สมบูรณาญาสิทธิราชย์

ระบอบที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ

สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (อังกฤษ: absolute monarchy) เป็นราชาธิปไตยรูปแบบหนึ่งซึ่งพระมหากษัตริย์มีอำนาจสิทธิ์ขาดสูงสุด ซึ่งโดยหลักแล้วไม่ถูกจำกัดด้วยกฎหมายลายลักษณ์อักษร สภานิติบัญญัติ หรือจารีตประเพณีที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรใด ๆ[1] สมบูรณาญาสิทธิราชย์มักปรากฏในรูปราชาธิปไตยแบบสืบตระกูล ตรงกันข้ามกับราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่อำนาจของประมุขแห่งรัฐมาจาก หรือถูกกฎหมายผูกมัดไว้กับ หรือถูกจำกัดไว้ด้วยรัฐธรรมนูญ สภานิติบัญญัติ หรือจารีตประเพณีที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร[2]

รัฐของโลกแบ่งตามระบอบการปกครอง1
     สาธารณรัฐที่ใช้ระบบประธานาธิบดี2      สาธารณรัฐที่ใช้ระบบกึ่งประธานาธิบดี2
     สาธารณรัฐที่มีประธานาธิบดีผู้ใช้อำนาจบริหารซึ่งมาจากการเลือกหรือเสนอชื่อจากสภานิติบัญญัติ      สาธารณรัฐระบบรัฐสภา2
     ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่ใช้ระบบรัฐสภา      ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่มีหัวหน้ารัฐบาลอีกคนหนึ่ง แต่กษัตริย์ยังมีพระราชอำนาจอยู่มาก
     สมบูรณาญาสิทธิราชย์      รัฐพรรคการเมืองเดียว
     ประเทศที่บทบัญญัติการปกครองตามรัฐธรรมนูญถูกระงับ (เช่น เผด็จการทหาร)      ประเทศที่อยู่นอกเหนือระบบข้างต้น (เช่น รัฐบาลชั่วคราว)
1 แผนที่นี้ประมวลขึ้นตามบทความ รายชื่อประเทศตามระบอบการปกครอง ดูแหล่งอ้างอิงในหน้านั้น
2 บางรัฐอาจมีคนนอกเรียกว่าเป็นรัฐอำนาจนิยม บทความนี้กล่าวถึงระบอบการปกครองโดยนิตินัยเท่านั้น

แนวคิดเรื่องสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่แพร่หลายอยู่ในยุโรปตกต่ำลงอย่างมากหลังเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามโลกครั้งที่หนึ่งซึ่งหนุนทฤษฎีการปกครองตามแนวคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน

ราชาธิปไตยบางแห่งมีสภานิติบัญญัติและหน่วยงานรัฐอื่น ๆ ซึ่งมีอำนาจน้อยหรือเป็นเพียงสัญลักษณ์ และพระมหากษัตริย์สามารถเปลี่ยนแปลงหรือยุบเลิกได้ตามพระราชอัธยาศัย ประเทศที่พระมหากษัตริย์ยังมีอำนาจเด็ดขาดอยู่ ได้แก่ บรูไน เอสวาตีนี โอมาน ซาอุดีอาระเบีย นครวาติกัน และรัฐเอมิเรตแต่ละรัฐที่ประกอบกันเป็นสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ซึ่งถือเป็นสหพันรัฐของรัฐราชาธิปไตยต่าง ๆ ดังกล่าว เรียกว่า ราชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐ[3][4][5][6][7][8][9]

รายชื่อประเทศที่ปกครองโดยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Nathanial Harris (2009). Systems of Government Monarchy. Evans Brothers. p. 10. ISBN 978-0-237-53932-0.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Harris2009
  3. Stephens, Michael (2013-01-07). "Qatar: regional backwater to global player". BBC News.
  4. "Q&A: Elections to Oman's Consultative Council". BBC News. 2011-10-13.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Cavendish78
  6. "Swaziland profile". BBC News. 2018-09-03.
  7. "State Departments". Vaticanstate.va. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-02. สืบค้นเมื่อ 2014-01-25.
  8. "Vatican to Emirates, monarchs keep the reins in modern world". The Times of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-16.
  9. "State Departments". www.vaticanstate.va. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-11. สืบค้นเมื่อ 2019-09-21.

บทอ่านเพิ่มเติม

แก้
  • Anderson, Perry. Lineages of the Absolutist State. London: Verso, 1974.
  • Beloff, Max. The Age of Absolutism From 1660 to 1815 (1961)
  • Blum, Jerome et al. The European World (vol 1 1970) pp 267–466
  • Kimmel, Michael S. Absolutism and Its Discontents: State and Society in Seventeenth-Century France and England. New Brunswick, NJ: Transaction Books, 1988.
  • Méttam, Roger. Power and Faction in Louis XIV's France. New York: Blackwell Publishers, 1988.
  • Miller, John (ed.). Absolutism in Seventeenth Century Europe. New York: Palgrave Macmillan, 1990.
  • Wilson, Peter H. Absolutism in Central Europe. New York: Routledge, 2000.
  • Zmohra, Hillay. Monarchy, Aristocracy, and the State in Europe - 1300-1800. New York: Routledge, 2001

ดูเพิ่ม

แก้