เครื่องอิสริยาภรณ์
เครื่องอิสริยาภรณ์ (อังกฤษ: order) คือ เหรียญ และตรา อันเป็นเครื่องประดับยศ ซึ่งถูกมอบให้โดยรัฐเอกราช พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์ หรือองค์การ แก่บุคคล เพื่อยกย่องในคุณประโยชน์และความดีความชอบของบุคคลนั้น ซึ่งมักจะมีลักษณะเฉพาะตัวที่โดดเด่น เช่น สายคล้องคอ เหรียญตรา และสายสะพายสำหรับสวมใส่
ระบบเครื่องอิสริยาภรณ์นั้นมาจากวัฒนธรรมอัศวินในยุคกลาง โดยอิงมาจากระบบอิสริยาภรณ์ของศาสนาคาทอลิก โดยเครื่องอิสริยาภรณ์จากประเทศที่มีกษัตริย์เรียกว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์[1] ส่วนประเทศที่ไม่มีกษัตริย์เรียกว่า เครื่องอิสริยาภรณ์[2]
ศัพท์บัญญัติ
แก้ในภาษาลาติน คำว่า Order (ละติน: ordo) ในบทความนี้ สามารถโยงย้อนไปถึงภาคีอัศวิน (Chivalric Orders) รวมไปถึงภาคีทางทหาร (Military Orders) ซึ่งสามารถโยงคำศัพท์กลับไปถึงคณะนักบวชคาทอลิก (Catholic religious orders) [3]
ส่วนในภาษาไทย อิสริยาภรณ์ เป็นคำนาม มีความหมายว่าตราเครื่องประดับเกียรติยศ เรียกโดยสามัญว่า เหรียญตรา[4] ซึ่งคำว่า ตรา ก็เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องประดับที่เป็นราชอิสริยาภรณ์ตามความหมายของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา[5]
ประวัติ
แก้เครื่องอิสริยาภรณ์สมัยใหม่ เป็นเครื่องประดับยศแสดงความดีความชอบ เกิดจากวัฒนธรรมการจัดตั้งภาคีอัศวินขึ้นในสมัยกลาง เดิมทีเป็นภาคีทางทหารในสงครามครูเสดซึ่งเปลี่ยนสภาพมาจากภาคีทางศาสนาคาทอลิก[3]
ในขณะที่ภาคีอัศวินเหล่านี้คือ "สมาคม มิตรภาพ และวิทยาลัยอัศวิน"[6] สถาปนาขึ้นโดยสันตะสำนักหรือพระมหากษัตริย์ในยุโรปโดยเลียนแบบภาคีทางทหารของสงครามครูเสด การให้สมาชิกในสังคมดังกล่าวค่อย ๆ พัฒนามาเป็นภาคีเกียรติยศที่สามารถมอบให้ได้ เครื่องอิสริยาภรณ์อันทรงเกียรติสูงสุดบางชิ้นของยุโรปสมัยใหม่ เช่น เครื่องราชอิสริยาภรณ์ขนแกะทองคำของสเปน เครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เทอร์ของอังกฤษ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยราของเดนมาร์ก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทริสเติลของสกอตแลนด์ ถูกสร้างขึ้นในยุคแรก ๆ ของสมัยใหม่ โดยพื้นฐานแล้วมีลักษณะเป็นภาคีอิสริยาภรณ์ทางราชสำนัก โดยมีลักษณะความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ใกล้ชิดระหว่างสมาชิกและประธานแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องอิสริยาภรณ์แบ่งตามที่มา
แก้เครื่องรัฐอิสริยาภรณ์
แก้เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ที่มอบโดยรัฐเอกราช โดยจะมอบให้แก่ผู้ประกอบคุณงามความดีต่อประเทศชาติ
เครื่องขัติยราชอิสริยาภรณ์
แก้ในช่วงฟื้นฟูศิลปวิทยา พระมหากษัตริย์ส่วนใหญ่ในยุโรปได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์ของภาคีอัศวิน หรือไม่ก็สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นมาใหม่และพระราชทานโดยพระมหากษัตริย์หรือราชวงศ์ โดยจะพระราชทานให้แก่ผู้จงรักภักดี โดยส่วนมากมักถูกผูกขาดโดยชนชั้นสูง ประชาชนทั่วจะเข้าถึงได้ยากเนื่องจากข้อจำกัดด้านเชื้อสาย
ในศตวรรษที่ 18 ระเบียบเหล่านี้ค่อย ๆ เปลี่ยนไป เห็นได้จากการที่จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซาสถาปนาเครื่องเสนาราชอิสริยาภรณ์มาเรีย เทเรซา โดยจะพระราชทานให้แก่นายทหารโดยไม่คำนึงถึงพื้นเพทางสังคม
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ พี่เหรียญ (2022-06-02). "ผู้บริหาร'เลสเตอร์' รับพระราชทานเครื่องราชฯ แห่งจักรวรรดิอังกฤษ ชั้น OBE".
- ↑ "พิธีมอบเครื่องอิสริยาภรณ์ให้แก่รศ.ดร. บัณฑิต ฟุ้งธรรมสาร". สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย.
- ↑ 3.0 3.1 Hieronymussen & Lundø 1968, p. 7.
- ↑ "อิสริยาภรณ์ คืออะไร แปลว่าอะไร ตัวอย่างประโยค จากพจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน". www.sanook.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ยศถาบรรดาศักดิ์ (๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๐)". สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
- ↑ "St. George's Chapel: History: Order of the Garter". See the definition of the Order of the Garter as "a society, fellowship and college of knights" there. – St. George's Chapel, Windsor Castle. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2006. สืบค้นเมื่อ 6 November 2006.
บรรณานุกรม
แก้Hieronymussen, Poul Ohm; Lundø, Jørgen, บ.ก. (1968). Eurooppalaiset kunniamerkit värikuvina [Europæiske ordner i farver] (ภาษาฟินแลนด์). แปลโดย Karnila, Christer. Porvoo: WSOY. OCLC 466954328.