ความสัมพันธ์เนโท–สวีเดน
ประเทศสวีเดนเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (เนโท) ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2024[1]
เนโท |
สวีเดน |
สวีเดนกับเนโทแบ่งปันข้อมูลและดำเนินการฝึกซ้อมร่วมเป็นประจำก่อนเข้าร่วม และสวีเดนให้ความร่วมมือในการปฏิบัติการรักษาสันติภาพมาตั้งแต่ ค.ศ. 1995 เมื่อทางประเทศส่งกองพันเข้าในกองกำลังรักษาสันติภาพที่เนโทเป็นผู้นำในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา[2][3][4] สวีเดนเข้าร่วมหุ้นส่วนเพื่อสันติภาพในวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1994[5][6]
ในอดีต มีประชากรสวีเดนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เห็นชอบในการเข้าเป็นสมาชิกเนโท แต่ความเห็นส่วนใหญ่เปลี่ยนไปหลังการรุกรานยูเครนโดยรัสเซียในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 และสวีเดนกับฟินแลนด์สมัครเข้าร่วมองค์การในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2022 ต่อมาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2022 ทางเนโทได้ลงนามพิธีสารภาคยานุวัติสำหรับสวีเดนในการเข้าร่วม[7] จนกระทั่งปลายเดือนกันยายน ค.ศ. 2022 ชาติสมาชิกเนโททั้งหมดให้การรับรองสวีเดน ยกเว้นตุรกีและฮังการี โดยทางตุรกีให้การรับรองในวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 2024 ตามมาด้วยฮังการีในวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2024 ทำให้สวีเดนกลายเป็นรัฐสมาชิกเนโทอย่างเป็นทางการในวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2024
ประวัติ
แก้ภูมิหลัง: ความเป็นกลางสวีเดน
แก้หลังสงครามนโปเลียน
แก้เมื่อเสียดินแดนจำนวนมากให้แก่รัสเซียในช่วงสงครามนโปเลียนเมื่อ ค.ศ. 1812 สวีเดนจึงใช้นโยบายความเป็นกลาง[8] โดยสวีเดนไม่ได้ประกาศสงครามอย่างเป็นทางการตั้งแต่ ค.ศ. 1814[9] และยังเป็นประเทศที่เป็นกลางแม้แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งถึงสงครามโลกครั้งที่สอง[10]
ก่อนเข้าเป็นสมาชิก (ค.ศ. 1949–2022)
แก้ค.ศ. 1949–1991: ช่วงสงครามเย็น
แก้เมื่อมีการจัดตั้งเนโทใน ค.ศ. 1949 ประเทศสวีเดนเลือกที่จะไม่เข้าร่วม โดยประกาศนโยบายความมั่นคงที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในสันติภาพและความเป็นกลางในสงคราม[11] สวีเดนยังคงนโยบายความเป็นกลางในช่วงสงครามเย็น[8] คอร์ล ปิลด์ อดีตนายกรัฐมนตรีสวีเดน กล่าวว่านโยบายนี้เป็นการตอบสนองต่อความกลัวว่า ถ้าสวีเดนเข้าร่วมเนโท สหภาพโซเวียตอาจตอบสนองด้วยการรุกรานประเทศฟินแลนด์ ประเทศเพื่อนบ้านที่สวีเดนยังคงความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด[12]
ค.ศ. 1991–1995: หลังสงครามเย็น
แก้หลังสงครามเย็นสิ้นสุดลง จึงเริ่มมีการอภิปรายเกี่ยวกับคำถามการเป็นสมาชิกเนโทของสวีเดน[13] สวีเดนเข้าร่วมหุ้นส่วนเพื่อสันติภาพของเนโทในวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1994[14]
ค.ศ. 1995–2022: เปลี่ยนผ่านจากขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในสหภาพยุโรป
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ผลโพล
แก้การสนับสนุนความเป็นสมาชิกเนโทของสวีเดนเพิ่มขึ้นในช่วง ค.ศ. 2012 ถึง 2015 เมื่อทาง SOM Institute แสดงผลว่ามีผู้สนับสนุนเพิ่มขึ้นจาก 17% ไปเป็น 31%[15] เหตุการณ์อย่างการผนวกไครเมียและรายงานกิจกรรมเรือดำน้ำของรัสเซียใน ค.ศ. 2014 เช่นเดียวกันกับรายงานใน ค.ศ. 2013 ที่ว่าสวีเดนสามารถต้านได้เพียงสัปดาห์เดียวหากถูกโจมตี เป็นส่วนที่ทำให้มีเสียงสนับสนุนเพิ่มขึ้น[16][17] ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2014 โพลความเห็นเผยให้เห็นชาวสวีเดนเห็นชอบในการเป็นสมาชิกเนโท (37%) มากกว่าคัดค้าน (36%) เป็นครั้งแรก[18]
การจัดทำโพลทั่วไปของ Ipsos บันทึกจำนวนผู้คัดค้านการเป็นสมาชิกลดลงจาก 56% ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2015 เหลือที่ 35% ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2020 ซึ่งมีการแบ่งสามตัวแปร โดยเลือกเป็นสมาชิก 33% และไม่ตัดสินใจ 32% จำนวนที่ลดลงส่วนใหญ่มีผลจากจำนวนผู้ที่โหวตไม่ตัดสินใจมากขึ้น เนื่องจากสัดส่วนผู้สนับสนุนการเป็นสมาชิกเนโทส่วนใหญ่คงที่ตั้งแต่ ค.ศ. 2014[19] ผลโพลโดย Sifo ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 พบว่ามีชาวสวีเดนคัดค้านการเป็นสมาชิกมากกว่าสนับสนุน[20] ในขณะที่โพลในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2017 โดย Pew แสดงให้เห็นว่ามีผู้สนับสนุนถึง 48% และในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2020 มีชาวสวีเดนมองเนโทในแง่บวกถึง 65% ซึ่งถือเป็นจำนวนร้อยละที่สูงที่สุดเท่าที่มีการลงโพลสมาชิกที่ไม่ใช่เนโท[21][22]
หลายวันหลังรัสเซียรุกรานยูเครน (24–25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022) ทาง Novus poll สรุปผลโพลว่า 41% เห็นชอบในการเป็นสมาชิกเนโท ส่วน 35% คัดค้าน[23] ผลโพลแรกที่ผู้ให้ความเห็นส่วนใหญ่ (51%) สนับสนุนการเป็นสมาชิกเนโทปรากฏขึ้นในวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 2022[24] และจำนวนผู้สนับสนุนเพิ่มขึ้นอย่างมากนับแต่นั้นมา
วันที่ | สำนักโพล | สนับสนุน | คัดค้าน | เป็นกลาง หรือ DK |
นำ | อ้าง. | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
2012 | SOM | 17% | 45% | 38% | 28% | [15] | ||
2013 | SOM | 29% | 34% | 37% | 5% | [15] | ||
16 มี.ค. 2014 | รัสเซียผนวกไครเมีย | |||||||
เมษายน 2014 | Ipsos | 28% | 56% | 16% | 28% | [16] | ||
เมษายน 2014 | Statista | 28% | 56% | 15% | 28% | [25] | ||
2014 | SOM | 31% | 37% | 32% | 6% | [15] | ||
ตุลาคม 2014 | FT? | 37% | 36% | 27% | 1% | [18] | ||
ธันวาคม 2014 | Ipsos | 33% | 47% | 20% | 14% | [16] | ||
ธันวาคม 2014 | Statista | 33% | 47% | 20% | 14% | [25] | ||
กันยายน 2015 | Sifo | 41% | 39% | 20% | 2% | [17] | ||
ธันวาคม 2015 | Statista | 34% | 50% | 16% | 16% | [25] | ||
Spring 2016 | Pew | 45% | 44% | 11% | 1% | [21] | ||
มิถุนายน 2016 | Sifo | 33% | 49% | 18% | 16% | [20] | ||
ธันวาคม 2016 | Statista | 35% | 40% | 25% | 5% | [25] | ||
Spring 2017 | Pew | 47% | 39% | 14% | 8% | [21] | ||
ธันวาคม 2017 | Statista | 31% | 44% | 25% | 13% | [25] | ||
Autumn 2020 | Pew | 65% | 30% | 5% | 35% | [22] | ||
ธันวาคม 2020 | Ipsos | 33% | 35% | 32% | 2% | [19] | ||
มกราคม 2022 | Demoskop | 42% | 37% | 21% | 5% | [24] | ||
มกราคม 2022 | Statista | 37% | 35% | 28% | 2% | [25] | ||
กุมภาพันธ์ 2022 | Statista | 41% | 35% | 24% | 6% | [25] | ||
24 ก.พ. 2022 | รัสเซียรุกรานยูเครน | |||||||
24–25 February 2022 | Novus | 41% | 35% | 24% | 8% | [23] | ||
มีนาคม 2022 | Demoskop | 51% | 27% | 22% | 24% | [24] | ||
เมษายน 2022 | Statista | 45% | 33% | 22% | 12% | [25] | ||
พฤษภาคม 2022 | Statista | 58% | 19% | 23% | 39% | [25] | ||
กรกฎาคม 2022 | Statista | 64% | 21% | 15% | 43% | [25] | ||
4 April 2023 | ฟินแลนด์เข้าร่วมเนโท | |||||||
พฤษภาคม 2023 | Statista | 62% | 22% | 16% | 40% | [26] | ||
มิถุนายน 2023 | Kantar Sifo | 65% | 18% | 17% | 47% | [27] | ||
กรกฎาคม 2023 | Verian | 65% | 18% | 17% | 47% | [28] | ||
พฤศจิกายน 2023 | Verian | 57% | 20% | 23% | 37% | [28] | ||
กุมภาพันธ์ 2024 | Verian | 66% | 18% | 16% | 48% | [29] | ||
7 มี.ค. 2024 | สวีเดนเข้าร่วมเนโท |
ค.ศ. 2022–2024: กระบวนการเข้าร่วมเป็นสมาชิกหลังการรุกรานยูเครนของรัสเซีย
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
แก้- ↑ "Sweden officially joins NATO, ending decades of post-World War II neutrality". AP News (ภาษาอังกฤษ). 2024-03-07. สืบค้นเมื่อ 2024-03-07.
- ↑ "Relations with Sweden". NATO. สืบค้นเมื่อ 4 March 2024.
- ↑ Kirby, Jen (17 May 2022). "Finland and Sweden's historic NATO bids, explained". Vox. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2022.
- ↑ "Relations with Sweden". NATO. 14 April 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2022. สืบค้นเมื่อ 15 May 2022.
- ↑ "Signatures of Partnership for Peace Framework Document". NATO. 27 March 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2021. สืบค้นเมื่อ 15 May 2022.
- ↑ Dergham, Raghida (9 July 2023). "Sweden's de jure Nato membership is a litmus test for Turkey". The National News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2023. สืบค้นเมื่อ 16 July 2023.
- ↑ Ott, Haley (5 July 2022). "NATO allies sign accession protocols for Finland and Sweden in 'truly historic moment'" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). CBS News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2022. สืบค้นเมื่อ 5 July 2022.
- ↑ 8.0 8.1 "Sweden: a history of neutrality ends after 200 years". The Conversation. 26 May 2022. สืบค้นเมื่อ 7 March 2024.
- ↑ "Sweden hasn't gone to war since Napoleon was alive, but Russia has it preparing for another one". Business Insider. 6 May 2022. สืบค้นเมื่อ 7 March 2024.
- ↑ "Swedish neutrality: How long can it last?". Danube Institute. 21 March 2022. สืบค้นเมื่อ 7 March 2024.
- ↑ Agius, Christine (2006). The social construction of Swedish neutrality: Challenges to Swedish identity and sovereignty. Manchester University Press. pp. 103–105. ISBN 978-1-8477-9199-3.
- ↑ Bildt, Carl (16 March 2022). "Are Sweden and Finland moving to apply for NATO membership?". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2022. สืบค้นเมื่อ 6 June 2022.
- ↑ Agius 2006, pp. 142–147.
- ↑ "Signatures of Partnership for Peace Framework Document". NATO. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2021. สืบค้นเมื่อ 20 February 2017.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 "Nearly one-third of Swedes want to join Nato". The Local. 20 May 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2015. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 "More Swedes show support for Nato". The Local. 9 January 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2015. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
- ↑ 17.0 17.1 "More Swedes want to join Nato than stay out". The Local. TT News Agency. 14 September 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2015. สืบค้นเมื่อ 6 March 2024.
- ↑ 18.0 18.1 Milne, Richard (29 October 2014). "Swedes lean towards Nato membership, poll shows". Financial Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2022. สืบค้นเมื่อ 20 May 2016.
- ↑ 19.0 19.1 Holmström, Mikael (10 January 2021). "DN/Ipsos: Svenskarnas motstånd mot Nato minskar" [Swedes' opposition to NATO is declining]. Dagens Nyheter (ภาษาสวีเดน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2021. สืบค้นเมื่อ 11 January 2021.
- ↑ 20.0 20.1 "Swedes have a change of heart on Nato once more". The Local. TT News Agency. 7 July 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2017. สืบค้นเมื่อ 20 February 2017.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 Stokes, Bruce (23 May 2017). "NATO's Image Improves on Both Sides of Atlantic". Pew Research Center's Global Attitudes Project. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2022. สืบค้นเมื่อ 4 March 2022.
- ↑ 22.0 22.1 Fagan, Moira (30 November 2020). "NATO seen in a positive light by many across 10 member states". Pew Research Center's Global Attitudes Project. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2021. สืบค้นเมื่อ 11 January 2021.
- ↑ 23.0 23.1 Nilsson, Maja (25 February 2022). "Efter Rysslands invasion: Fler svenskar för ett Natomedlemskap" [After Russia's invasion: More Swedes in favour of NATO membership]. SVT Nyheter (ภาษาสวีเดน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2022. สืบค้นเมื่อ 4 March 2022.
- ↑ 24.0 24.1 24.2 Jacobsen, Stine; Ahlander, Johan (4 March 2022). "Russian invasion of Ukraine forces Swedes to rethink NATO membership". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2022. สืบค้นเมื่อ 4 March 2022.
- ↑ 25.00 25.01 25.02 25.03 25.04 25.05 25.06 25.07 25.08 25.09 "Do you think Sweden should join the military alliance NATO?". statista.com (ภาษาอังกฤษ). 19 December 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2022. สืบค้นเมื่อ 22 December 2022.
- ↑ "Sweden: perception of NATO membership 2023". Statista (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2022. สืบค้นเมื่อ 2024-02-05.
- ↑ Wahlund, Isak (7 July 2023). "Trots allt strul – svenskarna vill fortfarande gå med i Nato" [Despite all the trouble – the Swedes still want to join NATO]. TV4 Nyheterna (ภาษาสวีเดน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2023. สืบค้นเมื่อ 7 July 2023.
- ↑ 28.0 28.1 Svanberg, Peter (21 November 2023). "Stödet för svenskt NATO-medelmsskap minskar" [Support for Swedish NATO membership decreases]. TV4 Nyheterna (ภาษาสวีเดน). สืบค้นเมื่อ 6 March 2024.
- ↑ Fernqvist, Filippa (1 March 2024). "Rekordstort stöd för Nato-medlemskap – miljöpartister allt mer positiva" [Record support for NATO membership – Greens increasingly positive]. TV4 Nyheterna (ภาษาสวีเดน). สืบค้นเมื่อ 6 March 2024.