ภาษาลัซ
ภาษาลัซ (ลัซ: ლაზური ნენა, อักษรโรมัน: lazuri nena; จอร์เจีย: ლაზური ენა/ჭანური ენა, อักษรโรมัน: lazuri ena/ch'anuri ena) เป็นภาษากลุ่มคอเคซัสใต้ที่พูดโดยชาวลัซบริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลดำ[2] ใน ค.ศ. 2007 มีการประมาณว่ามีผู้พูดภาษานี้เป็นภาษาแม่ในประเทศตุรกีประมาณ 20,000 คนในพื้นที่ที่ยื่นจากเมลยัตจนถึงชายแดนจอร์เจีย (ก่อน ค.ศ. 1925 มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่าลาซิสถาน) และประมาณ 1,000 คนรอบ ๆ อาจาราในประเทศจอร์เจีย นอกจากนี้ยังมีผู้พูดภาษานี้เป็นภาษาแม่ในประเทศเยอรมนีประมาณ 1,000 คน[1]
ภาษาลัซ | |
---|---|
Lazuri, ლაზური | |
ประเทศที่มีการพูด | |
ชาติพันธุ์ | ชาวลัซ |
จำนวนผู้พูด | 22,000 คน (2007[1]) |
ตระกูลภาษา | คอเคซัสใต้
|
ระบบการเขียน | |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | lzz |
กลุ่มภาษาคอเคซัสใต้ | |
ภาษาลัซไม่ใช่ทั้งภาษาเขียนหรือภาษาวรรณกรรม ถึงแม้ว่าจะมีความพยายามเพียงใดก็ตาม เบ็นนิงเฮาส์รายงานว่าชาวลัซไม่มีความสนใจที่จะเขียนเป็นภาษาลัซ[3]
ประวัติ
แก้ภาษาลัซเป็นภาษาในกลุ่มคอเคซัสใต้ ใกล้เคียงกับภาษาเมเกรเลียและภาษาจอร์เจีย ชุมชนชาวลัซและชาวเมเกรเลียถูกแบ่งแยกออกจากกันด้วยเหตุผลทางศาสนาและการเมืองมาราว 500 ปี ภาษาของทั้งสองกลุ่มยังพอสื่อสารกันได้แต่เข้าใจกันได้น้อย ภาษาลัซและภาษาเมเกรเลียแยกออกจากภาษาจอร์เจียเมื่อราว 457 ปีก่อนพุทธศักราช นักภาษาศาสตร์บางคนกำหนดให้ภาษาก่อนจะแยกเป็นภาษาลัซและเมเกรเลียเรียกว่าภาษาซาน
ราชอาณาจักรโคลซัสซึ่งเป็นอาณาจักรโบราณที่ก่อตั้งในสมัยอิทธิพลของกรีซที่พบในบริเวณที่ชาวลัซอาศัยอยู่ในปัจจุบันอาจจะเป็นบรรพบุรุษของชาวลัซและพูดภาษาดั้งเดิมของภาษาลัซ ปัจจุบันนี้ชาวลัซส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของตุรกี ตามแนวชายฝั่งทะเลดำ มีชุมชนชาวลัซในอานาโตเลียตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งอพยพไปเมื่อเกิดสงครามตุรกี-รัสเซียเมื่อ พ.ศ. 2420–2421 มีชาวลัซในจอร์เจียจำนวนน้อย มีชาวลัซจำนวนเล็กน้อยที่อพยพไปจากตุรกีเมื่อราว พ.ศ. 2503
สถานะทางสังคมและวัฒนธรรม
แก้ภาษาลัซไม่มีสถานะเป็นภาษาราชการทั้งในตุรกีและจอร์เจีย และไม่มีระบบการเขียนที่เป็นมาตรฐาน ชาวลัซจะใช้ภาษาราชการในประเทศที่ตนอยู่เป็นภาษาที่สอง ในจอร์เจีย ภาษาลัซเขียนด้วยอักษรจอร์เจีย ส่วนในตุรกีเขียนด้วยอักษรละติน จำนวนผู้พูดภาษาลัซเริ่มลดลง
ภาษาลัซไม่ได้เป็นภาษาราชการทั้งในตุรกีและจอร์เจีย ไม่มีมาตรฐานในการเขียน ใช้เป็นภาษาในครอบครัวและการสื่อสารระหว่างคนกลุ่มเดียวกัน การใช้ทางธุรกิจ การศึกษาจะใช้ภาษาตุรกีหรือภาษาจอร์เจียขึ้นกับประเทศที่อาศัย ภาษาลัซเป็นภาษาที่มีลักษณะพิเศษสำหรับกลุ่มภาษาคอเคซัสใต้ที่ผู้พูดภาษานี้ส่วนใหญ่อยู่ในตุรกีมากกว่าจอร์เจีย เนื่องจากไม่มีภาษามาตรฐานระหว่างภาษาลัซสำเนียงต่างๆ ผู้พูดภาษานี้ที่มาจากต่างบริเวณกันจะสื่อสารด้วยภาษาตุรกี ระหว่าง พ.ศ. 2473–2481 ซาน (ลัซและเมเกรเลีย) เป็นเขตปกครองตนเองในจอร์เจียและใช้ภาษาซาน แต่ไม่มีการกำหนดภาษามาตรฐาน ความพยายามในการสร้างภาษาเขียนในซานล้มเหลว
ในตุรกี ภาษาลัซใช้เป็นภาษาเขียนตั้งแต่ พ.ศ. 2527 โดยใช้อักษรละตินแบบที่ใช้เขียนภาษาตุรกี แม้ว่าการใช้อักษรจอร์เจียจะเหมาะกับเสียงในภาษาลัซมากกว่า แต่เนื่องจากผู้พูดภาษานี้อยู่ในตุรกี การใช้อักษรจอร์เจียจึงเป็นไปได้ยาก ใน พ.ศ. 2534 มีการตีพิมพ์หนังสือชื่อ Nana-nena (ภาษาแม่) เสนอให้ชาวลัซใช้ทั้งอักษรละตินและอักษรจอร์เจีย พจนานุกรมภาษาลัซ-ตุรกีเล่มแรกตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2542
ผู้พูดภาษาลัซจะได้รับการศึกษาเป็นภาษาตุรกีหรือภาษาจอร์เจียทำให้พุดได้สองภาษา ภาษาตุรกีมีอิทธิพลต่อคำศัพท์ของภาษาลัซมาก การใช้ภาษาลัซส่วนใหญ่จะใช้ในครอบครัวทำให้คนรุ่นใหม่ไม่ได้ใช้ภาษาลัซอย่างเต็มที่ ใน พ.ศ. 2547 Mehmet Bekâroğlu หัวหน้าพรรคเฟลิซีตี (Felicity) ในตุรกีและเป็นผู้ใช้ภาษาลัซเป็นภาษาแม่ เสนอให้มีรายการวิทยุออกอากาศเป็นภาษาลัซ แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ
ลักษณะของภาษา
แก้ภาษาลัซเป็นภาษาที่มีพยัญชนะมากเช่นเดียวกับภาษากลุ่มคอเคซัสอื่นๆ มีสระเพียงห้าตัว (a, e, i, o, u) ผันคำนามด้วยปัจจัยแบบรูปคำติดต่อเพื่อแสดงหน้าที่ทางไวยากรณ์ (4 ถึง 7 การกขึ้นกับสำเนียง) และจำนวน (เอกพจน์หรือพหูพจน์) แต่ไม่ผันตามเพศ คำกริยาผันโดยใช้ปัจจัยตามบุคคล จำนวนและกาลรวมทั้งจุดมุ่งหมายและมาลา มีคำอุปสรรคสำหรับกริยามากกว่า 50 คำใช้แสดงการจัดเรียงและทิศทาง ปัจจัยสำหรับบุคคลและจำนวนขึ้นกับประธานเช่นเดียวกับกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ เช่น gimpulam = "ฉันซ่อนมันจากคุณ"
ไวยากรณ์
แก้ลักษณะทางไวยากรณ์ของภาษาลัซที่ต่างจากภาษาในกลุ่มเดียวกัน ได้แก่
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Laz". Ethnologue. สืบค้นเมื่อ 4 July 2022.
- ↑ E.J. Brill's First Encyclopaedia of Islam, 1913–1936, Volume 5, p. 21, ที่กูเกิล หนังสือ
- ↑ Benninghaus, Rüdiger (1989). "The Laz: Example of Multiple Identification". ใน Peter Alfred, Andrews; Benninghaus, Rüdiger (บ.ก.). Ethnic Groups in the Republic of Turkey. p. 498.
บรรณานุกรม
แก้- Grove, Timothy (2012). Materials for a Comprehensive History of the Caucasus, with an Emphasis on Greco-Roman Sources. A Star in the East: Materials for a Comprehensive History of the Caucasus, with an Emphasis on Greco-Roman sources (2012)
- Kojima, Gôichi (2003) Lazuri grameri Chiviyazıları, Kadıköy, İstanbul, ISBN 975-8663-55-0 (notes in English and Turkish)
- Nichols, Johanna (1998). The origin and dispersal of languages: Linguistic evidence. In N. G. Jablonski & L. C. Aiello (Eds.), The origin and diversification of language. San Francisco: California Academy of Sciences.
- Nichols, Johanna (2004). The origin of the Chechen and Ingush: A study in Alpine linguistic and ethnic geography. Anthropological Linguistics 46(2): 129-155.
- Tuite, Kevin. (1996). Highland Georgian paganism — archaism or innovation?: Review of Zurab K’ik’nadze. 1996. Kartuli mitologia, I. ǰvari da saq’mo. (Georgian mythology, I. The cross and his people [sic].). Annual of the Society for the Study of Caucasia 7: 79-91.