โรม

เมืองหลวงของประเทศอิตาลี
(เปลี่ยนทางจาก กรุงโรม)

โรม[3] (อังกฤษ: Rome) หรือชื่อในภาษาอิตาลีและละตินคือ โรมา[3] (อิตาลีและละติน: Roma [ˈroːma] ( ฟังเสียง)) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและนาโปลี

โรม

Roma
นครหลวงและเทศบาล
กรุงโรม - Roma Capitale
ตามเข็มจากบน: โคลอสเซียม, มหาวิหารนักบุญเปโตร, ปราสาทซันตันเจโล, สะพานซันตันเจโล, น้ำพุเตรวี และวิหารแพนธีอัน

ธง

ตราอาร์ม
สมญา: 
"อมตะนคร" - "Urbs Aeterna"
"ศูนย์กลางของโลก" - "Caput Mundi"
เขตเทศบาลกรุงโรม (สีแดง) ภายในเขตมหานครกรุงโรม (สีเหลือง) ส่วนสีขาวคือนครรัฐวาติกัน
เขตเทศบาลกรุงโรม (สีแดง) ภายในเขตมหานครกรุงโรม (สีเหลือง) ส่วนสีขาวคือนครรัฐวาติกัน
โรมตั้งอยู่ในประเทศอิตาลี
โรม
โรม
ที่ตั้งของกรุงโรมในประเทศอิตาลี
โรมตั้งอยู่ในยุโรป
โรม
โรม
ที่ตั้งของกรุงโรมในทวีปยุโรป
พิกัด: 41°53′N 12°30′E / 41.883°N 12.500°E / 41.883; 12.500
ประเทศอิตาลี
แคว้นลัตซีโย
ก่อตั้ง753 ปีก่อนคริสตกาล
ผู้ก่อตั้งกษัตริย์โรมุลุส
การปกครอง
 • ประเภทเขตเทศบาลชนิดพิเศษ
 • องค์กรสภากรุงโรม
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,285 ตร.กม. (496.3 ตร.ไมล์)
ความสูง21 เมตร (69 ฟุต)
ประชากร
 (30 เม.ย. 2018)
 • ความหนาแน่น2,236 คน/ตร.กม. (5,790 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเทศบาล2,879,728[1]
 • เขตมหานคร4,355,725[2]
เดมะนิมโรมาโน (บุรุษ), โรมานา (สตรี)
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
CAP code(s)00100; 00118 to 00199
รหัสพื้นที่06
เว็บไซต์"Roma Capitale - Sito Istituzionale". Comune di Roma. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2019.

โรมมักถูกเรียกว่าเมืองแห่งเนินเขาทั้งเจ็ดเนื่องจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และยังได้รับการขนานนามว่าเป็น "เมืองอันเป็นนิรันดร์" โดยทั่วไปแล้วโรมถือเป็นแหล่งกำเนิดของอารยธรรมตะวันตกและวัฒนธรรมคริสเตียนตะวันตก และเป็นศูนย์กลางของคริสตจักรคาทอลิก นอกจากนี้โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งนิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย

หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์[4] ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน

ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี[5] ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นแหล่งมรดกโลก[6] นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี)[7]

ที่มาของชื่อ

แก้

เรื่องราวของที่มาของชื่อ โรมา นั้น มีข้อสันนิษฐานอยู่มากมาย ข้อสันนิษฐานที่สำคัญได้แก่

  • มาจาก Rommylos (โรมุลุส) บุตรของอัสกานีอุส และเป็นผู้ก่อตั้งเมือง
  • มาจาก Rumon หรือ Rumen ชื่อในสมัยโบราณของแม่น้ำไทเบอร์ มีรากศัพท์เดียวกับคำว่า ῥέω (rhèo) ในภาษากรีกโบราณ และคำว่า ruo ในภาษาละติน ทั้งสองคำหมายถึง "กระแสน้ำไหล"
  • มาจากคำว่า ruma ในภาษาอิทรัสคัน มีรากศัพท์มาจากคำว่า *rum- หมายถึง "หัวนม" ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจอ้างอิงถึงหมาป่าที่เลี้ยงดูและให้นมสองพี่น้องแฝด โรมูลุสและเรมุส หรืออาจอ้างอิงถึงรูปร่างของเนินเขา Palatine และ Aventine
  • มาจากคำว่า ῤώμη (rhòme) ในภาษากรีกโบราณ หมายถึง ความแข็งแกร่ง

ประวัติศาสตร์

แก้
ดูบทความหลักที่ ประวัติศาสตร์โรม

โรมมีประวัติศาสตร์ยาวนานมากกว่า 2,800 ปี ตั้งอยู่บนเนินเขาทั้งเจ็ดริมฝั่งแม่น้ำไทเบอร์ตอนกลางของประเทศ โดยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรในอดีตมากมาย เช่น ราชอาณาจักรโรมัน สาธารณรัฐโรมัน และจักรวรรดิโรมัน โรมเคยเป็นเมืองที่มีบทบาทมากที่สุดของอารยธรรมตะวันตก และในอดีตได้เป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันได้เป็นเมืองหลวงของประเทศอิตาลีตั้งแต่ ค.ศ. 1870

ประวัติศาสตร์ตอนต้น

แก้

หลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าพื้นที่ที่เป็นโรมในปัจจุบัน มีมนุษย์เข้ามาตั้งถิ่นฐานอย่างน้อย 14,000 ปีมาแล้ว แต่มีชั้นเศษหินหนาที่อายุน้อยกว่านั้นมากปกคลุมชั้นผิวดินตั้งแต่ยุคหินเก่าและยุคหินใหม่[8] นอกจากนี้ หลักฐานของเครื่องมือหิน เครื่องปั้นดินเผา และอาวุธหิน ก็พิสูจน์ให้เห็นว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่ในพื้นที่อย่างน้อย 10,000 ปีมาแล้ว ซึ่งตำนานการก่อตั้งโรมที่เป็นที่รู้จักดีก็อาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดไปจากจุดเริ่มต้นของโรมที่แท้จริงและเกิดขึ้นมานานกว่าในตำนานมาก

ราชาธิปไตย สาธารณรัฐ และจักรวรรดิ

แก้
 
แมหมาป่ากาปิโตลินุส ให้นมทารกแฝดโรมุลุสและแรมุส

ประวัติศาสตร์ตอนต้นของโรมนั้นถูกเล่าขานในรูปของตำนาน ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า โรมก่อตั้งขึ้นได้โรมูลุส[9] เมื่อวันที่ 21 เมษายน 210 ปีก่อนพุทธกาล[10]

การปกครอง

แก้
 
ปาลัซโซเซนาโตรีโอ ศาลาเทศบาลโรม
 
19 เทศบาลในกรุงโรม

เมืองหลวงของอิตาลี

แก้

โรมเป็นเมืองหลวงของอิตาลี และเป็นที่ตั้งของทำเนียบรัฐบาลอิตาลี ทั้งที่พำนักของประธานาธิบดีสาธารณรัฐอิตาลีและนายกรัฐมนตรีอิตาลี อาคารรัฐสภาอิตาลี และศาลรัฐธรรมนูญอิตาลี ล้วนแต่ตั้งอยู่ในศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ ที่ทำการของกระทรวงต่างๆ ตั้งกระจายอยู่ทั่วเมือง รวมถึงกระทรวงการต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในปาลัซโซเดลลาฟาร์เนซีนาใกล้กับสนามกีฬาโอลิมปิก

เทศบาลเมือง

แก้

โรมจัดเป็นหนึ่งในหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น 8,101 หน่วยของอิตาลี และเป็นหน่วยที่ใหญ่ที่สุดทั้งในด้านพื้นที่และจำนวนประชากร บริหารโดยสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี โดย Gianni Alemann ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีคนปัจจุบัน สำนักงานเทศบาลคือ ปาลัซโซเซนาโตรีโอ บนเนินคาปิโตไลน์ โดยทั่วไปแล้วการปกครองส่วนท้องถิ่นในโรมจะถูกเรียกว่า "Campidoglio" ซึ่งเป็นชื่อเนินเขาในภาษาอิตาเลียน

รีโอนีของโรม

แก้
 
จัตุรัสนาโวนา[11]

โรมสามารถแบ่งออกเป็นพื้นที่ย่อยอีกประเภทหนึ่งที่ไม่ใช่การแบ่งเขตปกครอง โดยศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์จะแบ่งออกเป็นพื้นที่ย่อยที่เรียกว่า รีโอนี (rioni) โดยมีทั้งหมด 22 รีโอนี ซึ่งนอกจากรีโอนีปราตีและบอร์โกแล้ว รีโอนีอื่น ๆ ล้วนแต่อยู่ภายในกำแพงออเรเลียนทั้งสิ้น

จำนวนของรีโอนีมีการเปลี่ยนแปลงมาทุกยุคสมัย ตั้งแต่สมัยโรมโบราณ ยุคกลาง[12] จนถึงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2286 สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 14 ได้ทรงแบ่งพื้นที่ของรีโอนีอย่างเป็นระเบียบมากขึ้น

ในระยะแรกหลังจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 สิ้นอำนาจ การแบ่งพื้นที่ในโรมยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก จนกระทั่งโรมได้กลายเป็นเมืองหลวงของประเทศอิตาลีที่ถือกำเนิดขึ้นใหม่ ความจำเป็นในการก่อตั้งเมืองหลวงแห่งใหม่นี้ทำให้เกิดการพัฒนาให้เป็นเมืองครั้งใหญ่และมีประชากรเพิ่มมากขึ้นทั้งในพื้นที่ภายในและภายนอกกำแพงออเรเลียน ใน พ.ศ. 2417 ได้มีการก่อตั้งรีโอนีเอสกวีลีโนขึ้นโดยแยกออกจากรีโอนีมอนตี ทำให้ในขณะนั้นมีรีโอนีทั้งหมด 15 พื้นที่ หลังจากเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 20 บางรีโอนีก็ได้แบ่งตัวออกและพื้นที่บางส่วนนอกกำแพงออเรเลียนก็เริ่มถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเมือง

ใน พ.ศ. 2464 จำนวนรีโอนีเพิ่มขึ้นเป็น 22 พื้นที่ โดยปราตีเป็นรีโอนีล่าสุดที่ก่อตั้งขึ้น และเป็นเพียงรีโอนีเดียวที่อยู่นอกกำแพงเมือง

รายชื่อของรีโอนีทั้งหมดในยุคใหม่ มีดังต่อไปนี้

ภูมิศาสตร์

แก้

ที่ตั้ง

แก้

โรมตั้งอยู่ในแคว้นลัตซีโยทางตอนกลางของอิตาลี ริมฝั่งแม่น้ำไทเบอร์ นิคมแรกเริ่มตั้งขึ้นบนเนินเขาที่หันหน้าไปทางบริเวณน้ำตื้นด้านข้างเกาะไทเบอร์ ซึ่งเป็นบริเวณน้ำตื้นตามธรรมชาติเพียงแห่งเดียวตามลำน้ำในพื้นที่นี้ Rome of the Kings สร้างขึ้นบนเนินเขาเจ็ดแห่ง ได้แก่ เนินเขา Aventine เนินเขา Caelian เนินเขา Capitoline เนินเขา Esquiline เนินเขา Palatine เนินเขา Quirinal และเนินเขา Viminal นอกจากนี้ โรมในยุคใหม่ยังมีพื้นที่พาดผ่านแม่น้ำอานีเอเน ที่บรรจบกับแม่น้ำไทเบอร์บริเวณทางเหนือของศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์

แม้ว่าใจกลางเมืองจะอยู่ห่างจากทะเลติร์เรเนียนประมาณ 24 กิโลเมตร แต่อาณาเขตของเมืองก็ขยายออกไปจนถึงชายฝั่ง ซึ่งเป็นที่ตั้งของย่าน Ostia พื้นที่ตอนกลางของโรมมีระดับความสูงแตกต่างกันตั้งแต่ 13 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล (ที่ฐานของแพนธีออน) ไปจนถึง 139 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล (ที่ยอดเนินมอนเตมารีโอ)[13] เขตการปกครองส่วนท้องถิ่นของโรมครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,285 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีพื้นที่สีเขียวอยู่หลายแห่ง

ภูมิอากาศ

แก้
ข้อมูลภูมิอากาศของโรม-ท่าอากาศยานชีอัมปีโน ใกล้ใจกลางเมือง (พ.ศ. 2504–2533)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 11.8
(53.2)
13.0
(55.4)
15.2
(59.4)
18.1
(64.6)
22.9
(73.2)
27.0
(80.6)
30.4
(86.7)
30.3
(86.5)
26.8
(80.2)
21.8
(71.2)
16.3
(61.3)
12.6
(54.7)
20.5
(68.9)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 7.3
(45.1)
8.3
(46.9)
10.1
(50.2)
12.8
(55)
17.0
(62.6)
20.9
(69.6)
23.9
(75)
23.9
(75)
20.8
(69.4)
16.3
(61.3)
11.6
(52.9)
8.3
(46.9)
15.3
(59.5)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 2.7
(36.9)
3.5
(38.3)
5.0
(41)
7.5
(45.5)
11.1
(52)
14.7
(58.5)
17.4
(63.3)
17.5
(63.5)
14.8
(58.6)
10.8
(51.4)
6.8
(44.2)
3.9
(39)
10.0
(50)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 102.6
(4.039)
98.5
(3.878)
67.5
(2.657)
65.4
(2.575)
48.2
(1.898)
34.4
(1.354)
22.9
(0.902)
32.8
(1.291)
68.1
(2.681)
93.7
(3.689)
129.6
(5.102)
111.0
(4.37)
874.7
(34.437)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 9.0 8.8 8.7 8.7 5.8 4.4 2.2 3.2 5.6 7.6 10.9 9.6 84.5
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 120.9 132.8 167.4 201.0 263.5 285.0 331.7 297.6 237.0 195.3 129.0 111.6 2,472.8
แหล่งที่มา: Italiano della Meteorologia[14]

ประชากร

แก้
 
มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ ถ่ายภาพจากแม่น้ำไทเบอร์ โดมอันมีชื่อเสียงมองเห็นได้แก่ไกลจากในโรม

ประชากรเกือบทั้งหมดของโรมพูดภาษาโรมาเนสโก (สำเนียงเฉพาะถิ่นของภาษาอิตาเลียน) ในชีวิตประจำวันและในสถานการณ์ที่ไม่เป็นทางการ แต่เชื่อกันว่าทุกคนสามารถพูดภาษาอิตาเลียนมาตรฐานที่ใช้ในสถานการณ์ที่เป็นทางการมากขึ้นได้

ปี จำนวนประชากร
350 BC 30,000
250 BC 150,000
44 BC 1,000,000
120 1,000,000
330 800,000
410 700–800,000
530 90–150,000
650 70,000
1000 20,000
1400 20,000
1526 50,000–60,000
1528 20,000
ปี จำนวนประชากร
1600 100,000
1750 156,000
1800 163,000
1820 139,900
1850 175,000
1853 175,800
1858 182,600
1861 194,500
1871 212,432
1881 273,952
1901 422,411
1911 518,917
ปี จำนวนประชากร
1921 660,235
1931 930,926
1936 1,150,589
1951 1,651,754
1961 2,188,160
1971 2,781,993
1981 2,840,259
1991 2,775,250
2001 2,663,182
2009 2,726,927
 
แผนที่ของโรมสมัยโบราณตอนปลาย
 
Via Napoleone III ถนนสายหลักใน Chinatown หนึ่งในย่านสำคัญของผู้ย้ายถิ่นชาวจีนในอิตาลี เช่นเดียวกับ Chinatown ในมิลานและปราโต

ใน พ.ศ. 2550 ประชากรที่อาศัยอยู่ในโรมมีทั้งหมด 2,718,768 คน (ในพื้นที่มหานครโรมมีราว 4 ล้านคน) ในจำนวนนี้เป็นเพศชายร้อยละ 47.2 และเพศหญิงร้อยละ 52.8 เป็นผู้เยาว์ (อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี) ร้อยละ 17 และเป็นผู้รับบำนาญร้อยละ 20.76 เทียบกับค่าเฉลี่ยของชาวอิตาเลียนทั้งประเทศซึ่งเป็นผู้เยาว์ร้อยละ 18.06 และเป็นผู้รับบำนาญร้อยละ 19.94 อายุเฉลี่ยของประชากรในโรมอยู่ที่ 43 ปี เทียบกับค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศซึ่งอยู่ที่ 42 ปี ในระหว่าง พ.ศ. 2545–2550 ประชากรในโรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.54 ขณะที่ทั้งประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.56[16] อัตราการเกิดของประชากรในโรมอยู่ที่ 9.10 คนต่อประชากร 1,000 คน เทียบกับทั้งประเทศซึ่งอยู่ที่ 9.45 คน

กลุ่มชาติพันธุ์

แก้

จากสถิติล่าสุดที่รวบรวมโดย ISTAT[17] ในโรมมีประชากรที่ไม่ใช่ชาวอิตาเลียนอยู่ราวร้อยละ 9.5 ของประชากรทั้งหมด กลุ่มของผู้ย้ายถิ่นเข้านั้นประกอบด้วยชาวยุโรปสัญชาติอื่นๆ (ส่วนใหญ่เป็นชาวโรมาเนีย โปแลนด์ ยูเครน และแอลบาเนีย) จำนวน 131,118 คน หรือร้อยละ 4.7 ของประชากรทั้งหมดและเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ย้ายถิ่นเข้าทั้งหมด อีกร้อยละ 4.8 เป็นผู้ย้ายถิ่นที่ไม่ใช่ชาวยุโรป ส่วนใหญ่เป็นชาวฟิลิปปินส์จำนวน 26,933 คน บังกลาเทศ 12,154 คน เปรู 10,530 คน จีน 10,283 คน และสัญชาติอื่น 

ย่านเอสกวิลีโน นอกสถานีรถไฟแตร์มินี ได้พัฒนาเป็นย่านผู้ย้ายถิ่นเข้าขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันเป็นย่าน Chinatown ของโรม แต่ความจริงแล้วเป็นชุมชนของผู้ย้ายถิ่นจากกว่าหนึ่งร้อยประเทศ เนื่องจากเป็นย่านการค้าที่เฟื่องฟู จึงเป็นที่ตั้งของภัตตาคารจำนวนมากที่ให้บริการอาหารหลากหลายเชื้อชาติ

สถานที่สำคัญ

แก้
 
แพนธีออน
 
มหาวิหารเซนต์พอลนอกกำแพง
 
พระราชวังควีรีนาเล
 
โรมันฟอรัม ด้านหลังคือเนินกาปีโตลีเน

สถาปัตยกรรม

แก้

โรมโบราณ

แก้

หนึ่งในสัญลักษณ์ของโรมคือ โคลอสเซียม ซึ่งเป็นทวีอัฒจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสร้างมาในจักรวรรดิโรมัน เดิมทีนั้นมีที่นั่งที่จุผู้ชมได้ 60,000 คน ใช้เป็นสถานที่จัดการประลองของนักต่อสู้ โบราณสถานอื่นๆ ตั้งแต่สมัยโรมโบราณได้แก่ จัตุรัสโรมัน, Domus Aurea, แพนธีออน, เสาตรายานุส, Trajan's Market, สุสานใต้ดิน, กีร์กุสมักซิมุส, Baths of Caracalla, Castel Sant'Angelo, Mausoleum of Augustus, Ara Pacis, ประตูชัยคอนสแตนติน, Pyramid of Cestius และบอกกาเดลลาเวรีตะ

ยุคกลาง

แก้

โรมเป็นเมืองที่มีโบราณสถานจากยุคกลางอยู่มากที่สุดเมืองหนึ่งในอิตาลี แต่โบราณสถานเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป ตัวอย่างของโบสถ์จากยุค Paleochristian ได้แก่ มหาวิหารซานตามาเรียมายอเร และมหาวิหารเซนต์พอลนอกกำแพง (สร้างใหม่ครั้งใหญ่เมื่อศตวรรษที่ 19) ทั้งสองแห่งมีงานโมเสกอันทรงคุณค่าจากสมัยศตวรรษที่ 4 งานโมเสกและภาพปูนเปียกที่มีชื่อเสียงในยุคกลางช่วงถัดมาอยู่ที่โบสถ์ซันตามาเรียอินตรัสเตเวเร ซันตีกวัตโตโคโรนาตี และซันตาปรัสเซเด สิ่งก่อสร้างอื่นๆ ในยุคกลางได้แก่หอคอยต่างๆ โดยหอคอยสองแห่งที่ใหญ่ที่สุดคือ ตอร์เรเดลเลมีลีซีเอ และตอร์เรเดย์กอนตี ทั้งสองแห่งอยู่ถัดจากจัตุรัสโรมัน นอกจากนี้ บันไดขนาดใหญ่ที่ทอดสู่โบสถ์ซันตามาเรียอินอาราโกเอลีก็สร้างขึ้นในยุคกลางเช่นกัน

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและบาโรก

แก้
 
เปียซซาเดลกัมปีโดกลีโอ ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

โรมเคยเป็นศูนย์กลางในด้านศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของโลก โดยเป็นรองเพียงฟลอเรนซ์เท่านั้น ผลงานสถาปัตยกรรมอันยอดเยี่ยมจากสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาคือ เปียซซาเดลกัมปีโดกลีโอ โดยไมเคิลแองเจโล ในยุคสมัยนี้ ตระกูลชนชั้นสูงในโรมหลายตระกูลได้สร้างที่อยู่อาศัยอันมั่งคั่งไว้ เช่น พระราชวัง Quirinal (ปัจจุบันเป็นที่ทำการของประธานาธิบดีสาธารณรัฐอิตาลี) พระราชวังเวเนเซีย พระราชวังฟาร์เนเซ พระราชวังบาร์เบรีนี พระราชวังกีจี (ปัจจุบันเป็นที่ทำการของนายกรัฐมนตรีอิตาลี) พระราชวังสปาดา ปาลัซโซเดลลากันเชลเลเรีย และวิลลาฟาร์เนซีนา

จัตุรัสหลายแห่งในโรมถูกสร้างขึ้นด้วยศิลปะแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบาโรก โดยจัตุรัสที่มีพื้นที่กว้างใหญ่และตกแต่งอย่างหรูหราโออ่ามักจะประดับด้วยเสาโอเบลิสก์ ตัวอย่างของจัตุรัสที่สร้างขึ้นในสมัยนี้ได้แก่ จัตุรัสนาโวนา บันไดสเปน Campo de' Fiore จัตุรัสเวเนเซีย จัตุรัสฟาร์เนเซ เปียซซาเดลลาโรทอนดา และเปียซซาเดลลามีแนร์วา หนึ่งในตัวอย่างของผลงานศิลปะบารอกที่ดีที่สุดคือ น้ำพุเตรวี สร้างโดยนีโกลา ซัลวี พระราชวังแบบบารอกในศตวรรษที่ 17 แห่งอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงได้แก่ พระราชวังมาดามา ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวุฒิสภาอิตาลี และพระราชวังมอนเตชีโตรีโอ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ Chamber of Deputies of Italy

ลัทธิคลาสสิกใหม่

แก้
 
ปีอัซซาเดลโปโปโล สถาปัตยกรรมแบบคลาสสิกใหม่
 
อนุสาวรีย์พระเจ้าวิกเตอร์ เอมมานูเอลที่สอง

ใน พ.ศ. 2413 โรมได้รับการสถาปนาเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรอิตาลีที่ถือกำเนิดขึ้นใหม่ ในยุคสมัยดังกล่าว รูปแบบการก่อสร้างแบบคลาสสิกใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมสมัยโบราณ ได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมากต่อสถาปัตยกรรมในโรม อาคารแบบคลาสสิกใหม่หลายแห่งถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ตั้งของกระทรวง สถานเอกอัครราชทูต และหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐ สัญลักษณ์ของลัทธิคลาสสิกใหม่ในโรมที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งคือ อนุสาวรีย์พระเจ้าวิกเตอร์ เอมมานูเอลที่สอง หรือ "แท่นบูชาแห่งปิตุภูมิ" ซึ่งเป็นที่ตั้งของสุสานทหารนิรนามที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงชาวอิตาเลียน 650,000 คนที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่สอง

สถาปัตยกรรมฟาสซิสต์

แก้

ระบอบฟาสซิสต์ที่มีอำนาจในอิตาลีระหว่าง พ.ศ. 2465–2486 ได้พัฒนารูปแบบสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมโรมันโบราณ พื้นที่ของสถาปัตยกรรมแบบฟาสซิสต์ที่สำคัญที่สุดในโรม คือ E.U.R. ออกแบบเมื่อ พ.ศ. 2481 โดยมาร์เชลโล เปียเชนตีนี แรกเริ่มนั้นตั้งใจให้เป็นสถานที่จัดงาน 1942 World Exhibition และถูกเรียกว่า "E.42" ("เอสโปซีซีโอเน 42") แต่งานดังกล่าวก็ไม่ได้ถูกจัดขึ้นเนื่องจากอิตาลีเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองใน พ.ศ. 2483 ตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดของอาคารแบบฟาสซิสต์ใน E.U.R. คือ ปาลัซโซเดลลาชีวิลตะอีตาเลียนา (2481–2486) ซึ่งมีรูปทรงเป็นลูกบาศก์หรือโคลอสเซียมแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส

น้ำพุและลำรางส่งน้ำ

แก้
 
น้ำพุเทรวี
 
ฟอนตานาเดลลักกวาปาโอลา

โรมมีชื่อเสียงจากน้ำพุหลายแห่งที่ตั้งอยู่ในตัวเมือง ซึ่งถูกสร้างขึ้นด้วยศิลปะแบบต่าง ๆ กัน ทั้งแบบคลาสสิก ยุคกลาง บาโรก ไปจนถึงคลาสสิกใหม่ น้ำพุในโรมริเริ่มสร้างมาตั้งแต่เมื่อราวสองพันปีก่อน โดยใช้สำหรับแจกจ่ายน้ำดื่มและเพื่อประดับตกแต่งจัตุรัสต่าง ๆ ในยุคสมัยของจักรวรรดิโรมัน ราว พ.ศ. 632 บันทึกของ Sextus Julius Frontinus กงสุลโรมันผู้ได้รับขนานนามว่า curator aquarum หรือผู้พิทักษ์น้ำแห่งนคร ได้กล่าวไว้ว่า โรมมีลำรางส่งน้ำอยู่เก้ารางสำหรับแจกจ่ายน้ำให้น้ำพุ 39 แห่งและแหล่งน้ำสาธารณะอีก 591 แห่ง โดยไม่นับรวมน้ำที่ส่งไปยังพระราชวัง โรงอาบน้ำ และบ้านพักส่วนตัว น้ำพุที่สำคัญแต่ละแห่งจะเชื่อมต่อกับลำรางส่งน้ำแห่งละสองราง เพื่อสำรองไว้ในกรณีที่รางใดรางหนึ่งหยุดแจกจ่ายน้ำ[18] ในระหว่างศตวรรษที่ 17–18 เหล่าพระสันตะปาปาที่ดำรงตำแหน่งในช่วงเวลาดังกล่าวได้ทรงบูรณะลำรางส่งน้ำสมัยโรมันที่ทรุดโทรม และสร้างน้ำพุใหม่เพื่อประกาศอาณาเขตแห่งอำนาจ จึงถือว่าช่วงเวลาดังกล่าวเป็นยุคทองแห่งน้ำพุในโรม น้ำพุในโรมสะท้อนให้เห็นศิลปะบาโรกในรูปแบบใหม่เช่นเดียวกับภาพวาดของรูเบนส์ โดยประดับไปด้วยองค์ประกอบในเชิงอุปมาที่เต็มไปด้วยอารมณ์และการเคลื่อนไหว สำหรับน้ำพุเหล่านี้ รูปสลักได้กลายเป็นองค์ประกอบหลัก และน้ำถูกใช้เพื่อทำให้รูปสลักดูเสมือนมีชีวิตและสวยงามมากขึ้น นอกจากนี้ น้ำพุเหล่านี้ยังคล้ายกับสวนแบบบาโรกในด้านของการเป็น "สัญลักษณ์แห่งความเชื่อมั่นและอำนาจ"[19]

เสา

แก้
 
เสาตรายานุส ในภาษาอิตาลี เป็นเสาสมัยโรมันโบราณ
 
เสาโอเบลิสก์ "โซลาเร" ในปีอัซซามอนเตชีโตริโอ

ในโรมมีเสาโอเบลิสก์สมัยอียิปต์โบราณแปดต้น และสมัยโรมันโบราณห้าต้น นอกจากนี้ยังมีเสาโอเบลิสก์ยุคใหม่อีกจำนวนหนึ่ง และยังเคยมีเสาโอเบลิสก์สมัยเอธิโอเปียโบราณตั้งอยู่อีกด้วย[20] เสาโอเบลิสก์บางต้นตั้งอยู่ในจัตุรัส เช่น จัตุรัสนาโวนา จัตุรัสเซนต์ปีเตอร์ จัตุรัสมอนเตชีโตรีโอ ปีอัซซาเดลโปโปโล และบางต้นตั้งอยู่ในบ้านพัก โรงอาบน้ำ และสวน เช่นในวิลลาเชลีมอนตานา Baths of Diocletian และ Pincian Hill นอกจากนี้ ในตัวเมืองยังเป็นที่ตั้งของเสาตรายานุสและ Antonine Column ซึ่งเป็นเสาสมัยโรมันโบราณ

สะพาน

แก้

ในตัวเมืองโรมมีสะพานที่มีชื่อเสียงหลายแห่งทอดข้ามแม่น้ำไทเบอร์ ตัวอย่างเช่น สะพานเชสตีโอ สะพานมิลวีโอ สะพานโนเมนตาโน สะพานซันตันเจโล สะพานวิกเตอร์ เอมมานูเอลที่สอง สะพานซิสโต และปอนเตเดอีกวัตโตรคาปี ปัจจุบันมีสะพานสมัยโรมันโบราณทั้งหมดห้าแห่งที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในโรม[21] สะพานในพื้นที่สาธารณะส่วนใหญ่ในโรมสร้างขึ้นด้วยศิลปะแบบคลาสสิกหรือแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา แต่ก็มีบางส่วนที่สร้างขึ้นด้วยศิลปะแบบบารอก คลาสสิกใหม่ หรือนวศิลป์ ตามข้อมูลในสารานุกรมบริแทนนิกา สะพานโบราณที่จัดว่างดงามที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ในโรม คือ สะพานซันตันเจโล ซึ่งสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 678 ต่อมาได้ประดับด้วยรูปสลักเทวทูตสิบรูปที่ออกแบบโดยจานลอเรนโซ เบร์นินี เมื่อ พ.ศ. 2231[22]

 
สะพานซันตันเจโล ทอดตัวสู่กัสเตลซันตันเจโล
 
สะพานวิกเตอร์ เอมมานูเอลที่สอง

สุสานใต้ดิน

แก้

โรมมีสุสานโบราณใต้ดินอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งข้างใต้ตัวเมืองและใกล้ตัวเมือง โดยมีอยู่อย่างน้อยสี่สิบแห่ง และบางแห่งเพิ่งค้นพบเมื่อไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา สุสานที่มีชื่อเสียงมักจะเป็นสุสานของคริสต์ศาสนิกชน แต่ก็มีสุสานของชาวเพเกินและชาวยิวอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจเป็นสุสานที่แยกต่างหากจากกัน หรือฝังอยู่รวมกันก็ได้ สุสานใต้ดินขนาดใหญ่แห่งแรกถูกขุดขึ้นเมื่อราวศตวรรษที่ 2 แรกเริ่มนั้นสุสานเหล่านี้จะสลักเข้าไปในหินเถ้าภูเขาไฟที่ไม่แข็งนัก โดยจะขุดไว้นอกเขตเมืองเนื่องจากกฎหมายสมัยโรมันห้ามไม่ให้สร้างสิ่งก่อสร้างใต้ดินภายในเขตเมือง ปัจจุบันการบำรุงรักษาสุสานใต้ดินเป็นพระกรณียกิจของพระสันตะปาปา

เศรษฐกิจ

แก้

ประชากรในเขตของโรมผลิตจีดีพีได้ประมาณ 6.7% ของจีดีพีรวมทั้งประเทศ (97 พันล้านยูโร) อุตสาหกรรมหลักของโรมคือการท่องเที่ยว นอกจากนี้โรมยังเป็นศูนย์กลางการธนาคาร การพิมพ์ การประกันภัย และแฟชั่น

การศึกษา

แก้

มหาวิทยาลัย

แก้

วัฒนธรรม

แก้

ความบันเทิงศิลปะการแสดงและการท่องเที่ยว

แก้
 
จัตุรัสโรมัน โบราณสถานของโรม
 
ภาพปูนเปียกการพิพากษาครั้งสุดท้ายของมีเกลันเจโล ในโบสถ์น้อยซิสทีน
ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์แห่งกรุงโรม ทรัพย์สินและดินแดนของนครรัฐวาติกันเหนือสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และซานเปาโลฟูโอรี เล มูรา *
   แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
 
ประเทศ  อิตาลี และ   นครรัฐวาติกัน
ภูมิภาค **ยุโรปและอเมริกาเหนือ
ประเภทวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณาi, ii, iii, iv, vi
อ้างอิง91
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2523 (คณะกรรมการสมัยที่ 4)
เพิ่มเติม2533
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

โรมเป็นศูนย์กลางหลักด้านการวิจัยทางโบราณคดีแห่งหนึ่งของโลก มีสถาบันด้านวัฒนธรรมและการวิจัยตั้งอยู่หลายแห่ง เช่น American Academy in Rome[24] The Swedish Institute at Rome[25] นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานตั้งอยู่มากมาย เช่น โรมันฟอรัม Trajan's Market Trajan's Forum[26] โคลอสเซียม แพนธีออน โดยเฉพาะโคลอสเซียมที่จัดว่าเป็นโบราณสถานที่โดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งในโรม และยังจัดเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลก[27][28]

สื่อ

แก้

หนังสือพิมพ์ นิตยสาร สถานีวิทยุและโทรทัศน์ที่มีสำนักงานอยู่ในโรม มีดังต่อไปนี้

หนังสือพิมพ์ นิตยสาร โทรทัศน์ วิทยุ

กีฬา

แก้

โรมได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1960 และเป็นตัวแทนในการแข่งขันจัดการแข่งขัน โอลิมปิกฤดูร้อน 2016 กีฬาที่นิยมเล่นมากสุดคือฟุตบอลเช่นเดียวกับเมืองอื่นในประเทศ โดยมีสตาดีโอโอลิมปีโกเป็นสนามฟุตบอลประจำเมืองที่ได้เป็นสนามแข่งขัน ฟุตบอลโลก 1990 และเป็นสนามเหย้าของ สโมสรกีฬาโรมาและสโมสรกีฬาลัตซีโย นอกจากฟุตบอลแล้ว รักบี้เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น โดยมีสตาดีโอฟลามีนีโอเป็นสนามรักบี้สำหรับรักบี้ทีมชาติของอิตาลี ซึ่งได้เข้าร่วมการแข่งขันระดับชาติตั้งแต่ ค.ศ. 2000 โดยมีทีมที่มีชื่อเสียงคือ ยูนีโอเนรักบี้คาปีโตลีนา รักบี้โรมา และสโมสรกีฬาลัตซีโย การแข่งขันจักรยานเริ่มเป็นที่นิยมภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โรมได้เป็นสถานที่จัดการแข่งขัน จีโรดีตาเลีย สองครั้งในปี ค.ศ. 1989 และ 2000 ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ จะมีการแข่งขันมาราธอนประจำปี นอกจากนี้โรมยังมีทีมกีฬาอาชีพที่เป็นที่รู้จักหลายอย่างเช่น พาลลาคาเนโตรเวร์ตุสโรมา (บาสเกสตบอล) สโมสรกีฬาลัตซีโย (แฮนด์บอล) โรมาวอลเลย์ เวอร์ตุสโรมา และ ลีเนอาเมดีกาชีรัมโรมา (วอลเลย์บอล) และ สโมสรกีฬาโรมา และสโมสรกีฬาลัตซีโย (โปโลน้ำ)

แฟชั่น

แก้
 
นางแบบกำลังเดินบนแคชวอร์ค ในงานเปิดตัวแฟชั่นโชว์ที่ Via Venetoปี 2004

โรมได้รับการยอมรับเป็นวงกว้างในฐานะเมืองหลวงด้านแฟชั่นของโลก ตามข้อมูลจาก 2009 Global Language Monitor นั้น แม้ว่าโรมจะไม่ได้มีความสำคัญด้านแฟชั่นมากเท่ามิลาน แต่ก็เป็นศูนย์กลางด้านแฟชั่นที่มีความสำคัญมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก รองจากมิลาน นิวยอร์ก และปารีส และจัดว่าเหนือกว่าลอนดอน[29]

องค์การและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

แก้
 
สำนักงานใหญ่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติในโรม

โรมเป็นเมืองเดียวในโลกที่มีรัฐเอกราชตั้งอยู่ภายในอาณาเขตของเมือง คือ นครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนแทรกของโรม และอยู่ภายใต้อธิปไตยในฝ่ายบริหารสูงสุดแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก ในโรมเป็นที่ตั้งของสถานเอกอัครราชทูตทั้งสำหรับอิตาลีและนครรัฐวาติกัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วเอกอัครราชทูตคนเดียวกันจะถูกส่งมาประจำสำหรับทั้งสองรัฐ

โรมยังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานระหว่างประเทศของสหประชาชาติ เช่น โครงการอาหารโลก (WFP) องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และกองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม (IFAD)

โรมมีส่วนร่วมในกระบวนการบูรณาการทางการเมืองของยุโรปมาเป็นเวลานานแล้ว ใน พ.ศ. 2500 โรมเป็นสถานที่จัดการลงนามในสนธิสัญญากรุงโรมเพื่อก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (ต่อมาคือสหภาพยุโรป) และยังเป็นสถานที่จัดการลงนามรับรองธรรมนูญสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2547

เมืองแฝด เมืองพี่น้อง

แก้
 
รูปหล่อโลหะเรือใบบนเสาโรมัน มอบให้โดยชาวเมืองปารีสในปี พ.ศ. 2499 ใกล้กับโรงอาบน้ำสาธารณะดิโอเกลเซียโน

เมืองแฝดของโรมเพียงเมืองเดียวมาตั้งแต่ พ.ศ. 2499 คือ

  •   ปารีส ฝรั่งเศส* (Seule Paris est digne de Rome; seule Rome est digne de Paris / Solo Parigi è degna di Roma; Solo Roma è degna di Parigi / "มีเพียงปารีสที่มีค่าควรแก่โรม มีเพียงโรมที่มีค่าควรแก่ปารีส").[30][31][32]

เมืองพี่น้องและ Partner cities ของโรม ได้แก่

อ้างอิง

แก้
  1. "Statistiche demografiche ISTAT". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 กรกฎาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2018.
  2. "Bilancio demografico Anno 2014 (dati provvisori). Provincia: Roma". Demo.istat.it. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2015.
  3. 3.0 3.1 ราชกิจจานุเบกษา. "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง". เล่มที่ 139 ตอนพิเศษ 205 ง. 1 กันยายน 2565.
  4. "Rome, city, Italy". Columbia Encyclopedia (6th ed.). 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-20. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.
  5. Bremner, Caroline (12 ธันวาคม 2008). "Euromonitor International's Top City Destinations Ranking". Euromonitor International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มกราคม 2010. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2010.
  6. "Historic Centre of Rome, the Properties of the Holy See in that City Enjoying Extraterritorial Rights and San Paolo Fuori le Mura". UNESCO World Heritage Center. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2008.
  7. "Itv News | The 50 Most Visited Places in The World". Itvnews.tv. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 ตุลาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2009.
  8. Heiken, G.; Funiciello, R; De Rita, D. (2005). The Seven Hills of Rome: A Geological Tour of the Eternal City. Princeton University Press.
  9. Livy, Ab Urbe Condita I, 7
  10. "Rome: Pre-20th-Century History". Lonely Planet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 ตุลาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2008.
  11. "University of Oregon". Nolli.uoregon.edu. 25 กันยายน 2006. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2010.
  12. "Romeartlover.it". Romeartlover.it. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2010.
  13. Ravaglioli, Armando (1997). Roma anno 2750 ab Urbe condita (ภาษาอิตาลี). Rome: Tascabili Economici Newton. ISBN 88-818-3670-X.
  14. "Visualizzazione tabella CLINO della stazione / CLINO Averages Listed for the station Roma Ciampino". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 ธันวาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2010.
  15. "Tabelle climatiche 1971–2000 della stazione meteorologica di Roma-Urbe Ponente dall'Atlante Climatico 1971–2000" (PDF). Servizio Meteorologico dell'Aeronautica Militare. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 May 2012.
  16. "Statistiche demografiche ISTAT". Demo.istat.it. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 เมษายน 2009. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2010.
  17. "Vista per singola area". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มิถุนายน 2013.
  18. Frontin, Les Aqueducs de la ville de Rome, translation and commentary by Pierre Grimal, Société d'édition Les Belles Lettres, Paris, 1944.
  19. Italian Gardens, a Cultural History, Helen Attlee. Francis Lincoln Limited, London 2006.
  20. "Chasing Obelisks in Rome". Initaly.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2010. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2010.
  21. "The Bridges of Ancient Rome". Citrag.it. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 มกราคม 2010. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2010.
  22. "Sant'Angelo Bridge". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2010.
  23. Nella sede romana sono presenti le facoltà di medicina e di economia.
  24. "AIRC-HC Program in Archaeology, Classics, and Mediterranean Culture". Romanculture.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มีนาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2010.
  25. "Isvroma.it". Isvroma.it. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กรกฎาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2010.
  26. James E. Packer (มกราคม–กุมภาพันธ์ 1998). "Trajan's Glorious Forum". Archaeology. Archaeological Institute of America. 51 (1). สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2010.
  27. I H Evans (reviser), Brewer's Dictionary of Phrase and Fable (Centenary edition Fourth impression (corrected); London: Cassell, 1975), page 1163
  28. Francis Trevelyan Miller, Woodrow Wilson, William Howard Taft, Theodore Roosevelt. America, the Land We Love (1915), page 201 Google Books Search
  29. "The Global Language Monitor » Fashion". Languagemonitor.com. 20 กรกฎาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2009.
  30. "Twinning with Rome". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กันยายน 2012. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2010.
  31. "Les pactes d'amitié et de coopération". Mairie de Paris. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มกราคม 2010. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2007.
  32. "International relations: special partners". Mairie de Paris. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 ธันวาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2007.
  33. "Sister Cities". Beijing Municipal Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มกราคม 2010. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2009.
  34. "Le jumelage avec Rome" (ภาษาฝรั่งเศส). Municipalité de Paris. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 ธันวาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2008.
  35. "Mapa Mundi de las ciudades hermanadas". Ayuntamiento de Madrid. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2009.
  36. "NYC's Sister Cities". Sister City Program of the City of New York. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 พฤษภาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2008.
  37. "Twinning Cities: International Relations" (PDF). Municipality of Tirana. www.tirana.gov.al. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2008. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2009.
  38. Twinning Cities: International Relations. Municipality of Tirana. www.tirana.gov.al. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2008.
  39. "Cooperation Internationale" (ภาษาฝรั่งเศส). © 2003–2009 City of Tunis Portal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 พฤษภาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2009.
  40. Jaffery, Owais (9 มิถุนายน 2011). "Sister cities: Multan celebrates Italy's national day". The Express Tribune. Pakistan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2021. สืบค้นเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้