โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส

โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Dauphin de France) หรือ โดแฟ็งแห่งเวียนัว (ฝรั่งเศส: Dauphin de Viennois) คืออิสริยยศที่มีไว้สำหรับทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง ผู้ซึ่งจะขึ้นครองราชบัลลังก์แห่งฝรั่งเศสในอนาคต ในประวัติศาสตร์มีผู้ดำรงอิสริยยศนี้ในช่วงปี ค.ศ. 1350 - 1791 และช่วงปี ค.ศ. 1824 - 1830 คำว่า โดแฟ็ง แปลตรงตัวจากภาษาฝรั่งเศสได้ว่า ปลาโลมา ซึ่งอ้างอิงถึงสัตว์ในตราอาร์มประจำอิสริยยศนี้

โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส
ตราอาร์ม
หลุยส์แห่งฝรั่งเศส
โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศสพระองค์สุดท้าย
สถาปนาค.ศ. 1350
สิ้นสุด2 สิงหาคม ค.ศ. 1830
องค์แรกชาร์ลแห่งฝรั่งเศส
องค์สุดท้ายหลุยส์แห่งฝรั่งเศส
คู่สมรสโดฟีนแห่งฝรั่งเศส

ประวัติศาสตร์

แก้

กีกที่ 8 เคานต์แห่งเวียนัว ผู้มีสัญลักษณ์ปลาโลมาอยู่บนตราอาร์มประจำตัวจึงได้รับชื่อเล่นว่า เลอโดแฟ็ง ต่อมายศ โดแฟ็งแห่งเวียนัว จึงสืบทอดมายังทายาทในตระกูลของเจ้าชายแห่งอีฟว์โต จนกระทั่งปี ค.ศ. 1349 เมื่อเอิงแบร์ที่ 2 ขายที่ดินซึ่งเป็นแคว้นในระบบมาเนอร์ที่เรียกว่า แคว้นโดฟีเน ให้แก่พระเจ้าฟิลิปที่ 6 ในเงื่อนไขที่ว่ารัชทายาทแห่งฝรั่งเศสจะเป็นผู้สืบทอดอิสริยยศ เลอโดแฟ็ง ต่อไป ส่วนมเหสีของรัชทายาทจะได้อิสริยยศ ลาโดฟีน

เจ้าชายฝรั่งเศสพระองค์แรกที่ทรงถูกเรียกขานว่า "เลอโดแฟ็ง" คือพระเจ้าชาร์ลที่ 5 ซึ่งยศนี้ประมาณเทียบเท่าได้กับยศ "เจ้าชายแห่งเวลส์" ของอังกฤษ, "ดยุกแห่งบรากันซา" ของโปรตุเกส หรือ "เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส" ของสเปน ซึ่งพระยศเต็มของโดแฟ็งมีนามว่า "โดยพระคุณแห่งพระเจ้า, โดแฟ็งแห่งเวียนัว, เคานต์แห่งวาล็องตีนัวและดียัว" (ฝรั่งเศส: par la grâce de Dieu, dauphin de Viennois, comte de Valentinois et de Diois; ปาร์ลากรัสเดอดีเยอ, โดแฟ็งเดอเวียนัว, กงต์เดอวาล็องตีนัวเอเดอดียัว) ส่วนตราอาร์มประจำตำแหน่งจะเป็นการรวมเอาสัญลักษณ์ปลาโลมา (โดฟีเน) กับสัญลักษณ์ดอกลิลลี (เฟลอร์เดอลี) เข้าด้วยกัน และในบางกรณีอาจจะรวมเอาสัญลักษณ์ของตราอาร์มอื่นเข้าไว้ด้วย เช่น โดแฟ็งฟรานซิส (ค.ศ. 1518 - 1536) ซึ่งเป็นพระโอรสในพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 ทรงปกครองแคว้นเบรอตาญ ขณะทรงพระยศโดแฟ็งจึงมีเอารวมเอาสัญลักษณ์ของแคว้นดังกล่าวมาประดับไว้ในตราอาร์มประจำอิสริยยศโดแฟ็งด้วย หรือในกรณีของพระเจ้าฟร็องซัวที่ 2 ผู้ทรงดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์จากการเสกสมรสกับพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ จึงได้มีการนำเอาสัญลักษณ์ตราอาร์มของราชอาณาจักรสกอตแลนด์เข้ามารวมในตราอาร์มของโดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส

แต่เดิมแล้วผู้ทรงพระยศโดแฟ็งมีภาระรับผิดชอบปกครองแคว้นโดฟีเน ซึ่งตามกฎหมายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และพระจักรพรรดิทรงพระราชทานอำนาจให้แก่รัชทายาทฝรั่งเศสปกครอง แต่ทรงกำหนดห้ามมิให้รวมเข้ากับฝรั่งเศส เพราะแคว้นโดฟีเนเคยบอบช้ำจากระบอบอนาธิปไตยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 - 15 เนื่องจากในขณะนั้นโดแฟ็งแห่งฝรั่งเศสถูกมองว่าไร้ซึ่งอำนาจและเป็นเพียงแค่ตำแหน่งเล็ก ๆ

ในช่วงที่เจ้าชายหลุยส์ พระโอรสในพระเจ้าชาร์ลที่ 7 ทรงดำรงพระยศโดแฟ็ง หลุยส์ทรงท้าท้ายพระบิดาด้วยการพำนักอยู่ในแคว้นโดฟีเนนานกว่าที่พระบิดาทรงอนุญาต และยังทรงเข้าไปยุ่งเกี่ยวการเมืองในทางที่เป็นประโยชน์ต่อโดฟีเนมากกว่าต่อฝรั่งเศส เช่น การเสกสมรสกับชาร์ล็อตต์แห่งซาวอยเพื่อต่อต้านพระประสงค์ของพระบิดา ซึ่งซาวอยถือว่าเป็นพันธมิตรของโดฟีเนและเจ้าชายหลุยส์มีพระประสงค์ในการกระชับความสัมพันธ์ในการที่จะกำจัดกลุ่มกบฏและกองโจรให้หมดไปจากแคว้นของพระองค์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1456 เจ้าชายหลุยส์ทรงถูกบังคับให้เสด็จออกจากแคว้นโดยกองทหารของพระเจ้าชาร์ลที่ 7 ทำให้ทั้งแคว้นตกอยู่ในความสับสนวุ่นวาย แต่ต่อมาเมื่อทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 แห่งฝรั่งเศส พระองค์จึงทรงผนวกเอาโดฟีเนรวมเข้ามาอยู่ใต้อำนาจฝรั่งเศสโดยสมบูรณ์

พระอิสริยยศโดแฟ็งจะถูกพระราชทานโดยอัตโนมัติแก่ทายาทผู้มีสิทธิ์โดยตรงในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสลำดับถัดไป ซึ่งลำดับดังกล่าวก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น ลำดับการประสูติ, ลำดับการสืบราชสมบัติของพระราชบิดา-พระราชมารดา หรือการสิ้นพระชนม์ลงของโดแฟ็งพระองค์ก่อนหน้า โดยการพระราชทานยศโดยอัตโนมัตินี้ไม่เหมือนกับการพระราชทานยศเจ้าชายแห่งเวลส์ของอังกฤษ ที่ซึ่งพระมหากษัตริย์อังกฤษจะพระราชทานให้ในรูปของการปูนบำเหน็จอยู่เสมอ ไม่ใช่การได้รับพระยศโดยอัตโนมัติหลังทรงประสูติ

พระราชโอรสในพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสจะดำรงบรรดาศักดิ์ในชั้น ราชโอรสแห่งฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Fils de France; ฟิสเดอฟร็องส์) ในขณะที่พระนัดดาสายพระโอรสของกษัตริย์จะดำรงบรรดาศักดิ์ในชั้น ราชนัดดาแห่งฝรั่งเศส ส่วนพระโอรส-ธิดาและพระนัดดาในโดแฟ็งแห่งฝรั่งเศสจะทรงบรรดาศักดิ์ในชั้นที่สูงกว่า ซึ่งจะทรงได้รับการปรณนิบัติเทียบเท่าพระราชโอรส-ธิดาและพระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสตามลำดับ เช่น พระโอรสของโดแฟ็งซึ่งเป็นพระราชนัดดาในองค์กษัตริย์ (พระมหากษัตริย์เป็นพระบิดาของโดแฟ็ง โดแฟ็งเป็นพระบิดาของพระโอรสพระองค์นั้น) จะทรงบรรดาศักดิ์เป็นราชโอรสแห่งฝรั่งเศสเทียบเท่าบรรดาพระปิตุลา (ลุง, อา) พระมาตุจฉา (ป้า, น้า) แม้ในความเป็นจริงแล้วจะต้องทรงบรรดาศักดิ์เพียงแค่พระราชนัดดาก็ตาม ส่วนพระนัดดาของโดแฟ็ง (พระราชปนัดดาในพระมหากษัตริย์) ก็จะทรงบรรดาศักดิ์เป็นราชนัดดาแห่งฝรั่งเศส แม้ในความเป็นจริงแล้วจะต้องทรงบรรดาศักดิ์เพียงแค่พระราชปนัดดาเท่านั้น ในขณะที่พระราชปนัดดาในพระมหากษัตริย์พระองค์อื่น ๆ จะทรงบรรดาศักดิ์เป็นเพียง เจ้าชายสืบสายพระโลหิต (ฝรั่งเศส: Prince du sang; แพร็งส์ดูว์ซ็อง)

อิสริยยศโดแฟ็งแห่งฝรั่งเศสถูกยกเลิกโดยรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส ค.ศ. 1791 ซึ่งนิยามฝรั่งเศสให้เป็นประเทศราชาธิปไตยใต้รัฐธรรมนูญ และภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่นี้ได้นิยามให้รัชทายาทผู้สืบราชบัลลังก์ฝรั่งเศส (ในขณะนั้นคือ โดแฟ็งหลุยส์-ชาร์ล) เปลี่ยนพระยศไปเป็น ราชกุมาร (ฝรั่งเศส: Prince royale; แพร็งส์รัวยาล) ส่วนเจ้าชายสืบสายพระโลหิตถูกเปลี่ยนพระยศไปเป็น เจ้าชายฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Prince français; แพร็งส์ฟร็องแซ) การเปลี่ยนแปลงถูกประกาศรับรองโดยสภานิติบัญญัติและมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1791 ต่อมาเมื่อมีการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บงขึ้น และพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 เสด็จขึ้นครองราชย์ พระยศโดแฟ็งก็ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้ง อย่างไรก็ดีในช่วงรัชสมัยดังกล่าวกลับไม่มีผู้ได้ดำรงพระยศโดแฟ็งไปจนกระทั่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 เสด็จสวรรคต ต่อมาด้วยการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระอนุชาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ซึ่งก็คือ พระเจ้าชาร์ลที่ 10 พระโอรสของพระเจ้าชาร์ลนามว่า หลุยส์-อ็องตวน ดยุกแห่งอ็องกูแลม ผู้เป็นรัชทายาทโดยตรง จึงได้ทรงพระยศโดแฟ็งโดยอัตโนมัติ

ต่อมาเมื่อพระเจ้าชาร์ลที่ 10 ทรงสละราชสมบัติและพระโอรสของพระองค์ก็ทรงปฏิเสธที่จะขึ้นครองราชย์ ทำให้ราชวงศ์บูร์บงพ้นจากการปกครองฝรั่งเศส ตำแหน่งนี้ก็ถูกล้มเลิกไปอีกครั้ง (รัชทายาทของพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ที่ 1 กษัตริย์แห่งฝรั่งเศสพระองค์ต่อมา ทรงบรรดาศักดิ์เป็น "ราชกุมาร") ในภายหลังพระยศโดแฟ็งยังถูกใช้โดยเชื้อพระวงศ์บูร์บงในสเปนในฐานะผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์สเปนสายสืบสิทธิโดยนิติธรรมอีกด้วย

รายพระนามโดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส

แก้
รูปภาพ พระนาม รัชทายาทใน ประสูติ เริ่มต้น สิ้นสุด สิ้นพระชนม์ พระอิสริยยศอื่น เสวยราชย์เป็น พระชายา
  ชาร์ล โดแฟ็งที่ 1 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าจอห์นที่ 2 21 มกราคม 1338 22 สิงหาคม 1350 8 เมษายน 1364
เสวยราชสมบัติ
16 กันยายน 1380 ดยุกแห่งนอร์ม็องดี พระเจ้าชาร์ลที่ 5 ฌานแห่งบูร์บง
  ฌ็อง โดแฟ็งที่ 2 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าชาร์ลที่ 5 7 มิถุนายน 1366 21 ธันวาคม 1366
  ชาร์ล โดแฟ็งที่ 3 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าชาร์ลที่ 5 3 ธันวาคม 1368 16 กันยายน 1380
เสวยราชสมบัติ
21 ตุลาคม 1422 พระเจ้าชาร์ลที่ 6
  ชาร์ล โดแฟ็งที่ 4 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าชาร์ลที่ 6 26 กันยายน 1386 28 ธันวาคม 1386
  ชาร์ล โดแฟ็งที่ 5 แห่งฝรั่งเศส 6 กุมภาพันธ์ 1392 13 มกราคม 1401 ดยุกแห่งกุยแยน
  หลุยส์ โดแฟ็งที่ 6 แห่งฝรั่งเศส 22 มกราคม 1397 13 มกราคม 1401 18 ธันวาคม 1415 ดยุกแห่งกุยแยน มาร์เกอริตแห่งบูร์กอญ
  ฌ็อง โดแฟ็งที่ 7 แห่งฝรั่งเศส 31 สิงหาคม 1398 18 ธันวาคม 1415 5 เมษายน 1417 ดยุกแห่งตูแรน ฌักเกอลีนแห่งแอโน
  ชาร์ล โดแฟ็งที่ 8 แห่งฝรั่งเศส 22 กุมภาพันธ์ 1403 5 เมษายน 1417 21 ตุลาคม 1422
เสวยราชสมบัติ
22 กรกฎาคม 1461 เคาน์แห่งปงตีเยอ พระเจ้าชาร์ลที่ 7
  หลุยส์ โดแฟ็งที่ 9 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าชาร์ลที่ 7 3 กรกฎาคม 1423 22 กรกฎาคม 1461
เสวยราชสมบัติ
30 สิงหาคม 1483 พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 มาร์กาเร็ตแห่งสกอตแลนด์
ชาร์ล็อตต์แห่งซาวอย
  ฟร็องซัว โดแฟ็งที่ 10 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 4 ธันวาคม 1466
  ชาร์ล โดแฟ็งที่ 11 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 30 มิถุนายน 1470 30 สิงหาคม 1483
เสวยราชสมบัติ
7 เมษายน 1498 พระเจ้าชาร์ลที่ 8
  ชาร์ล-ออล็อง โดแฟ็งที่ 12 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าชาร์ลที่ 8 11 ตุลาคม 1492 16 ธันวาคม 1495
  ชาร์ล โดแฟ็งที่ 13 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าชาร์ลที่ 8 8 กันยายน 1496 2 ตุลาคม 1496
  ฟร็องซัว โดแฟ็งที่ 14 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าชาร์ลที่ 8 กรกฎาคม 1497
  ฟร็องซัว โดแฟ็งที่ 15 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 28 กุมภาพันธ์ 1518 10 สิงหาคม 1536 ดยุกแห่งเบรอตาญ
  อ็องรี โดแฟ็งที่ 16 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 31 มีนาคม 1519 10 สิงหาคม 1536 31 มีนาคม 1547
เสวยราชสมบัติ
10 กรกฎาคม 1559 ดยุกแห่งออร์เลอ็อง
ดยุกแห่งเบรอตาญ
พระเจ้าอ็องรีที่ 2 แคทเธอรีน เดอ เมดีชี
  ฟร็องซัว โดแฟ็งที่ 17 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าอ็องรีที่ 2 19 มกราคม 1544 31 มีนาคม 1547 10 กรกฎาคม 1559
เสวยราชสมบัติ
5 ธันวาคม 1560 พระมหากษัตริย์พระราชสวามีแห่งสกอตแลนด์ พระเจ้าฟร็องซัวที่ 2 แมรี พระราชินีนาถแห่งชาวสกอต
  หลุยส์ โดแฟ็งที่ 18 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าอ็องรีที่ 4 27 กันยายน 1601 14 พฤษภาคม 1610
เสวยราชสมบัติ
14 พฤษภาคม 1643 พระเจ้าหลุยส์ที่ 13
  หลุยส์ โดแฟ็งที่ 19 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 5 กันยายน 1638 14 พฤษภาคม 1643
เสวยราชสมบัติ
1 กันยายน 1715 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14
  หลุยส์ โดแฟ็งที่ 20 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 1 พฤศจิกายน 1661 14 เมษายน 1711 มาเรีย อันนา วิกตอเรียแห่งบาวาเรีย
  หลุยส์ โดแฟ็งที่ 21 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 16 สิงหาคม 1682 14 เมษายน 1711 18 กุมภาพันธ์ 1712 ดยุกแห่งบูร์กอญ มารี อะเดเลดแห่งซาวอย
  หลุยส์ โดแฟ็งที่ 22 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 8 มกราคม 1707 18 กุมภาพันธ์ 1712 8 มีนาคม 1712 ดยุกแห่งเบรอตาญ
  หลุยส์ โดแฟ็งที่ 23 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 15 กุมภาพันธ์ 1710 8 มีนาคม 1712 1 กันยายน 1715
เสวยราชสมบัติ
10 พฤษภาคม 1774 ดยุกแห่งอองฌู พระเจ้าหลุยส์ที่ 15
  หลุยส์-แฟดีน็อง โดแฟ็งที่ 24 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 4 กันยายน 1729 20 ธันวาคม 1765 มารีอา เตเรซา ราฟาเอลาแห่งสเปน
มาเรีย โจเซฟาแห่งซัคเซิน
  หลุยส์-ออกุสต์ โดแฟ็งที่ 25 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 23 สิงหาคม 1754 20 ธันวาคม 1765 10 พฤษภาคม 1774
เสวยราชสมบัติ
21 มกราคม 1793 ดยุกแห่งแบร์รี พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 มาเรีย อันโทเนียแห่งออสเตรีย
  หลุยส์-โฌแซ็ฟ โดแฟ็งที่ 26 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 22 ตุลาคม 1781 4 มิถุนายน 1789
  หลุยส์-ชาร์ล โดแฟ็งที่ 27 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 27 มีนาคม 1785 4 มิถุนายน 1789 1 ตุลาคม 1791
ในฐานะเจ้าชายพระราชกุมาร
8 มิถุนายน 1795 ดยุกแห่งนอร์ม็องดี พระเจ้าหลุยส์ที่ 17
  หลุยส์ อ็องตวน โดแฟ็งที่ 28 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าชาร์ลที่ 10 6 สิงหาคม 1775 16 กันยายน 1824 2 สิงหาคม 1830
เสวยราชสมบัติ
3 มิถุนายน 1844 ดยุกแห่งอ็องกูแลม พระเจ้าหลุยส์ที่ 19 มารี-เตแรซแห่งฝรั่งเศส

ตราอาร์ม

แก้

ดูเพิ่ม

แก้