จักรวรรดิโรมันตะวันตก

จักรวรรดิโรมันตะวันตก (อังกฤษ: Western Roman Empire) หมายถึงครึ่งตะวันตกของจักรวรรดิโรมันหลังจากการแบ่งโดยไดโอคลีเชียนในปี ค.ศ. 285 อีกครึ่งหนึ่งเป็นจักรวรรดิโรมันตะวันออกที่ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์

จักรวรรดิโรมันตะวันตก

ค.ศ. 286–476/480b
เตรมิสซิสกำลังพรรณนาถึงจักรพรรดิยูลิอุส แนโปส (ค. 474 – 480)ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก
เตรมิสซิสกำลังพรรณนาถึงจักรพรรดิยูลิอุส แนโปส (ค. 474 – 480)
จักรวรรดิโรมันตะวันตกใน ค.ศ. 418 ภายหลังการละทิ้งบรีตานีอา และการตั้งถิ่นฐานของชาววิซิกอท, เบอร์กันดี และซูเวบี ภายในดินแดนจักรวรรดิในฐานะ โฟเอร์เดอร์ราตี
จักรวรรดิโรมันตะวันตกใน ค.ศ. 418 ภายหลังการละทิ้งบรีตานีอา และการตั้งถิ่นฐานของชาววิซิกอท, เบอร์กันดี และซูเวบี ภายในดินแดนจักรวรรดิในฐานะ โฟเอร์เดอร์ราตี
สถานะฝ่ายตะวันตกของจักรวรรดิโรมัน
a
เมืองหลวงเมดีโอลานูง
(ค.ศ. 286–402)[1]
ราเวนนา
(ค.ศ. 402–476)
ซาโลนา/สปาลัตตูงc
(ค.ศ. 475–480)
ภาษาทั่วไปละติน (official)
ภาษาในภูมิภาค / ท้องถิ่น
ศาสนา
พหุเทวนิยมที่นำโดยลัทธิจักรวรรดิ จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4
คริสตจักรไนซีน (คริสตจักรประจำรัฐ) หลัง ค.ศ. 380
การปกครองอัตตาธิปไตย
จักรพรรดิโรมัน 
• ค.ศ. 395–423
ฮอโนริอุส
• ค.ศ. 457–461
มาจอร์เรียน
• ค.ศ. 474–480
ยูลิอุส แนโปส
• ค.ศ. 475–476
โรมุลุส เอากุสตุส
สภานิติบัญญัติวุฒิสภาโรมัน
ยุคประวัติศาสตร์ปลายสมัยโบราณ
17 มกราคม ค.ศ. 395
4 กันยายน ค.ศ. 476
• การปลงพระชนม์จักรพรรดิยูลิอุส แนโปส
25 เมษายน ค.ศ. 480
พื้นที่
ค.ศ. 395[2]2,000,000 ตารางกิโลเมตร (770,000 ตารางไมล์)
สกุลเงินสกุลเงินโรมัน
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิโรมัน
จักรวรรดิโรมันตะวันออก
ราชอาณาจักรอิตาลี
ราชอาณาจักรวิซิกอท
ราชอาณาจักรแวนดัล
ราชอาณาจักรแฟรงก์
ราชอาณาจักรซูเวบิ
ราชอาณาจักรเบอร์กันเดีย
ราชอาณาจักรโรมัน
ราชอาณาจักรมูร์และโรมัน
อลาแมนเนีย
อาร์มอร์ริกา
บริเตนสมัยหลังโรมัน
  1. ^ Since the Western Roman Empire was not a distinct state separate from the Eastern Roman Empire, there was no particular official term that designated the Western provinces or their government, which was simply known at the time as the "Roman Empire". Terms such as Imperium Romanum Occidentale and Hesperium Imperium were either never in official usage or invented by later medieval or modern historians long after the Western Roman court had fallen. In the ancient era the Latin term often used was "S.P.Q.R." ("Senatus Populusque Romanus" ["Senate and People of Rome"] Latin) used in documents, on flags and banners and carved/engraved on buildings
  2. ^ Whilst the deposition of Emperor Romulus Augustulus in 476 is the most commonly cited end date for the Western Roman Empire, the last Western Roman emperor Julius Nepos, was assassinated in 480, when the title and notion of a separate Western Empire were abolished. Another suggested end date is the reorganization of the Italian peninsula and abolition of separate Western Roman administrative institutions under Emperor Justinian during the latter half of the 6th century.
  3. ^ The de jure last emperor, Julius Nepos, reigned for five years in exile from Salona/Spalatum in Dalmatia.[3][4][5]

โรมยุติความเป็นเมืองหลวงลงหลังจากการแบ่งแยก ในปี ค.ศ. 286 เมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันตะวันตกย้ายไปตั้งอยู่ที่เมดิโอลานัม (ปัจจุบันคือมิลาน) และย้ายอีกครั้งไปยังราเวนนาในปี ค.ศ. 402

หลังจากการแยกตัวแล้ว จักรวรรดิโรมันก็รุ่งเรืองอยู่เป็นช่วง ๆ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 5 หลังจากระบบการปกครองแบบของจักรพรรดิไดโอคลีเชียน และการรวมตัวโดยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 และจักรพรรดิจูเลียนเดอะอโพลเตท จักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 1 ทรงเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายที่ทรงปกครองจักรวรรดิโรมันที่รวมตัวกัน แต่หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระองค์ในปี ค.ศ. 395 จักรวรรดิโรมันก็แยกตัวกันอย่างเด็ดขาด จักรวรรดิโรมันตะวันตกสิ้นสุดลงเมื่อโรมิวลัส ออกัสตัสสละราชสมบัติโดยการบีบบังคับของโอเดเซอร์เมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 476 และอย่างเป็นทางการหลังจากการเสด็จสวรรคตของจักรพรรดิจูเลียส เนโพส (Julius Nepos) ในปี ค.ศ. 480

แม้ว่าจะได้รับการกู้คืนโดยจักรวรรดิโรมันตะวันออก จักรวรรดิโรมันตะวันตกก็มิได้ฟื้นตัวขึ้นอีก เมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสมัยประวัติศาสตร์ของยุโรปก็เข้าสู่สมัยต่อมาที่เรียกว่ายุคกลางหรือที่เรียกกันว่ายุคมืด อุดมการณ์และชื่อของจักรวรรดิโรมันตะวันตกได้รับการรื้อฟื้นมาใช้เป็นจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จนกระทั่งมาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1806

เบื้องหลัง

แก้

เมื่อสาธารณรัฐโรมันขยายตัวมาจนถึงจุดที่รัฐบาลกลางในกรุงโรมไม่สามารถปกครองดินแดนที่อยู่ไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะปัญหาในด้านการติดต่อและการคมนาคมเพราะระยะทางที่ไกลจากจุดหมายต่าง ๆ ภายในจักรวรรดิ ข่าวสารการรุกราน, การปฏิวัติ, ความหายนะทางธรรมชาติ หรือโรคระบาดใช้การสื่อสารทางเรือหรือโดยระบบการสื่อสารโรมัน (Cursus publicus) ที่ใช้เวลานานกว่าจะมาถึงกรุงโรม หรือคำสั่งจากโรมไปยังดินแดนต่าง ๆ ฉะนั้นข้าหลวงโรมัน (Roman Governor) ในจังหวัดอาณานิคมก็มักจะปกครองในนามของสาธารณรัฐโรมันโดยปริยาย

ก่อนหน้าที่จะตั้งตัวเป็นจักรวรรดิ ดินแดนของสาธารณรัฐโรมันเป็นการปกครองของระบบสามประมุขครั้งที่สอง (Second Triumvirate) ที่แบ่งระหว่างอ็อคเตเวียน, มาร์ค แอนโทนี และมาร์กุส ไอมิลิอุส แลปิดุส

มาร์ค แอนโทนีครอบครองจังหวัดทางตะวันออก: จังหวัดอาเคีย (Achaea), จังหวัดมาเซโดเนีย และ บริเวณเอพิรัส (ทางตอนเหนือของกรีซ), บิธิเนีย (Bithynia), พอนทัส (Pontus) และจังหวัดในเอเชียของโรมัน (ตุรกีปัจจุบัน), ซีเรีย, ไซปรัส, และไซเรนาอิคา (Cyrenaica) ดินแดนเหล่านี้เดิมพิชิตมาโดยอเล็กซานเดอร์มหาราช ฉะนั้นผู้ครอบครองบริเวณนั้นจึงมีเชื้อสายกรีก บริเวณทั้งหมดโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ รับวัฒนธรรมกรีกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมท้องถิ่น ภาษาที่ใช้จึงเป็นภาษาทางราชการ

 
สาธารณรัฐโรมัน ก่อนการพิชิตของอ็อคเตเวียน

อ็อคเตเวียนได้จังหวัดทางตะวันตก: จังหวัดโรมันอิตาเลีย (อิตาลีปัจจุบัน), กอล (ฝรั่งเศสปัจจุบัน), กาลเลียเบลจิคา (ส่วนหนึ่งของเบลเยียม, เนเธอร์แลนด์ และ ลักเซมเบิร์กปัจจุบัน) และ ฮิลปาเนีย (สเปนและโปรตุเกสปัจจุบัน) และรวมทั้งอาณานิคมกรีกและคาร์เธจในบริเวณริมฝั่งทะเล

แลปิดุสได้รับดินแดนในอาฟริกาประมาณทางตอนเหนือของตูนิเซีย แต่อ็อคเตเวียนยึดอาฟริกาจากแลปิดุส และเพิ่มอาณานิคมซิลิคา (ซิซิลีปัจจุบัน) เข้ามาอยู่ในอำนาจการปกครอง

เมื่อได้รับชัยชนะต่อมาร์ค แอนโทนีแล้ว อ็อคเตเวียนก็รวมดินแดนต่าง ๆ ก่อตั้งเป็นจักรวรรดิโรมัน แม้ว่าจักรวรรดิโรมันจะมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองหลายอย่างแต่กระนั้นก็ยังประสบกับกระบวนการการเป็นโรมัน (Romanization) ทางตะวันออกเป็นวัฒนธรรมกรีกที่มีอิทธิพล และทางตะวันตกวัฒนธรรมละตินซึ่งทั้งสองวัฒนธรรมก็อยู่คู่กันอย่างมีประสิทธิภาพในรูปของการปกครองอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งทางการเมืองและทางการทหาร

อ้างอิง

แก้
  1. Christie 1991, p. 236.
  2. Taagepera, p. 125.
  3. "Salona". World History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 2020-08-09.
  4. "Spalatum (Split) – Livius". www.livius.org. สืบค้นเมื่อ 2020-08-09.
  5. "Julius Nepos | Roman emperor". Encyclopedia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2020-08-09.

ดูเพิ่ม

แก้