สินค้าฟุ่มเฟือย
สินค้าฟุ่มเฟือย (อังกฤษ: Luxury goods) ในทางเศรษฐกิจ หมายถึงสินค้าที่อุปสงค์สูงเกินกว่าอัตราส่วนของรายได้ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งตรงกันข้ามกับ “สินค้าจำเป็น” (necessity goods) ที่อุปสงค์เพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่ต่ำกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้น[1]
กล่าวกันว่า “สินค้าฟุ่มเฟือย” เป็นสิ่งที่มีความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ (Income elasticity of demand) สูง: เมื่อผู้คนมีฐานะร่ำรวยขึ้นก็จะซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยมากขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งก็หมายความว่าถ้ารายได้ตกความต้องการก็จะลดตามลงไปด้วย แต่ความสัมพันธ์ระหว่างความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้มิได้เป็นความสัมพันธ์ที่คงที่เมื่อเทียบกับรายได้ และอาจจะเปลี่ยนแปลงตามแต่ระดับของรายได้ ซึ่งหมายความว่า “สินค้าฟุ่มเฟือย” อาจจะกลายมาเป็น “สินค้าปกติ” (normal goods) หรือ “สินค้าด้อยคุณภาพ” (inferior goods) ขึ้นอยู่กับระดับของรายได้ ตัวอย่างเช่นผู้ที่มีฐานะดีหยุดซื้อรถยนต์ชั้นหรูสำหรับการสะสม และหันมาสะสมเครื่องบินแทนที่ ในกรณีนี้รถยนต์ชั้นหรูก็กลายมาเป็น “สินค้าด้อยคุณภาพ”
อ้างอิง
แก้- ↑ Varian, Hal (1992). "Choice". Microeconomic Analysis (Third ed.). New York: W.W. Norton. p. 117. ISBN 978-0-393-95735-8. สืบค้นเมื่อ 4 October 2019.
[...] as the consumer gets more income, he consumes more of both goods but proportionally more of one good (the luxury good) than of the other (the necessary good).