ทิงลิช ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน (อังกฤษ: Tinglish, Thenglish หรือ Thainglish) หรือ ไทยกลิช ในภาษาอังกฤษแบบบริติช (อังกฤษ: Thaiglish) หรือเรียก ไทยลิช (อังกฤษ: Thailish) ก็มี[1] เป็นชื่อรูปแบบภาษาอังกฤษซึ่งใช้ในหมู่คนไทย มีลักษณะไม่สมบูรณ์เพราะเอารูปแบบภาษาแม่ของตนมาปนกับภาษาอังกฤษ ความไม่สมบูรณ์เช่นนั้นเป็นต้นว่าเรื่องการออกเสียง เรียงคำ ไวยากรณ์ และประดิดประดอยคำใหม่ให้

การใช้ภาษาอังกฤษแบบทิงลิชบนป้ายประกาศของทางการ

ตัวอย่างทิงลิช

แก้
ความหมายในภาษาไทย ภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง ทิงลิช
เปิด/ปิด (เครื่องใช้ไฟฟ้า) to turn on/off the (electricity) to open/close the (electricity)
ล้างรูป to develop the film to wash the film
ฉันสนใจฟุตบอล I am interested in football I am interesting in football
ฉันชอบคุณมาก I really like you I very like you
ฉันเคยไปภูเก็ต I have been to Phuket I used to go to Phuket
I go to Phuket already

คำศัพท์

แก้
  • ทำตัวสบาย ๆ - chill หรือ chill out' ใช้เป็น chill chill (ชิลชิล หรือ ชิวชิว)
  • เหมือนเดิม/เหมือน ๆ - same ใช้เป็น same same
  • เรียกเก็บเงิน (ภายหลังกินอาหารเสร็จ) ภาษาอังกฤษใช้คำว่า "เช็ก" (check) หรือ "บิล" (bill) คำใดคำหนึ่ง ในไทยจะใช้ทั้งสองคำรวมกันเป็น "เช็กบิล" (check bill)
  • คำผิดหน้าที่ เช่น This sucks. ใช้เป็น This is suck.

การเพิ่มส่วนของคำ

แก้

เพิ่มในส่วนหน้าของคำ

  • คำว่า คุณ (ใช้ khun แทนคำว่า mister (Mr.), miss (Ms.) หรือ Mrs.) เช่น Khun Somchai will have a meeting on Friday.

เพิ่มในส่วนท้ายของประโยค

  • คำว่า ครับ และ ค่ะ เพื่อเพิ่มความสุภาพให้ประโยค ตัวอย่างเช่น Hello kha.
  • ภาษาพูด คำว่า ละ นะ จ้ะ สำหรับการแนะนำ และลดความเป็นทางการ เช่นคำว่า Why don't you ask her la? หรือ I'm going to have dinner now, how about you la? หรือ Hello ja.

การออกเสียง

แก้

เนื่องจากเสียงในภาษาอังกฤษส่วนหนึ่ง ไม่มีเสียงในภาษาไทยที่ตรงกัน ทำให้มีการที่ผู้ใช้ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ ปรับเปลี่ยนเสียงภาษาอังกฤษเป็นเสียงที่ใกล้เคียง

  • การเน้นเสียง (stress) ยกเลิกการเน้นเสียงทั้งหมดและใช้เสียงสามัญ แล้วเน้นเสียงที่คำสุดท้ายของประโยค
  • เพิ่มเสียงโท (ไม้เอกสำหรับอักษรต่ำและไม้โทสำหรับอักษรกลาง อักษรสูง) ท้ายคำ สำหรับคำภาษาต่างประเทศ ไม่ว่าเสียงต้นฉบับจะมีหรือไม่มีก็ตาม เช่น Manchester - แมนเชสเต้อร์ หรือ Arsenal - อาร์เซน่อล
  • เปลี่ยนเสียง r เป็นเสียง เรือ และเสียง l เป็นเสียง ลิง
  • เสียงพยัญชนะเสียงสุดท้ายถูกละตามแม่สะกดของภาษาไทย เช่น เสียง l และ r กลายเป็น แม่กน เช่น บอล อ่านเป็น บอน และเสียง s กลายเป็น แม่กด เช่น is เป็น อี๊ด
  • เสียง sh และ ch รวมมาเป็นเสียงเดียวกับเสียง ช้าง
  • เสียง g และ z ถูกเปลี่ยนเสียงเช่น dog -> dock, zoo -> sue
  • เสียง th เปลี่ยนเป็น ท ทหาร ต เต่า และ ด เด็ก เช่น thin -> tin, through -> true, then -> den
  • เสียง h อ่านเป็น เฮช แทนที่เสียงที่ถูกต้อง เอช ตามเสียงของพยัญชนะ

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Lambert, James (2018). "A multitude of 'lishes': The nomenclature of hybridity". English World-wide. 39 (1): 31–32. doi:10.1075/eww.38.3.04lam.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้