วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาเวียดนาม
ข้อมูลในหน้านี้อาจไม่ตรงกับต้นฉบับ สำหรับข้อมูลต้นฉบับ สามารถดูได้ที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา |
การทับศัพท์ภาษาเวียดนามในที่นี้เป็นหลักการที่กำหนดตามราชบัณฑิตยสถาน (ปัจจุบันคือสำนักงานราชบัณฑิตยสภา)
หลักทั่วไป
แก้1. หลักเกณฑ์นี้ใช้สำหรับเขียนทับศัพท์คำภาษาเวียดนามที่เขียนด้วยอักษรเวียดนามปัจจุบัน ซึ่งเรียกว่า จื๋อโกว๊กหงือ (chữ Quốc ngữ) หรืออักษรโรมันซึ่งมีเครื่องหมายพิเศษกำกับ ภาษาเวียดนามมีหลายสำเนียง เช่น สำเนียงฮานอย สำเนียงเว้ สำเนียงนครโฮจิมินห์ ฯลฯ ในหลักเกณฑ์นี้จะทับศัพท์ตามสำเนียงฮานอย
2. การเทียบเสียงพยัญชนะและสระ ให้ถือตามตารางการเทียบเสียงพยัญชนะและสระภาษาเวียดนาม
3. คำทับศัพท์ที่มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เช่น คำในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ฯลฯ ให้ใช้ตามประกาศครั้งล่าสุด
4. คำที่ไทยรับมาใช้เป็นเวลานานจนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้ว อาจใช้ต่อไปตามเดิมได้ เช่น ไซ่ง่อน อันนัม เหงียน
5. วรรณยุกต์ภาษาเวียดนาม มี 6 ระดับ ดังนี้
- 5.1 งาง (ngang) ไม่มีเครื่องหมายกำกับ เสียงสูงไม่เปลี่ยนระดับ คล้ายเสียงสามัญแต่สูงกว่า ซึ่งไม่มีในภาษาไทย ในการทับศัพท์จึงเลือกใช้เสียงสามัญ เช่น
ma
câm
cơmมา
เกิม (เสียงสั้น)
เกิม (เสียงยาว)"ผี"
"ใบ้"
"ข้าว"
- 5.2 ฮเหวี่ยน (huyền) ใช้เครื่องหมาย ` กำกับ เสียงต่ำไม่เปลี่ยนระดับ คล้ายเสียงเอก ซึ่งไม่มีในภาษาไทย ในการทับศัพท์จึงเลือกใช้เสียงเอก เช่น
mà
bàหม่า
บ่า"แต่"
"ย่า, ยาย"
- 5.3 หงา (ngã) ใช้เครื่องหมาย ˜ กำกับ เสียงสูง-ขึ้นและตอนกลางกักที่เส้นเสียง ออกเสียงคล้าย 2 จังหวะโดยหยุดหลังจังหวะแรกเล็กน้อย ซึ่งไม่มีในภาษาไทย ในการทับศัพท์จึงเลือกใช้เสียงจัตวา เช่น
xã
rõสา
สอ"ตำบล"
"ชัด"
- 5.4 หอย (hỏi) ใช้เครื่องหมาย ̉ กำกับ เสียงต่ำ-ขึ้น คล้ายเสียงจัตวา ซึ่งไม่มีในภาษาไทย ในการทับศัพท์จึงเลือกใช้เสียงจัตวา เช่น
mả
rẻหมา
แส"หลุมศพ"
"ราคาถูก"
- 5.5 ซัก (sắc) ใช้เครื่องหมาย ´ กำกับ เสียงสูง-ขึ้น คล้ายเสียงตรี ซึ่งไม่มีในภาษาไทย ในการทับศัพท์จึงเลือกใช้เสียงตรี เช่น
má
mátม้า
ม้าต"แก้ม"
"สดชื่น, เย็นสบาย"
- 5.6 หนั่ง (nặng) ใช้เครื่องหมาย ̣ กำกับ เสียงต่ำ-ตกและตอนท้ายกักที่เส้นเสียง คล้ายเสียงเอก แต่เสียงหนักกว่าและหยุดทันทีในตอนท้าย ซึ่งไม่มีในภาษาไทย ในการทับศัพท์จึงเลือกใช้เสียงเอกและให้ใช้สระเสียงสั้น เช่น
mạ
chị
mạnหมะ
จิ
หมั่น"ต้นกล้า"
"คุณผู้หญิง, พี่สาว"
"บริเวณ, เขต"
6. เสียงพยัญชนะเวียดนาม เทียบได้กับเสียงพยัญชนะไทยทั้งอักษรสูงและอักษรต่ำ ขึ้นอยู่กับเสียงวรรณยุกต์ เช่น
hữu
hưuหืว
ฮืว"มี, เป็นเจ้าของ, อยู่ด้านขวา"
"หยุด, เกษียณ"
- ในกรณีของอักษรต่ำที่ไม่มีอักษรสูงเป็นคู่ ให้ใช้ ห นำหน้า เช่น
vải หวาย "ผ้า"
- ในกรณีที่เป็นอักษรควบกล้ำ ไม่ถือว่า ห เป็นส่วนหนึ่งของพยัญชนะควบกล้ำ เพราะ ห เป็นเพียงอักษรที่ใช้กำกับให้เป็นเสียงสูงเท่านั้น เช่น
ngoan ngoãn งวาน-งหวาน "ว่านอนสอนง่าย"
- ในกรณีที่มีสระหน้า ให้เลื่อนสระหน้าไปไว้หน้า ห เพื่อช่วยการอ่าน เช่น
ngoen ngoẻn แงวน-งแหวน "ปากแข็ง"
7. การเว้นวรรค คำที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อสถานที่ ชื่อทางภูมิศาสตร์ ฯลฯ ที่เขียนแยกกันในภาษาเวียดนาม เมื่อทับศัพท์ให้เขียนติดกันไป ไม่ต้องแยกคำตามการเขียนในภาษาเวียดนาม เช่น
Hội An
Gia Long=
=โห่ยอาน
ซาล็อง
- ในกรณีที่เป็นชื่อบุคคลให้เขียนเว้นวรรคตามการเขียนในภาษาเวียดนาม เช่น
Võ Nguyên Giáp = หวอ เงวียน ซ้าป
8. การใช้เครื่องหมายยัติภังค์ คำที่เป็นชื่อเฉพาะในภาษาเวียดนามที่มีเครื่องหมายยัติภังค์ เมื่อทับศัพท์ให้เขียนเครื่องหมายยัติภังค์ตามการเขียนในภาษาเวียดนาม เช่น
Bà Rịa-Vũng Tàu = บ่าเสียะ-หวุงเต่า
- คำทับศัพท์ที่เป็นชื่อเฉพาะ เมื่อทับศัพท์เป็นภาษาไทยแล้วอาจอ่านแยกพยางค์ผิด จะใส่เครื่องหมายยัติภังค์เพื่อช่วยให้อ่านถูกต้องก็ได้ เช่น
Cao Bá Quát = กาวบ๊า-กว๊าต
9. การใช้ไม้ไต่คู้ คำทับศัพท์ให้ใช้ไม้ไต่คู้ในกรณีที่มีเสียงสั้น แต่ถ้ามีเครื่องหมายวรรณยุกต์ให้ตัดไม้ไต่คู้ออกตามอักขรวิธีไทยปัจจุบัน เช่น
khuây
khuấyเคว็ย
เคว้ย"ลืม, สงบ"
"คน (กริยา)"
ตารางเทียบเสียง
แก้เสียงพยัญชนะ
แก้รูปเขียน | เสียง | ตำแหน่ง | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ต้นคำ | ท้ายพยางค์ | ||||||||
ใช้ | ตัวอย่างคำ | คำทับศัพท์ | ความหมาย | ใช้ | ตัวอย่างคำ | คำทับศัพท์ | ความหมาย | ||
b | ɓ | บ | bay | บัย | บิน | ||||
c | k | ก | các | ก๊าก | เหล่า, บรรดา, พวก | ก | bác | บ๊าก | ลุง |
ch | c[# 1] | จ | cha | จา | บิดา | ก | thích | ทิก | ชอบ |
d | z | ซ, ส[# 2] | da | ซา | ผิวหนัง | ||||
dậy | เส่ย | ตื่นนอน | |||||||
đ | ɗ | ด | đình | ดิ่ญ | ศาลา | ||||
g[# 3] | ɣ | ก | gà | ก่า | ไก่ | ||||
gh | ɣ | ก | ghe | แก | เรือไม้ขนาดเล็ก | ||||
gi[# 4] | z | ซ, ส[# 5] | già | ส่า | แก่ | ||||
giá | ซ้า | ราคา | |||||||
h | h | ฮ, ห[# 6] | họ | เหาะ | นามสกุล | ||||
ho | ฮอ | ไอ | |||||||
k | k | ก | kể | เก๋ | เล่า | ||||
kh | x | ค, ข[# 7] | khi | คี | เวลา, ขณะ, เมื่อ | ||||
khỉ | ขี | ลิง | |||||||
l | l | ล | lo | ลอ | กังวล, เป็นห่วง | ||||
m | m | ม | mẹ | แหมะ | แม่ | ม | cằm | กั่ม | คาง |
n | n | น | no | นอ | อิ่ม | น | ăn | อัน | กิน |
ng | ŋ | ง | ngà | หง่า | งาช้าง | ง | ông | อง | ท่าน |
ngh | ŋ | ง | nghi | งี | สงสัย | ||||
nh | ɲ[# 8] | ญ | nhà | หญ่า | บ้าน | ญ | sinh | ซิญ | เกิด |
nhanh | ญัญ | เร็ว | |||||||
p | p | ป | khép | แค้ป | ปิด | ||||
ph | f | ฟ, ฝ[# 9] | Pháp | ฟ้าป | ฝรั่งเศส | ||||
phở | เฝอ | ก๋วยเตี๋ยว | |||||||
qu | kw | กว | quan | กวาน | เจ้าหน้าที่ | ||||
r | z | ซ, ส[# 10] | ra | ซา | ออกไป | ||||
rổ | โส | ตะกร้า | |||||||
s | s | ซ, ส[# 11] | sư | ซือ | พระ | ||||
sả | สา | ตะไคร้ | |||||||
t | t | ต | tôi | โตย | ฉัน | ต | bút | บู๊ต | ปากกา |
th | tʰ | ท, ถ[# 12] | thu | ทู | ฤดูใบไม้ร่วง | ||||
thả | ถา | ปล่อย | |||||||
tr | c | จ | trà | จ่า | น้ำชา | ||||
v | v | ว | vui | วูย | สนุก | ||||
x | s | ซ, ส[# 13] | xa | ซา | ไกล | ||||
xã | สา | ตำบล |
- หมายเหตุ
- ↑ เมื่ออยู่ท้ายคำมักออกเสียงเป็น [k̟] ในสำเนียงฮานอย
- ↑ ใช้ ส ในกรณีที่เป็นเสียงเอกหรือเสียงจัตวา
- ↑ ยกเว้นที่ตามด้วย i เพราะ gi แทนเสียง /z/ ซึ่งในการทับศัพท์แทนด้วย ซ, ส
- ↑ ยกเว้นคำ gì (สี่) = อะไร ซึ่งละสระ i เพราะรูป gi ปรากฏร่วมกับ i, y ไม่ได้
- ↑ ใช้ ส ในกรณีที่เป็นเสียงเอกหรือเสียงจัตวา
- ↑ ใช้ ห ในกรณีที่เป็นเสียงเอกหรือเสียงจัตวา
- ↑ ใช้ ข ในกรณีที่เป็นเสียงเอกหรือเสียงจัตวา
- ↑ เมื่ออยู่ท้ายคำมักออกเสียงเป็น [ŋ̟] ในสำเนียงฮานอย
- ↑ ใช้ ฝ ในกรณีที่เป็นเสียงเอกหรือเสียงจัตวา
- ↑ ใช้ ส ในกรณีที่เป็นเสียงเอกหรือเสียงจัตวา
- ↑ ใช้ ส ในกรณีที่เป็นเสียงเอกหรือเสียงจัตวา
- ↑ ใช้ ถ ในกรณีที่เป็นเสียงเอกหรือเสียงจัตวา
- ↑ ใช้ ส ในกรณีที่เป็นเสียงเอกหรือเสียงจัตวา
เสียงสระ
แก้สระเดี่ยว
แก้รูปเขียน | เสียง | พยางค์ปิด[# 1] | พยางค์เปิด[# 2] | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ใช้ | ตัวอย่างคำ | คำทับศัพท์ | ความหมาย | ใช้ | ตัวอย่างคำ | คำทับศัพท์ | ความหมาย | ||
A | |||||||||
a | aː[# 3] | –า | màn | หม่าน | ผ้าม่าน | –า | ta | ตา | เรา |
–ั[# 4] | nhanh | ญัญ | เร็ว | ||||||
ă | a | –ั | mặn | หมั่น | เค็ม | ||||
â | ə | เ–ิ | tân | เติน | ใหม่ | ||||
E | |||||||||
e | ɛː | แ– | em | แอม | น้อง | แ– | mẹ | แหมะ | แม่ |
ê | e[# 5] | เ–ะ (ลดรูป)[# 6] | lệnh | เหล่ญ | คำสั่ง | ||||
eː | เ– | bên | เบน | ข้าง | เ– | tê | เต | เหน็บชา | |
I, Y | |||||||||
i, y | i | –ิ[# 7] | lịch | หลิก | ปฏิทิน | ||||
iː | –ี | in | อีน | พิมพ์ | –ี | đi | ดี | ไป | |
Mỹ | หมี | อเมริกา | |||||||
O | |||||||||
o[# 8] | ɔ | เ–าะ[# 9] | xong | ซ็อง | เสร็จ | ||||
ɔː | –อ | con | กอน | ลูก | –อ | có | ก๊อ | มี | |
ô[# 10] | o | โ–ะ (ลดรูป)[# 11] | sông | ซง | แม่น้ำ | ||||
oː | โ– | bốn | โบ๊น | จำนวนสี่ | โ– | cô | โก | อาผู้หญิง, คุณ (ผู้หญิง) | |
ơ | ɜː | เ–อ | lớn | เลิ้น | ใหญ่ | เ–อ | mở | เหมอ | เปิด |
U | |||||||||
u | u | –ุ[# 12] | chúc | จุ๊ก | อวยพร | ||||
uː | –ู | núp | นู้ป | ซ่อนตัว | –ู | tủ | ตู๋ | ตู้ | |
ư | ɯ | –ึ[# 13] | nhưng | ญึง | แต่ว่า | ||||
ɯː | –ือ | như | ญือ | เหมือน |
- หมายเหตุ
- ↑ พยางค์ปิด หมายถึง พยางค์ที่มีพยัญชนะท้าย
- ↑ พยางค์เปิด หมายถึง พยางค์ที่ไม่มีพยัญชนะท้าย
- ↑ เมื่อตามด้วย ch และ nh จะออกเสียงเป็น [aj] ในสำเนียงฮานอย เช่น sách [sajk̟˧˥], nhanh [ɲajŋ̟˧˧]
- ↑ เมื่อตามด้วย nh
- ↑ เมื่อตามด้วย ch และ nh จะออกเสียงเป็น [əj] ในสำเนียงฮานอย เช่น xếch [səjk̟˧˥], lệnh [ləjŋ̟˧ˀ˨ʔ]
- ↑ เมื่อตามด้วย c, ch, k, ng และ nh
- ↑ เมื่อตามด้วย c, ch, k, ng และ nh
- ↑ ในการเขียนคำเลียนเสียง คำภาษาถิ่น หรือคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ อาจใช้ oo ซึ่งออกเสียง ออ เช่น xoong (ซอง) เป็นภาษากลาง หมายถึง หม้อ
- ↑ เมื่อตามด้วย c, ch, k, ng และ nh
- ↑ ในการเขียนคำเลียนเสียง คำภาษาถิ่น หรือคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ อาจใช้ ôô ซึ่งออกเสียง โอ เช่น lôông tôông (โลงโตง) เป็นภาษาถิ่น หมายถึง เทศกาลลงทุ่งของชาวไท
- ↑ เมื่อตามด้วย c, ch, k, ng และ nh
- ↑ เมื่อตามด้วย c, ch, k, ng และ nh
- ↑ เมื่อตามด้วย c, ch, k, ng และ nh
สระประสมสองเสียง
แก้รูปเขียน | เสียง | ใช้ | ตัวอย่างคำ | คำทับศัพท์ | ความหมาย |
---|---|---|---|---|---|
A | |||||
ai | aːj | –าย | ai | อาย | ใคร |
bài | บ่าย | บทเรียน | |||
ao | aːw | –าว | ao | อาว | สระน้ำ |
cao | กาว | สูง | |||
au | aw | เ–า | nhau | เญา | ซึ่งกันและกัน |
sáu | เซ้า | จำนวนหก | |||
âu | əw | เ–ิว | đâu | เดิว | ไหน |
ay | aj | –ัย | cay | กัย | เผ็ด |
ây | əj | เ–็ย | cây | เก็ย | ต้นไม้ |
E | |||||
eo | ɛːw | แ–ว | mèo | แหม่ว | แมว |
êu | eːw | เ–ว | đều | เด่ว | ต่างก็, ทั้งหมด |
I | |||||
ia | iə | เ–ีย | bia | เบีย | เบียร์, แผ่นหินสลัก |
iê | iə | เ–ีย | tiếng | เตี๊ยง | เสียง, ภาษา |
iu | iːw | –ีว | dìu | สี่ว | จูง |
dịu | สิ่ว | นุ่ม, อ่อนโยน | |||
O | |||||
oa | waː | –วา | hoa | ฮวา | ดอกไม้ |
oă | wa | –วั– | hoặc | ฮหวัก | หรือ |
oe | wɛː | แ–ว– | khoét | แคว้ต | เจาะ |
oi | ɔːj | –อย | nói | น้อย | พูด |
ôi | oːj | โ–ย | tôi | โตย | ฉัน |
ơi | ɜːj | เ–ย | chơi | เจย | เล่น |
U | |||||
ua | uə | –ัว | mua | มัว | ซื้อ, จับจ่าย |
ưa | ɯə | เ–ือ | đưa | เดือ | พาไป, นำไป |
uâ | wə | –ว– | xuân | ซวน | ฤดูใบไม้ผลิ |
uê | weː | เ–ว | thuê | เทว | เช่า |
ui | uːj | –ูย | vui | วูย | สนุก |
ưi | ɯːj | –ืย | gửi | กื๋ย | ส่ง |
uô | uə | –ว– | buồn | บ่วน | เศร้า |
uơ | wɜː | –ัว | thuở | ถัว | เวลา |
ươ | ɯə | เ–ือ | đường | เดื่อง | ทาง, ถนน |
ưu | ɯːw | –ืว | hưu | ฮืว | หยุด, พัก |
uy | wiː | –วี | quý | กวี๊ | วิเศษ, มีค่าสูง |
สระประสมสามเสียง
แก้รูปเขียน | เสียง | ใช้ | ตัวอย่างคำ | คำทับศัพท์ | ความหมาย |
---|---|---|---|---|---|
I, Y | |||||
iêu, yêu | iəw | เ–ียว | kiểu | เกี๋ยว | แบบ |
yếu | เอี๊ยว | อ่อนแอ | |||
O | |||||
oai | waːj | –วาย | ngoài | งหว่าย | นอก |
oao | waːw | –วาว | ngoao | งวาว | เสียงคล้ายเสียงแมวร้อง |
oay | waj | –วัย | ngoáy | งวั้ย | แคะ |
U | |||||
uây | wəj | เ–ว็ย | khuấy | เคว้ย | คน (กริยา) |
khuây | เคว็ย | ลืม, สงบ | |||
uôi | uəj | –วย | muối | ม้วย | เกลือ |
tuổi | ต๋วย | อายุ | |||
nuôi | นวย | เลี้ยงดู | |||
uya | wiə | เ–วีย | khuya | เควีย | ดึก |
uyê | wiə | เ–วีย | duyên | เซวียน | เสน่ห์ |
uyu | wiːw | –วีว | khuỷu | ขวีว | ข้อศอก |
ươi | ɯəj | เ–ือย | tươi | เตือย | สด |
ươu | ɯəw | เ–ือว | hươu | เฮือว | เก้ง |
rượu | เสื่อว | เหล้า |