เทวสิทธิราชย์ (อังกฤษ: Divine Right of Kings) เป็นหลักความเชื่อทางการเมืองและทางศาสนาของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ว่าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงอยู่ภายใต้อำนาจใดภายในโลกียวิสัยเพราะทรงเป็นผู้ที่ได้รับอำนาจโดยตรงจากพระเจ้า ฉะนั้นพระมหากษัตริย์จึงไม่ทรงอยู่ภายใต้อำนาจของประชาชน ขุนนาง หรือสถาบันใดใดทั้งสิ้น (ทั้งนี้ผู้นับถือนิกายโปรแตสแตนท์ส่วนมากเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ไม่อยู่ใต้อำนาจพระศาสนจักรอีกด้วย ส่วนผู้นับถือนิกายคาทอลิกถือว่าพระศาสนจักรไม่ขึ้นต่อพระมหากษัตริย์) หลักความเชื่ออันนี้เป็นนัยว่าความพยายามในการโค่นล้มราชบัลลังก์หรือความพยายามในการจำกัดสิทธิของพระมหากษัตริย์เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง และเป็นการขัดต่อพระประสงค์ของพระเจ้า มีผลด้านการเมืองคือทำให้ประชาชนเข้าใจว่าผู้ทำพยายามกระทำการดังกล่าวเป็นพวกนอกรีต

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ในเครื่องทรงพระอาทิตย์

หลักความเชื่อนี้มีมาตั้งแต่ยุคกลางที่กล่าวว่าพระเจ้าทรงมอบอำนาจทางโลกให้แก่พระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับที่ทรงมอบอำนาจทางธรรมให้แก่สถาบันศาสนาโดยมีประมุขเป็นพระสันตะปาปา ผู้ประพันธ์ทฤษฎีนี้คือฌอง โบแดง (Jean Bodin) ผู้เขียนจากการตีความหมายของกฎหมายโรมัน เมื่อการขยายตัวของรัฐอิสระต่าง ๆ และการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์มีอิทธิพลมากขึ้น ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” ก็กลายมาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสนับสนุนในการให้เหตุผลในเอกสิทธิ์ในการปกครองของพระมหากษัตริย์ทั้งในด้านการเมืองและทางด้านศาสนา

ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” ที่สนับสนุนโดยสถาบันโรมันคาทอลิกมามีบทบาทสำคัญระหว่างรัชสมัยการปกครองของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (ค.ศ. 1603–1625) และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 1643–1715) ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” มาเริ่มลดความสำคัญลงในระหว่างสมัยการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ของอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1688 ถึงปี ค.ศ. 1689 นอกจากนั้นการปฏิวัติในสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็ยิ่งทำให้ความเชื่อในปรัชญานี้หมดความหมายลงไปมากยิ่งขึ้น และเมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทฤษฎีนี้ก็ถูกละทิ้งโดยสิ้นเชิง

ความเชื่อนี้แพร่หลายในกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ ที่เกี่ยวข้องกับการปกครองของราชวงศ์ทิวดอร์และต้นราชวงศ์สจวตในบริเตนและคริสต์ศาสนปรัชญาของกลุ่มนักปรัชญาคาโรไลน์ (Caroline divines) ผู้มีอิทธิพลและมีตำแหน่งหน้าที่สูงในรัชสมัยของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 และสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

สมเด็จพระเจ้าเจมส์ทรงประพันธ์หนังสือบทเรียนเทวสิทธิราชย์เป็นภาษาสกอตระหว่างปี ค.ศ. 1597 ถึงปี ค.ศ. 1598 ก่อนที่จะเสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษ “คู่มือการปกครองบาซิลิคอนโดรอน” (Basilikon Doron) ที่ทรงเขียนเป็นตำราที่ระบุหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ที่พระเจ้าเจมส์ทรงเพื่อเป็นตำราสำหรับการสั่งสอนถึงหน้าที่แก่เฮ็นรี เฟรดเดอริค เจ้าชายแห่งเวลส์ พระราชโอรสผู้มีพระชนมพรรษาสี่พรรษาผู้มาสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ตามความเห็นของพระองค์แล้วพระมหากษัตริย์ที่ดีต้อง: “ทราบว่าได้รับอำนาจในการปกครองประชาชนมาจากพระเจ้าในการรับผิดชอบต่อรัฐบาลซึ่งต้องรับผิดชอบ” ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” ปรากฏในหลายวัฒนธรรมทั้งทางตะวันออกและตะวันตกที่ย้อนไปถึงสมัยของเทวกษัตริย์กิลกาเมชผู้ครองราชย์ตั้งแต่ 2,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช

อ้างอิง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้