วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาฮินดี
ข้อมูลในหน้านี้อาจไม่ตรงกับต้นฉบับ สำหรับข้อมูลต้นฉบับ สามารถดูได้ที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา |
การทับศัพท์ภาษาฮินดีในที่นี้เป็นหลักการที่กำหนดตามราชบัณฑิตยสถาน (ปัจจุบันคือสำนักงานราชบัณฑิตยสภา)
หลักทั่วไป
แก้1. หลักเกณฑ์นี้ใช้ถ่ายเสียงภาษาฮินดีที่เขียนด้วยอักษรโรมันตามระบบการเทียบคำอักษรโรมันที่นิยมใช้กันมากที่สุดในการเขียนตำราและเอกสารทางวิชาการ ซึ่งมีการใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษร (diacritical mark) กำกับตัวอักษรเพื่อจำแนกความแตกต่างของอักษรแต่ละตัวได้ชัดเจน เป็นหลักในการจัดทำ
2. การเทียบเสียงสระและพยัญชนะตามหลักเกณฑ์นี้ยึดภาษาฮินดีที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นหลัก ซึ่งเรียกว่าเป็น "สระและพยัญชนะในระบบ" แต่เนื่องจากภาษาฮินดีซึ่งใช้กันอยู่ในปัจจุบันได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับ เปอร์เซีย และภาษาอื่น ๆ ด้วย หลักเกณฑ์นี้จึงได้เทียบเสียงสระและพยัญชนะที่มาจากภาษาอื่น ๆ นั้นไว้ด้วย และเรียกว่าเป็น "สระหรือพยัญชนะนอกระบบ" แต่เทียบไว้เฉพาะที่พบบ่อยเท่านั้น
3. ภาษาฮินดีที่เขียนด้วยอักษรโรมันมีทั้งที่เขียนตามระบบที่ใช้ตัวอักษรโรมันตามหลักเกณฑ์ข้อ 1. และที่ไม่ใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษรกำกับตัวอักษรเนื่องจากไม่สะดวกในการพิมพ์หรือเขียน การทับศัพท์จากอักษรโรมันที่ไม่มีเครื่องหมายเสริมสัทอักษรจึงอาจคลาดเคลื่อนจากศัพท์ในภาษาฮินดีไปบ้าง
4. คำบางคำในภาษาฮินดีที่เขียนด้วยอักษรโรมันเป็นคำที่เขียนตามการออกเสียงของชาวยุโรปและเป็นคำที่ใช้กันทั่วไป เช่น Delhi, Bangalore, Shillong การทับศัพท์คำเหล่านี้ให้ใช้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษแทนหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฮินดี
5. การทับศัพท์ภาษาฮินดีตามหลักเกณฑ์นี้ได้แสดงไว้ 3 รูปแบบ คือ
- 5.1 ทับศัพท์แบบคงรูป หมายถึงการทับศัพท์แบบตรงตามรูปศัพท์เดิมโดยใช้เครื่องหมายพินทุด้วย เพื่อให้ถอดกลับเป็นอักษรโรมันหรืออักษรเทวนาครีได้ถูกต้องและออกเสียงได้ใกล้เคียงกับคำเดิม การทับศัพท์รูปแบบนี้เหมาะสำหรับใช้ในหนังสือหรือเอกสารทางวิชาการ
- 5.2 ทับศัพท์แบบปรับรูป หมายถึงการทับศัพท์โดยปรับให้เข้ากับอักขรวิธีไทย เช่น มีการประวิสรรชนีย์ท้ายคำหรือใส่เครื่องหมายทัณฑฆาต เพื่อให้ออกเสียงได้ง่ายและรูปคำกลมกลืนกับภาษาไทย
- 5.3 ภาษาไทยใช้ หมายถึงคำที่มีใช้อยู่ในภาษาไทยแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต คำเหล่านี้ควรใช้ต่อไปตามเดิม คำบาลีสันสกฤตที่ไทยนำมาใช้ในภาษาไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงหลายลักษณะ เช่น
- 5.3.1 แผลงพยัญชนะ ฏ เป็น "ฎ", ต เป็น "ด", ป เป็น "บ" และ ว เป็น "พ" เช่น
อักษรโรมัน
ṭīka
tej
pātāl
Vārāṇasīทับศัพท์
(แบบคงรูป)
ฏีกา
เตช
ปาตาล
วาราณสีทับศัพท์
(แบบปรับรูป)
ฏีกา
เตชะ
ปาตาละ
วาราณสีภาษาไทยใช้
ฎีกา
เดชะ, เดช
บาดาล
พาราณสี
- 5.3.2 แผลงสระเสียงสั้นเป็นเสียงยาว หรือเสียงยาวเป็นเสียงสั้น เช่น
อักษรโรมัน
bahu
dev
muni
vīthiทับศัพท์
(แบบคงรูป)
พหุ
เทว
มุนิ
วีถิทับศัพท์
(แบบปรับรูป)
พหุ
เทวะ
มุนิ
วีถิภาษาไทยใช้
พหู
เทวา
มุนี
วิถี
- 5.3.3 ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตเพื่อให้ออกเสียงคำนั้นได้ง่ายขึ้นและกลมกลืนกับภาษาไทย เช่น
อักษรโรมัน
madhyasth
Nārāyaṇ
pūrṇ
śabdทับศัพท์
(แบบคงรูป)
มธฺยสฺถ
นารายณ
ปูรฺณ
ศพฺททับศัพท์
(แบบปรับรูป)
มัธยัสถะ
นารายณะ
ปูรณะ
ศัพทะภาษาไทยใช้
มัธยัสถ์
นารายณ์
บูรณ์
ศัพท์
6. การเทียบเสียงสระและพยัญชนะให้ถือตามตารางเทียบเสียงสระภาษาฮินดีและตารางเทียบเสียงพยัญชนะภาษาฮินดี
7. การเรียงสระและพยัญชนะในภาษาฮินดีที่ใช้ในตารางเทียบเสียงตามหลักเกณฑ์นี้ เรียงตามลำดับอักษรโรมัน
8. สระและพยัญชนะภาษาฮินดีที่เขียนด้วยอักษรโรมัน มีดังนี้
- สระและพยัญชนะในระบบ
- สระในระบบ:
- สระและพยัญชนะในระบบ
a = –ะ, –ั ā = –า i = –ิ ī = –ี u = –ุ ū = –ู ṛ (เมื่ออยู่ต้นคำหรือตามหลังพยัญชนะ) = ฤ e = เ– ai = ไ– o = โ– o (ตามหลังสระ) = ว au = เ–า
- พยัญชนะในระบบ:
วรรค ก (กะ): k = ก (กะ) kh = ข (ขะ) g = ค (คะ) gh = ฆ (ฆะ) ṅ = ง (งะ) วรรค จ (จะ): c = จ (จะ) ch = ฉ (ฉะ) j = ช (ชะ) jh = ฌ (ฌะ) ñ = ญ (ญะ) วรรค ฏ (ฏะ): ṭ = ฏ (ฏะ) ṭh = ฐ (ฐะ) ḍ = ฑ (ฑะ) ḍh= ฒ (ฒะ) ṇ = ณ (ณะ) วรรค ต (ตะ): t = ต (ตะ) th = ถ (ถะ) d = ท (ทะ) dh = ธ (ธะ) n = น (นะ) วรรค ป (ปะ): p = ป (ปะ) ph = ผ (ผะ) b = พ (พะ) bh = ภ (ภะ) m = ม (มะ) อวรรค (เศษวรรค): y = ย (ยะ) r = ร (ระ) l = ล (ละ) v = ว (วะ) ś = ศ (ศะ) ṣ = ษ (ษะ) s = ส (สะ) h = ห (หะ)
- สัญลักษณ์พิเศษ:
ṁ (ใช้แทนจันทรพินทุ) = ง ṃ (ใช้แทนอนุสวาร) = ง ḥ = ห์
- สระและพยัญชนะนอกระบบ
- สระนอกระบบ:
- สระและพยัญชนะนอกระบบ
āī = –าย, –าอี iā = เ–ีย, –ยา u = –ุ
- พยัญชนะนอกระบบ:
q = ก kh = ข g̱ = ค z = ซ d = ด b = บ f = ฟ ṛ = ร ṛh = รฺห h = ห, ฮ
9. การใช้เครื่องหมายพินทุ ใช้ในการทับศัพท์แบบคงรูป โดยใส่ไว้ใต้พยัญชนะไทยที่ถอดมาจากพยัญชนะโรมันที่ไม่มีสระกำกับ เช่น
อักษรโรมัน
candra
jhānsīทับศัพท์
(แบบคงรูป)
จนฺทฺระ
ฌานฺสีทับศัพท์
(แบบปรับรูป)
จันทระ
ฌานสีภาษาไทยใช้
จันทร์, จันทรา–
- ยกเว้นพยัญชนะท้ายคำซึ่งเดิม (ในภาษาบาลีและสันสกฤต) มี a กำกับ แต่ในภาษาฮินดีตัดออกไป ไม่ต้องใส่พินทุใต้พยัญชนะนั้น เช่น
อักษรโรมัน
karm
pātālทับศัพท์
(แบบคงรูป)
กรฺม
ปาตาลทับศัพท์
(แบบปรับรูป)
กรรมะ
ปาตาละภาษาไทยใช้
กรรม
บาดาล
- แต่ถ้าพยัญชนะท้ายคำไม่มี a กำกับมาแต่เดิม ก็ใส่พินทุกำกับไว้ด้วย เช่น
อักษรโรมัน
brahmacārin
samrāṭทับศัพท์
(แบบคงรูป)
พฺรหฺมจารินฺ
สมฺราฏฺทับศัพท์
(แบบปรับรูป)
พรหมจาริน
สัมราฏภาษาไทยใช้ – –
10. การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต ใช้ในการทับศัพท์แบบปรับรูปในคำที่เป็นคำนอกระบบ (ไม่ได้มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต) โดยใส่บนพยัญชนะที่ไม่ต้องการให้ออกเสียง เช่น
อักษรโรมัน
bādshāh
Kutubminārทับศัพท์
(แบบคงรูป)
บาดฺชาหฺ
กุตุบฺมินารฺทับศัพท์
(แบบปรับรูป)
บาดชาห์
กุตุบมินาร์ภาษาไทยใช้ – –
11. การประวิสรรชนีย์ท้ายคำ ใช้ในการทับศัพท์แบบคงรูปและปรับรูป ดังนี้
- 11.1 ใช้ทับศัพท์สระ a เมื่ออยู่ท้ายคำทั้งแบบคงรูปและปรับรูป เช่น
อักษรโรมัน
mantra
śiṣyaทับศัพท์
(แบบคงรูป)
มนฺตฺระ
ศิษฺยะทับศัพท์
(แบบปรับรูป)
มันตระ
ศิษยะภาษาไทยใช้
มนตร์
ศิษย์
- 11.2 ถ้าพยัญชนะท้ายคำมี a มาแต่เดิม (ในภาษาบาลีและสันสกฤต) แต่ในภาษาฮินดีได้ตัดออก ในการทับศัพท์แบบปรับรูปให้ประวิสรรชนีย์ด้วย เช่น
อักษรโรมัน
pūrṇ
saṃsārทับศัพท์
(แบบคงรูป)
ปูรฺณ
สงฺสารทับศัพท์
(แบบปรับรูป)
ปูรณะ
สังสาระภาษาไทยใช้
บูรณ์
สงสาร, สังสาร (วัฏ)
ตารางเทียบเสียง
แก้เสียงพยัญชนะ
แก้อักษรโรมัน | อักษรไทย | อักษรเทวนาครี | ตัวอย่าง | |||
---|---|---|---|---|---|---|
อักษรโรมัน | ทับศัพท์ (แบบคงรูป) |
ทับศัพท์ (แบบปรับรูป) |
ภาษาไทยใช้ | |||
B | ||||||
b | พ | ब | Buddh | พุทฺธ | พุทธะ | พุทธะ, พุทธ |
śabd | ศพฺท | ศัพทะ | ศัพท์ | |||
Śatābdi | ศตาพฺทิ | ศตาพทิ | ||||
b[# 1] | บ | ब | baṛā | บรา | บรา | |
kitāb | กิตาบฺ | กิตาบ | ||||
Kutubminār | กุตุบฺมินารฺ | กุตุบมินาร์ | ||||
bh | ภ | भ | abhyās | อภฺยาส | อัภยาสะ | |
Bhīm | ภีม | ภีมะ | ภีมะ, ภีม | |||
C | ||||||
c[1] | จ | च | baccā | บจฺจา | บัจจา | |
candra | จนฺทฺระ | จันทระ | จันทร์ | |||
ch[2] | ฉ | छ | chatr | ฉตฺร | ฉัตระ | ฉัตร, ฉัตรา |
D | ||||||
d | ท | द | Buddh | พุทฺธ | พุทธะ | พุทธะ, พุทธ |
dās | ทาส | ทาสะ | ทาส, ทาสา | |||
d[# 1] | ด | द | bādshāh | บาดฺชาหฺ | บาดชาห์ | |
Delhī | เดลฺฮี | เดลฮี | เดลี | |||
ḍ[3] | ฑ[4] | ड | ḍamaru | ฑมรุ | ฑมรุ | |
krīḍā | กฺรีฑา | กรีฑา | กรีฑา | |||
laḍḍū | ลฑฺฑู | ลัฑฑู | ||||
dh | ธ | ध | dharm | ธรฺม | ธรรมะ | ธรรม |
Madhya Pradeś | มธฺยะ ปฺรเทศ | มัธยะ ปรเทศะ | มัธยประเทศ | |||
nidhi | นิธิ | นิธิ | นิธิ | |||
ḍh | ฒ | ढ | ḍhol | โฒลฺ | โฒละ | |
F | ||||||
f[# 1] | ฟ | फ़ | faqīr | ฟกีรฺ | ฟกีร์ | |
gaffār | กฟฺฟารฺ | กัฟฟาร์ | ||||
G | ||||||
g | ค | ग | agni | อคฺนิ | อัคนิ | อัคนี |
go | โค | โค | โค | |||
g̱[# 1][5] | ค | ग़ | bāg̱ | บาคฺ | บาค | |
G̱aznavid | คซฺนวิดฺ | คัซนวิด | ||||
G̱aznī | คซฺนี | คัซนี | ||||
G̱iyas-ud-dīn | คิยสฺอุดฺดีนฺ | คิยัส-อุด-ดีน | ||||
Mog̱ul, Mug̱al | โมคลฺ, มุคลฺ | โมคัล, มุคัล | โมกุล, มุคัล | |||
Tug̱lākābād | ตุคฺลากาบาด | ตุคลากาบาด | ||||
gh | ฆ | घ | bāgh | พาฆฺ | พาฆ | |
ghoṣ | โฆษ | โฆษะ | โฆษะ, โฆษ | |||
H | ||||||
h | ห | ह | brahm | พฺรหฺม | พรหมะ | พรหม |
Himālay | หิมาลย | หิมาลยะ | หิมาลัย | |||
h[# 1] | ห, ฮ | ह | Ahmadābād | อหฺมดาบาดฺ | อัห์มดาบาด | |
Hindū | ฮินฺดู | ฮินดู | ฮินดู | |||
ḥ | ห์ | ः | duḥkh | ทุห์ข | ทุห์ขะ | ทุกข์ |
J | ||||||
j | ช | ज | jay | ชย | ชยะ | ชัย, ชัยโย |
vijñān | วิชฺญาน | วิชญานะ | วิญญาณ | |||
jh | ฌ | झ | jhānsī | ฌานฺสี | ฌานสี | |
K | ||||||
k | ก | क | Kuru | กุรุ | กุรุ | |
yakṣ | ยกฺษ | ยักษะ | ยักษ์, ยักษา | |||
kh | ข | ख | Kharoṣṭhī | ขโรษฺฐี | ขโรษฐี | |
Sikh | สิข | สิขะ | สิข, สิกข์ | |||
śikhar | ศิขร | ศิขระ | ศิขร | |||
kh[# 1][6] | ข | ख़ | Ālī Khān | อาลี ขานฺ | อาลี ขาน | อาลี ข่าน |
Bakht Khān | บขฺตฺ ขาน | บัขต์ ขาน | ||||
khilāfat | ขิลาฟตฺ | ขิลาฟัต | ||||
L | ||||||
l | ล | ल | Lakṣmaṇ | ลกฺษฺมณ | ลักษมณะ | ลักษมัณ, ลักษมณ์ |
vallabh | วลฺลภ | วัลลภะ | วัลลภ, วัลลภา | |||
M | ||||||
m | ม | म | Mahādev | มหาเทว | มหาเทวะ | มหาเทพ |
samrāṭ | สมฺราฏฺ | สัมราฏ | ||||
ṁ[7] | ง | ँ | hūṁ | ฮูง | ฮูง | |
ṃ[8] | ง | ं | daṃṣṭrā | ทงฺษฺฏฺรา | ทังษฏรา | |
saṃhitā | สงฺหิตา | สังหิตา | ||||
saṃsār | สงฺสาร | สังสาระ | สงสาร, สังสาร (วัฏ) | |||
saṃyog | สงฺโยค | สังโยคะ | สังโยค | |||
N | ||||||
n | น | न | mantra | มนฺตฺระ | มันตระ | มนตร์ |
nīti | นีติ | นีติ | นีติ, นิติ | |||
ṅ[9] | ง | ङ | aṅg | องฺค | อังคะ | องค์ |
ñ[10] | ญ | ञ | Sañjay | สญฺชย | สัญชยะ | สญชัย, สัญชัย |
ṇ[11] | ณ | ण | maṇḍan | มณฺฑน | มัณฑนะ | มัณฑนา |
P | ||||||
p | ป | प | Pāṭaliputra | ปาฏลิปุตฺระ | ปาฏลิปุตระ | ปาฏลีบุตร |
pitā | ปิตา | ปิตา | บิดา | |||
prāpt | ปฺราปฺต | ปราปตะ | ปราบดา (ภิเษก) | |||
samāpt | สมาปฺต | สมาปตะ | ||||
ph | ผ | फ | phal | ผล [ผะ-ละ] | ผละ [ผะ-ละ] | ผล [ผน] |
Q | ||||||
q[# 1][12] | ก | क़ | qilā | กิลา | กิลา | |
R | ||||||
r | ร | र | rājadhānī | ราชธานี | ราชธานี | ราชธานี |
ṛ[# 1][13] | ร | ड़ | baṛā | บรา | บรา | |
baṛbaṛ | บรฺบรฺ | บรบร | ||||
bīṛī | บีรี | บีรี | ||||
Kāṭhiāvāṛ | กาเฐียวารฺ, กาฐยาวารฺ | กาเฐียวาร, กาฐยาวาร | ||||
ṛh[# 1][14] | รฺห[15] | ढ़ | Caṇḍīgaṛh | จณฺฑีครฺห | จัณฑีครห์ | |
S | ||||||
s | ส | स | Somadev | โสมเทว | โสมเทวะ | โสมเทพ |
vastu | วสฺตุ | วัสตุ | วัสดุ, พัสดุ | |||
ś[16] | ศ | श | Kaśyap | กศฺยป | กัศยปะ | กัศยป |
śāstra | ศาสฺตฺร | ศาสตระ | ศาสตร์ | |||
ṣ[17] | ษ | ष | Ṣaḍānan | ษฑานน | ษฑานนะ | |
śiṣya | ศิษฺย | ศิษยะ | ศิษย์ | |||
T | ||||||
t | ต | त | pātāl | ปาตาล | ปาตาละ | บาดาล |
pātra | ปาตฺระ | ปาตระ | บาตร | |||
tapas | ตปสฺ | ตปัส | ตบะ | |||
ṭ[18] | ฏ | ट | Bhaṭṭācārya | ภฏฺฏาจารฺยะ | ภัฎฎาจารยะ | ภัฏฏาจารย์ |
ṭīkā | ฏีกา | ฏีกา | ฎีกา | |||
th | ถ | थ | path | ปถ | ปถะ | บถ |
sthān | สฺถาน | สถานะ | สถาน, สถานะ | |||
thambh | ถมฺภ | ถัมภะ | ||||
ṭh[19] | ฐ | ठ | jhūṭh | ฌูฐฺ | ฌูฐ | |
pīṭh | ปีฐะ | ปีฐะ | บิฐ | |||
ṭhākur | ฐากุรฺ | ฐากุรฺ | ฐากูร | |||
V | ||||||
v[20] | ว | व | divya | ทิวฺยะ | ทิวยะ | ทิพย์ |
Viśvanāth | วิศฺวนาถ | วิศวนาถะ | วิศวนาถ | |||
Y | ||||||
y | ย | य | pey | เปย | เปยะ | |
Yamunā | ยมุนา | ยมุนา | ยมนา, ยมุนา | |||
Z | ||||||
z[# 1] | ซ | ज़ | āzād | อาซาดฺ | อาซาด | |
G̱aznī | คซฺนี | คัซนี | ||||
zang̱ārī | ซงฺคารี | ซังคารี |
- หมายเหตุ
- ↑ บางครั้งมีผู้ใช้ ch แทน c เช่น candra = จันทระ ใช้เป็น chandra
- ↑ บางครั้งมีผู้ใช้ chh แทน ch เช่น chatr = ฉัตระ ใช้เป็น chhatr
- ↑ บางครั้งมีผู้ใช้ ḏ แทน ḍ เช่น krīḍā = กรีฑา ใช้เป็น krīḏā
- ↑ พยัญชนะ ฑ ในภาษาฮินดีออกเสียงใกล้เคียงเสียง ด ในภาษาไทย
- ↑ บางครั้งมีผู้ใช้ g, g̣, gh แทน g̱ เช่น bāg̱ = บาค ใช้เป็น bāg, bāg̣, bāgh
- ↑ บางครั้งมีผู้ใช้ ḳḥ, ḳh แทน kh เช่น khilāfat = ขิลาฟัต ใช้เป็น ḳḥilāfat, ḳhilāfat
- ↑ ṁ ใช้แทนจันทรพินทุ (candrabindu) เป็นเครื่องหมายกำกับสระเพื่อให้ออกเสียงขึ้นจมูกคล้ายเสียง "ง" จึงใช้ "ง" แทน
- ↑ ṃ ใช้แทนอนุสวาร (anusvāra) เป็นเครื่องหมายกำกับสระ เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะเศษวรรคจะออกเสียงขึ้นจมูกฟังคล้ายเสียง "ง" จึงใช้ "ง" แทน
- ↑ ṅ ที่เป็นตัวสะกดและตามด้วยพยัญชนะในวรรค ก (k, kh, g, gh, ṅ) จะออกเสียงเป็น "ง" และบางทีก็ใช้ n, ng แทน ṅ เช่น aṅg = อังคะ ใช้เป็น ang, angg
- ↑ ñ ที่เป็นตัวสะกดและตามด้วยพยัญชนะในวรรค จ (c, ch, j, jh, ñ) จะออกเสียงเป็น "ญ" และบางทีก็ใช้ n แทน ñ เช่น Sañjay = สัญชยะ ใช้เป็น Sanjay
- ↑ ṇ ที่เป็นตัวสะกดและตามด้วยพยัญชนะในวรรค ฏ (ṭ, ṭh, ḍ, ḍh, ṇ) จะออกเสียงเป็น "ณ" และบางทีก็ใช้ n, ṉ แทน ṇ เช่น maṇḍan = มัณฑนะ ใช้เป็น manḍan, maṉḍan
- ↑ บางครั้งมีผู้ใช้ ḳ แทน q เช่น qilā = กิลา ใช้เป็น ḳilā
- ↑ บางครั้งมีผู้ใช้ ṟ แทน ṛ เช่น baṛā = บรา ใช้เป็น baṟā
- ↑ บางครั้งมีผู้ใช้ rh แทน ṛh เช่น Caṇḍīgaṛh = จัณฑีครห์ ใช้เป็น Caṇḍīgarh
- ↑ รฺห แทนพยัญชนะตัวเดียวในภาษาฮินดีที่ออกเสียงเหมือน ร ตามด้วยกลุ่มลม
- ↑ บางครั้งมีผู้ใช้ sh แทน ś เช่น śāstra = ศาสตระ ใช้เป็น shāstra
- ↑ บางครั้งมีผู้ใช้ s, sh แทน ṣ เช่น Ṣaḍānan = ษฑานนะ ใช้เป็น Saḍānan, Shaḍānan
- ↑ บางครั้งมีผู้ใช้ ṯ แทน ṭ เช่น ṭīkā = ฏีกา ใช้เป็น ṯīkā
- ↑ บางครั้งมีผู้ใช้ th แทน ṭh เช่น pīṭh = ปีฐะ ใช้เป็น pīth
- ↑ - บางครั้งมีผู้ใช้ w แทน v เช่น divya = ทิวยะ ใช้เป็น diwya
- v ที่มี a ตามหลัง และเป็นพยางค์ท้ายของคำ บางครั้งจะตัด a ที่ตามมาออก แล้วเปลี่ยน v เป็น o เช่น deva ตัด a ท้ายคำออก เป็น "dev" แล้วเปลี่ยน v เป็น o เป็น deo
เสียงสระ
แก้อักษรโรมัน | อักษรไทย | อักษรเทวนาครี | ตัวอย่าง | |||
---|---|---|---|---|---|---|
อักษรโรมัน | ทับศัพท์ (แบบคงรูป) |
ทับศัพท์ (แบบปรับรูป) |
ภาษาไทยใช้ | |||
A | ||||||
a (เมื่อไม่ได้อยู่ท้ายคำ) | अ | nar | นร | นระ | นร, นระ, นรา | |
a (เมื่อตามด้วยพยัญชนะที่ไม่มีสระ ตามมา และไม่ใช่พยางค์สุดท้าย) |
–ฺ แบบคงรูป[1] |
ไม่ปรากฏรูป | samrāṭ | สมฺราฏฺ | สัมราฏ | |
–ั แบบปรับรูป[2] | ||||||
a (เมื่ออยู่ท้ายคำ) | –ะ | ไม่ปรากฏรูป | puṇya | ปุณฺยะ | ปุณยะ | บุณย์ |
ā | –า | आ | Nārāyaṇ | นารายณ | นารายณะ | นารายณ์ |
ai[3] | ไ– | ऐ | kailās | ไกลาส | ไกลาสะ | ไกรลาส, ไกลาส |
āī[# 1] | –าย, –าอี | आई | kasturbāī | กสฺตุรฺบาย, กสฺตุรฺบาอี | กัสตุรบาย, กัสตุรบาอี | |
au[4] | เ–า | औ | gaurav | เคารว | เคารวะ | เคารพ |
E | ||||||
e | เ– | ए | dev | เทว | เทวะ | เทวะ, เทวา, เทพ |
I | ||||||
i | –ิ | इ | Śiv | ศิว | ศิวะ | ศิวะ |
ī[5] | –ี | ई | nārī | นารี | นารี | นารี |
iā[# 1] | เ–ีย, –ยา | इआ | Kāṭhiāvāṛ | กาเฐียวารฺ, กาฐยาวารฺ | กาเฐียวาร, กาฐยาวาร | |
O | ||||||
o | โ– | ओ | lok | โลก | โลกะ | โลก, โลกา |
o (เมื่อตามหลังสระ) | ว | व | deo | เทว | เทวะ | เทวะ, เทวา, เทพ |
Rao, Rāo | ราวฺ | ราว | ||||
U | ||||||
u | –ุ | उ | guru | คุรุ | คุรุ | คุรุ, ครู |
u[# 1] | –ุ[6] | उ | Kutubminār | กุตุบฺมินารฺ | กุตุบมินาร์ | |
ū[7] | –ู | ऊ | pūrṇ | ปูรฺณ | ปูรณะ | บูรณ์ |
R | ||||||
ṛ (เมื่ออยู่ต้นคำหรือตามหลังพยัญชนะ)[8] | ฤ | ॠ | pitṛ | ปิตฺฤ | ปิตฤ | |
ṛṣi | ฤษิ | ฤษิ | ฤษี, ฤๅษี |
- หมายเหตุ
- ↑ เครื่องหมายพินทุใส่ใต้พยัญชนะหลังสระ a ในคำทับศัพท์แบบคงรูป
- ↑ ยกเว้นพยัญชนะที่ตามมาเป็น h, v ไม่ต้องเปลี่ยนเป็นไม้หันอากาศ เช่น brahm = พรหมะ gaurav = เคารวะ Navaya = นวยะ และถ้าพยัญชนะที่ตามมาเป็น r ให้ใช้ "รร" เช่น karm = กรรมะ gandharv = คันธรรวะ
- ↑ บางครั้งมีผู้ใช้ y แทน ai เช่น Faizābād = ไฟซาบาด ใช้เป็น Fyzābād, Haiderābād = ไฮเดอราบาด ใช้เป็น Hyderābād และบางครั้งก็ใช้ ai แทน ay เช่น jay = ชยะ ใช้เป็น jai
- ↑ บางครั้งมีผู้ใช้ ow แทน au เช่น cauk = เจาก์ ใช้เป็น chowk
- ↑ บางครั้งมีผู้ใช้ ee แทน ī เช่น Mīra = มีรา ใช้เป็น Meerā, Nīra = นีรา ใช้เป็น Neerā
- ↑ มีบางคำออกเสียง "อะ" เช่น Mog̱ul = โมคัล Trivandrum = ตริวันดรัม
- ↑ บางครั้งมีผู้ใช้ oo แทน ū เช่น Mūl = มูล ใช้เป็น Mool, Pūna = ปูนา ใช้เป็น Poonā
- ↑ บางครั้งมีผู้ใช้ ri แทน ṛ เช่น pitṛ = ปิตฤ ใช้เป็น pitri
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฮินดี ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาจีนและภาษาฮินดี ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2548. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ 67 ง. 18 สิงหาคม 2548. หน้า 1.
- หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฮินดี ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาจีนและภาษาฮินดี ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2549. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนพิเศษ 2 ง. 8 มกราคม 2550. หน้า 1.