หลักข้อเชื่อไนซีน

หลักข้อเชื่อไนซีน[1] (อังกฤษ: Nicene Creed; ละติน: Symbolum Nicaenum) คือการประกาศศรัทธาและหลักข้อเชื่อที่ถูกใช้มากที่สุดในพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์ และเป็นบรรทัดฐานความเชื่อในคริสต์ศาสนากระแสหลักในปัจจุบัน

จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 และเหล่ามุขนายกสมาชิกสภาสังคายนาถือคำประกาศหลักข้อเชื่อไนซีน

แม้หลักข้อเชื่อฉบับนี้จะถูกเรียบเรียงขึ้นโดยสภาสังคายนาคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่หนึ่งเมื่อปี ค.ศ. 381 แต่ก็เรียกว่า "ไนซีน" เพราะถือว่าได้ข้อสรุปความเชื่อกันมาจากสภาสังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่งในปี ค.ศ. 325 นิกายในศาสนาคริสต์ที่ยึดถือหลักข้อเชื่อนี้ได้แก่โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ แองกลิคันคอมมิวเนียน และหลาย ๆ นิกายในฝ่ายโปรเตสแตนต์

ประวัติ

แก้

ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4 ได้เกิดข้อถกเถียงทางเทววิทยาขึ้นในคริสตจักรว่าพระเยซูเป็นพระเจ้าหรือไม่ เอเรียส บาทหลวงชาวแอฟริกาเหนือ เสนอแนวคิดว่าพระบุตรมีสถานะต่ำกว่าพระบิดา พระบิดาคือพระเป็นเจ้าพระผู้สร้างเพียงพระองค์เดียว ส่วนพระบุตรเป็นสิ่งที่ถูกสร้างในภายหลัง แต่ก็ได้รับเกียรติให้ประเสริฐกว่ามนุษย์อื่นทั้งหมด แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในคริสตจักรสมัยนั้น แต่ขัดกับหลักตรีเอกภาพที่ถือว่าทั้งพระบิดาและพระบุตรล้วนแต่เป็นพระเจ้าหนึ่งเดียวเสมอกัน จึงเกิดความแตกแยกขึ้นภายในคริสตจักร จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ทรงเห็นว่าปัญหานี้จะส่งผลต่อความมั่นคงแห่งชาติ จึงประกาศเรียกประชุมสังคายนาขึ้นที่เมืองไนเซียในปี ค.ศ. 325 บรรดามุขนายกจากทั่วคริสตจักรมาร่วมสภา จนที่สุดได้มติว่าพระบิดาและพระบุตรเป็นพระเจ้าหนึ่งเดียว พระบุตรไม่ได้ถูกสร้าง แต่ทรงบังเกิดจากพระบิดาโดย "ร่วมธรรมชาติเดียวกัน" (homoousios) เอเรียสปฏิเสธไม่ยอมรับมตินี้ จึงถูกสภาสังคายนาขับออกจากคริสตจักร

ลัทธิเอเรียสยังคงแพร่หลายอยู่ในคริสตจักร มุขนายกหลายองค์สงวนท่าทีไม่ยอมรับมติสภาสังคายนาไนเซีย จักรพรรดิเกรเชียนและจักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 1 จึงประกาศเรียกประชุมสภาสังคายนาอีกครั้งที่เมืองคอนสแตนติโนเปิลในปี ค.ศ. 381 ผลการประชุมมีมติยืนยันว่าพระบิดา พระบุตร ตลอดจนพระวิญญาณบริสุทธิ์ เสมอกันเป็นพระเจ้าองค์เดียว และเรียบเรียงข้อสรุปความเชื่อจากสภาไนเซียจนออกมาเป็น "หลักข้อเชื่อไนซีน" ในเวลาต่อมา

ฉบับภาษาไทย

แก้

หลักข้อเชื่อไนเซียฉบับแปลภาษาไทยที่ใช้ในปัจจุบันมี 4 ฉบับ คือ 1. ของคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม 2. ศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ 3. สภาคริสตจักรในประเทศไทย และ 4. คริสตจักรแองลิกันในประเทศไทย เนื้อหาแบ่งออกเป็น 16 ส่วน เปรียบเทียบกันได้ดังนี้

ศาสนจักรคาทอลิก [2]

แก้

ศาสนจักรออร์ธอด็อกซ์

แก้

ในปัจจุบัน เนื่องจากมีการปรับปรุงแก้ไขการแปล ทำให้มี 3 ฉบับ ดังนี้

โปรเตสแตนต์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 177
  2. คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม, พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ, 2543, หน้า 5-6
  3. หนังสือพิธีสวดใหญ่ยามเย็น (หนังสือเพลง), หน้า 121-124
  4. คริสตศาสนจักรออร์โธด็อกซ์, หน้า69
  5. แปลถอดความตามภาษากรีก
  6. เป็นการสะกดพระนามอย่างที่ผู้แปลสำนวนวิชาการในทีมแปลเสนอ โดยอิงเสียงหลักมาจากการออกเสียงพระนามอย่างภาษาฮีบรู ยาหฺชูอา และอย่างภาษาอารบิกใหม่ว่า ยะหฺซูอฺ
  7. "ธรรมนูญแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ค.ศ. 1998" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-22. สืบค้นเมื่อ 2014-01-09.
  8. หนังสือภาวนาของคริสตจักรแองลิกันเพื่อใช้ในประเทศไทย หน้า 11-12, คริสตจักรแองลิกันในประเทศไทย