ประพร เอกอุรุ (1 มิถุนายน พ.ศ. 2510 - 4 กันยายน พ.ศ. 2560) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา 3 สมัย อดีตนายกสมาคมประมงจังหวัดสงขลา อดีตกรรมการสมาคมกีฬาจังหวัดสงขลา

ประพร เอกอุรุ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 – 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มิถุนายน พ.ศ. 2510
อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ประเทศไทย
เสียชีวิต4 กันยายน พ.ศ. 2560 (50 ปี)
อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2541–2560)
คู่สมรสทพญ. นนทิพา เอกอุรุ

ประวัติ แก้

นายประพร เอกอุรุ เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2510 (ชื่อเล่น: เกม) ที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของ นายประเจียด และ นางอัมพวัลย์ เอกอุรุ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป จาก วิทยาลัยครูสงขลา [1] และ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง สมรสกับทันตแพทย์หญิงนนทิพา เอกอุรุ มีบุตร-ธิดา 3 คน

การทำงาน แก้

หลังจากจบการศึกษา ประพรได้สานต่อกิจการของครอบครัวจนก้าวหน้าต่อเนื่อง จนเป็นประธานกรรมการ บริษัท แอล แอนด์ จี กรุ๊ป จำกัด ประธานกรรมการ บริษัท สมิหลาปลาป่น จำกัด และประธานกรรมการ บริษัท บาตั้ม จำกัด จนได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่นายกสมาคมประมงจังหวัดสงขลาอีกหนึ่งตำแหน่ง รวมถึงการเป็นกรรมการสมาคมกีฬาจังหวัดสงขลา[2]

งานการเมือง แก้

ประพรลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก และได้รับเลือกตั้งติดต่อกัน รวม 3 สมัย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

นายประพร เอกอุรุ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

ถึงแก่อนิจกรรม แก้

นายประพร เสียชีวิตอย่างกะหันทันในเวลา 19:30 น. ของคืนวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2560 ที่ห้องไอซียู โรงพยาบาลสงขลา หลังจากถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลจากการช็อกหมดสติอย่างกะทันหันที่บ้านพักส่วนตัว[3] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2560 ณ วัดแหลมทราย อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ประวัติ สภาผู้แทนราษฎรไทยชุดที่ 24". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-27. สืบค้นเมื่อ 2021-09-24.
  2. "ปิดฉากชีวิต ประพร เอกอุรุ ปิดตำนานสส.ติดดินนักการเมืองขวัญใจชาวสงขลา". กิมหยงนิวส์. 2017-09-05. สืบค้นเมื่อ 2018-02-09.
  3. "ด่วน !! 'ประพร เอกอุรุ' เสียชีวิตแล้ว". คมชัดลึก. 2017-09-04. สืบค้นเมื่อ 2017-09-05.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๓๗, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓