และเป็นหลานของนายแก้วขวัญ-นายขวัญแก้ว วัชโรทัย[1]

อาณันย์ วัชโรทัย
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
6 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 6 กันยายน พ.ศ. 2558
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 มีนาคม พ.ศ. 2501
กรุงเทพมหานคร
เสียชีวิต7 มกราคม พ.ศ. 2560 (58 ปี)
พรรคการเมืองพรรคเพื่อไทย

ประวัติ แก้

อาณันย์ วัชโรทัย เกิดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2501 เป็นบุตรของนายบุญดำรงศักดิ์ กับนางพอชม วัชโรทัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.28) และระดับปริญญาโทจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[2] รุ่นเดียวกับนายกรวีร์ ปริศนานันทกุล

เขาเสียชีวิตภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะในร่างกาย (ตับ) แต่ร่างกายไม่ยอมรับ เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2560[3]

การทำงาน แก้

อาณันย์ วัชโรทัย เคยทำงานการเมืองร่วมกับพรรคประชากรไทย[4] และพรรคความหวังใหม่ จึงมีความสนิทสนมกับพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ และนายสมัคร สุนทรเวช อีกทั้งยังเคยได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมืองในรัฐบาลของพรรคไทยรักไทย และมีความสนิทสนมกับพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน[5]

อาณันย์ วัชโรทัย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 123[6]

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดำรงตำแหน่งจนพ้นวาระและได้ถึงแก่กรรมในอีกไม่กี่ปีต่อมา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประวัติ อาณันย์ วัชโรทัย
  2. "รายนามนักศึกษา MPE รุ่น 21 - คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-22. สืบค้นเมื่อ 2013-12-05.
  3. "อาณันย์ วัชโรทัย"สปท. เสียชีวิตหลังผ่าตัดเปลี่ยนตับ...
  4. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  5. "อาณันย์"ขำโชว์ ไม่เครียด-สู้โรคร้าย
  6. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  7. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ (ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ รวมทั้งสิ้น ๑๓,๙๕๑ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-29. สืบค้นเมื่อ 2013-12-06.
  8. "ประกาศสำนกนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-11-19. สืบค้นเมื่อ 2013-12-06.