วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาจีน
ข้อมูลในหน้านี้อาจไม่ตรงกับต้นฉบับ สำหรับข้อมูลต้นฉบับ สามารถดูได้ที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา |
การทับศัพท์ภาษาจีนกลางในที่นี้เป็นหลักการที่กำหนดตามราชบัณฑิตยสถาน (ปัจจุบันคือสำนักงานราชบัณฑิตยสภา) เริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ซึ่งอาจแตกต่างจากที่นักวิชาการและสื่อบางส่วนใช้อยู่บ้างเล็กน้อย
หลักทั่วไป
แก้1. หลักเกณฑ์นี้ใช้สำหรับเขียนทับศัพท์คำภาษาจีนกลางที่เขียนด้วยอักษรโรมันระบบพินยิน (Pīnyīn System) แต่เพื่อความสะดวกแก่การเขียนทับศัพท์ภาษาจีนที่ใช้ระบบอื่น ได้แก่ ระบบเวด-ไจลส์ (Wade-Giles System) ระบบเยล (Yale System) และระบบจู้ยิน ฝูฮ่าว (Zhùyīn Fúhào System) ซึ่งยังมีปรากฏในหนังสือต่าง ๆ อยู่มาก จึงได้เทียบเสียงของระบบดังกล่าวไว้ด้วย
2. การเทียบเสียงพยัญชนะและสระ ให้ถือตามตารางการเทียบเสียงพยัญชนะและสระภาษาจีน และตัวอักษรในตารางแทนอักษรโรมันทั้งตัวตาม (ตัวเล็ก) และตัวนำ (ตัวใหญ่)
3. เครื่องหมายกำกับเสียงวรรณยุกต์ ในระบบพินยิน ระบบเยล และระบบจู้ยิน ฝูฮ่าวใช้ ˉ ´ ˇ ` ส่วนในระบบเวด-ไจลส์ใช้ 1 2 3 4 เทียบเคียงกับเสียงวรรณยุกต์ไทยได้ดังนี้
- 3.1 เสียงหนึ่ง ใช้เครื่องหมาย ˉ หรือ 1 ในการทับศัพท์เลือกใช้เสียงสามัญ[# 1]
- 3.2 เสียงสอง ใช้เครื่องหมาย ´ หรือ 2 ในการทับศัพท์เลือกใช้เสียงจัตวา
- 3.3 เสียงสาม ใช้เครื่องหมาย ˇ หรือ 3 ในการทับศัพท์เลือกใช้เสียงเอก[# 2] (ยกเว้นเมื่ออยู่หน้าพยางค์ที่มีเสียงสาม ให้ออกเสียงเป็นเสียงสองโดยคงเครื่องหมายเสียงสาม เช่น Kǒng Zǐ = โขงจื่อ, ขงจื่อ แทนที่จะเป็น โข่งจื่อ, ข่งจื่อ)
- 3.4 เสียงสี่ ใช้เครื่องหมาย ` หรือ 4 ในการทับศัพท์เลือกใช้เสียงโท
- คำที่ออกเสียงเบาจะไม่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์กำกับ
4. ความสั้น-ยาวของเสียงสระ เสียงสระในภาษาจีนไม่มีความแตกต่างระหว่างเสียงสั้นกับเสียงยาวเหมือนในภาษาไทย โดยปรกติพยางค์ที่มีเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงหนึ่ง เสียงสอง และเสียงสามจะออกเป็นเสียงสั้นหรือเสียงยาวก็ได้ ยกเว้นเสียงสี่จะออกเสียงสั้นเสมอ
5. เครื่องหมายพินทุ พินทุที่อยู่ใต้ตัวพยัญชนะแสดงว่าพยัญชนะตัวนั้น ๆ ออกเสียงควบกล้ำกับตัวที่ตามมา ยกเว้นตัว ห ที่มีเครื่องหมายพินทุกำกับจะออกเสียงควบกล้ำและเป็นอักษรนำด้วย เช่น Huá = หฺวา, Huái = ไหฺว, หฺวาย
6. สระประสม เสียงสระประสมบางเสียงในภาษาจีน เมื่อถอดเป็นอักษรไทยแล้วจะมีเสียงพยัญชนะ ย หรือ ว อยู่ด้วย ให้ใส่เครื่องหมายพินทุใต้ตัวพยัญชนะต้นซึ่งผสมกับสระนั้น เช่น jiǒng = จฺย่ง, yuè = เยฺว่
7. เสียงพยัญชนะจีนซึ่งเทียบได้กับพยัญชนะไทยที่มีอักษรคู่ (อักษรสูงมีเสียงคู่กับอักษรต่ำ) ได้ให้ไว้ทั้ง 2 ตัว เช่น ฉ ช ฝ ฟ ให้เลือกใช้ตามหลักการผันเสียงวรรณยุกต์ของไทย เช่น ฉา, ชือ, เฝิน, ฟั่น
- ในกรณีที่เป็นอักษรเดี่ยว ซึ่งในการผันวรรณยุกต์ต้องใช้ ห นำ ถ้าอักษรเดี่ยวนั้นเป็นตัวควบกล้ำให้แทรกตัว ห ไว้ระหว่างตัวควบกล้ำเพื่อให้อ่านได้สะดวก เช่น yún = ยฺหวิน
8. พยัญชนะที่มีเครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับในคำทับศัพท์ ให้ออกเสียงพยัญชนะนั้นด้วย เช่น érzi = เอ๋อร์จึ, fēi = เฟย์
9. การเว้นวรรค ในการเขียนทับศัพท์ภาษาจีน การแยกคำให้ยึดตามต้นฉบับ ยกเว้นคำที่ใช้ในภาษาไทยจนเป็นที่ยอมรับแล้ว เช่น Kǒng Zǐ = ขงจื่อ (ขงจื๊อ)
- หมายเหตุ
ตารางเทียบเสียง
แก้เสียงพยัญชนะ
แก้รูปเขียน | เสียง | ใช้ | ตัวอย่าง | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระบบ พินยิน |
ระบบ เวด-ไจลส์ |
ระบบ เยล |
ระบบ จู้ยิน ฝูฮ่าว |
อักษรจีน[# 1] | ระบบ พินยิน |
คำทับศัพท์ | ความหมาย | ||
b | p | b | ㄅ | p | ป | 八 | bā | ปา | (เลข) แปด |
c | ts', tz' | ts | ㄘ | t͡sʰ | ฉ, ช | 蠶 (蚕) | cán | ฉัน, ฉาน | ตัวไหม |
倉 (仓) | cāng | ชัง, ชาง | ฉางข้าว | ||||||
ch | ch | ch | ㄔ | ʈ͡ʂʰ[# 2] | ฉ, ช | 茶 | chá | ฉา | ชา |
吃 | chī | ชือ | กิน | ||||||
d | t | d | ㄉ | t | ต | 大 | dà | ต้า | ใหญ่ |
f | f | f | ㄈ | f | ฝ, ฟ | 焚 | fén | เฝิน | เผา |
飯 (饭) | fàn | ฟั่น, ฟ่าน | ข้าว, อาหาร | ||||||
g | k | g | ㄍ | k | ก | 哥 | gē | เกอ | พี่ชาย |
h | h | h | ㄏ | x | ห, ฮ | 好 | hǎo | เห่า, ห่าว | ดี |
喝 | hē | เฮอ | ดื่ม | ||||||
j | ch (j) | j (y) | ㄐ | t͡ɕ | จ | 江 | jiāng | เจียง | แม่น้ำ |
k | k' | k | ㄎ | kʰ | ข, ค | 魁 | kuí | ขุย | หัวหน้า, ตัวการ |
看 | kàn | คั่น | ดู, มอง, อ่าน | ||||||
l | l | l | ㄌ | l | ล | 來 (来) | lái | ไหล, หลาย | มา |
m[# 3] | m | m | ㄇ | m | ม | 妈 | mā | มา | แม่ |
n | n | n | ㄋ | n | น | 男 | nán | หนัน, หนาน | ผู้ชาย |
ng[# 3] | ... | ... | ㄫ | ŋ | ง | 嗯 | ńg, ňg, ǹg | หงอ, หง่อ, ง่อ | (คำอุทาน) |
p | p' | p | ㄆ | pʰ | ผ, พ | 爬 | pá | ผา | คลาน |
坡 | pō | พัว | เนิน, เนินเขา | ||||||
q | ch' (i) | ch (y) | ㄑ | t͡ɕʰ | ฉ, ช | 錢 (钱) | qián | เฉียน | เงินใช้สอย |
枪 | qiāng | เชียง | ปืน | ||||||
r | j | r | ㄖ | ɻ | ร | 人 | rén | เหริน | คน |
s | s, ss, sz | s | ㄙ | s | ซ, ส | 三 | sān | ซัน, ซาน | สาม |
掃 (扫) | sǎo | เส่า, ส่าว | กวาด, ปัดกวาด | ||||||
sh | sh | sh | ㄕ | ʂ[# 4] | ฉ, ช[# 5] | 繩 (绳) | shéng | เฉิง | เชือก |
書 (书) | shū | ชู | หนังสือ | ||||||
t | t' | t | ㄊ | tʰ | ถ, ท | 唐 | Táng | ถัง, ถาง | ชื่อราชวงศ์ |
他 (ชาย), 她 (หญิง) | tā | ทา | เขา (สรรพนาม) | ||||||
w | w | w | ไม่ปรากฏรูป | w | ว | 萬 (万) | wàn | วั่น, ว่าน | หมื่น |
我 | wǒ | หวั่ว | ฉัน | ||||||
w (เมื่อตามด้วยสระ u จะไม่ออกเสียง) |
w | w | ไม่ปรากฏรูป | 五 | wǔ | อู่ | ห้า | ||
x | hs | sy | ㄒ | ɕ | ซ, ส | 香 | xiāng | เซียง | หอม |
鞋 | xié | เสีย | รองเท้า | ||||||
y | y | y | ไม่ปรากฏรูป | j | ย | 銀 (银) | yín | หยิน | แร่เงิน |
y (เมื่อตามด้วยสระ i และไม่มีตัวสะกด จะไม่ออกเสียง) |
yi | y | ไม่ปรากฏรูป | 一 | yī | อี | หนึ่ง | ||
z | ts, tz | dz | ㄗ | t͡s | จ | 走 | zǒu | โจ่ว | เดิน |
zh | ch | j | ㄓ | ʈ͡ʂ | จ | 站 | zhàn | จั้น, จ้าน | ยืน |
- หมายเหตุ
- ↑ อักษรจีนที่อยู่นอกวงเล็บเป็นอักษรจีนตัวเต็ม ส่วนในวงเล็บเป็นอักษรจีนตัวย่อ ถ้าไม่มีวงเล็บแสดงว่าอักษรจีนตัวย่อและตัวเต็มเป็นตัวเดียวกัน
- ↑ ch เป็นเสียงกักเสียดแทรก (affricate) เวลาออกเสียงปลายลิ้นต้องงอขึ้นไปแตะที่เพดานแข็ง
- ↑ 3.0 3.1 ถ้าเป็นพยางค์เดี่ยวที่ไม่มีสระ ให้เติม -อ แล้วผันวรรณยุกต์ตามเสียง
- ↑ sh เป็นเสียงเสียดแทรก (fricative) เวลาออกเสียงปลายลิ้นงอขึ้นไปใกล้เพดานแข็ง แต่ต้องไม่แตะเพดานแข็ง
- ↑ มีความนิยมเขียนแทน sh ด้วย ซ, ส เพื่อให้แตกต่างจาก ch
เสียงสระ
แก้รูปเขียน | เสียง | ใช้ | ตัวอย่าง | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระบบ พินยิน |
ระบบ เวด-ไจลส์ |
ระบบ เยล |
ระบบ จู้ยิน ฝูฮ่าว |
อักษรจีน[# 1] | ระบบ พินยิน |
คำทับศัพท์ | ความหมาย | ||
A | |||||||||
a | a | a | ㄚ | ä | –ะ (เสียงเบา) | 嗎 (吗) | ma | หมะ | ไหม, หรือ |
–า | 媽 (妈) | mā | มา | แม่ | |||||
ai | ai | ai | ㄞ | aɪ̯ | ไ–, –าย | 太 | tài | ไท่ | เกินไป |
買 (买) | mǎi | ไหม่, หม่าย | ซื้อ | ||||||
an | an | an | ㄢ | än | –ัน, –าน | 看 | kàn | คั่น | ดู, มอง, อ่าน |
藍 (蓝) | lán | หลัน, หลาน | สีน้ำเงิน | ||||||
ang | ang | ang | ㄤ | ɑŋ | –ัง, –าง | 唱 | chàng | ชั่ง | ร้องเพลง |
常 | cháng | ฉัง, ฉาง | บ่อย ๆ | ||||||
ao | ao | au | ㄠ | ɑʊ̯ | เ–า, –าว | 抱 | bào | เป้า | อุ้ม |
高 | gāo | เกา, กาว | สูง | ||||||
E | |||||||||
e | o, oh | e | ㄜ | ɯ̯ʌ, ə | เ–อ | 樂 (乐) | lè | เล่อ | สนุก, ยินดี |
e (เมื่อตามหลัง y) | eh | e | ㄝ | ɛ | เ– | 葉 (叶), 頁 (页) | yè | เย่ | ใบไม้ |
ê | ㄝ | ɛ | เ– | ế | เอ๋ | (คำอุทาน) | |||
ei | ei | ei | ㄟ | eɪ̯ | เ–ย์ | 飛 (飞) | fēi | เฟย์ | บิน |
en | ên | en | ㄣ | ən | เ–ิน | 本 | běn | เปิ่น | เล่ม (ลักษณนาม) |
eng | êng | eng | ㄥ | ɤŋ | เ–ิง | 等 | děng | เติ่ง | คอย |
er (ไม่ผสมกับ พยัญชนะต้น) |
êrh | er | ㄦ | ɑɻ | เ–อร์ | 二 | èr | เอ้อร์ | (เลข) สอง |
I | |||||||||
i | i | i | 一 | i | –ี | 你 | nǐ | หนี่ | เธอ |
i (เมื่อตามหลัง c, ch, r, s, sh, z, zh) |
ih (เมื่อตามหลัง tz, sz ใช้ u, û) |
-r (เมื่อตามหลัง ts และ s ใช้ -z) |
ไม่ปรากฏรูป | ɯ | –ึ (เสียงเบา) | 兒子 (儿子) | érzi | เอ๋อร์จึ | ลูกชาย |
ɨ | –ือ | 使 | shǐ | ฉื่อ | ใช้ | ||||
ia | ia | ya | 一ㄚ | i̯ä | เ–ีย[# 2] | 家 | jiā | เจีย | บ้าน |
iai | iai | yai | 一ㄞ | ... | ... | ... | ... | ... | ... |
ian | ien | yan | 一ㄢ | i̯ɛn | เ–ียน | 天 | tiān | เทียน | ฟ้า |
iang | iang | yang | 一ㄤ | i̯ɑŋ | เ–ียง | 娘 | niáng | เหนียง | ผู้หญิง |
iao | iao | yau | 一ㄠ | i̯ɑʊ̯ | เ–ียว | 錶 (表) | biǎo | เปี่ยว | นาฬิกา |
ie | ieh | ye | 一ㄝ | i̯ɛ | เ–ีย[# 2] | 借 | jiè | เจี้ย | ยืม |
in | in | in | 一ㄣ | in | –ิน | 林 | lín | หลิน | ป่าไม้ |
ing | ing | ing | 一ㄥ | iŋ | –ิง | 釘 (钉) | dīng | ติง | ตะปู |
io | io | yo | 一ㄛ | ... | ... | ... | ... | ... | ... |
iong (ใช้เฉพาะกับ j, q, x) |
iung | yung | ㄩㄥ | i̯ʊŋ | –ฺยง | 兇 (凶) | xiōng | ซฺยง | ดุร้าย |
熊 | xióng | สฺยง | หมี | ||||||
窮 (穷) | qióng | ฉฺยง | ยากจน | ||||||
囧 | jiǒng | จฺย่ง | เก้อเขิน, ทำให้เขิน | ||||||
iu | iu | you | 一ㄡ | i̯ɤʊ̯~i̯oʊ̯ | –ิว | 牛 | niú | หนิว | วัว |
O | |||||||||
o (เมื่อตามหลัง b, f, m, p, w ออกเสียง เหมือน uo) |
o | wo | ㄛ | u̯ɔ | –ัว | 摸 | mō | มัว | คลำ |
o | o | o | ㄛ | ɔ | โ– | 哦喲 (哦哟) | ōyō | โอโย | (คำอุทาน) |
ong | ung | ung | ㄨㄥ | ʊŋ | –ง | 龍 (龙) | lóng | หลง | มังกร |
ou | ou | ou | ㄡ | ɤʊ̯~oʊ̯ | โ–ว | 樓 (楼) | lóu | โหลว | ตึกสูง |
U | |||||||||
u | u | u | ㄨ | u | –ู | 不 | bù | ปู้ | ไม่ |
ü (เมื่อตามหลัง j, q, x, y เขียนลดรูปเป็น u แต่เมื่อตามหลัง n, l ให้คงรูปเดิมคือ ü) |
ü | yu | ㄩ | y | –ฺวี | 魚 (鱼) | yú | ยฺหวี | ปลา |
女 | nǚ | นฺหวี่ | ผู้หญิง | ||||||
ua | ua | wa | ㄨㄚ | u̯ä | –วา | 瓜 | guā | กวา | แตง |
uai | uai | wai | ㄨㄞ | u̯aɪ̯ | ไ–ว, –วาย | 乖 | guāi | ไกว, กวาย | ว่านอนสอนง่าย |
uan | uan | wan | ㄨㄢ | u̯än | –วัน, –วาน | 緞 (缎) | duàn | ตฺวั้น | ผ้าต่วน |
üan (เมื่อตามหลัง j, q, x, y เขียนลดรูป เป็น uan) |
üan | ywan | ㄩㄢ | y̯ɛn | เ–ฺวียน | 勸 (劝) | quàn | เชฺวี่ยน | ชักชวน, ตักเตือน |
uang | uang | wang | ㄨㄤ | u̯ɑŋ | –วัง, –วาง | 光 | guāng | กวัง, กวาง | แสง |
üe (เมื่อตามหลัง j, q, x, y เขียนลดรูป เป็น ue แต่เมื่อตาม หลัง n, l ให้คงรูปเดิม คือ üe) |
üeh | ywe | ㄩㄝ | y̯œ | เ–ฺว | 月 | yuè | เยฺว่ | เดือน, พระจันทร์ |
瘧 (疟) | nüè | เนฺว่ | ไข้จับสั่น | ||||||
ui | ui | wei | ㄨㄟ | u̯eɪ̯ | –ุย | 回 | huí | หุย | กลับ |
un (uen) | un | wun | ㄨㄣ | u̯ən | –ุน | 鈍 (钝) | dùn | ตุ้น | ทื่อ |
ün (เมื่อตามหลัง j, q, x, y เขียนลดรูป เป็น un) |
ün | yun | ㄩㄣ | yn | –ฺวิน | 雲 (云) | yún | ยฺหวิน | เมฆ |
uo | uo, o | wo | ㄨㄛ | u̯ɔ | –ัว | 國 (国) | guó | กั๋ว | ประเทศ |
- หมายเหตุ
- ↑ อักษรจีนที่อยู่นอกวงเล็บเป็นอักษรจีนตัวเต็ม ส่วนในวงเล็บเป็นอักษรจีนตัวย่อ ถ้าไม่มีวงเล็บแสดงว่าอักษรจีนตัวย่อและตัวเต็มเป็นตัวเดียวกัน
- ↑ 2.0 2.1 สระ ia และ ie เป็นหน่วยเสียงที่คล้ายกับเสียงสระเอียในภาษาไทย ดังนั้นจึงทับศัพท์สระ ia และ ie ด้วยสระเอีย เช่น 家 jiā เจีย = บ้าน, 街 jiē เจีย = ถนน อย่างไรก็ตาม ia และ ie ออกเสียงต่างกันเล็กน้อยคือ อี+อา และ อี+เอ ตามลำดับ
ความแตกต่างจากการเขียนคำทับศัพท์แบบอื่น
แก้ในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ระบุว่า yi เมื่อไม่มีตัวสะกดต่อท้าย ให้ออกเสียง อี เช่น yī อี = เลขหนึ่ง; yì อี้ = ความหมาย, เจตนา หาก yi มีตัวสะกดต่อท้ายจะใช้ ยิ ต่อท้ายด้วยตัวสะกด เช่น yīn ยิน = ความมืด ความเย็น พลังลบ; yín หยิน = ธาตุเงิน; yǐn หยิ่น = ดื่ม; yìn ยิ่น = พิมพ์ เป็นต้น ผู้เขียนหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่อบางแห่งอาจเลือกใช้อิน, อิ๋น, อิ่น และอิ้น ตามลำดับ ในวิกิพีเดียและตำราเรียนภาษาจีนส่วนมากถอดเสียงคำ Pīnyīn ว่า "พินอิน" ในขณะที่ตำราบางเล่มและนักวิชาการบางท่านใช้ "พินยิน" อย่างไรก็ตามการออกเสียงทั้งสองแบบถูกต้อง และหมายถึง "การสะกดเสียง" หรือ "สัทอักษร" เหมือนกัน[1][2]
sh แทนเสียงเสียดแทรก ลิ้นเกือบแตะเพดานแข็ง เวลาออกเสียงจะคล้ายกับ /ช/ ผสมกับ /ซ/[3] ในประกาศระบุให้ใช้ ฉ, ช เช่น shēn เชิน = ร่างกาย แต่ในสื่อสิ่งพิมพ์บางสื่อจะใช้ ซ, ส ทำให้เขียนเป็น "เซิน"
wu ในประกาศฯ และสื่อส่วนมากรวมถึงวิกิพีเดียจะใช้ อู เช่น Wǔhàn อู่ฮั่น = ชื่อจังหวัดในมณฑลเหอเป่ย์ แต่ตำราบางเล่มหรือสื่อบางส่วนก็ใช้ วู ทำให้เขียนว่า "หวู่ฮั่น" แทน แต่นั่นเป็นการออกเสียงที่ไม่ตรงเสียทีเดียว[2][4]
–ei ในประกาศฯ กำหนดให้ใช้ เ–ย์ โดยให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตบนตัว ย เนื่องจากไม่ปรากฏสระประสมนี้ในระบบเสียงภาษาไทย เช่น bèigào เป้ย์เก้า = จำเลย; fēicháng เฟย์ฉาง = อย่างยิ่ง[2][4] แต่บางแห่งใช้ เ–ย จึงทับศัพท์เป็น "เป้ยเก้า" และ "เฟยฉาง" ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนว่าออกเสียงเหมือน เ–ย อย่างในคำว่า "ระเหย" หรือ "เปรียบเปรย" เป็นต้น
ตัวอย่างอื่น ๆ ของการถอดเสียงภาษาจีนที่แตกต่างกัน ประมวลได้ดังนี้
คำ | คำทับศัพท์ | ความหมาย | ||
---|---|---|---|---|
อักษรจีน (ตัวย่อ) | ระบบพินยิน | ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ | แบบอื่น ๆ | |
云 | yún | ยฺหวิน | หยุน, อวิ๋น | เมฆ |
云南 | Yúnnán | ยฺหวินหนัน, ยฺหวินหนาน | หยุนหนัน, หยุนหนาน, อวิ๋นหนัน, อวิ๋นหนาน | ชื่อมณฑลทางตอนใต้ของจีน |
认 | rèn | เริ่น | เริ่น, เยฺริ่น | รู้จัก, จำได้ |
兄 | xiōng | ซฺยง | โซง, ซง, โซวง | พี่ชายคนโต |
高雄 | Gāoxióng | เกาสฺยง | เกาสง, เกาโสวง | ชื่อเมืองในไต้หวัน |
匈奴 | Xiōngnú | ซฺยงหนู | โซวงหนู, ซงหนู | ชื่อกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งในสมัยโบราณ |
窝 | wō | วัว | วอ | รังนก |
我 | wǒ | หวั่ว | หว่อ | ข้า (สรรพนาม) |
国 | guó | กั๋ว | กั๋ว, กว๋อ | ประเทศ, แผ่นดิน |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้หมายเหตุและการออกเสียง
แก้- ↑ พจนานุกรมจีน-ไทย ของเผย์ เสี่ยวรุ่ย ใช้ พินยิน ส่วนศัพทานุกรมและพจนานุกรมจีน-ไทย และไทย-จีน ของเธียรชัย เอี่ยมวรเมธ ใช้ พินอิน รายละเอียดหนังสือตามรายการอ้างอิงข้างล่างนี้
- ↑ 2.0 2.1 2.2 โปรดดูรายละเอียดที่ รายละเอียดการออกเสียงพินยิน/พินอิน ของ Chinese.yabla.com
- ↑ I with Z, C, S, ZH, CH, SH, R (การออกเสียงสระอือ) จาก Chinesepod.com วันที่ค้นข้อมูล 11 มกราคม 2558
- ↑ 4.0 4.1 ตารางการออกเสียง เก็บถาวร 2015-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก http://pinpinchinese.com
สื่อสิ่งพิมพ์
แก้- เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. ศัพทานุกรมจีน-ไทย ฉบับซินหัว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์รวมสาส์น, 2546. (ตัวหนังสือตัวย่อ ค้นตามคำอ่าน) ISBN: 9749556062, 9789749556061.
- เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. ศัพทานุกรมจีน-ไทย ฉบับจงหัว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์รวมสาส์น, 2546. (ตัวหนังสือตัวเต็ม ค้นตามส่วนประกอบหรือหมวดนำ) ISBN: 974955647X, 9789749556474.
- เผย์ เสี่ยวรุ่ย. พจนานุกรมจีน-ไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ทฤษฎี, 2549. ISBN: 9749634128, 9789749634127.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาจีน ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาจีนและภาษาฮินดี ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2548. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ 67 ง. 18 สิงหาคม 2548. หน้า 1.
- หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาจีน ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาจีนและภาษาฮินดี ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2549. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนพิเศษ 2 ง. 8 มกราคม 2550. หน้า 1.