พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส

(เปลี่ยนทางจาก พระเจ้าหลุยส์ที่ 14)

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (ฝรั่งเศส: Louis XIV de France; หลุยส์กาตอร์ซเดอฟร็องส์; ชื่อเกิด: หลุยส์ ดีเยอดอเน; 5 กันยายน ค.ศ. 1638 – 1 กันยายน ค.ศ. 1715) หรือ หลุยส์มหาราช (ฝรั่งเศส: Louis le Grand; หลุยส์เลอกร็อง) ทรงมีพระสมัญญานามว่า สุริยกษัตริย์ (ฝรั่งเศส: le Roi Soleil) เป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสและนาวาร์ ทรงครองราชย์เมื่อมีพระชนมายุได้เพียง 5 ชันษา เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์บูร์บง เสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1643 และทรงครองราชย์นานถึง 72 ปี นับเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก และในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์เป็นช่วงที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้นำทางด้านศูนย์กลางการรวมอำนาจของแผ่นดิน

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14
พระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 อียาแซ็งต์ รีโก (1701)
พระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์
ครองราชย์14 พฤษภาคม 1643 – 1 กันยายน 1715 (72 ปี 110 วัน)
ราชาภิเษก7 มิถุนายน 1654
ก่อนหน้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 13
ถัดไปพระเจ้าหลุยส์ที่ 15
ผู้สำเร็จราชการสมเด็จพระราชชนนีอานน์ (1643–1651)
พระราชสมภพ5 กันยายน ค.ศ. 1638(1638-09-05)
พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล, แซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล, ฝรั่งเศส
สวรรคต1 กันยายน ค.ศ. 1715(1715-09-01) (76 ปี)
พระราชวังแวร์ซาย, ฝรั่งเศส
ฝังพระศพมหาวิหารแซ็ง-เดอนี, ฝรั่งเศส
คู่อภิเษกมาเรีย เทเรส แห่งสเปน
ฟร็องซวซ โดบีเญ
พระราชบุตร
ดูเพิ่ม
หลุยส์ กรังซ์โดแฟ็ง
มารี แอนน์ ดัชเชสแห่งลาแวลีแยร์
หลุยส์ เคานต์แห่งแวร์ม็องดัว
หลุยส์ ออกุสเต ดยุกแห่งเมน
ลุยส์ ฟร็องซวซ ดัชเชสแห่งบูร์บง
หลุยส์ อเล็กซันดร์ เคานต์แห่งตูลูส
ฟร็องซวซ มารี ดัชเชสแห่งออร์เลอ็อง
ลุยส์ เดอ เมซ็องบล็องช์
ราชวงศ์บูร์บง
พระราชบิดาพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส
พระราชมารดาอันนาแห่งออสเตรีย
ศาสนาโรมันคาทอลิก
ลายพระอภิไธย
ราชวงศ์บูร์บง
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
(ก่อนการปฏิวัติ ค.ศ. 1792)
Bourbon dynasty
Bourbon dynasty
พระเจ้าอ็องรีที่ 4
พระขนิษฐภคินี
แคทเธอรีน ดัชเชสแห่งลอร์เลน
พระราชโอรส-ธิดา
พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส
พระราชินีเอลิซาเบธแห่งสเปน
คริสติน ดัชเชสแห่งซาวอย
เจ้าชายนิโกลาส ดยุกแห่งออร์เลอ็อง
เจ้าชายกาสตง ดยุกแห่งออร์เลอ็อง
พระราชินีอ็องเรียต มารีแห่งอังกฤษ
พระเจ้าหลุยส์ที่ 13
พระราชโอรส
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส
ฟีลิปที่ 1 ดยุกแห่งออร์เลอ็อง
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14
พระราชโอรส-ธิดา
เจ้าชายหลุยส์ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส
เจ้าหญิงอานน์ เอลิซาเบธแห่งฝรั่งเศส
เจ้าหญิงมารี อานน์แห่งฝรั่งเศส
เจ้าหญิงมารี เตแรซแห่งฝรั่งเศส
เจ้าชายฟีลิป ชาลส์ ดยุกแห่งอ็องฌู
เจ้าชายหลุยส์ ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌู
พระราชนัดดา
(เฉพาะสายโดแฟ็งใหญ่)
เจ้าชายหลุยส์ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส
พระเจ้าเฟลิเปที่ 5 แห่งสเปน
เจ้าชายชาลส์ ดยุกแห่งเบออรี
พระราชปนัดดา
(เฉพาะสายโดแฟ็งน้อย)
เจ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งเบรอตาญ
เจ้าชายหลุยส์ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส
พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส
พระเจ้าหลุยส์ที่ 15
พระราชโอรส-ธิดา
หลุยส์ เอลิซาเบธ ดัสเชสแห่งปาร์มา
เจ้าหญิงอ็องเรียตแห่งฝรั่งเศส
เจ้าหญิงมารี หลุยส์แห่งฝรั่งเศส
เจ้าชายหลุยส์ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส
เจ้าชายฟีลิป ดยุกแห่งอ็องฌู
เจ้าหญิงเอเดลาอีด ดัสเชสแห่งลูวัว
เจ้าหญิงวิกตอรีแห่งฝรั่งเศส
เจ้าหญิงโซฟี ดัสเชสแห่งลูวัว
เจ้าหญิงเตแรซแห่งฝรั่งเศส
เจ้าหญิงหลุยส์แห่งฝรั่งเศส
พระราชนัดดา
(เฉพาะสายโดแฟ็ง)
เจ้าหญิงมารี เตแรซแห่งฝรั่งเศส
เจ้าหญิงมารี เซฟีรินแห่งฝรั่งเศส
เจ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งบูร์กอญ
เจ้าชายซาเวียร์ ดยุกแห่งอากีแตน
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส
พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส
พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศส
พระราชินีมารี โกลทีลด์แห่งซาร์ดิเนีย
เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งฝรั่งเศส
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16
พระราชโอรส-ธิดา
พระราชินีมารี เตแรซแห่งฝรั่งเศส
เจ้าชายหลุยส์ โฌแซ็ฟ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส
พระเจ้าหลุยส์ที่ 17 แห่งฝรั่งเศส
เจ้าหญิงโซฟีแห่งฝรั่งเศส

พระเจ้าหลุยส์เริ่มบริหารประเทศด้วยตัวของพระองค์เองเมื่อปี ค.ศ. 1661 หลังจากการเสียชีวิตของหัวหน้าคณะรัฐมนตรีของพระองค์นั่นก็คือ พระคาดินัลมาซาแร็ง ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดเทวสิทธิราชย์ ถึงต้นกำเนิดกษัตริย์ผู้มีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศต่อพระเจ้าหลุยส์มาอย่างต่อเนื่อง การทำงานของพระองค์ได้สร้าง อำนาจรัฐ ภายใต้การควบคุมของเมืองหลวง พระองค์ทรงพยายามที่จะขจัดเศษของระบบศักดินา ที่คงอยู่ในฝรั่งเศสและเต็มไปด้วยสมาชิกของชนชั้นสูง ที่อาศัยอยู่อย่างฟุ่มเฟือยภายในพระราชวังแวร์ซายของพระองค์ (เดิมเป็นกระท่อมล่าสัตว์ของพระราชบิดาของพระเจ้าหลุยส์) และทรงประสบความสำเร็จในการปราบปรามเหล่าขุนนางจำนวนมากที่มีส่วนร่วมในกบฎฟรอนด์ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่พระองค์ยังทรงพระเยาว์ โดยวิธีการดังกล่าวทรงได้กลายเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและเป็นวางรากฐานระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในฝรั่งเศส ซึ่งจะดำรงอยู่จนถึงสมัยการปฏิวัติฝรั่งเศส

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 สวรรคตก่อนที่จะถึงวันครบรอบพระราชสมภพครบ 77 พรรษา และพระราชปนัดดาของพระองค์ก็ครองราชย์สืบต่อเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 โดยในรัชสมัยอันยาวยาวนานของพระองค์ ทรงมีรัชทายาทต่อราชบัลลังก์มาแล้วกว่า 4 พระองค์ ได้แก่ พระราชโอรสของพระองค์ หลุยส์ โดแฟ็งใหญ่แห่งฝรั่งเศส, พระโอรสในของโดแฟ็งใหญ่ ได้แก่ หลุยส์ โดแฟ็งน้อย, และพระโอรสองค์โตในโดแฟ็งน้อย เจ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งเบรอตาญ และ เจ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งอ็องฌู พระราชอนุชาในดยุกแห่งเบรอตาญ ผู้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ในพระนาม พระเจ้าหลุยส์ที่ 15

พระราชประวัติ

แก้

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีพระนามเดิมว่า หลุยส์-ดิเยอดอนเน (Louis-Dieudonné) สมัยประทับอยู่ที่พระราชวังแซงต์-แชร์แมง-ออง-เลย์ (วันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1638) ต่อมามีพระนามว่า เลอรัว-โซแลย (le Roi-Soleil) ซึ่งแปลว่า สุริยกษัตริย์ เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1715 เมื่อพระองค์ประทับที่แวร์ซายส์ (Versailles) และพระนามต่อมาคือ หลุยส์ เลอ กรองด์ (Louis le Grand) แปลว่าหลุยส์ผู้ยิ่งใหญ่ เริ่มใช้วันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1643 จนกระทั่งพระองค์สวรรคต พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส และพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งนาวาร์ พระองค์มีเชื้อสายทั้งราชวงศ์บูร์บงและราชวงศ์กาเปเตียง พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ครองราชย์เป็นเวลา 72 ปี จัดว่าเป็นกษัตริย์ฝรั่งเศสที่ครองราชย์นานที่สุด อีกทั้งยังเป็นพระมหากษัตริย์ในที่ครองราชย์นานที่สุดในโลกอีกด้วย

พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ไม่กี่เดือนก่อนวันครบรอบวันพระราชสมภพ ซึ่งจะมีพระชันษา 5 ปี แต่สมัยนั้น (ค.ศ. 1648 - ค.ศ. 1652) มีกบฏฟรองด์ (Fronde) ทำให้หน้าที่ของพระองค์มีอย่างเดียวคือ ควบคุมรัฐบาล เนื่องจากนายกรัฐมนตรี เลอ คาร์ดินาล มาซาแร็ง (le Cardinal Mazarin) หรือสังฆราชมาซาแร็ง เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1661 อย่างไรก็ตามพระองค์ไม่แต่งตั้งผู้ใดขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีและประกาศว่าจะบริหารประเทศด้วยพระองค์เอง หลังจากคณะรัฐมนตรีของกอลแบรต์ (Colbert) ครบวาระ (หรือหมดอำนาจในการบริหารประเทศ) ในปี ค.ศ. 1683 และของลูวัร์ (คณะรัฐมนตรีของลูวัร์นี้ขึ้นตำแหน่งต่อจากลูแบร์) ครบวาระในปี ค.ศ. 1691 พระองค์ได้รับการอบรมสั่งสอนอย่างดี ในฐานะยุวกษัตริย์ และได้รับการสั่งสอนในท่ามกลางศรัทธาในนิกายโรมันคาทอลิก สมัยของพระองค์โดดเด่นในเรื่องโครงสร้างของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช (สิทธิกษัตริย์ = เทพที่มาจากสวรรค์) ประโยชน์ของพระราชอำนาจอันเด็ดขาดของพระองค์ทำให้ความวุ่นวายต่าง ๆ หมดสิ้นไปจากฝรั่งเศส อาทิเช่นเรื่องขุนนางก่อกบฏ (สมัยพระเจ้าหลุยส์ 14 ไม่มีขุนนางผู้ไหนกล้าก่อกบฏ เพราะพระองค์มีพระราชอำนาจเด็ดขาด) เรื่องการประท้วงของสภา เรื่องการจลาจลของพวกนิกายโปรแตสแตนท์และชาวนา ซึ่งเรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นในฝรั่งเศสมานานเป็นเวลามากกว่า 1 ทศวรรษแล้ว

ขณะที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศสเสด็จสวรรคต ขณะนั้นเจ้าชายหลุยส์ มกุฏราชกุมาร มีพระชนมายุเพียง 5 ชันษา เนื่องจากพระองค์ยังทรงพระเยาว์มาก พระราชมารดาของพระองค์คือ พระนางแอนน์ จึงทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทน โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ส่วนสังฆราชมาซาแร็งเป็นผู้อุปถัมภ์พระเจ้าหลุยส์ ดิเยอดองเน ท่านรับผิดชอบด้านการศีกษาเพื่อที่จะให้พระเจ้าหลุยส์ขึ้นเป็นกษัตริย์ในอนาคต ซึ่งการศึกษานี้จะเน้นหนักไปด้านปฏิบัติ มากกว่าด้านความรู้ ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่า สังฆราชมาซาแร็งใช้อำนาจโดยผ่านลูกอุปถัมภ์ของท่านเอง ซึ่งก็คือหลุยส์ดิเยอดองเน สังฆราชมาซาแร็งถ่ายทอดความชื่นชอบในด้านศิลปะให้หลุยส์ดิเยอดองเนและสอนความรู้พื้นฐานด้านการทหาร, การเมืองและการทูต อีกทั้ง สังฆราชผู้นี้ยังนำหลุยส์ดิเยอดองเนเข้าร่วมในสภาเมื่อปี ค.ศ. 1650

พระองค์ได้ทรงลดทอนอำนาจของชนชั้นสูงที่เชี่ยวชาญในการรบ ด้วยมีรับสั่งให้พวกเขาเหล่านั้นรับใช้พระองค์เช่นเดียวกับเหล่าสมาชิกในราชสำนัก อันเป็นการถ่ายโอนอำนาจมายังระบบธุรการแบบรวมศูนย์ และทำให้พวกเขาเหล่านั้นกลายเป็นชนชั้นสูงที่ใช้สติปัญญา พระองค์ทรงดำริให้สร้างพระราชวังแวร์ซายส์ ขึ้นในอุทยาน โดยมีการจัดสวนให้เป็นรูปทรงเรขาคณิต พระราชวังแวร์ซายที่มีขนาดใหญ่นี้ตั้งอยู่ห่างออกไปราว 15 กิโลเมตรทางตะวันตกของกรุงปารีส ที่เมืองแวร์ซาย ในเขตปริมณฑลของกรุงปารีส

พระราชวงศ์

แก้

พระองค์ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับพระนางมาเรีย เทเรสแห่งสเปน (20 กันยายน ค.ศ. 1638 - 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1683) พระธิดาของพระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งสเปน กับพระนางเอลิซาเบธ แห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 1602 - ค.ศ. 1644) ทรงมีโอรสธิดารวมหกพระองค์:

  • เจ้าชายหลุยส์ เลอ แกรนด์ โดฟิน (ค.ศ. 1661 - ค.ศ. 1711) ผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นมกุฎราชกุมาร หรือ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส
  • เจ้าหญิงอานน์-เอลิซาเบธแห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 1662) - สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์
  • เจ้าหญิงมารี-อานน์แห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 1664) - สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์
  • เจ้าหญิงมารี-เทเรสแห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 1667 - ค.ศ. 1672) - สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์
  • เจ้าชายฟิลิป ชาลส์แห่งฝรั่งเศส ดยุคแห่งอองจู (ค.ศ. 1668 - ค.ศ. 1671) - สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์
  • เจ้าชายหลุยส์ ฟรองซัวส์แห่งฝรั่งเศส ดยุคแห่งอองจู (ค.ศ. 1672) - สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีพระสนมมากมาย ในจำนวนนั้น รวมถึงหลุยส์ เดอ ลา วาลลิแยร์, อองเจลลิก เดอ ฟงตองจ์, มาดาม เดอ มงต์เตสปอง และ มาดาม เดอ มังเตอนง (ผู้ซึ่งพระองค์ได้ทรงอภิเษกสมรสด้วยอย่างลับ ๆ ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของราชินี ในปี ค.ศ. 1684 ขณะยังทรงเป็นวัยรุ่น พระองค์ได้ทรงรู้จักกับหลานสาวของพระคาร์ดินัลมาซารัง ชื่อมารี มองซีนี ความรักแบบเพื่อนของทั้งสองถูกขัดขวางโดยพระคาร์ดินัล ผู้ประสงค์ให้พระองค์อภิเษกสมรสกับราชนิกูลของประเทศสเปนเพื่อผลประโยชน์ของฝรั่งเศส และของตัวพระคาร์ดินัลเอง คนมักจะพูดกันว่านางสาวเดอ โบเวส์โชคดีมากที่ไม่ได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แต่นักประวัติศาสตร์หลายคนก็ยังกังขาเกี่ยวกับเรื่องนี้ อย่างไรก็ดี พระเจ้าหลุยส์ยังทรงมีสัมพันธ์เป็นเวลายาวนานอีกกับเด็กสาวพนักงานซักรีดของพระราชวังลูฟ ด้วยความเจ้าชู้ของพระองค์ ต่อมาภายหลังได้มีรับสั่งให้สร้างบันไดลับไว้มากมายในพระราชวังแวร์ซายเพื่อจะได้เสด็จไปหาพระสนมของพระองค์ได้สะดวก ความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้พวกเคร่งศาสนากลุ่มหนึ่งไม่พอใจ โบสซูเอต์ กับ มาดาม เดอ มังเตอนง จึงพยายามชักชวนให้พระองค์หันกลับมาสู่ความทรงคุณธรรมอีกครั้ง ซึ่งทำคนทั่วไปรู้สึกถึงบรรยากาศที่เปลี่ยนไปของพระราชวังแวร์ซายได้ แต่ก็ทำให้ผู้บันทึกประวัติหลายคนรู้สึกเสียดาย

ปัญหาเรื่องพระพลานามัยที่ทรุดโทรมและปัญหาการหารัชทายาท ทำให้เกิดบรรยากาศเศร้าสลดขึ้นในช่วงปลายรัชสมัย พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระองค์ต้องสูญเสียพระโอรส เจ้าชายหลุยส์แห่งฝรั่งเศส (มกุฎราชกุมาร) ไปในปี พ.ศ. 2254 ในปีถัดมา ดยุคแห่งบูกอญจ์ ผู้เป็นพระราชนัดดา พร้อมด้วยโอรสองค์โตของดยุคพระองค์นี้ก็ได้สิ้นพระชนม์ลงอีกด้วยโรคฝีดาษ องค์มกุฎราชกุมารมีพระโอรสอีกสององค์ ซึ่งหนึ่งในนั้นได้เป็นกษัตริย์ของสเปนภายใต้พระนามว่าฟิลลิปเปที่ 5 แห่งสเปน เป็นผู้ซึ่งปฏิเสธสิทธิในการขึ้นครองบัลลังก์ฝรั่งเศสที่สืบเนื่องมาจากสงครามชิงบัลลังก์ในสเปนภายใต้สนธิสัญญาอูเทรชต์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2257 ดยุคแห่งแบรี โอรสอีกพระองค์หนึ่งของมกุฎราชกุมารก็สิ้นพระชนม์ลงอีกด้วย ราชนิกูลชายผู้สืบเชื้ออย่างถูกต้องจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในขณะนั้นจึงได้แก่ดยุคแห่งอองจู พระโอรสองค์รองของเจ้าชายแห่งบูกอญจ์ ผู้เป็นเหลนของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2253แต่ก็เป็นเด็กชายผู้มีพลานามัยเปราะบาง นอกเหนือจากดยุคแห่งอองจูผู้ซึ่งได้รับตำแหน่งมกุฎราชกุมารแล้ว ก็มีเจ้าชายผู้สืบเชื้อสายโดยตรงจากพระองค์อยู่อีกไม่มากในสายมารดาอื่น พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จึงทรงตัดสินพระทัยสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ราชวงศ์ด้วยการมอบสิทธิ์การขึ้นครองบัลลังก์ให้แก่เจ้าชายอีกสองพระองค์ด้วยเช่นกัน ได้แก่เจ้าชายหลุยส์ ออกุสต์ เดอ บูร์บง ดยุคแห่งเมน และเจ้าชายหลุยส์ อเล็กซองเดรอ เคาท์แห่งตูลูส พระโอรสอันชอบธรรมสองพระองค์ที่ประสูติแต่มาดาม เดอ มงต์เตสปอง

 
ครอบครัวพระเจ้าหลุยส์ที่ 14

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2258 ด้วยโรคติดเชื้อจากแผลกดทับ พระองค์ได้ทรงประกาศก่อนสิ้นพระทัยว่า "ข้าจะไปแล้ว แต่รัฐของข้าจะคงอยู่ตลอดไป" รัชสมัยของพระองค์กินเวลา 72 ปี กับ 100 วัน พระศพถูกฝังไว้ที่บาซิลิก ซังต์ เดอนี ซึ่งหลุมพระศพนี้ถูกบุกรุกทำลายในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสในกาลต่อมา ดยุคแห่งอองจู เหลนของพระองค์ผู้มีพระชนม์เพียงห้าชันษาได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พระองค์ต่อมา ภายใต้พระนามว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส โดยมีเจ้าชายฟิลิปป์ ดยุคแห่งออร์เลอง พระนัดดาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นผู้สำเร็จราชการตลอดช่วงที่กษัตริย์ยังทรงพระเยาว์

การเมืองการปกครอง

แก้
 
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 กับองค์รัชทายาท

ช่วงรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 นั้นโดดเด่นด้วยการรังสรรค์วัฒนธรรมชั้นสูงของฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศสได้กลายเป็นภาษาของคนชั้นสูง และภาษาทางการทูตในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ คริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศรัสเซีย

ในปี พ.ศ. 2217 รัฐบาลฝรั่งเศสได้ซื้อหมู่เกาะมาร์ตีนีก มาจากบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่ยึดเกาะนี้มาได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2178 ในปี พ.ศ. 2232 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ทรงประกาศ "กฎดำ" ที่ให้อนุญาตให้มีทาสได้ในดินแดนอาณานิคม ผู้ที่ชื่นชมพระองค์ได้มองกฎดำนี้ว่าเป็นกฎที่ทำให้มีการค้าทาสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อจะได้จำกัดการกระทำทารุณกรรมต่อทาส และมอบสถานภาพทางสังคมให้แก่ทาส ซึ่งก่อนหน้านี้ เป็นได้เพียงทรัพย์สมบัติโดยตรงของเจ้าของทาส เฉกเช่นสิ่งของเครื่องใช้ และด้วยกฎนี้ พวกทาสสามารถมีสิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ในจำนวนจำกัด มีสิทธิ์เกษียณอายุเมื่อถึงวัยชรา มีสิทธิ์ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีจากเจ้าของ และได้รับอาหารที่ดี กฎดำจึงกลายเป็นกรอบของสนธิสัญญาทาสในสมัยนั้น

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงเป็นที่รักและเคารพของประชาชนชาวฝรั่งเศส จากการที่พระองค์ทำให้ประเทศเกรียงไกรและแผ่ขยายอาณาเขตไปเป็นอันมาก อย่างไรก็ดี การตกอยู่ในภาวะสงครามตลอดเวลาทำให้รัฐต้องขาดดุล และต้องเก็บภาษีอากรจากชาวไร่ชาวนาเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก อเล็กซิส เดอ ทอกเกอวิลล์ นักประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสได้แสดงความเห็นว่า การที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เปลี่ยนพวกชนชั้นสูงให้กลายเป็นข้าราชบริพารธรรมดา รวมทั้งยังเข้าพวกกับผู้ดีใหม่ที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้แต่ไม่ให้มีอำนาจทางการเมือง มีส่วนผลักดันให้เกิดความไม่มั่นคงในสเถียรภาพทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในเวลาต่อมา และเป็นชนวนก่อให้เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสในที่สุด

ในช่วงต้นของรัชสมัย ประเทศมหาอำนาจในยุโรปอีกประเทศหนึ่งคือประเทศสเปน ในขณะที่สหราชอาณาจักร โดยเฉพาะอังกฤษ ได้กลายเป็นประเทศมหาอำนาจในช่วงปลายรัชสมัยของพระองค์

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงครองราชย์ตรงกับช่วงระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สมเด็จเจ้าฟ้าไชย สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชา สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) และ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พระเจ้าท้ายสระ) แห่งสมัยอยุธยา

บุคคลในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

บทความที่เกี่ยวข้อง

แก้

อ้างอิง

แก้


ก่อนหน้า พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ถัดไป
พระเจ้าหลุยส์ที่ 13    
พระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์
(14 พฤษภาคม พ.ศ. 2186 - 1 กันยายน พ.ศ. 2258)
  พระเจ้าหลุยส์ที่ 15
พระเจ้าหลุยส์ที่ 13    
โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส
(5 กันยายน พ.ศ. 214414 พฤษภาคม พ.ศ. 2186)
  เจ้าชายหลุยส์ โดแฟ็งใหญ่แห่งฝรั่งเศส