มหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง
มหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง[1] (อิตาลี: Basilica di San Paolo fuori le Mura; อังกฤษ: Basilica of St Paul Outside the Walls/St Paul-without-the-Walls) เป็นหนึ่งในสี่มหาวิหารเอกหรือมหาวิหารสันตะปาปา[2] อีกสามแห่งที่เหลือ ได้แก่ มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร และมหาวิหารนักบุญเปโตร
มหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง | |
---|---|
Papal Basilica of Saint Paul Outside the Walls | |
ด้านหน้ามหาวิหาร | |
41°51′31″N 12°28′38″E / 41.85861°N 12.47722°E | |
ที่ตั้ง | Piazzale San Paolo, โรม |
ประเทศ | อิตาลี |
นิกาย | โรมันคาทอลิก |
จารีต | คริสตจักรละติน |
เว็บไซต์ | Basillica of Saint Paul Outside the Walls |
ประวัติ | |
สถานะ | มหาวิหารเอกของพระสันตะปาปา |
อุทิศแก่ | เปาโลอัครทูต |
เสกเมื่อ | ศตวรรษที่ 4 |
สถาปัตยกรรม | |
สถาปนิก | Luigi Poletti (บูรณะ) |
ประเภทสถาปัตย์ | โบสถ์คริสต์ |
รูปแบบสถาปัตย์ | ฟื้นฟูคลาสสิก |
งานฐานราก | ศตวรรษที่ 4 |
แล้วเสร็จ | ค.ศ. 1840 |
โครงสร้าง | |
อาคารยาว | 150 เมตร (490 ฟุต) |
อาคารกว้าง | 80 เมตร (260 ฟุต) |
เนฟกว้าง | 30 เมตร (98 ฟุต) |
ความสูงอาคาร | 73 เมตร (240 ฟุต) |
การปกครอง | |
มุขมณฑล | โรม |
นักบวช | |
หัวหน้าบาทหลวง | James Michael Harvey |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | Historic Centre of Rome, the Properties of the Holy See in that City Enjoying Extraterritorial Rights and San Paolo Fuori le Mura |
ประเภท | วัฒนธรรม |
เกณฑ์ | i, ii, iii, iv, vi |
ขึ้นเมื่อ | 1980 (4th session) |
เลขอ้างอิง | 91 |
State Party | อิตาลีและสันตะสำนัก |
Region | ยุโรปแลอเมริกาเหนือ |
ประวัติ
แก้จักรพรรดิคอนแสตนตินที่ 1 โปรดให้สร้างมหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพงขึ้น ณ จุดที่เชื่อกันว่าเป็นที่ฝังศพของนักบุญเปาโลอัครทูตหลังจากที่ถูกตัดศีรษะ สาวกของท่านก็สร้างอนุสรณ์ที่เรียกว่า “cella memoriae” เหนือที่ฝังศพนั้น อนุสรณ์นี้ถูกขยับขยายในรัชสมัยจักรพรรดิวาเลนติเนียนที่ 1
ที่ฝังศพของนักบุญเปาโล
แก้จดหมายเหตุของอารามคณะเบเนดิกตินที่ติดกับมหาวิหารกล่าวถึงการเสริมสร้างว่าได้พบโลงหินอ่อนบนโลงเป็นแผ่นหินสองแผ่นที่สลักด้วยคำว่า “Paulo Apostolo Mart (yri) ” ซึ่งแปลว่า “แด่เปาโลอัครทูตและมรณสักขี” แต่การพบนี้มิได้บันทึกไว้เป็นหลักฐานเช่นการพบโลงหินอื่น ๆ ในสมัยเดียวกัน [3]
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 2006 ทางสำนักวาติกันกล่าวว่านักโบราณคดีของสำนักขุดพบโลงหินภายใต้แท่นบูชาที่มหาวิหารนักบุญเปาโล ที่เชื่อว่ามีศพของนักบุญเปาโลอยู่ภายใน[4] เมื่อวันที 11 ธันวาคม ค.ศ. 2006 ทางสำนักวาติกันก็มีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ[5] ถึงรายละเอียดของการขุดค้น ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 จนถึงวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 2006 ซึ่งเป็นผลมาจากการที่นักแสวงบุญแสดงความไม่พึงพอใจที่ไม่สามารถเยี่ยมชมและจับต้องที่ฝังศพของท่านอัครทูตในมหาวิหารนักบุญเปาโลได้เมื่อปี ค.ศ. 2000 [6] การตรวจดูว่าจะมีซากของนักบุญเปาโลอยู่ภายในโลงจริงหรือไม่ยังไม่เป็นที่ตกลงกัน ความจริงแล้วโลงหินที่พบก็ยังมิได้เคลื่อนย้ายไปจากที่ที่พบ ฉะนั้นจึงเห็นเพียงด้านแคบด้านเดียว[7]
ส่วนโค้งทำด้วยอิฐที่แสดงว่าเป็นมุขตะวันออกของมหาวิหารที่จักรพรรดิคอนสแตนตินสร้างอยู่ทางตะวันตกของโลงหินพบไม่นานหลังจากนั้น แสดงให้เห็นว่าทางเข้ามหาวิหารแต่เดิมอยู่ทางตะวันออกเหมือนกับมหาวิหารนักบุญเปโตร มหาวิหารใหญ่กว่าที่สร้างเมื่อ ค.ศ. 386 บนมหาวิหารเดิมมี Via Ostiense อยู่ทางตะวันออกและขยายออกไปทางตะวันตกทางแม่น้ำไทเบอร์ทำให้การวางตัวมหาวิหารผิดไปจากการวางไว้เดิมมาก
อ้างอิง
แก้- ↑ "พิธีมิสซา ณ มหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-21. สืบค้นเมื่อ 2012-01-20.
- ↑ Basilicas (มหาวิหาร)
- ↑ Asia News: Saint Paul’s sarcophagus found (เอเชียนิวส์: พบโลงหินนักบุญเปาโล)
- ↑ Catholic News Agency: "St Paul burial place confirmed" เก็บถาวร 2009-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (สำนักข่าวคาทอลิก: ยืนยันที่ฝังนักบุญเปาโล)
- ↑ "Communiqué about the press conference (การแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-01-26.
- ↑ Associated Press: Have St. Paul’s remains been unearthed? (ขุดพบซากของนักบุญเปาโลหรือยัง?)
- ↑ Christian Fraser, St Paul's tomb unearthed in Rome, BBC News, 7 December 2006 (พบโลงนักบุญเปาโลที่โรม โดยคริสเตียน เฟรเซอร์ BBC News)
ข้อมูลเพิ่มเติม
แก้สมุดภาพ
แก้-
ทางเดินกลางภายในมหาวิหารเป็นทรงบาซิลิการายด้วยซุ้มโค้งสองด้านและมุขตะวันออกตกแต่งด้วยโมเสก
-
โมเสกตกแต่งภายใต้มุขตะวันออก
-
ภายใน
-
ซุ้มบริเวณคริสต์ศาสนพิธี