วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
ข้อมูลในหน้านี้อาจไม่ตรงกับต้นฉบับ สำหรับข้อมูลต้นฉบับ สามารถดูได้ที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา |
การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ในภาษาไทยมีระบบอ้างอิงระบบเดียวในการทับศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยทางราชการกำหนดไว้ให้ใช้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถาน[1]
หลักทั่วไป
แก้1. พยัญชนะ ให้ถอดเป็นพยัญชนะภาษาไทยตามหลักเกณฑ์ในตารางเทียบพยัญชนะภาษาอังกฤษ
2. สระ ให้ถอดตามการออกเสียงในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ โดยเทียบเสียงสระภาษาไทยตามตารางเทียบเสียงสระภาษาอังกฤษ
3. การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต
- 3.1 พยัญชนะตัวที่ไม่ออกเสียงในภาษาไทย ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับไว้ เช่น
- horn = ฮอร์น
- 3.2 คำหรือพยางค์ที่ตัวสะกดมีพยัญชนะตามมาหลายตัว ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาต ไว้บนพยัญชนะที่ไม่ออกเสียงตัวสุดท้าย แต่เพียงแห่งเดียว เช่น
- Barents = แบเร็นตส์
- 3.3 คำหรือพยางค์ที่มีพยัญชนะไม่ออกเสียงอยู่หน้าตัวสะกด ที่ยังมีพยัญชนะตามหลังมาอีก ให้ตัดพยัญชนะที่อยู่หน้าตัวสะกดออก และใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้บนพยัญชนะตัวสุดท้าย เช่น
- world = เวิลด์ (ไม่ใช่ เวิร์ล)
- 3.1 พยัญชนะตัวที่ไม่ออกเสียงในภาษาไทย ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับไว้ เช่น
4. การใช้ไม้ไต่คู้ ควรใช้ในกรณีต่อไปนี้
- 4.1 เพื่อให้เห็นแตกต่างจากคำไทย เช่น
- log = ล็อก (ให้ต่างจากคำว่า ลอก ในภาษาไทย)
- 4.2 เพื่อช่วยให้ผู้อ่านแยกพยางค์ได้ถูกต้อง เช่น
- Okhotsk = โอค็อตสก์
- 4.1 เพื่อให้เห็นแตกต่างจากคำไทย เช่น
5. การใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ การเขียนคำทับศัพท์ ไม่ต้องใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ ยกเว้นในกรณีที่คำนั้นมีเสียงซ้ำกับคำไทย จนทำให้เกิดความสับสน อาจใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ได้ เช่น
- coma = โคม่า (ไม่ใช่ โคมา (วัวมา))
6. พยัญชนะซ้อน (double letter) คำที่มีพยัญชนะซ้อนเป็นตัวสะกด ถ้าเป็นศัพท์ทั่วไป ให้ตัดออกตัวหนึ่ง เช่น
- football = ฟุตบอล
แต่ถ้าเป็นศัพท์ทางวิชาการหรือวิสามานยนามให้เก็บไว้ทั้ง 2 ตัว โดยใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้ที่ตัวท้าย เช่น
- cell = เซลล์ (ไม่ใช่ เซล)
ถ้าพยัญชนะซ้อนอยู่กลางศัพท์ให้ถือว่า พยัญชนะซ้อนตัวแรกเป็นตัวสะกดของพยางค์หน้า และพยัญชนะซ้อนตัวหลัง เป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ต่อไป เช่น
- broccoli = บรอกโคลี
7. คำที่ตัวสะกดของพยางค์หน้าออกเสียงเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ตัวต่อไปด้วย ให้ถือหลักเกณฑ์ดังนี้
- 7.1 ถ้าสระของพยางค์หน้าเป็นเสียงสระอะ ซึ่งเมื่อทับศัพท์ต้องใช้รูปไม้หันอากาศ ให้ซ้อนพยัญชนะตัวสะกดของพยางค์หน้า เข้าอีกตัวหนึ่งเพื่อเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ต่อไป เช่น
- double = ดับเบิล
- 7.2 ถ้าสระของพยางค์หน้าเป็นสระอื่นที่ไม่ใช่สระอะ ให้ทับศัพท์ตามรูปพยัญชนะภาษาอังกฤษโดยไม่ต้องซ้อนพยัญชนะ เช่น
- California = แคลิฟอร์เนีย
- 7.3 ถ้าเป็นคำที่เกิดจากการเติมปัจจัย เช่น -er, -ing, -ic, -y และการทับศัพท์ตามรูปพยัญชนะภาษาอังกฤษดังข้อ 7.2 อาจทำให้ออกเสียงผิดไปจากภาษาเดิมมาก ให้ซ้อนพยัญชนะตัวสะกดของพยางค์ต้นอีกหนึ่งเพื่อให้เห็นเค้าคำเดิม เช่น
- booking = บุกกิง
- 7.1 ถ้าสระของพยางค์หน้าเป็นเสียงสระอะ ซึ่งเมื่อทับศัพท์ต้องใช้รูปไม้หันอากาศ ให้ซ้อนพยัญชนะตัวสะกดของพยางค์หน้า เข้าอีกตัวหนึ่งเพื่อเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ต่อไป เช่น
8. คำประสมที่มีเครื่องหมายยัติภังค์ (hyphen) ให้ทับศัพท์โดยเขียนติดต่อกันไป เช่น
- Cross-stitch = ครอสสติตช์ (ไม่ใช่ ครอส-สติตช์)
ยกเว้นในกรณีที่เป็นศัพท์ทางวิชาการหรือวิสามานยนามให้คงไว้ เช่น
- Cobalt-60 = โคบอลต์-60
9. คำประสมซึ่งในภาษาอังกฤษเขียนแยกกัน เมื่อทับศัพท์ให้เขียนติดกันไป ไม่ต้องแยกคำตามภาษาเดิม เช่น
- night club = ไนต์คลับ
10. คำคุณศัพท์ที่มาจากคำนาม ซึ่งมีปัญหาว่าจะทับศัพท์ในรูปคำนามหรือคำคุณศัพท์นั้น ให้ถือหลักเกณฑ์ดังนี้
- 10.1 ถ้าคำคุณศัพท์นั้นมีความหมายเหมือนคำนาม หรือหมายความว่า "เป็นของ" หรือ "เป็นเรื่องของ" คำนามนั้น ให้ทับศัพท์ในรูปคำนาม เช่น
- hyperbolic curve = ส่วนโค้งไฮเพอร์โบลา (ไม่ใช่ ส่วนโค้งไฮเพอร์โบลิก)
- 10.2 ถ้าคำคุณศัพท์นั้นมีความหมายว่า "เกี่ยวข้องกับ" หรือ "เกี่ยวเนื่องจาก" คำนามนั้น ให้ทับศัพท์ในรูปคำนามโดยใช้ คำประกอบ เชิง แบบ อย่าง ทาง ชนิด ระบบ ฯลฯ แล้วแต่ความหมาย เช่น
- electronic power conversion = การแปลงผันกำลังเชิงอิเล็กทรอนิกส์
- 10.3 ในกรณีที่การทับศัพท์ในรูปคำนามตามข้อ 10.1 และข้อ 10.2 ทำให้เกิดความหมายกำกวมหรือคลาดเคลื่อน ให้ทับศัพท์ในรูปคำคุณศัพท์ เช่น
- metric system = ระบบเมตริก (ไม่ใช่ ระบบเมตร)
- 10.1 ถ้าคำคุณศัพท์นั้นมีความหมายเหมือนคำนาม หรือหมายความว่า "เป็นของ" หรือ "เป็นเรื่องของ" คำนามนั้น ให้ทับศัพท์ในรูปคำนาม เช่น
11. คำคุณศัพท์ที่มาจากชื่อบุคคล ให้ทับศัพท์ตามชื่อของบุคคลนั้น ๆ โดยใช้คำประกอบ ของ แบบ ระบบ ฯลฯ แล้วแต่ความหมาย เช่น
- Euclidean geometry = เรขาคณิตระบบยุคลิด
ยกเว้นในกรณีที่คำคุณศัพท์ที่มาจากชื่อบุคคล เป็นชื่อเฉพาะที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในแต่ละวงการ ซึ่งอาจสังเกตได้จากการที่ในภาษาอังกฤษไม่ได้ใช้อักษรตัวใหญ่ขึ้นต้น ให้ทับศัพท์ในรูปคำคุณศัพท์
12. คำคุณศัพท์เกี่ยวกับชนชาติต่าง ๆ ให้ทับศัพท์ในรูปคำนามที่เป็นชื่อประเทศ เช่น
- Swedish people = คนสวีเดน (ไม่ใช่ คนสวีดิช)
- Hungarian dance = ระบำฮังการี (ไม่ใช่ ระบำฮังกาเรียน)
ยกเว้นชื่อที่เคยใช้มานานแล้ว ได้แก่ ...เยอรมัน ...กรีก ...ไอริช ...ดัตช์ ...สวิส ...อังกฤษ และ ...อเมริกัน เช่น เรือกรีก (ไม่ใช่ เรือกรีซ) รถอเมริกัน (ไม่ใช่ รถอเมริกา)
13. การวางตำแหน่งคำคุณศัพท์ในคำทับศัพท์ ให้ถือหลักเกณฑ์ดังนี้
- 13.1 คำคุณศัพท์ที่ประกอบคำนามที่เป็นภาษาไทย หรือเป็นคำทับศัพท์ แต่ได้ใช้ในภาษาไทยมาจนถือเป็นคำไทยแล้ว ให้วางคำคุณศัพท์ไว้หลังคำนาม เช่น
- cosmic ray = รังสีคอสมิก
- 13.2 ถ้าทั้งคำคุณศัพท์และคำนามเป็นคำทับศัพท์ที่ยังไม่ถือเป็นคำไทย ให้ทับศัพท์ตรงตามศัพท์เดิม เช่น
- Arctic Circle = อาร์กติกเซอร์เคิล (ไม่ใช่ วงกลมอาร์กติก)
- 13.3 ถ้าต้องการเน้นว่าคำนามนั้นเป็นสิ่งที่มีหลายชนิดและคำคุณศัพท์ที่ประกอบเป็นชนิดหนึ่งของคำนามนั้น อาจทับศัพท์โดยใช้คำประกอบ แบบ ชนิด ระบบ ฯลฯ มาแทรกไว้ระหว่างคำนามกับคำคุณศัพท์ เช่น
- normal matrix = เมทริกซ์แบบนอร์แมล
- 13.1 คำคุณศัพท์ที่ประกอบคำนามที่เป็นภาษาไทย หรือเป็นคำทับศัพท์ แต่ได้ใช้ในภาษาไทยมาจนถือเป็นคำไทยแล้ว ให้วางคำคุณศัพท์ไว้หลังคำนาม เช่น
14. คำย่อ ให้เขียนชื่อตัวอักษรนั้น ๆ ลงเป็นภาษาไทยดังนี้
A = เอ | B = บี | C = ซี |
D = ดี | E = อี | F = เอฟ |
G = จี | H = เอช | I = ไอ |
J = เจ | K = เค | L = แอล |
M = เอ็ม | N = เอ็น | O = โอ |
P = พี | Q = คิว | R = อาร์ |
S = เอส | T = ที | U = ยู |
V = วี | W = ดับเบิลยู | X = เอกซ์ |
Y = วาย | Z = ซี หรือ แซด |
คำย่อให้เขียนติดกัน โดยไม่ใส่จุดและไม่เว้นวรรค เช่น
- DDT = ดีดีที
- F.B.I. = เอฟบีไอ
15. คำทับศัพท์ที่ผูกขึ้นจากตัวย่อ ซึ่งอ่านออกเสียงได้เสมือนคำคำหนึ่ง มิได้ออกเสียงเรียงตัวอักษร ให้เขียนตามเสียงที่ออกและไม่ต้องใส่จุด เช่น
- UNESCO = ยูเนสโก
16. ตัวย่อชื่อบุคคล ให้เขียนโดยใส่จุด และเว้นช่องไฟระหว่างชื่อกับนามสกุล เช่น
- D.N. Smith = ดี.เอ็น. สมิท
ตารางเทียบเสียง
แก้เสียงพยัญชนะ
แก้คำหรือพยางค์ที่มีพยัญชนะต้นหลายตัว และตัวหน้าไม่ออกเสียง เมื่อเขียนทับศัพท์เป็นภาษาไทย ไม่ต้องใส่พยัญชนะตัวที่ไม่ออกเสียง เช่น
- gnat = แนต
- knight = ไนต์
- psycho = ไซโค
- pneumonia = นิวมอเนีย
วิสามานยนาม ที่ในภาษาอังกฤษออกเสียงเฉพาะพิเศษนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในตาราง ให้ถอดตามการออกเสียง เช่น
- Worcester = วุร์สเตอร์
- Marble Arch = มาร์บะลาช
B-H
แก้ตัวอักษร | พยัญชนะขึ้นต้น | ตัวอย่าง | พยัญชนะลงท้าย | ตัวอย่าง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
b | บ | base = เบส | บ | Gibb = กิบบ์ | |
c | ↓ | ↓ | ก | cubic = คิวบิก | |
ca, co, cu, cl, cr | ค | cat = แคต cone = โคน Cuba = คิวบา Cleo = คลีโอ crown = คราวน์ |
|||
ce | ซ | cell = เซลล์ | ซ | Greece = กรีซ | |
ci, cy | ซ | cigar = ซิการ์ cyclone = ไซโคลน |
|||
c (ออกเสียง ช) | ช | glacier = เกลเชียร์ | — | — | รากศัพท์มาจากภาษาฝรั่งเศส |
หมายเหตุ คำที่พยางค์สุดท้ายเป็น ca, co และ cer (ที่ออกเสียงเกอร์) ซึ่งไทยเรานิยมใช้เสียง ก ให้ใช้ ก ตัวอย่าง America = อเมริกา, disco = ดิสโก, soccer = ซอกเกอร์ | |||||
ch (ออกเสียง ช) | ช | Chicago = ชิคาโก | ช | Beach = บีช | |
ch (ออกเสียง ค) | ค | Chios = คิออส | ก | Angioch = แอนติออก | รากศัพท์มาจากภาษากรีก |
ck | — | — | ก | Brunswick = บรันสวิก | |
หมายเหตุ ck เมื่อเป็นตัวสะกดและพยัญชนะต้นของพยางค์ต่อไปให้ใช้ กก ตัวอย่าง Rocky = รอกกี, locket = ล็อกเกต | |||||
d | ด | dextrin = เดกซ์ทริน | ด | Dead Sea = เดดซี | |
f | ฟ | Fox = ฟอกซ์ | ฟ | Clifion = คลิฟตัน | |
g | ↓ | ↓ | ก | magnesium = แมกนีเซียม | |
ga, ge*, gi*, go, gu, gl, gr | ก | galaxy = กาแล็กซี forget-me-not = ฟอร์เกตมีนอต gift = กิฟต์ golf = กอล์ฟ gulf = กัลฟ์ Gladstone = แกลดสโตน grand = แกรนด์ |
ก | rogue = โรก | * ge และ gi บางคำออกเสียง ก บางคำออกเสียง จ |
ge*, gi*, gy | จ | gestagen = เจสตาเจน engineer = เอนจิเนียร์ gyro = ไจโร |
จ | rouge = รูจ | |
gh | ก | ghetto = เกตโต | ฟ, ก | Gough = กอฟ Pittsburgh = พิตส์เบิร์ก |
|
gh (ไม่ออกเสียง) | — | — | — | Hugh = ฮิว | |
gn (g ไม่ออกเสียง) | น | gneiss = ไนส์ | น | design = ดีไซน์ | |
หมายเหตุ gn ถ้าเป็นตัวสะกดและพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไป แล้วออกเสียง /ñ/ ใช้ นญ ตัวอย่าง Bologna = โบโลนญา, Cognac = คอนญัก | |||||
h | ฮ | Haematite = ฮีมาไทต์ | |||
h (ไม่ออกเสียง) | — | honour = ออเนอร์ | ห | John = จอห์น |
J-S
แก้ตัวอักษร | พยัญชนะขึ้นต้น | ตัวอย่าง | พยัญชนะลงท้าย | ตัวอย่าง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
j | จ | Jim = จิม | คำอังกฤษแท้ไม่มีการลงท้ายด้วย j | ||
k | ค | Kansas = แคนซัส | ก | York = ยอร์ก | |
k (เมื่อเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์สุดท้าย) | ก | bunker = บังเกอร์ market = มาร์เกต Yankee = แยงกี |
— | — | |
kh | ค | khartoum = คาร์ทูม | ก | Sikh = ซิก | |
l | ล | locket = ล็อกเกต | ล | Shell = เชลล์ | |
m | ม | micro = ไมโคร | ม | Tom = ทอม | |
n | น | nucleus = นิวเคลียส | น | cyclone = ไซโคลน | |
หมายเหตุ n เมื่อเป็นตัวสะกดและมีพยัญชนะ c, ch, g, k, qu ฯลฯ ตามแล้วทำให้เสียง n ที่เป็นตัวสะกดออกเสียงเป็น ง ให้ถอด n เป็น ง ตัวอย่าง Anglo-Saxon = แองโกลแซกซัน, function = ฟังก์ชัน, parenchyma = พาเรงคิมา, Frank = แฟรงก์ | |||||
p | พ | parabola = พาราโบลา | ป | capsule = แคปซูล | |
หมายเหตุ p เมื่อเป็นพยัญชนะต้นให้ใช้ พ โดยตลอด ยกเว้นกลุ่มพยัญชนะบางกลุ่มที่ไทย นิยมใช้เสียง ป ให้ใช้ ป ดังนี้ super-; -pa, -pean, -per, -pia, -pic, -ping, -pion, -po, -pus และ -py ตัวอย่าง superman = ซูเปอร์แมน, Europa = ยูโรปา, bumper = บัมเปอร์, topic = ทอปปิก, shopping = ชอปปิง, hippy = ฮิปปี, hippo = ฮิปโป, olympus = โอลิมปัส | |||||
ph | ฟ | phosphorous = ฟอสฟอรัส | ฟ | graph = กราฟ | |
q | ก | Qatar = กาตาร์ | ก | Iraq = อิรัก | |
qu (ออกเสียง คว) | คว | Quebec = ควิเบก | — | — | |
qu (ออกเสียง ค) | ค | Liquor = ลิเคอร์ | ก | Mozambique = โมซัมบิก | |
r | ร | radium = เรเดียม | ร | barley = บาร์เลย์ | เสียง r ไม่ใช่เสียงสะกด แต่เมื่อลงท้ายให้ใช้ทัณฑฆาตเพื่อให้เสียง /ɹ/ ยังอยู่ |
rh | ร | rhodonite = โรโดไนต์ murrha = เมอร์รา |
ห | myrrh = เมอรห์ | รากศัพท์มาจากภาษากรีก |
s | ↓ | ↓ | ส | Lagos = ลากอส | |
s+สระ | ซ | silicon = ซิลิคอน | |||
s+พยัญชนะ | ส | Sweden = สวีเดน | |||
s (ออกเสียง ช) | ช | Asia = เอเชีย | |||
son (อยู่ท้ายชื่อ) | สัน | Johnson = จอห์นสัน | |||
's | — | — | ส์ | King's Cup = คิงส์คัป | |
sc (ออกเสียง ซ) | ซ | scene = ซีน | |||
sc (ออกเสียง สก) | สก | screw = สกรูว | สก | disc = ดิสก์ | |
sch (ออกเสียง ซ) | ซ | scheelite = ซีไลต์ | |||
sch (ออกเสียง ช) | ช | schism = ชิซึม | |||
sch (ออกเสียง สก) | สก | school = สกูล | |||
sh | ช | shamal = ชามาล | ช | harsh = ฮาร์ช | |
sm | — | — | ซึม | protoplasm = โพรโทพลาซึม | |
sk | สก | skyros = สกิรอส | สก | task = ทาสก์ | |
sp | สป | spray = สเปรย์ spore = สปอร์ |
|||
st | สต | Stanford = สแตนฟอร์ด strip = สตริป |
|||
หมายเหตุ sc sk sp และ st ที่ถอดเป็น สก, สก, สป, และ สต ตามลำดับ ถ้า s อยู่กลางศัพท์ และเป็นตัวสะกดของพยางค์หน้า ให้ถอด c k p และ t นั้น เป็น ค ค พ และ ท ตัวอย่าง Wisconsin = วิสคอนซิน, Muskegon = มัสคีกัน, asparagus = แอสพารากัส, distemper = ดิสเทมเปอร์ |
T-Z
แก้ตัวอักษร | พยัญชนะขึ้นต้น | ตัวอย่าง | พยัญชนะลงท้าย | ตัวอย่าง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
t | ท | Tasmania = แทสเมเนีย trombone = ทรอมโบน |
ต | Kuwait = คูเวต | |
หมายเหตุ t เมื่อเป็นพยัญชนะต้น ใช้ ท โดยตลอด ยกเว้นกลุ่มพยัญชนะบางกลุ่มที่ไทยเรานิยมใช้เสียง ต ให้ใช้ ต ดังนี้ anti-, auto-, inter-, multi-, photo-; -ta, -ter, -ti, -tic, -ting, -tis, -to, -ton, -tor, -tre, -tum, -tus และ -ty ตัวอย่าง antibody = แอนติบอดี, intercom = อินเตอร์คอม, computer = คอมพิวเตอร์, quantum = ควอนตัม, zygomata = ไซโกมาตา | |||||
th | ท | thorium = ทอเรียม | ท | zenith = เซนิท | |
th | ด | This = ดิส | |||
thm | — | — | ทึม | biorhythm = ไบโอริทึม logarithm = ลอการิทึม |
|
ti (ออกเสียง ช) | ช | nation = เนชัน strontium = สตรอนเชียม |
— | — | |
v | ว | volt = โวลต์ | ฟ | love = เลิฟ perovskite = เพอรอฟสไกต์ |
|
v (เมื่อเป็นตัวสะกดของพยางค์ต้นและเป็นตัวนำของพยางค์ต่อไปด้วย) | — | — | ฟว | Livingstone = ลิฟวิงสโตน | |
w | ว | Wales = เวลส์ | ว | cowboy = คาวบอย | |
wh (ออกเสียง ว) | ว | White = ไวต์ | — | — | |
wh (ออกเสียง ฮ) | ฮ | Whewell = ฮิวเอลล์ | — | — | |
x | ซ | Xenon = ซีนอน | กซ | boxer = บอกเซอร์ oxford = ออกซฟอร์ด onyx = โอนิกซ์ |
|
y | ย | Yale = เยล | ย | key = คีย์ | |
z | ซ | zone = โซน | ซ | Vaduz = วาดุซ |
เสียงสระ
แก้A
แก้
|
|
|
- * ae ที่ออกเสียง "อี" มาจาก æ ซึ่งเป็นอักษรโบราณ
- ** ยกเว้นคำว่า are (verb to be) อ่านว่า "อาร์"
- *** เป็นชื่อบุคคล Pierre Victor Auger หากเป็นคำศัพท์ทั่วไปอ่านว่า "ออเกอร์"
E
แก้
|
|
|
- * ใช้เฉพาะคำว่า electronics และ electron ที่แทนด้วยเสียง "อิ" เนื่องจากเป็นคำทับศัพท์ที่ใช้มานานแล้ว
- ** คำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาฝรั่งเศส
- *** เฉพาะคำนี้เท่านั้นที่ออกเสียง "โอ" แต่สำหรับ sewer อ่านว่า "ซูเวอร์"
- ^ โดยทั่วไป หากตามหลังเสียง /tʃ/, /dʒ/, /j/, /ɹ/, พยัญชนะ+/l/, /s/, /l/, /z/, /θ/ จะออกเสียง "อู"
และในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน หากตามหลังเสียง /t/, /d/, /n/ ก็จะออกเสียง "อู" ในขณะที่แบบบริเตนออกเสียง "อิว"
ดูเพิ่มที่ Y-cluster reductions ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ - ^^ New York สะกดนิวยอร์ก ตามระบบของไทย คำนี้ในภาษาอังกฤษอเมริกันอ่าน นูยอร์ก
I
แก้
|
|
- * ยกเว้นคำว่า ion (ประจุไฟฟ้า) อ่านว่า "ไอออน" สำหรับ -tion, -sion, -shion ที่ออกเสียง /ʃn/ ให้ถอดเสียงเป็น "ชัน"
O
แก้
|
|
|
- * oe ที่ออกเสียง "อี" มาจาก œ ซึ่งเป็นอักษรโบราณ
- ** คำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาฝรั่งเศส
U, Y
แก้
|
|
|
- ^ โดยทั่วไป หากตามหลังเสียง /tʃ/, /dʒ/, /j/, /ɹ/, พยัญชนะ+/l/, /s/, /l/, /z/, /θ/ จะออกเสียง "อู"
และในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน หากตามหลังเสียง /t/, /d/, /n/ ก็จะออกเสียง "อู" ในขณะที่แบบบริเตนออกเสียง "อิว"
ดูเพิ่มที่ Y-cluster reductions ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (153 ก): 439–464. 14 Sep 1989. สืบค้นเมื่อ 25 Sep 2018.