บริเตนสมัยโรมัน
บริเตนสมัยโรมัน หรือ โรมันบริเตน หรือ บริตันนิอา (ละติน: Britannia) หมายถึงบริเวณเกาะอังกฤษส่วนที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันระหว่าง ค.ศ. 43 ถึง ค.ศ. 410 โรมันเรียกจังหวัดนี้ว่า “บริทานเนีย” (Britannia) หรือบริทานยา ก่อนที่โรมันจะเข้ามารุกรานบริเตนยุคเหล็กก็มีวัฒนธรรมและเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินใหญ่ยุโรปอยู่แล้ว แต่ผู้รุกรานก็ยังนำการการวิวัฒนาการใหม่ๆ ทางด้านการเกษตรกรรม, การจัดระบบเมือง (urbanization), การอุตสาหกรรม และสถาปัตยกรรมเข้ามาเผยแพร่และยังทิ้งร่องรอยให้เห็นจนถึงทุกวันนี้
มณฑลบริเตน Provincia Britannia (ละติน) | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
มณฑลของจักรวรรดิโรมัน | |||||||||
ค.ศ. 43 – ประมาณ ค.ศ. 410 | |||||||||
มณฑลบริเตนภายในจักรวรรดิโรมัน (ค.ศ. 125) | |||||||||
เมืองหลวง | คามูโลดูนุม ลอนดีนิอุม | ||||||||
ยุคทางประวัติศาสตร์ | สมัยคลาสสิก | ||||||||
• ถูกผนวกโดยจักรพรรดิคลอดิอุส | ค.ศ. 43 | ||||||||
• ตกยู่ในฝ่ายของจักรพรรดิแซเวรุส | ป. ค.ศ. 197 | ||||||||
• ตกอยู่ในฝ่ายของจักรพรรดิดิออเกลติอานุส | ประมาณ ค.ศ. 296 | ||||||||
ประมาณ ค.ศ. 410 | |||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ |
|
ประวัติศาสตร์หมู่เกาะอังกฤษ |
แบ่งตามลำดับเหตุการณ์
แบ่งตามประเทศ
แบ่งตามหัวเรื่อง
|
หลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการรุกรานเมื่อเริ่มแรกมีน้อย นักประวัติศาสตร์โรมันก็กล่าวถึงเพียงผ่านๆ ความรู้ส่วนใหญ่ของสมัยนี้มาจากหลักฐานทางโบราณคดีโดยเฉพาะจากหลักฐานที่สลักไว้บนหินหรือวัตถุอื่นๆ (epigraphic evidence)
ลำดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
แก้การติดต่อสมัยแรก
แก้บริเตนเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่ในสมัยกรีกโบราณ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราชเป็นต้นมากรีก, ฟินิเชีย และคาร์เธจก็มีการติดต่อค้าขายกับดีบุกกับคอร์นวอลล์:[1] ชาวกรีกเรียกบริเตนว่า “คาสซิเทอไรด์ส” (Cassiterides) หรือหมู่เกาะดีบุกและบรรยายว่าตั้งอยู่ราวทางฝั่งทะเลตะวันตกของยุโรป[2] กล่าวกันว่านักเดินเรือชาวคาร์เทจฮิมิลิโคได้เดินทางมายังเกาะอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช และนักสำรวจชาวกรีกไพเธียส (Pytheas) ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช แต่ถือกันว่าเป็นดินแดนที่ลึกลับและบ้างก็ไม่เชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีอยู่จริง[3]
การติดต่อกับโรมันโดยตรงเป็นการเดินทางมาสำรวจโดยจูเลียส ซีซาร์สองครั้งในปี 55 และอีกครั้งในปี 54 ก่อนคริสต์ศักราชซึ่งเป็นการเดินทางที่เลยมาหลังจากได้รับชัยชนะต่อกอล เพราะซีซาร์เชื่อว่าชาวบริเตนให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ต่อต้านชาวกอล การเดินทางมาสำรวจครั้งแรกเป็นการมาลาดตระเวณมากกว่าที่จะเป็นการรุกรานเต็มตัวโดยมาขึ้นฝั่งที่เค้นท์ แต่มาถูกพายุทำลายเรือไปบ้างและขาดทหารม้าทำให้ไม่สามารถไปได้ไกลกว่านั้น การสำรวจครั้งแรกเป็นความล้มเหลวทางทหารแต่เป็นความสำเร็จทางการเมือง ที่สภาเซเนตโรมัน (Roman Senate) ประกาศหยุดราชการ 20 วันเพื่อเป็นการฉลองความสำเร็จในการพบดินแดนใหม่ที่ไม่มีสิ่งใดเท่าเทียม[4]
การเดินทางมาครั้งที่สองเป็นการเดินทางมารุกราน ซีซาร์นำกองทหารมาเป็นจำนวนมากกว่าเดิม และได้ชวนเชิญชนเผ่าเคลติคหลายเผ่ามาเกลี้ยกล่อมให้มอบบรรณาการให้แก่โรมเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการคืนตัวประกันเพื่อความสงบ โรมันแต่งตั้งประมุขของเผ่าหนึ่งที่มาเป็นฝักฝ่ายกับโรมมานดูบราเซียส (Mandubracius) ให้เป็นผู้ปกครองและกำจัดคาสสิเวลลอนัส (Cassivellaunus) ผู้เป็นศัตรูของมานดูบราเซียส โรมันจับตัวประกันไปแต่นักประวัติศาสตร์ตกลงกันไม่ได้ว่าชาวบริเตนตกลงจ่ายบรรณาการหลังจากที่ซีซาร์กลับไปกอลพร้อมกับกองทัพหรือไม่[5]
การรุกรานครั้งนี้ซีซาร์ไม่ได้อาณาบริเวณใดใดกลับไปด้วยและก็มิได้ทิ้งกองทหารไว้ดูแลแต่ได้ก่อตั้ง “Cliens” ในบริเตนซึ่งทำให้เกาะอังกฤษกลายมาเป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลในทางการเมืองจากโรม ในปี 34, 27 และ 25 ก่อนคริสต์ศักราชออกัสตัส ซีซาร์วางแผนที่จะมารุกรานอังกฤษแต่สถานะการณ์ไม่อำนวย[6] ความสัมพันธ์ระหว่างบริเตนกับโรมจึงเป็นแต่เพียงความสัมพันธ์ทางการทูตและการค้าขาย สตราโบนักประวัติศาสตร์/ภูมิศาสตร์/ปรัชญาชาวกรีกบันทึกไว้ในปลายสมัยออกัสตัส ซีซาร์ว่ารายได้จากภาษีและการค้ากับบริเตนเป็นรายได้ที่มากกว่ารายได้ที่ได้จากการได้รับชัยชนะอื่นๆ ของโรมัน[7] ซึ่งสนับสนุนได้จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบสินค้าฟุ่มเฟือยทางตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษที่เพิ่มมากขึ้น[8] นอกจากนั้นสตราโบก็ยังกล่าวถึงพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษผู้ส่งทูตไปยังสำนักของออกัสตัส และบันทึกของออกัสตัสเอง “Res Gestae Divi Augusti” ที่กล่าวถึงกษัตริย์สองพระองค์ที่ออกัสตัสได้รับในฐานะผู้ลี้ภัย[9] ต่อมาใน ค.ศ. 16 เมื่อเรือบางลำของไทบีเรียสถูกพัดไปยังเกาะอังกฤษโดยพายุระหว่างการรณรงค์ในเจอร์มาเนียทหารโรมันก็ถูกส่งตัวกลับโดยผู้นำในท้องถิ่นในบริเตน ที่กลับไปเล่ากันถึงตำนานยักษ์ร้ายต่างๆ ที่พบที่นั่น[10]
โรมดูจะสนับสนุนการสร้างความสมดุลทางอำนาจทางใต้ของบริเตนโดยสนับสนุนราชอาณาจักรสองราชอาณาจักรที่มีอำนาจ คาทูเวลลอนิ (Catuvellauni) ที่ปกครองโดยผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากทาสซิโอวานัส (Tasciovanus) และอาเทรบาทีส (Atrebates) ที่ปกครองโดยผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากคอมเมียส (Commius)[11] นโยบายนี้ปฏิบัติติดต่อกันมาจนปี ค.ศ. 39 หรือ 40 เมื่อคาลิกูลา (Caligula) รับผู้ลี้ภัยจากคาทูเวลลอนิและวางแผนการรุกรานเกาะอังกฤษที่แตกแยกออกเป็นฝักเป็นฝ่าย[12] เมื่อคลอเดียสรุกรานอังกฤษสำเร็จในปี ค.ศ. 43 โดยได้รับความช่วยเหลือจากผู้ปกครองบริเตนคนหนึ่ง--เวอร์ติคาแห่งอาเทรบาทีส
การรุกรานของโรมัน
แก้กองทัพที่นำมารุกรานอังกฤษใน ค.ศ. 43 นำโดยออลัส พลอเทียส (Aulus Plautius)[13] แต่ไม่เป็นที่ทราบว่าโรมันส่งกองกำลังมาเป็นจำนวนเท่าใด นอกไปจาก “กองออกัสตาที่ 2” (Legio II Augusta) ที่นำโดยเวสเปเชียน (Vespasian) ผู้ต่อมาเป็นจักรพรรดิแห่งโรมที่กล่าวว่ามีส่วนร่วม[14] ส่วน “กองฮิสปานยาที่ 9” (Legio IX Hispana),[15] “กองเจมินาที่ 14” (Legio XIIII Gemina) และ “กองวาเลเรียเวทริกซ์ที่ 20” (Legio XX Valeria Victrix)[16] มีส่วนร่วมในปี ค.ศ. 60/61 ระหว่างการปฏิวัติบูดิคา (Boudica) ซึ่งอาจจะเป็นกองที่ประจำอยู่ที่นั่นมาตั้งแต่การรุกรานครั้งแรก แต่โดยทั่วไปแล้วกองทัพโรมันเป็นกองทัพที่มีความยืดหยุ่นในการโยกย้ายกองกำลังต่างๆ ไปยังที่ต่างๆ ในเวลาใดก็ได้แล้วแต่ความจำเป็น ซึ่งทำให้เป็นการยากที่จะสันนิษฐานโดยไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่ากองใดแน่ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ที่แน่ก็มีแต่ “กองฮิสปานยาที่ 9” (Legio IX Hispana) เท่านั้นที่ประจำการอยู่ในบริเตนจนถูกกำจัดโดยสกอต
การรุกรานมาช้าลงเพราะการแข็งข้อภายในของทหารจนเมื่อได้รับสัญญาว่าจะได้รับเสรีภาพถ้ายอมข้ามทะเลไปต่อสู้ในดินแดนที่ไม่คุ้นเคย การข้ามแบ่งเป็นสามหน่วยที่อาจจะขึ้นฝั่งที่ริชบะระห์ (Richborough) ในเค้นท์ แต่บางหลักฐานก็กล่าวว่าบางส่วนขึ้นทางฝั่งทะเลด้านใต้ในบริเวณฟิชบอร์นในเวสต์ซัสเซ็กซ์[17]
โรมันได้รับชัยชนะต่อคาทูเวลลอนิและพันธมิตรในยุทธการสองยุทธการๆ แรกยุทธการเม็ดเวย์ (Battle of the Medway) และยุทธการที่สองที่แม่น้ำเทมส์ โทโกดูมัส (Togodumnus) ผู้นำของคาทูเวลลอนิถูกสังหารแต่น้องชายคารัททาคัส (Caratacus) รอดมาต่อต้านที่อื่นต่อไป พลอเทียสหยุดยั้งอยู่ที่แม่น้ำเทมส์และส่งข่าวไปยังคลอเดียสผู้ตามมาพร้อมกับกองกำลังสนับสนุนที่รวมทั้งอาวุธและช้างเพื่อที่จะเดินทัพไปยังที่มั่นสุดท้ายที่เมืองหลวงคามุโลดูนัม (Camulodunum) (โคลเชสเตอร์ ในปัจจุบัน) เวสเปเชียนจึงปราบปรามทางตะวันตกเฉียงใต้ของบริเตนได้[18] หลังจากนั้นโรมก็แต่งตั้งให้ ไทบีเรียส คลอเดียส โคกิดูบนัส (Tiberius Claudius Cogidubnus) ผู้เป็นพันธมิตรกับโรมเป็นผู้ปกครองอาณาบริเวณหลายอาณาบริเวณ[19] และภายนอกบริเวณที่ปกครองโดยโรมันโดยตรงก็มีการลงนามในสนธิสัญญากับกลุ่มต่างๆ
เอาลุส เพลาติอุสได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงแห่งบริเตนยุคโรมันคนแรก
ในปี ค.ศ. 47 ชาวโรมันควบคุมบริเตนตั้งแต่แม่น้ำฮัมเบอร์ไปจนถึงปากแม่น้ำเซเวิร์น
ทว่าสงครามยังไม่จบ ชาวซิเลอร์ในเวลส์ตอนใต้กับชาวออร์โดไวส์ในเวลส์ตอนเหนือยังคงราวีชาวโรมันต่อไป การต่อสู้ระหว่างชนเผ่าชาวเวลส์กับชาวโรมันดำเนินไปอีกหลายปี
ขณะเดียวกันในปี ค.ศ. 60 ชนเผ่าไอซินิของอีสต์แองเกลียก่อกบฏ ตอนแรกชาวโรมันเคยยอมให้พวกเขามีกษัตริย์ต่อไปและมีเอกราชบางส่วน ทว่าในปี ค.ศ. 50 ชาวโรมันกำลังต่อสู้อยู่ในเวลส์และกลัวว่าชาวไอซินิอาจแทงข้างหลัง พวกเขาจึงสั่งให้ชาวไอซินิปลดอาวุธอันเป็นการกระตุ้นให้เกิดการก่อกบฏ ทว่าชาวโรมันบดขยี้กลุ่มกบฏได้อย่างง่ายดาย ในช่วงหลายปีต่อมาชาวโรมันสร้างความบาดหมางกับชาวไอซินิด้วยการเรียกเก็บภาษีอย่างขูดเลือดขูดเนื้อ และเมื่อกษัตริย์ของชาวไอซินิสิ้นพระชนม์ พระองค์ทิ้งราชอาณาจักรส่วนหนึ่งไว้ให้พระมเหสี บูดิกกา และอีกส่วนหนึ่งให้จักรพรรดิเนโร ทว่าไม่นานเนโรต้องการให้ราชอาณาจักรทั้งหมดเป็นของตน คนของพระองค์คุกคามชาวไอซินิด้วยอาวุธครบมือและกระตุ้นให้พวกเขาก่อกบฏ ในตอนนั้นกองทัพโรมันส่วนใหญ่กำลังต่อสู้อยู่ในเวลส์ กลุ่มกบฏจึงประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรก ภายใต้การนำของบูดิกกา ชาวเคลต์เผาโคลเชสเตอร์, เซนต์อัลบันส์ และลอนดอน ทว่าชาวโรมันรีบยกทัพมาจัดการกับพวกกบฏ ชาวโรมันมีวินัยมากกว่าและกลยุทธที่รัดกุมกว่าจึงได้ชัยชนะไป
หลังกลุ่มกบฏถูกบดขยี้ ชาวเคลต์ของบริเตนตอนใต้สงบลงและค่อยๆ ยอมรับการปกครองของโรมัน
จากนั้นในปี ค.ศ. 71–74 ชาวโรมันพิชิตสิ่งที่ตอนนี้คือตอนเหนือของอังกฤษ พวกเขาสร้างเมืองอันยิ่งใหญ่ที่ยอร์ก ชาวโรมันยังตั้งเมืองขึ้นมาที่คาร์ไลส์ล์ ในปี ค.ศ. 74–77 ชาวโรมันพิชิตเวลส์ตอนใต้ จากนั้นในปี ค.ศ. 77 อากริคอลาได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงแห่งบริเตน เขาพิชิตเวลส์ตอนเหนือเป็นที่แรก จากนั้นก็หันความสนใจไปหาสิ่งที่ตอนนี้คือสกอตแลนด์ ในปี ค.ศ. 81 ชาวโรมันยึดครองดินแดนตั้งแต่ไคลด์จนถึงฟอร์ธ ในปี ค.ศ. 82 พวกเขาเขยิบขึ้นไปทางเหนือ ในปี ค.ศ. 83 ชาวโรมันได้รับชัยชนะครั้งใหญ่ที่มอนส์เกราเพียส ทว่าในปี ค.ศ. 86 ชาวโรมันถอนทัพออกจากสกอตแลนด์
ในปี ค.ศ. 122–126 จักรพรรดิแฮเดรียนสร้างกำแพงขนาดใหญ่พาดผ่านชายแดนทางเหนือของโรมันเพื่อกันกลุ่มคนที่ชาวโรมันเรียกว่าชาวพิกต์ ทว่าภายใต้จักรพรรดิแอนโตนินุส ปิอุส ชาวโรมันบุกสกอตแลนด์อีกครั้ง ในปี ค.ศ. 142–143 พวกเขาปราบชาวพิกต์ได้ แล้วชาวโรมันก็สร้างกำแพงขึ้นมาป้องกันดินแดนที่พิชิตมาได้ ทว่ากำแพงที่เรียกกันว่ากำแพงแอนโตนินถูกทิ้งในปี ค.ศ. 163 กองทัพโรมันถอนทัพไปอยู่ที่กำแพงแฮเดรียน
กลางคริสต์ศตวรรษที่ 3 จักรวรรดิโรมันอยู่ในช่วงขาลง ในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 3 ชาวแซ็กซันจากเยอรมนีเริ่มรุกรานชายฝั่งตะวันออกของบริเตนยุคโรมัน ชาวโรมันสร้างป้อมปราการติดๆ กันตามแนวชายฝั่งที่พวกเขาเรียกกันว่าหาดแซ็กซัน ป้อมปราการถูกบัญชาการโดยตำแหน่งที่เรียกว่าเคานต์แห่งหาดแซ็กซันและพวกเขามีทั้งทหารราบและทหารม้า
ทว่าการรุกรานของชาวแซ็กซันในตอนแรกเป็นเพียงการลองเชิง บริเตนยุคโรมันจึงยังรักษาสันติสุขไว้ได้และเอาชนะได้อย่างต่อเนื่อง
ต่อมาในปี ค.ศ. 286 แม่ทัพชื่อคาราซิอุสยึดอำนาจในบริเตน ปกครองบริเตนในฐานะจักรพรรดิเป็นเวลา 7 ปีจนกระทั่งถูกแอลเลกตุส รัฐมนตรีด้านการเงินของตนลอบสังหาร แล้วแอลเลกตุสก็ปกครองบริเตนจนถึง ค.ศ. 296 เมื่อคอนสแตนติอุส จักรพรรดิของจักรวรรดิโรมันตะวันตกรุกราน บริเตนจึงกลับไปเป็นของโรมันอีกครั้ง
ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 จักรวรรดิโรมันในฝั่งตะวันตกเสื่อมถอยทางด้านเศรษฐกิจและทางด้านการเมืองอย่างหนัก ประชากรของเมืองลดลง ที่อาบน้ำสาธารณะและอัฒจรรย์ใช้งานไม่ได้
ในปี ค.ศ. 367 ชาวสกอตจากไอร์แลนด์เหนือ, ชาวพิกต์จากสกอตแลนด์ และชาวแซ็กซันร่วมมือกันบุกและปล้นชิงทรัพย์บริเตนยุคโรมัน กลุ่มดังกล่าวรุกล้ำกำแพงแฮเดรียนและสังหารเคานต์แห่งหาดแซ็กซัน ทว่าชาวโรมันส่งชายที่ชื่อว่าเธโอดอซิอุสมาพร้อมกับกำลังเสริมเพื่อกอบกู้
ในปี ค.ศ. 383 ทหารโรมันถูกถอนทัพออกจากบริเตน การรุกรานจึงยิ่งหนักข้อขึ้น
กองทหารโรมันกองสุดท้ายออกจากบริเตนไปในปี ค.ศ. 407 ในปี ค.ศ. 410 เหล่าผู้นำของชาวโรมาโนเคลต์ส่งสาส์นไปหาจักรพรรดิโรมันโฮโนริอุสเพื่อร้องขอความช่วยเหลือ ทว่าพระองค์ไม่มีกองทหารที่จะสำรองให้จึงบอกให้ชาวบริเตนปกป้องตนเอง
บริเตนยุคโรมันแตกออกเป็นหลายอาณาจักรแต่ชาวโรมาโนเคลต์ยังคงต่อสู้กับผู้รุกรานชาวแซ็กซันต่อไป
อารายธรรมโรมันค่อยๆ เสื่อมหายไป ในเมืองต่างๆ ผู้คนหยุดใช้เหรียญและกลับมาใช้การแลกเปลี่ยนสิ่งของ ประชากรของเมืองลดต่ำลง คนรวยถูกทิ้งให้พึ่งพาตนเองในที่ดินของตนเอง ช่างฝีมือย้ายไปอยู่นอกเมือง พื้นที่ว่างในกำแพงเมืองถูกใช้ปลูกพืชพรรณธัญญาหารมากขึ้นเรื่อยๆ เมืองแบบโรมันมีคนอาศัยอยู่จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 5 แล้วก็ถูกทิ้งร้าง แต่อาจไม่ได้กลายเป็นเมืองร้างทั้งหมดเสียทีเดียว มีไม่กี่เมืองที่ยังพอมีประชากรอาศัยอยู่ในที่ดินกสิกรรมในและนอกกำแพง ทว่าชีวิตแบบชาวเมืองจบสิ้นลง
ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 อารยธรรมโรมันในชานเมืองก็หายไป
อ้างอิง
แก้- ↑ George Patrick Welsh (1963), Britannia: the Roman Conquest and Occupation of Britain pp. 27-31
- ↑ Herodotus, Histories 3.115
- ↑ Plutarch, Life of Caesar 23.2
- ↑ Julius Caesar, Commentarii de Bello Gallico 4.20-36
- ↑ Julius Caesar, Commentarii de Bello Gallico 5.8-23
- ↑ Dio Cassius, Roman History 49.38, 53.22, 53.25
- ↑ Strabo, Geography 4.5
- ↑ Keith Branigan (1987), The Catuvellauni
- ↑ Augustus, Res Gestae Divi Augusti 32
- ↑ Tacitus, Annals 2.24
- ↑ John Creighton (2000), Coins and power in Late Iron Age Britain, Cambridge University Press
- ↑ Suetonius, Caligula 44-46; Dio Cassius, Roman History 59.25
- ↑ Cassius Dio, Roman History 60.19-22
- ↑ Tacitus, Histories 3.44
- ↑ Tacitus, Annals 14.32
- ↑ Tacitus, Annals 14.34
- ↑ For example, John Manley, AD 43: The Roman Invasion of Britain: a Reassessment, 2002.
- ↑ Suetonius, Vespasian 4
- ↑ Tacitus, Agricola (book)|Agricola 14
- ↑ 20.0 20.1 A HISTORY OF ROMAN BRITAIN By Tim Lambert (http://www.localhistories.org/roman.html เก็บถาวร 2018-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)