การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์

การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (อังกฤษ: Glorious Revolution) ยังรู้จักกันในชื่อ การปฏิวัติปี ค.ศ. 1688 คือการปฏิวัติโค่นล้มราชบัลลังก์ของ สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (พระเจ้าเจมส์ที่ 7 แห่งสกอตแลนด์, พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งไอร์แลนด์) โดยสหภาพนักรัฐสภานิยม ชาวอังกฤษ กับเจ้าผู้ครองสถานชาว ดัตช์ เจ้าชายวิลเลียม แห่งออเรนจ์-นัสเซา (เจ้าชายวิลเลียมแห่งออร์เรนจ์) จากความสำเร็จในการบุกยึดอังกฤษ ด้วยกองทัพเรือของเจ้าชายวิลเลียม ตามมาซึ่งการขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษเป็น พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษร่วมกับ สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษ พระชายา การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ยังถือเป็นจุดสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในอังกฤษ ทำให้กษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์
เจ้าชายแห่งออร์เรนจ์ขึ้นฝั่งที่ทอร์เบย์
วันที่ค.ศ. 1688 – 1689
ที่ตั้งเกาะบริเตน
ชื่ออื่นการปฏิวัติ ค.ศ. 1688
สงครามสืบราชบัลลังก์อังกฤษ
การปฏิวัติปราศจากเลือด
ผู้เข้าร่วมสังคมอังกฤษ, เวลส์ และสกอตแลนด์
ผล

เหตุการณ์

แก้

นโยบายด้านการศาสนาของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 หลังปี ค.ศ. 1685 เผชิญกับการต่อต้านมากขึ้น จากผู้นำฝ่ายการเมืองซึ่งไม่นิยมชมชอบสายสัมพันธ์อันแนบแน่นกับฝรั่งเศส และการเข้ารีตนิกายคาทอลิกขององค์กษัตริย์ จุดวิกฤตมาถึงเมื่อองค์กษัตริย์ให้กำเนิดรัชทายาทเป็นพระราชโอรสนามว่า เจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวต ในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1688 (ตามปฏิทินจูเลียน)[1] ซึ่งเปลี่ยนแปลงลำดับการสืบราชบัลลังก์ของเจ้าหญิงแมรีแห่งอังกฤษ พระราชธิดาผู้ซึ่งเป็นทายาทโดยสันนิษฐานและคริสเตียนโปรเตสแตนต์ (และยังเป็นพระชายาในเจ้าชายวิลเลียมแห่งออร์เรนจ์) แทนที่ด้วยเจ้าชายเจมส์ผู้นับถือคริสต์นิกายคาทอลิกและมีสิทธิเป็นทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงในทันที การสถาปนาราชวงศ์ในรีตโรมันคาทอลิกขึ้นปกครองราชอาณาจักรอังกฤษจึงเป็นไปได้อีกครั้ง หัวหน้าขุนนางทอรีผู้มีอิทธิพลสูงบางกลุ่มจึงร่วมกับขุนนางจากพรรควิกเข้าคลี่คลายวิกฤต ด้วยการทูลเชิญเจ้าชายวิลเลียมแห่งออเรนจ์มายังอังกฤษ[2] ซึ่งเจ้าผู้พิทักษ์เห็นว่าความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างอังกฤษ และฝรั่งเศสดำเนินมาถึงจุดที่จะต้องมีการเข้าแทรกแซงด้วยกำลังทหาร

หลังจากรวบรวมกำลังสนับสนุนทางการเงินและจากฝ่ายการเมืองแล้ว เจ้าชายวิลเลียมจึงนำกองเรือรบข้ามทะเลเหนือ และช่องแคบอังกฤษก่อนจะมาขึ้นฝั่งอังกฤษที่ทอร์เบย์ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1688 ภายหลังจากมีการปะทะกันของกองกำลังย่อยสองครั้งในอังกฤษ และความไม่สงบจากการต่อต้านนิกายคาทอลิกในหลายเมือง การครองราชบัลลังก์ของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ก็มีอันต้องสิ้นสุดลง โดยมากเนื่องจากการที่พระองค์ไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในการแก้ไขสถานการณ์ได้ ตามมาด้วยความยืดเยื้อจากสงครามวิลเลียมไมท์ในไอร์แลนด์ และการปฏิวัติจาโคไบต์ ในสกอตแลนด์[3] ในอาณานิคมอเมริกาอันไกลโพ้นของอังกฤษ การปฏิวัตินำไปสู่ความล่มสลายของรัฐอธิราชนิวอิงแลนด์ (Dominion of New England) และการโค่นล้มรัฐบาลในจังหวัดแมรีแลนด์ ตามมาด้วยการพ่ายแพ้ของกองกำลังฝ่ายพระเจ้าเจมส์ในสมรภูมิรีดดิง วันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1688 พระเจ้าเจมส์ที่ 2 และพระชายาจึงเสด็จออกนอกประเทศ อย่างไรก็ดีพระองค์เสด็จกลับมายังลอนดอนเป็นเวลาสองสัปดาห์ก่อนที่จะเสด็จออกนอกประเทศไปยังฝรั่งเศสเป็นการถาวรในวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1688 เพื่อเป็นการยุติภารกิจของกองกำลังของพระองค์ เจ้าชายวิลเลียมจึงได้โน้มน้าวให้ที่ประชุมรัฐสภาราชาภิเษกพระองค์และพระชายาเป็นกษัตริย์ร่วมบัลลังก์

การปฏิวัติยุติความเป็นไปได้ใดๆ ที่จะทำให้อังกฤษกลับไปเป็นรัฐซึ่งนับถือคริสตจักรโรมันคาทอลิก โดยส่งผลกระทบอย่างมากต่อลัทธิโรมันคาทอลิกในบริเตนทั้งด้านสังคมและด้านการเมือง ผู้นับถือโรมันคาทอลิกไม่มีสิทธิ์ในการลงคะแนนเลือกตั้งหรือดำรงตำแหน่งในรัฐสภาเวสต์มิสเตอร์เป็นเวลานานกว่าศตวรรษก่อนที่จะมีการยกเลิกไป นอกจากนี้ยังห้ามการมีตำแหน่งในกองทัพ และพระมหากษัตริย์เองก็ถูกจำกัดไม่ให้เข้ารีตโรมันคาทอลิกด้วย ซึ่งข้อห้ามที่ใช้กับพระมหากษัตริย์นี้ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน การปฏิวัติยังก่อให้เกิดการจำกัดสิทธิ์ต่อชาวโปรเตสแตนต์นอกรีตจนเวลาล่วงเลยผ่านไปนานกว่าจะกลับมามีสิทธิทางการเมืองอย่างเต็มที่อีกครั้ง นับได้ว่าร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิ์ ค.ศ. 1689 กลายมาเป็นเอกสารชิ้นสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองในสหราชอาณาจักร และไม่เคยปรากฏว่าพระมหากษัตริย์ในรัชสมัยต่อมาพระองค์ใดเคยได้ครอบครองอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสหราชอาณาจักรอีกเลย

ในระดับนานาชาติ การปฏิวัติถูกเชื่อมโยงกับสงครามมหาสัมพันธมิตร บนยุโรปภาคพื้นทวีป โดยถูกมองว่าเป็นการรุกรานอังกฤษโดยชาวต่างชาติครั้งสุดท้ายที่ประสบความสำเร็จ[4] การปฏิวัติทำให้ทุกความพยายามที่จะครอบครองสาธารณรัฐดัตช์ ด้วยกำลังทหารของอังกฤษในสงครามอังกฤษ-ดัตช์ ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นอันต้องสิ้นสุดลง อย่างไรก็ตามผลกระทบจากการร่วมมือกันทางการค้าและการทหารของอังกฤษและดัตช์ ทำให้ขั้วอำนาจทางการค้าของโลกถูกส่งผ่านจากสาธารณรัฐดัตช์ไปสู่อังกฤษแล้วถูกส่งต่อไปยังราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ในที่สุด

การเรียกขาน การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ ถูกใช้ครั้งแรกโดย จอห์น แฮมป์เดน ในช่วงปลาย ค.ศ. 1689[5] จนกลายมาเป็นการเรียกขานที่ยังคงใช้อยู่มาถึงปัจจุบันโดย[6] การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ยังถูกเรียกในบางโอกาสว่า การปฏิวัติปราศจากเลือด แม้ว่าจะไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง สงครามกลางเมืองอังกฤษ (การลุกฮือครั้งใหญ่) ยังคงอยู่ในความทรงจำของชาวอังกฤษส่วนมากในปี ค.ศ. 1688 และสำหรับพวกเขาแล้วการปฏิวัติครั้งนี้ก่อให้เกิดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินน้อยกว่าสงครามกลางเมืองอยู่มาก

ข้อมูลพื้นฐาน

แก้

ระหว่างระยะเวลา 3 ปีในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 พระองค์ทรงมีส่วนร่วมโดยตรงเกี่ยวกับสงครามการเมืองในอังกฤษระหว่างชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และโปรแตสแตนท์ และนอกจากนั้นระหว่างสิทธิแห่งพระเจ้าแห่งเกียรติยศ และสิทธิทางการเมืองแห่งรัฐสภา และปัญหาสำคัญที่สุดของพระเจ้าเจมส์ก็คือ การเป็นชาวคาทอลิก ซึ่งทำให้พระองค์เป็นปรปักษ์กับทั้งพรรคการเมืองทั้ง 2 พรรคในรัฐสภา ชาวคริสต์แห่งพรรควิกประสบความล้มเหลวที่จะพยายามล้มพระราชบัลลังก์ของพระเจ้าเจมส์ระหว่างปี ค.ศ. 1679 และ 1681 ผู้สนับสนุนพระเจ้าเจมส์เป็นชาวคริสต์ในพรรคอนุรักษนิยม เมื่อพระเจ้าเจมส์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติในปี ค.ศ. 1685 พระองค์ทรงสนับสนุนใน 'Loyal Parliament' อย่างมากซึ่งประกอบด้วยสมาชิกพรรคอนุรักษนิยมเป็นส่วนใหญ่ ความพยายามของพระเจ้าเจมส์ที่จะผ่อนคลายกฎหมายอาญาทำให้เป็นปรปักษ์กับผู้สนับสนุนของพระองค์

อ้างอิง

แก้
  1. In this article "New Style" means the start of year is adjusted to 1 January. Events on the European mainland are usually given using the Gregorian calendar, while events in Great Britain and Ireland are usually given using the Julian calendar with the year adjusted to 1 January. Dates with no explicit Julian or Gregorian postscript will be using the same calendar as the last date with an explicit postscript.
  2. Coward 1980, pp. 298–302.
  3. England, Scotland, and Ireland at time shared a king but were still theoretically separate realms with their own parliaments. In practice, the Irish parliament had been completely under the control of Westminster since Poynings' Law of 1494, but Scotland still had a degree of independence.
  4. See e.g. Israel 1991, p. 105; see also Israel & Parker 1991, pp. 335–364
  5. In testimony before a House of Lords committee in the autumn of 1689 (Schwoerer 2004, p. 3).
  6. "The Glorious Revolution". www.parliament.uk. สืบค้นเมื่อ 3 February 2011.