มาราธอน (อังกฤษ: Marathon) คือการแข่งขันวิ่งระยะยาว ในระยะอย่างเป็นทางการคือ 42.195 กิโลเมตร (26 ไมล์และ 385 หลา) โดยมักจะวิ่งแข่งกันบนถนน โดยการแข่งวิ่งนี้มีที่มาจากนายทหารชาวกรีกผู้ส่งข่าวที่ชื่อว่า ฟิดิปปิเดซ ที่ต้องวิ่งในการรบจากเมืองมาราธอนไปยังเอเธนส์ แต่ตำนานบอกเล่านี้ก็ยังคงเป็นข้อสงสัยอยู่[1] ซึ่งขัดแย้งกับการบันทึกของเฮโรโดตุส เป็นส่วนใหญ่[2]

การแข่งขันวิ่งมาราธอนในเบอร์ลิน ค.ศ. 2007

การแข่งขันวิ่งมาราธอนเป็นหนึ่งในกีฬาการแข่งขันโอลิมปิกสมัยใหม่ ในปี ค.ศ. 1896 ระยะทางการวิ่งยังไม่เป็นมาตรฐาน จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1921

ในแต่ละปีมีจะมีการจัดการแข่งขันวิ่งมาราธอนมากกว่า 500 รายการ ถือเป็นการแข่งขันในเวลาว่างของนักกีฬา ซึ่งบางรายการอาจมีผู้เข้าร่วมจำนวนไม่มาก ในขณะที่รายการแข่งขันมาราธอนใหญ่ ๆ จะมีผู้ร่วมเข้าร่วมถึงหมื่นคน[3]

ประวัติ

แก้

จุดกำเนิด

แก้

คำว่า"มาราธอน"มาจากตำนานของPheidippides , ผู้ส่งข่าวสารชาวกรีก ตำนานกล่าวว่าเขาถูกส่งจากสนามรบในเมืองมาราธอนไปเอเธนส์เพื่อที่จะประกาศพวกเปอร์เซียได้พ่ายแพ้ในการต่อสู้ที่เมืองมาราธอน (หลังจากเพิ่งรบเสร็จ)[4]]ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในเดือนสิงหาคมหรือกันยายน, 490 BC[5] มันเป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่เขาวิ่งมาตลอดทั้งทางโดยไม่หยุดพักและเมื่อถึงเมืองเอเธนส์เขาก็ได้ร้องตะโกนคำว่า " νενικηκαμεν ' ( nenikekamen ) "(" เราwοn ") ก่อนที่จะล้มลงและตาย[6] บันทึกในเรื่องของการวิ่งจาก มาราธอนไปเอเธนส์ ปรากฏครั้งแรกใน Plutarch's On the Glory of Athens ในศตวรรษที่ 1 ซึ่งได้อ้างคำพูดจาก Heraclides Ponticus's lost work, ได้บอกชื่อของนักวิ่งคือ Thersipus of Erchius หรือ Eucles[7] Lucian of Samosata (ศตวรรษที่ 2 AD) ก็ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ แต่ชื่อของของนักวิ่งคือ Philippides (ไม่ใช่ Pheidippides)[8]

มีข้อถกเถียงกันเกี่ยวกับความถูกต้องทางประวัติศาสตร์ของตำนานนี้[1][9] นักประวัติศาสตร์กรีก Herodotus (แหล่งข้อมูลหลักเกี่ยวกับสงครามกรีกเปอร์เซีย) อ้างว่า Pheidippides เป็นผู้ส่งสารที่วิ่งจากกรุงเอเธนส์ไปสปาร์ตาเพื่อขอความช่วยเหลือ แล้ววิ่งกลับเป็นระยะทางไปกลับรอบละกว่า 240 กิโลเมตร (150 ไมล์)[10]ในบางต้นฉบับ Herodotus บอกว่าชื่อของนักวิ่งที่วิ่งระหว่างกรุงเอเธนส์และสปาร์ตาได้รับก็คือ Philippides โดยไม่เอ่ยถึงการถึงเรื่องผู้ส่งสารจาก Marathon ไปยังเอเธนส์ แต่กล่าวถึงตอนสำคัญเกี่ยวกับกองทัพชาวเอเธนส์ว่า ได้รับชัยชนะจากการต่อสู้ที่ยากลำบากและกังวลว่าอาจจะมีการโจมตีโดยกองเรือของเปอร์เซียกับกองทัพของชาวเอเธนส์ที่กำลังหมดแรงลง,จึงรีบทำการเดินทัพกลับมายังเมืองเอเธนส์, โดยเดินทางกลับมาถึงเมืองในวันเดียวกัน

ในปี 1879 โรเบิร์ตบราวนิ่งเขียนบทกวีที่ชื่อว่า Pheidippides บทกวีของบราวนิ่งเป็นบทกวีที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงที่เรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมกำลังเป็นที่นิยม และบทกวีของเขาก็ได้รับการยอมรับในฐานะตำนานประวัติศาสตร์ฉบับหนึ่ง[ต้องการอ้างอิง]

ภูเขา Penteli ตั้งอยู่ระหว่างเมืองมาราธอนและเอเธนส์ซึ่งหมายความว่า ถ้า Pheidippides ได้ทำการวิ่งดังกล่าวจริงหลังจากการต่อสู้ เขาจะต้องวิ่งไปรอบ ๆ ภูเขา ไม่ว่าจะทางทิศเหนือหรือทิศใต้ ซึ่งเส้นทางดังกล่าวเกือบจะเหมือนพอดีกับ เส้นทางหลวงที่เชื่อมระหว่างเมืองมาราธอนทางกับเมืองเอเธนส์ในปัจจุบัน เส้นทางนี้ทอดยาวจากพื้นที่บริเวณทางทิศใต้จากอ่าว Marathon เลียบไปตามแนวชายฝั่งแล้วเลี้ยวจากทิศทางตะวันตกไปยังทางทิศตะวันออกเพื่อไปยังเมืองเอเธนส์ โดยขึ้นจากเชิงเขาระหว่าง Mounts Hymettus และ Penteli แล้วลงไปยังเมืองเอเธนส์ เส้นทางนี้มีระยะทาง ประมาณ 40 กิโลเมตร (25 ไมล์) (เส้นทางนี้ยังคงมีอยู่เมื่อการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคได้ถูกจัดขึ้นมาในปี 1896) และเป็นระยะทางต้นกำเนิดที่ใช้สำหรับการแข่งขันวิ่งมาราธอน อย่างไรก็ตามมีการตั้งข้อสังเกตว่า Pheidippides อาจจะใช้เส้นทางอื่นคือ วิ่งขึ้นลงไปตามเนินเขาทางทิศตะวันตกตามแนวทิศตะวันออกและทางตอนเหนือของภูเขา Penteli ผ่าน Dionysos และจากนั้นตรงไปทางทิศใต้ ตามเส้นทางลงเขาไปยังเมืองเอเธนส์ แม้ว่าเส้นทางนี้จะสั้นกว่าคือ 35 กิโลเมตร (22 ไมล์) แต่ต้องวิ่งไปตามทางสูงชันมากมากกว่า 5 กิโลเมตร (3.1 ไมล์)

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Prologue: The Legend". Marathonguide.com. สืบค้นเมื่อ 2009-08-22.
  2. "Andy Milroy, Did Pheidippides run a marathon?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-25. สืบค้นเมื่อ 2010-08-22.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-24. สืบค้นเมื่อ 2010-08-22.
  4. "Retreats — Athens". Jeffgalloway.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-01. สืบค้นเมื่อ 22 August 2009.
  5. The Moon and the Marathon[ลิงก์เสีย], Sky & Telescope. Skytonight.com (19 July 2004). Retrieved on 18 April 2013.
  6. "Ancient Olympics FAQ 10". Perseus.tufts.edu. สืบค้นเมื่อ 22 August 2009.
  7. Moralia 347C
  8. A slip of the tongue in Salutation, Chapter 3
  9. Holland, Tom (2007) Persian Fire, Knopf Doubleday Publishing Group, ISBN 0307386988.
  10. "The Great Marathon Myth". Coolrunning.co.nz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-28. สืบค้นเมื่อ 22 August 2009.